1 / 40

บทที่ 4

บทที่ 4. การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง ( Accounting for Labors ). ค่าแรง. 1 . ค่าแรงงานในส่วนของสำนักงาน : เงินเดือนค่าแรง-สำนักงาน 2. ค่าแรงงานในส่วนของโรงงาน : เงินเดือนค่าแรง-โรงงาน 2.1 ค่าแรงทางตรง ( Direct Labor Costs ) 2.2 ค่าแรงทางอ้อม ( Indirect Labor Costs ).

palmer
Télécharger la présentation

บทที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง (Accounting for Labors)

  2. ค่าแรง 1. ค่าแรงงานในส่วนของสำนักงาน :เงินเดือนค่าแรง-สำนักงาน 2. ค่าแรงงานในส่วนของโรงงาน :เงินเดือนค่าแรง-โรงงาน 2.1 ค่าแรงทางตรง (Direct Labor Costs) 2.2 ค่าแรงทางอ้อม (Indirect Labor Costs)

  3. การบัญชีที่เกี่ยวกับค่าแรงการบัญชีที่เกี่ยวกับค่าแรง 1) การรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่าแรงงาน 2) การคำนวณ และจ่ายค่าแรงงานให้ถูกต้อง และทันเวลา 3) การจำแนกค่าแรงงานเป็นค่าแรงทางตรง และค่าแรงทางอ้อม 4) การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน

  4. การรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่าแรงงานการรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่าแรงงาน หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าแรงงาน มีข้อกำหนดแตกต่างกัน บัตรลงเวลา (Clock Card) จะแสดงถึงเวลาเริ่มงานและสิ้นสุดงานของพนักงานแต่ละคนในแต่ละวัน แต่บัตรลงเวลาไม่สามารถจำแนกDLหรือIDL บัตรบันทึกเวลาทำงาน (Time Ticket) เป็นเอกสารที่ระบุว่าพนักงานทำงาน Jobใด หรือแผนกใดใช้เวลาเท่าใดในการทำงาน

  5. ตัวอย่าง บัตรลงเวลา บริษัท อนุวัฒน์อุตสาหกรรม จำกัด บัตรเลขที่.......... บัตรลงเวลา ชื่อ-สกุล..................................................รหัสประจำตัว.......................แผนก.......... ประจำสัปดาห์เริ่มวันที่............................ถึงวันที่.................................... จำนวนชั่วโมงการทำงานปกติ....................ชั่วโมง จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา..............ชั่วโมง รวม.........................................ชั่วโมง

  6. ตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงานตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงาน ชื่อ-สกุล นายตะวัน ทิพย์ทิวา รหัสประจำตัว 9999 แผนก ตกแต่ง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 .................................. ............................. ผู้จดเวลา ผู้ตรวจสอบ

  7. ตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงานตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงาน ประจำงานเลขที่...............777..................วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 .................................. ............................. ผู้จดเวลา ผู้ตรวจสอบ

  8. การคำนวณและจ่ายค่าแรงงานการคำนวณและจ่ายค่าแรงงาน ค่าแรงงานที่เกิดขึ้นเป็นค่าแรงงานก่อนหักรายการต่างๆ ได้แก่ เงินยืมพนักงาน เงินสมทบประกันสังคม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีๆ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือเรียกว่า ค่าแรงขั้นต้น ค่าแรงงานขั้นต้นที่คำนวณได้นั้นจะประกอบด้วย ค่าแรงปกติและค่าล่วงเวลา โดยการคำนวณค่าแรงงานนั้น ต้องเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

  9. 1. การคำนวณค่าแรงปกติ 1.1 การจ่ายค่าแรงงานตามชั่วโมงการทำงาน (Hourly Rate Plan) ข้อดี ง่ายต่อการคำนวณและเข้าใจของนายจ้าง และลูกจ้าง ข้อเสีย ไม่สามารถจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ค่าแรงปกติ = จำนวนชั่วโมงการทำงาน × อัตราค่าแรงงานต่อชั่วโมง

  10. ค่าแรงปกติ = จำนวนหน่วยหรือชิ้นงานที่ผลิตได้ × อัตราค่าแรงงานต่อหน่วยหรือชิ้นงาน 1.2 การจ่ายค่าแรงงานตามจำนวนชิ้น (Piece Rate Plan) ข้อดีพนักงานจะมีแรงจูงใจในการผลิตสินค้า ข้อเสียพนักงานอาจจะเร่งการผลิตสินค้า ทำให้สินค้าที่ผลิตได้ไม่มีคุณภาพ

  11. ค่าแรงปกติ = อัตราเงินเดือนที่กำหนด 1.3 การจ่ายค่าแรงงานเป็นเงินเดือน ข้อดีง่ายต่อการคำนวณ ข้อเสียไม่สามารถจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  12. ประเภทของลูกจ้าง • รายเดือน ได้รับค่าจ้างในวันหยุด • รายวัน ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด

  13. ข้อบังคับในการทำงาน • ใน 1 วันต้องจัดชั่วโมงพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง • ใน 1 วันมีชั่วโมงปกติในการทำงานไม่เกิน 8 ชม. • ใน 1 สัปดาห์มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วัน • ใน 1 ปีมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อย 6 วัน(หากมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป) • ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วย ลาคลอด ลาบวช ลาเกณฑ์ทหารโดยได้รับค่าจ้าง ตามจำนวนวันที่กฎหมายระบุ • การทำงานเกินกว่าจำนวนที่ระบุ ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนเพิ่ม

  14. 2. การคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าทำงานให้วันหยุด 2.1 การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ลูกจ้างจะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของค่าจ้างปกติ 2.2 การทำงานในวันหยุด 1) การทำงานในวันหยุดแต่ช่วงระยะเวลาทำงานยังอยู่ในช่วงเวลาการทำงานในวันทำงานปกติ : รายเดือนได้ค่าตอบแทนอัตรา 1 เท่า รายวันได้อัตรา 2 เท่า 2) ถ้าให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ลูกจ้างจะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รายวันได้ค่าตอบแทนอัตรา 3 เท่า

  15. การคำนวณเงินเดือนค่าแรงจ่าสุทธินั้นมักจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่การคำนวณเงินเดือนค่าแรงจ่าสุทธินั้นมักจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ดังตัวอย่าง รายละเอียดการจ่ายค่าแรงงาน ประจำเดือน........................................

  16. การจำแนกค่าแรง และเงินเดือนเป็นDLและIDL การรวบรวมบัตรบันทึกเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคน มาทำการวิเคราะห์และสรุปประเภทค่าแรงที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง ค่าตอบแทนที่ให้ฝ่ายบริการการผลิต ให้ถือเป็นค่าแรงทางอ้อมเสมอ ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ฝ่ายผลิต ต้องพิจารณาว่าจำนวนค่าแรงเท่าใดที่จะเป็น DLและIDL

  17. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค้าแรงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1.การบันทึกค่าแรงขั้นต้น รายการหักต่างๆ และเงินได้สุทธิ จะมีการบันทึกบัญชีดังนี้ Dr. ค่าแรงเงินเดือน-โรงงาน xx Cr. ค่าแรงเงินเดือนค้างจ่าย xx ลูกหนี้เงินยืมพนักงาน xx ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย xx เงินสมทบประกันสังคมค้างจ่าย xx

  18. Dr. งานระหว่างทำ xx ค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. ค่าแรงเงินเดือน-โรงงาน xx 2. การบันทึกการจำแนกประเภทค่าแรง 3. การบันทึกการจ่ายค่าแรงค้างจ่ายแก่พนักงาน Dr. ค่าแรงเงินเดือนค้างจ่าย xx Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคารxx

  19. การจ่ายสวัสดิการและผลตอบแทนอื่นๆการจ่ายสวัสดิการและผลตอบแทนอื่นๆ ค่าตอบแทนที่ให้กับฝ่ายบริการให้ถือเป็นค่าแรงทางอ้อมทั้งจำนวน โดยบันทึกรายการจำแนกต้นทุนดังนี้ Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. ค่าแรง xx

  20. ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ฝ่ายผลิต ต้องพิจารณาว่าจำนวนค่าแรงเท่าใดที่จะเป็นค่าแรงทางตรง คือบันทึกไว้ในบัญชีงานระหว่างทำ และจำนวนค่าแรงเท่าใดที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน ทั้งนี้ เนื่องจากผลตอบแทนที่จ่ายให้กับฝ่ายผลิตโดยตรงทั้งจำนวนนั้น ในบางกรณีการนำเอาค่าแรงที่เปิดขึ้นทั้งหมดเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าต่อหน่วยจะไม่เหมาะสม

  21. 1. เงินเพิ่มพิเศษในการทำงาน (Premium Pay) เงินเพิ่มพิเศษควรถือเป็นส่วนหนึ่งจองค่าแรงทางตรงหรือไม่นั้น มีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ 1.1 เงินเพิ่มในการทำงานล่วงเวลาเนื่องมาจากกรณีที่กิจการทำการผลิตสินค้าอย่างเร่งด่วนและได้มีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการให้พนักงานทั้งในเวลาการทำงานปกติและนอกเวลาทำงานปกติ เพื่อให้สินค้าผลิตเสร็จตามกำหนดเวลา หรือเป็นการผลิตสินค้าตามความประสงค์ของลูกค้า ซึ่งลูกค้ายินยอมให้กำหนดราคาขายของสินค้าจากต้นทุนของสินค้า โดยรวมค่าล่วงเวลาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้าด้วย ดังนั้นการจ่ายเงินค่าแรงที่เป็นเงินเพิ่มพิเศษอันเกิดจากการทำงานนอกเวลาปกตินี้ให้ถือเป็นค่าแรงทางตรงเช่นเดียวกับค่าแรงปกติ

  22. ตัวอย่าง ในการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า มีการจ่ายค่าแรงทั้งหมดในอัตราปกติ 48,000 บาท เงินเพิ่มล่วงเวลาเพื่อผลิตสินค้าด่วนพิเศษให้แก่ลูกค้าอีก 8,000 บาท การบันทึกบัญชีทำได้ ดังนี้ 1) การบันทึกรายการค่าแรง และเงินเพิ่มล่วงเวลาที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง56,000.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 56,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ 56,000.- Cr. ค่าแรง 56,000.- 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง และค่าล่วงเวลา Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 56,000.- Cr. เงินสด 56,000.-

  23. 1.2 เงินเพิ่มพิเศษในการทำงานล่วงเวลา เนื่องจากการทำการผลิตโดยไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้แต่แรก เช่น มีคนงานบางส่วนลาทำให้คนงานที่เหลือทำงานไม่ทัน เครื่องจักรเสีย วัตถุดิบขาดแคลน หรือเกิดจากการวางแผนการผลิตผิดพลาด เป็นต้น ในกรณีนี้ไม่ควรถือเงินเพิ่มพิเศษในการทำงานล่วงเวลาเป็นค่าแรงงานปกติ แต่ควรถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน

  24. ตัวอย่าง กิจการมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษในการทำงานล่วงเวลาให้คนงาน 15,000 บาท เนื่องจากวัตถุดิบเกิดการขาดแคลนทำให้การผลิตไม่เสร็จทันกำหนด โดยค่าแรงในอัตราปกติประจำเดือนธันวาคมเท่ากับ 75,000 บาท การบันทึกบัญชีทำได้ดังนี้ 1) กาบันทึกรายการค่าแรง และเงินเพิ่มล่วงเวลาที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง 90,000.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 90,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ 75,000.- คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน 15,000.- Cr. ค่าแรง 90,000.- 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง และค่าล่วงเวลา Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 90,000 Cr. เงินสด 90,000

  25. 2. เงินรางวัลการทำงาน (Bonus) หรือเงินโบนัสที่จ่ายให้แรงงานอาจจะจ่ายเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์จากกำไรสุทธิประจำปี หรือเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือนที่ได้รับ โดยอาจจะมีการจ่ายประจำทุก 6 เดือน หรือทุกปี ในทางทฤษฎี หากทราบว่าจำนวนเงินรางวัลการทำงานหรือเงินโบนัสและทราบว่ามีการจ่ายแน่นอน การบันทึกเงินรางวัลการทำงานจะถัวเฉลี่ยรายการนี้เป็นต้นทุนค่าแรงที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน เพื่อให้ต้นทุนการผลิตสม่ำเสมอตลอดปี

  26. ตัวอย่าง สมมติว่าเงินเดือนแรงงานทางตรงประจำเดือนเท่ากับ 20,000 บาท บริษัทฯ มีนโยบายให้เงินโบนัสในแต่ละปีเป็น 1.5 เท่าของเงินเดือน การบันทึกบัญชีทำได้ดังนี้ 1) การบันทึกรายการค่าแรงที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง 20,000.- Cr.ค่าแรงค้างจ่าย 20,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ[20,000+((20,000×1.5)/12)]22,500.- Cr. ค่าแรง 20,000.- เงินกันใช้สำหรับโบนัส 2,500.- 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 20,000.- Cr. เงินสด 20,000.-

  27. เมื่อมีการสะสมโบนัสไว้ครบ 1 ปี ยอดโบนัสจะสะสมรวมกันจนครบ 30,000.- บาท ทางด้านเครดิต เมื่อกิจการมีการจ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานก็จะทำการโอนปิดบัญชีเงินกันไว้สำหรับโบนัส ดังนี้ Dr. เงินกันไว้สำหรับโบนัส 30,000.- Cr. เงินสด 30,000.-

  28. ในทางปฏิบัติจะทำได้ยาก จึงถือเป็นคุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน ทั้งนี้ ในการจัดทำประมาณจำนวนค่าใช้จ่ายโรงงาน กิจการควรจะมีการประมาณเงินโบนัสที่จะต้องจ่ายทั้งปีเป็นค่าใช้จ่ายโรงงานส่วนหนึ่งด้วย เพื่อคำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายโรงงานจัดสรรเป็นการล่วงหน้า

  29. 3. ค่าแรงในระยะหยุดพักผ่อนประจำปี (Vacation Pay) ค่าแรงที่จ่ายไปในช่วงการหยุดพักผ่อนประจำปีนี้ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตขึ้น ดังนั้นค่าแรงในช่วงระยะเวลาหยุดพักผ่อนประจำปีคำนวณเป็นค่าแรงของเดือนที่มีการทำงาน - เฉลี่ยเป็นส่วนหนึ่งของอัตราค่าตอบแทนแต่ละเดือน - ไม่ต้องเฉลี่ย แต่กำหนดให้ค่าแรงที่ต้องจ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน

  30. ตัวอย่าง นายรัช แสนงาม ได้รับเงินเดือน เดือนละ 23,000 บาท คนงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ครึ่งเดือน ระยะเวลาทำงานจะเท่ากับ 11.5 เดือน ค่าแรงระยะหยุดพักเท่ากับ11,500 บาท ไม่มีเงินพิเศษอื่นในช่วงหยุดพักร้อน 1) การบันทึกรายการค่าแรงที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง 23,000.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 23,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ [23,000+((23,000/2)11.5)] 24,000.- Cr. ค่าแรง 23,000.- เงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อน 1,000.-

  31. 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 23,000.- Cr. เงินสด 23,000.- เมื่อมีการสะสมเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนครบ 1 ปี ยอดบัญชีเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนจะสะสมรวมกันจนครบ 11,500 บาท ทางด้านเครดิต เมื่อกิจการถึงคราวต้องจ่ายเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนให้กับพนักงานก็จะทำการโอนปิดบัญชีเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนดังนี้ Dr. เงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อน 11,500.- Cr. เงินสด 11,500.- ข้อสังเกต การจ่ายค่าแรงในช่วงระยะเวลาหยุดพักผ่อนมีลักษณะการบันทึกจำแนกต้นทุนเช่นเดียวกับเงินรางวัล

  32. 4. ค่าแรงว่างเปล่า (Idle Time Wages) ในช่วงที่หยุดการผลิตไม่ว่าจะเป็นการหยุดอันเนื่องจากเครื่องจีกรขัดข้อง วัตถุดิบขาดแคลน หรือคนงานลา หากกิจการยังต้องจ่ายค่าแรงให้กับพนักงานให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน 5. การให้สวัสดิการอื่นๆ กับพนักงาน หากกิจการมีการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องแบบ การจัดรถรับ-ส่ง เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการบันทึกบัญชีให้ถือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน

  33. ตัวอย่าง บริษัท น้ำเพียงดินอุตสาหกรรม จำกัด มีชั่วโมงการผลิตสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8 ชั่วโมง โดยให้หยุดทำงานวันอาทิตย์ คนงานมีจำนวน 20 คน อัตราจ้างคนละ 20 บาท/ชั่วโมง ค่าแรงขั้นต้นที่ได้รับจะมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 3% คนงาน 20 คน จะทำการผลิตสินค้าได้วันละ 1,000 หน่วยทั้งนี้สินค้าที่ผลิตนั้นไม่พอจำหน่ายเพื่อให้สินค้าเพียงพอกับการจำหน่าย บริษัทจึงมีนโยบายให้ผลิตสินค้าวันละ 1,250 หน่วย โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคมให้มีการทำงานล่วงเวลาตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์โดยทำเพิ่มวันละ 2 ชั่วโมง (ค่าล่วงเวลาชั่วโมงละ 30 บาท)

  34. คำนวณค่าแรงในช่วง 2 สัปดาห์แรก ชั่วโมงปกติ 8 ชั่วโมงได้ผลผลิต 1,000 หน่วย 1 ชั่วโมง ได้ 125 หน่วย ต้องการสินค้า 1,250 หน่วย ต้องทำการผลิตวันละ 10 ชั่วโมง ในช่วง 2 สัปดาห์ ต้องจ่ายค่าจ้างให้คนงานดังนี้ 1 คน20 คน อัตราปกติ 12 วัน วันละ 10 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท 2,400.- 48,000.- อัตราเพิ่มพิเศษ 12 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 10 บาท 240.-4,800.- รวมค่าจ้าง 2,640.-52,800.-

  35. บันทึกรายการจ่ายค่าแรงบันทึกรายการจ่ายค่าแรง Dr.ค่าแรง 52,800.- Cr.ค่าแรงค้างจ่าย 51,216.- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (52,800×3%) 1,584.- บันทึกต้นทุนค่าแรง Dr. งานระหว่างทำ 48,000.- คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน 4,800.- Cr.ค่าแรง 52,800.-

  36. เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มกราคม ผู้จัดการฝ่ายขายได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งต้องการให้ทำการผลิตโดยด่วนจำนวน 500 หน่วย และค่าล่วงเวลาให้รวมอยู่ในต้นทุนได้ สินค้ารายการนี้ต้องจัดส่งไปให้วันพุธหน้า จึงมีคำสั่งให้ทำการผลิตสินค้าชิ้นนี้ในวันอาทิตย์ โดยทางบริษัทจะจ่ายค่าแรงให้คนงานเพิ่มเป็น 2 เท่าของอัตราปกติ

  37. ค่าแรงสำหรับงานรีบด่วนของลูกค้าค่าแรงสำหรับงานรีบด่วนของลูกค้า งาน 500 หน่วย ใช้เวลา (500/125) 4 ชั่วโมง ค่าทำงานในวันหยุดค่าแรงเป็น 2 เท่า 1 คน20 คน อัตราปกติ 20 บาท/ชั่วโมง จำนวน 4 ชั่วโมง 80.- 1,600.- อัตราเพิ่มพิเศษ 20 บาท/ชั่วโมง จำนวน 4 ชั่วโมง 80.-1,600.- รวมค่าจ้าง 160.-3,200.- บันทึกการจ่ายค่าแรงงานรีบด่วน Dr. ค่าแรง 3,200.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 3,104.- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (3,200×3%) 96.-

  38. บันทึกต้นทุนค่าแรงงานรีบด่วนบันทึกต้นทุนค่าแรงงานรีบด่วน Dr. งานระหว่างทำ 3,200.- Cr. ค่าแรง 3,200.- • ในวันจันทร์ที่ 6 มกราคม เครื่องจักรเกิดขัดข้อง เนื่องจากความผิดพลาดในด้านเทคนิคบางประการ เป็นผลให้ต้องหยุดการผลิตเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ต้องมีการ ทำงานล่วงเวลาในเวลาเย็นอีก 2 ชั่วโมง

  39. ค่าแรงว่างเปล่า 2 ชั่วโมง :- 1 คน20 คน ค่าแรงว่างเปล่า 2 ชั่วโมง @ 20 บาท 40.- 800.- ค่าแรงปกติ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท 120.-2,400.- รวมค่าจ้าง 160.-3200.- ค่าทำงานล่วงเวลาเพราะเหตุขัดข้อง 2 ชั่วโมง อัตราปกติ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท 40.- 800.- อัตราเพิ่ม 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 10 บาท 20.-400.- รวมค่าจ้าง 60.-1,200.-

  40. บันทึกรายการจ่ายค่าแรงงานเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้องบันทึกรายการจ่ายค่าแรงงานเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง Dr. ค่าแรง 4,400.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 4,268.- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 132.- บันทึกต้นทุนค่าแรงเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง Dr. งานระหว่างทำ 2400+800 ล่าง 3,200.- คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน 800บน+400 1,200.- Cr. ค่าแรง 4,400.-

More Related