1 / 15

สัมมนา

สัมมนา. เรื่อง การตอบสนองทางการเจ็บป่วย กายภาพ ความดันสูงในปอด เมื่อได้รับสารพิษ endotoxin ในไก่ โดย นายคธาชัย นิรัติศยวานิช รหัส 45103405 สาขาสัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. สุกิจ ขันธปราบ . บทนำ.

terryal
Télécharger la présentation

สัมมนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัมมนา เรื่อง การตอบสนองทางการเจ็บป่วย กายภาพ ความดันสูงในปอด เมื่อได้รับสารพิษ endotoxin ในไก่ โดย นายคธาชัย นิรัติศยวานิช รหัส 45103405 สาขาสัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. สุกิจ ขันธปราบ

  2. บทนำ การผลิตสัตว์ปีกได้มีการขยายตัวอย่างมากเพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากรในปัจจุบัน สายพันธุ์ไก่ที่เลี้ยงในปัจจุบันได้เลือกมาเพื่อให้มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่บางระบบการผลิตอาจทำให้สัตว์ได้รับความเครียดขึ้นอย่างเช่น การเลี้ยงไก่ไข่ภายใต้สภาพความหนาแน่นสูง ซึ่งมันจะมีผลกระทบต่อสภาพ การเป็นอยู่ของสัตว์และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียด หนึ่งในวิธีแก้ไขคือการปรับปรุงความสามารถของสัตว์ในการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมโดยการปรับปรุงพันธุกรรมของสัตว์ เนื่องจากสัตว์มีความแตกต่างกันทั้งด้านความสามารถในการรักษาสมดุลพฤติกรรมและกระบวนการทางสรีรวิทยาในอันที่จะตอบสนองต่อการได้รับเชื้อโรคและความเครียด ดังนั้นการคัดเลือกสายพันธุ์ของไก่เนื้อให้มีลักษณะทางพฤติกรรมและ สรีรวิทยาตามต้องการจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ และช่วยในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของไก่ได้ดีขึ้น

  3. Endotoxin lipopolysaccharide ( LPS ) เป็นสารประกอบที่อยู่ด้านนอกของเซลล์แบคทีเรียชนิดกรัมลบ ( gram – negative ) มักถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการทดสอบความอ่อนแอของสัตว์ต่อการได้รับเชื้อโรคอันตรายและความสามารถในการปรับตัวทางระบบภูมิคุ้มกันเมื่อได้รับความเครียด การให้ LPS แก่สัตว์จะทำให้สัตว์เกิดการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้, อัตราการเพิ่มน้ำหนักลดลง อัตราการกินอาหารลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แม้ว่าในปัจจุบันจะพบว่าได้จะมีการตอบสนองต่อ LPS ในรูปแบบคล้ายกับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อลักษณะของไก่ในการที่จะตอบสนองต่อความเครียดของสิ่งแวดล้อมและการรับเชื้ออย่างไร การทดสอบอาการเจ็บป่วยที่ถูกชักนำโดย LPS ในสัตว์ชนิดเดียวกันแต่มีลักษณะทางพฤติกรรม , กายภาพ และสรีรวิทยาต่างกัน จะสามารถใช้ได้ดีในการอธิบายถึงผลของความผันแปรทางพันธุกรรมที่มีต่อการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์และความต้านทานต่อเชื้อโรค (Cheng et al., 2004) คุณสมบัติของ Endotoxin เป็นสารประกอบที่มีความคงทนต่อสภาพอุณหภูมิสูงได้ดี แต่ก็สามารถที่จะทำลายฤทธิ์ของมันได้เมื่อใช้วิธีความร้อนแบบแห้ง ( Dry heat ) ที่อุณหภูมิสูงกว่า 250 องศาเซลเซียส นานไม่น้อยกว่า 30 นาที (ปกรณ์, 2546)

  4. เนื้อเรื่อง การตอบสนองต่อความเครียดเมื่อได้รับสารพิษชนิด endotoxin ในไก่ที่มีไลน์ทางพันธุกรรมที่ต่างกัน โดย Cheng et al., (2004) ความแตกต่างพันธุกรรมในการที่จะตอบสนองต่อการได้รับ LPS ในไก่ไลน์ที่คัดเลือกให้มีอัตราการผลิตและการรอดชีวิตสูง ( HGPS ) และอัตราการผลิตและการลอดชีวิตต่ำ ( LGPS ) เมื่อเลี้ยงในเล้ารวม ร่วมกับไลน์ที่เลี้ยงทางการค้า ( Dekalb XL ; DXL ) แบ่งออกเป็น ชุดควบคุมและชุดทดลองในไก่อายุ 6 สัปดาห์ ชุดทดลองฉีด ( LPS ) สังเกตอาการเจ็บป่วย น้ำหนักตัว น้ำหนักอวัยวะ อุณหภูมิ ของไก่ ในเวลา 6,12,24,48 และ 72 ชั่วโมงหลังฉีด

  5. การเปลี่ยนแปลงที่ถูกชักนำจากการฉีด LPS ในด้านน้ำหนักตัวและน้ำหนักอวัยวะในไก่แต่ละไลน์ จากการทดลองชี้ว่าไก่แต่ละไลน์มีการตอบสนองต่อ LPS ทางด้านการเติบโตที่ไม่เหมือนกัน โดยในไก่ไลน์ DXL พบว่าการเปลี่ยนแปลงด้านการเพิ่มน้ำหนักตัวจะแบ่งเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ ช่วงแรกไก่จะมีการลดค่าการเพิ่มน้ำหนักลงอย่างมากในช่วง 6 ชั่วโมงหลังฉีด จากนั้นจะมีการลดลงอีกเพียงเล็กน้อยเมื่อถึง 24 ชั่วโมงหลังฉีด แล้วจึงมีการฟื้นตัวเมื่อ 48 ชั่วโมงหลังฉีด ส่วนไก่ไลน์ LGPS จะมี 2 ช่วงเช่นกัน แต่การลดลงของค่าการเพิ่มน้ำหนักตัวจะมากกว่าไลน์ DXL ทั้งเมื่อ 6 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมงหลังการฉีดและค่านี้ยังคงติดลบอยู่หลังการฉีด 72 ชั่วโมง ขณะที่ในไลน์ HGPS พบว่าไก่จะไม่มีการลดลงในด้านการเพิ่มน้ำหนักตัวจนกระทั่ง 24 ชั่วโมงหลังฉีด และไก่จะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์เมื่อ 48 ชั่วโมงหลังฉีด จากนั้นในช่วง 48–72 ชั่วโมงหลังฉีดไก่จะมีการเพิ่มน้ำหนักตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ

  6. ผลของพันธุกรรมต่อการตอบสนองต่อ LPS ยังพบในด้านการพัฒนาของอวัยวะด้วย โดยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม พบว่า พบว่าน้ำหนักของม้ามในไลน์ DXL จะเพิ่มขึ้น 48 ชั่วโมงหลังฉีดและมีระดับสูงสุดเมื่อ 72 ชั่วโมงหลังฉีด ขณะที่ในไลน์ HGPS และ LGPS จะไม่พบการตอบสนองในด้านการเพิ่มน้ำหนักของม้ามแต่อย่างใดจนกระทั่งถึง 72 ชั่วโมงหลังฉีด การฉีด LPS ยังส่งผลต่อความแตกต่างทางด้านการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของตับในไลน์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม จะพบว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตับอันเกิดจาการตอบสนอง LPS จะมีเฉพาะในไลน์ LGPS ในช่วง 12–48 ชั่วโมงหลังฉีดเท่านั้น ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในด้านน้ำหนักของหัวใจในไก่ไลน์ DXL หรือ HGPS ในทุกช่วงเวลาทดสอบ แต่พบว่าไก่ในไลน์ LGPS มีน้ำหนักของหัวใจเพิ่มตลอดจนช่วงการทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 72 ชั่วโมงหลังฉีด ไก่ในไลน์ LGPS ยังพบการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของต่อมหมวกไตเมื่อ 6 ชั่วโมงหลังฉีด ขณะที่ในในไลน์ HGPS และ DXL ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงทดลอง

  7. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอุณหภูมิของร่างกายที่ตอบสนองต่อ LPS ในไก่ไลน์ต่าง ๆ ไก่อันถูกชักนำจากการได้รับ LPS จะแปรตามพันธุกรรมและช่วงเวลา พบว่าการฉีด LPS จะทำให้เกิดสภาพ hypothermia (อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ) ในไก่ทุกตัวหลังถูกฉีด 6 ชั่วโมงไม่ว่าจะอยู่ในไลน์ใดก็ตาม แต่การลดลงของอุณหภูมินี้จะพบมากที่สุดในไก่ HGPS (อุณหภูมิ HGPS< LGPS< DXL) เมื่อหลังฉีด 12 ชั่วโมง พบว่า LPS จะชักนำให้เกิดสภาพ hyperthermia (อุณหภูมิสูงกว่าปกติ) ในทั้งไลน์ DXL และ LGPS ตั้งแต่ 12-72 ชั่วโมงหลังฉีด พบว่าอุณหภูมิจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติทั้งในไลน์ DXL และ HGPS ขณะที่ไลน์ LGPS จะเกิดสภาพ hypothermia ในช่วง 48–72 ชั่วโมง

  8. ไก่ในไลน์ HGPS จะตอบสนองต่อการได้รับ LPS ในน้ำหนักตัวและการพัฒนาของอวัยวะน้อยกว่า LGPS และ DXL การฉีด LPS ชักนำให้มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของไก่โดยไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของไก่ Hyperthremai Hypothermai

  9. การฉีด สาร endotoxin เข้าทางเส้นเลือดดำในไก่เพื่อกระตุ้นการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปปอด โดย Wideman et al., (2001) การฉีด endotoxin เข้าทางเส้นเลือดดำ 1 mg จะกระตุ้นให้มีการเพิ่มแรงดันที่ปอด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มแรงดันของเส้นเลือดอาร์เทอรี่ของปอดมีสาเหตุมาจากการหดตัวของเส้นเลือดนี้ ไก่ส่วนใหญ่จะไม่มีการตอบสนองโดยทันที แต่จะมีการตอบสนองหลังถูกฉีดไป 15 นาที และมีการตอบสนองสูงสุด 20 – 25 นาทีหลังฉีด การฉีด endotoxin เพิ่มเติมในระดับความเข้มข้นสูงกว่า 4 เท่าภายหลังจากไก่มีการตอบสนองสูงสุดไปแล้วพบว่าไม่มีผลการตอบสนองเพิ่มเติมแต่อย่างใด

  10. จากการทดลองในการฉีดสาร endotoxin เพิ่มเติมในระดับความเข้มข้นสูงกว่า 4 เท่าภายหลังจากไก่มีการตอบสนองสูงสุดไปแล้วพบว่าไม่มีผลการตอบสนองเพิ่มเติมแต่อย่างใด แสดงว่า การให้ endotoxin ในระดับที่ชักนำให้การตอบสนองเล็กน้อยไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านการหดตัวเมื่อได้รับในครั้งต่อไปเท่านั้นมันยังช่วยเสริมความสามารถทางการตอบสนองเป็นลำดับขั้นตอนที่ชะลอผลการเกิดแรงดันสูงที่ปอดได้

  11. สรุป ในการให้ LPS จะชักนำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจ็บป่วยและกายภาพในไก่ทั้ง 3 ไลน์แต่จะพบได้ชัดเจนที่สุดในไลน์ LGPS กลไกของเซลล์ในการควบคุมการตอบสนองต่อ LPS จะแปรตามชนิดและสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การได้รับ LPS สามารถใช้ได้ดีในการเป็นดัชนีสำหรับประเมินประสิทธิภาพทางระบบภูมิคุ้มกันและความสามารถในการปรับตัวต่อการได้รับเชื้อได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างทางด้านการตอบสนองที่หลากหลายต่อ endotoxin จะสามารถช่วยให้เรามีความกระจ่างมากขึ้นเกี่ยวกับการเกิดโรค PHS ในไก่กระทงได้

  12. จบการนำเสนอ

More Related