130 likes | 381 Vues
เหตุผลวิบัติ. เหตุผลวิบัติ ( fallacies ). นักตรรกวิทยาได้ให้ความหมายของเหตุผลวิบัติไว้ว่า หมายถึง “ ความผิดพลาดในการใช้เหตุผล ( Reasoning) หรือ ในการอ้างเหตุผล (Argument) ” หรือ หมายถึง “ ลักษณะของการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ” . ประทีป มากมิตร. E - L e a r n i n g.
E N D
เหตุผลวิบัติ เหตุผลวิบัติ ( fallacies ) นักตรรกวิทยาได้ให้ความหมายของเหตุผลวิบัติไว้ว่า หมายถึง “ ความผิดพลาดในการใช้เหตุผล (Reasoning) หรือ ในการอ้างเหตุผล (Argument) ” หรือ หมายถึง “ ลักษณะของการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ” ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การอ้างอำนาจ (Appeal to Force) เป็นการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้องอันเนื่องมาจากผู้อ้างใช้วิธีข่มขู่ทั้งทางร่างกายหรือจิตใจเป็นสาเหตุให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความกลัวจนต้องยอมรับบทสรุป ข่มขู่ ผู้อ้าง ผู้อ่าน / ผู้ฟัง บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การอ้างความสงสาร (Appeal to Pity) คือลักษณะการอ้างเหตุผลที่ผู้อ้างขอความเมตตาสงสารจากผู้อ่านหรือผู้ฟัง เพื่อให้ยอมรับในบทสรุปแทนที่จะยกข้ออ้างที่มีเนื้อหาถูกต้องและเพียงพอ ขอความเมตตาสงสาร ผู้อ้าง ผู้อ่าน / ผู้ฟัง บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การอ้างแบบย้อนบุคคล (Argument Against the Person) คือ ลักษณะ การอ้างเหตุผลที่บกพร่องที่เกิดขึ้นจากผู้อ้าง 2 คน คนหนึ่งอ้างเหตุผล แต่อีกคนหนึ่งแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยไม่เกี่ยวกับการอ้างเหตุผล แต่มุ่งไปที่ตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับความประพฤติหรือคำพูดของคนๆ นั้น โจมตี ผู้อ้างที่ 1 ผู้อ้างที่ 2 ปฏิเสธ เสนอ การอ้างเหตุผล ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การอ้างบุคคล (Appeal to Authority) เป็นเหตุผลวิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอาพยานหลักฐาน ได้แก่ บุคคลหรือเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เหมาะสมกับประเด็นที่กล่าวถึง มาใช้เป็นข้ออ้างหรือหลักฐานเพื่อให้เกิดการยอมรับในสิ่งที่ผู้อ้างต้องการ อ้าง ผู้อ้าง บุคคลที่ไม่เหมาะสม บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การอ้างความไม่รู้ (Appeal to Ignorance) ไม่มีอะไรรู้อย่างแน่นอนเกี่ยวกับ X รู้เกี่ยวกับ X เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อข้ออ้างของการอ้างเหตุผลไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดเกี่ยวกับสิ่งนั้น แต่บทสรุปกลับสรุปอย่างแน่ชัดต่อสิ่งนั้น ส่วนใหญ่จะอ้างถึงสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ = ข้ออ้าง = บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การรีบสรุป (Hasty Generalization) เหตุผลวิบัติลักษณะเกิดขึ้นเมื่อข้ออ้างนั้นไม่เป็นตัวแทนสมาชิกที่เพียงพอสรุปได้ เนื่องจากข้ออ้างมีปริมาณน้อยเกินไปหรือไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การยอมรับบทสรุปได้ ข้ออ้าง (กรณีเฉพาะต่างๆ ที่ไม่ใช่เป็นตัวแทน) ลงความเห็น บทสรุป (กรณีทั่วไป) ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ การอ้างสาเหตุผิด (False Cause) เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อข้ออ้างอาศัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของเหตุการณ์เพื่อนำไปสู่บทสรุป แต่ปรากฏว่าข้ออ้างไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงที่จะนำไปสู่บทสรุปได้ = ข้ออ้าง สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุ = บทสรุป ไม่ได้เป็นสาเหตุที่แท้จริง ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ หลงประเด็น (Miss the Point) เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อบทสรุป ของการอ้างเหตุผลไม่มีความสัมพันธ์กับข้ออ้าง กล่าวคือข้ออ้างที่ปรากฎนำไปสู่ข้อสรุปเฉพาะเรื่องหนึ่งแต่เวลาสรุปกลับไปสรุปอีกเรื่องหนึ่ง = ข้ออ้าง นำมาซึ่งบทสรุป A = บทสรุป สรุป B ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ ข้ออ้างเลือก (False Dichotomy) เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้อ้างพยายามหลอกผู้อ่านหรือผู้ฟังให้เลือกในข้ออ้างที่กำหนดไว้ แล้วสรุปโดยความจำเป็นตามที่ผู้อ้างต้องการ ความบกพร่องในการอ้างเหตุผลนี้อยู่ที่ผู้อ้างพยายามจะลวงให้คิดว่าข้ออ้างไม่มีทางเลือกอื่นให้พิจารณาอีกแล้ว เช่น “ คุณจะซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่ให้ฉัน หรือ คุณจะให้ฉันตายเมื่อหน้าหนาวมาถึง ” ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g
เหตุผลวิบัติ สรุป เพื่อไม่ให้เกิดกรณี เหตุผลวิบัติ เราควรพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้ 1. พยานหลักฐาน หรือเหตุผลเพียงพอหรือไม่ 2. พยานหลักฐานสัมพันธ์กับข้อสรุปหรือไม่ 3. การอ้างเหตุผลนั้นใช้ภาษาชัดเจนหรือไม่ 4. ผู้อ้างใช้ความลำเอียง อารมณ์ หรือเลี่ยงประเด็น หรือไม่ ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g