1 / 84

มาตรการแก้ไขปี 2544

von
Télécharger la présentation

มาตรการแก้ไขปี 2544

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พัฒนาการเศรษฐกิจไทย จากอดีตที่ไทยเคยรุ่งเรืองจนเกือบกลายเป็นเสือทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งในเอเชีย แต่เมื่อประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัว ก็ทำให้ไทยมีสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่พลิกผัน อยู่ในลักษณะที่คล้ายกับเสือลำบาก และต้องพยายามหาทางออกให้กับตนเองอย่างยากเย็น สืบเนื่องจากการนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปป้องกันค่าเงินบาท ได้ส่งผลให้เงินทุนสำรองฯ เหลือน้อยลง ประกอบกับเงินทุนก็ไหลออกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาทลดลงเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงต้องหันเข้าพึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) แต่การเข้าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ IMF รัฐบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เข้มงวดหลายประการ ตัวอย่างเช่น ในด้านการคลัง ต้องใช้นโยบายการคลังแบบเกินดุลร้อยละ 1 ของ GDP ซึ่งตองตัดงบประมาณรายจ่ายปี 2541 จำนวน 9.23 หมื่นล้านบาท และปรับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ส่วนด้านการเงิน ก็มีการเข้มงวดกับสถาบันการเงิน ให้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับสูง และปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง

  2. การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปีนี้ได้ส่งผลให้ธุรกิจหลายประเภท อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโฆษณา หนังสือพิมพ์บริษัทเงินทุน อุตสาหกรรมรถยนต์ ต้องทยอยปิดกิจการหรือลดขนาด ตลอดจนเลิกจ้างพนักงาน ลดเงินเดือนและสวัสดิการ เพราขาดสภาพคล่อง ต้นทุนสูง ยอดขายตก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมาณการว่า ในปี 2540 จะมีผู้ว่างงานรวมผู้ถูกเลิกจ้างเพิ่มเป็นประมาณ 1.15 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานซึ่งมีประมาณ 32.5 ล้านคน และคาดว่าในปี 2541 จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 1.84 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 5.6 ของกำลังแรงงานซึ่งมีประมาณ 32.7 ล้านคน (ยังไม่รวมแรงงานที่รอฤดูกาลเกษตรประมาณ 5.8 แสนคนในปี 2540 และ 7.5 แสนคนในปี 2541 ) แต่การว่างงานของแรงงานระดับล่างที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบเข้าประเทศของแรงงานต่างชาติ ซึ่งมีประมาณ 1 ล้านคนอีกด้วย (วิกฤตเศรษฐกิจและการดำเนินงานแก้ไข.2540:15 ) ผู้ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง จึงต้องกลับสู่ชนบทอันเป็นถิ่นภูมิลำเนาเดิมของตนเป็นจำนวนมาก การเข้ามาของ IMF ในระยะแรกแทบไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน แต่ผลจากวิกฤตการณ์ที่เริ่มรุนแรง ประกอบกับการขาดความเชื่อมั่นในการบริหารของรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 และได้แถลงว่า ลาออกเพราะบ้านเมืองมีปัญหา ผู้คนแตกแยกทางความคิดและประเทศชาติเผชิญกับวิกฤตการณ์นานาที่โถมทับเข้ามา จากนั้นนายชวน หลีกภัย ก็เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 หลังจากช่วงชิงการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

  3. ผลจากการปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว นอกจากเงินบาทจะมีค่าอ่อนลงจากเดิมแล้ว ยังได้ส่งผลให้วิสาหกิจที่กู้เงินจากต่างประเทศและไม่ได้ประกันความเสี่ยงไว้ ต้องขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 6.64 แสนล้านบาท (วิทยากร เชียงกูลและคณะ.2541: 131) มีหลายรายที่ต้องกลายเป็นลูกหนี้ประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) หรือถูกต่างชาติเข้าครอบงำกิจการ ส่วนกิจการที่พอจะดำเนินธุรกิจไปได้ เมื่อต้องเกิดสภาพคล่องอันเกิดจากธนาคารไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ บางรายก้องกลายเป็นลูกหนี้ประเภท NPL ตามมา สำหรับสถานการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ ปรากฏว่า นักลงทุนยังเทขายหุ้นต่อดัชนีราคาหุ้นจึงตกลงจาก 788.04 จุด ในเดือนมกราคม 2540 เหลือ 380 จุดในเดือนธันวาคม 2540 มูลค่าซื้อขายลดลงจากเฉลี่ยวันละ 4154 ล้านบาทภายใน 1 ปี ภาวะเศรษฐกิจปี 2540 จึงเริ่มหดตัวประมาณร้อยละ -1.7

  4. การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ขยายผลกระทบไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตลอดจนเกาหลีใต้ ทำให้สกุลเงินของประเทศเหล่านั้นไร้เสถียรภาพไปด้วยและถูกพวกกองทุนบริหารความเสี่ยงโจมตีค่าเงินเป็นระยะในช่วงนั้นจนต้องปรับลดค่าเงิน มีหลายประเทศต้องปล่อยให้ค่าเงินลอยตัวเมืองไทย ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจ และถอนเงินจากประเทศจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย และลุกลามออกไปยังรัสเซีย รวมทั้งในหลายประเทศในแถบละตินอเมริกาในที่สุด และผลกระทบเหล่านี้ ได้กลับมาสู่ไทย ในด้านการส่งออกที่ชะลอตัวในภายหลัง เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศเหล่านั้นลดลง

  5. วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจในปี 2541 สืบเนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศลดลงร้อยละ 23.5 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 76 ในปีก่อน แยกออกเป็นการบริโภคลดลงร้อยละ 12.9 และการลงทุนลดลงร้อยละ 40.7 ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการใช้กำลังการผลิต ในระดับต่ำ ประมาณร้อยละ 52.0 โดยลดลงเกือบทุกหมวดการผลิตที่ต่ำมาก ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งมีปัญหาของการว่างงาน ปัญหาหนี้สิน และการลดลงของสินทรัพย์ (Wealth effect) และปัญหาการขาดสภาพคล่อง

  6. ปัจจัยด้านบวกที่ช่วยชะลอการหดตัวมาจากการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เนื่องจากค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนลงโดยเฉลี่ยจาก 31.48 บาท เป็น 41.59 บาท ระหว่างปี 2540-2541 และส่งผลให้ดุลการค้าในปี 2541 เกินดุล 12.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในชนบท ยังมีรายได้จากการเกษตรสูงขึ้นประมาณร้อยละ 25.0 และภาครัฐเร่งการใช้จ่ายในช่วงครึ่งปีหลังของปี จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาความรุนแรงของการหดตัวของอุปสงค์ในประเทศ การลดลงของอุปสงค์ได้ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าลดลงอย่างมาก ถึงร้อยละ 33.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.4 ในปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการส่งออกลดลงเพียงร้อยละ 6.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 ในปีก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล สูงถึง 14.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 12.3 ของ GDP เทียบกับที่ขาดดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของปีก่อน

  7. ขณะเดียวกันเงินทุนเคลื่อนย้ายก็ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับที่ขาดดุล 10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีก่อน ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศจึงแข็งแกร่งขึ้น โดยมีถึง 29.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสิ้นปี 2541 และหนี้ต่างประเทศ โดยเฉพาะ หนี้ระยะสั้น ก็ลดลงเหลือ 23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสิ้นปี 2541 เทียบกับ 34.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปีก่อน (ส่วนหนี้ทั้งหมดมีจำนวน 86.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับ 93.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปีก่อน) ค่าเงินบาทจึงกลับมามีเสถียรภาพมั่นคงขึ้นนับจากเดือนกุมภาพันธ์ (ธนาคารแห่งประเทศไทย.2542) แม้สัญญาณการปรับตัวจะดีขึ้นดังกล่าว แต่ยังประสบปัญหาและการเสี่ยงอันจะเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจคือ ปัญหาการขาดสภาพคล่องสืบเนื่องจากปัญหาสินทรัพย์คุณภาพของสถาบันการเงิน เป็นผลให้สถาบันการเงินในประเทศเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะเดียวกันการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนก็จำเป็นต้องใช้เวลา ส่งผลให้ธุรกิจขาดทุนหมุนเวียน และมีความเสี่ยงมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์โดยรวมยังคงอ่อนตัว ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ จึงมีความเกี่ยวโยงกันเป็นลูกโซ่ในช่วง 1 เดือน ของปีนี้ (กุมภาพันธ์-สิงหาคม 2541) มูลค่าหุ้นรวมในตลาดหลักทรัพย์ จึงหดหายกว่า 77 แสนล้านบาท แต่เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม โดยดัชนีเมื่อสิ้นเดือนมกราคม เท่ากับ 495.23 จุด มูลค่าหุ้นตามตลาด 1.545 ล้านล้านบาท แต่เมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม ดัชนีลดลงมาอยู่ในระดับ 214.53 จุด มูลค่าหุ้นเหลือเพียง 0.765 ล้านล้านบาท (ธวัชชัย ฐิติวณิชย์ภิวงศ์.2541: 14)

  8. อย่างไรก็ดีในปี 2541 เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวร้อยละ 2.0 และจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในปี 2540 ก็ตาม แต่ก็พอจะช่วยให้ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้นในปีน ปริมาณการค้าโลก ขยายตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับร้อยละ 9.7 ปีก่อน อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.4 ส่วน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาสูงถึงร้อยละ 10.3 เทียบกับร้อยละ 9.1 ปีก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ในรูป ดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.7 เทียบกับร้อยละ 5.9 ปีก่อน และอีตราการว่างงานของญี่ปุ่น อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.1 เทียบกับร้อยละ 3.4 ปีก่อน ส่วนของสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 4.9 ปีก่อน (ธนาคารแห่งประเทศไทย 2541)

  9. มาตรการการแก้ไข ปี 2541 จากปัญหาต่าง ๆ ที่ยังรอการแก้ไขอย่างรีบด่วนดังกล่าว กรอบนโยบายเศรษฐกิจและการเงินในปี 2541 จึงมุ่งไปในด้านการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายที่จะเอื้อให้ กระบวนการปล่อยสินเชื่อ ของภาคการเงิน กลับคืนสู่ปกติ และรองรับภาค เศรษฐกิจจริง ซึ่งรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้มาตรการที่สำคัญดังต่อไปนี้

  10. 1. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2541 เพื่อช่วยให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้รายใหญ่ เป็นไปได้โดยเร็ว 2. การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 เพื่อฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน ให้สามารถเพิ่มทุน มีทั้งโครงการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ซึ่งในขั้นที่ 1 สถาบันการเงินต้องการสำรอง เผื่อหนี้เสียให้ครบถ้วนทันที และหาเงินทุนจากภาคเอกชนมาสมทบในขณะที่รัฐบาล จะช่วยเพิ่มทุนถือหุ้นบุริมสิทธ์ ส่วนโตรงการเพิ่มกองทุนขั้นที่ 2 เมื่อสถาบันการเงินมีการประนอมหนี้ กับธุรกิจที่เป็นลูกหนี้และขาดทุนจากการประนอมหนี้ จนเงินกองทุนลดต่ำลง หรือมีการให้กู้ยืมเพิ่มเติม รัฐบาลจะช่วยเพิ่มทุนให้เพื่อการซื้อหุ้นกู้ด้วยสิทธ์จากสถาบันการเงินนั้น การดำเนินการเพื่อเพิ่มทุนครั้งนี้รัฐบาลได้ตั้งเงินกองทุนไว้ 3 แสนล้านบาท โดยการออก พันธบัตร รวมทั้งได้ออกพระราชกำหนด (พรก.) 4 ฉบับ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย พรก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พรบ.) การธนาคารพาณิชย์ และ พรบ. แก้ไขเพิ่มเติม พรบ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ เพื่อรับรองการ ควบรวมกิจการ พรก. บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรองรับการจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ (บบส. หรือ Asset Management Company) (AMC) และพรก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินโดยทำสัญญาออกพันธบัตร หรือ ตราสารอื่น ได้

  11. นอกจากนี้ยังได้เข้าแทรกแซงสถาบันการเงิน ที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง หรือขาดทุนสูงมาก ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง และบริษัทเงินทุน 5 แห่ง โดยสั่งลดทุนหุ้นละ 1 สตางค์ เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร และให้เพิ่มทุน จากนั้น ให้ร่วมกิจการธนาคารแหลมทอง เข้ากับธนาคาร รัตนสิน ส่วนธนาคาร สหธนาคาร และบริษัท เงินทุน 12 แห่ง (แทรกแซงเมื่อ 18 พฤษภาคม และ 14 สิงหาคม 2541) ให้รวมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยธนาคาร สำหรับธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ และธนาคารมหานครให้รวมกับธนาคารกรุงไทย (ธนาคารแห่งประเทศไทย 2541)

  12. 3. การออกกฎหมาย 11 ฉบับ นับเป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่รัฐบาลได้เสนอ ให้นำออกมาใช้ในปีนี้ ประกอบด้วย กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว กฎหมายการเช่าอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายอาคารทรุด กฎหมายล้มละลาย กฎหมายจัดตั้งศาลล้มละลาย กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ กฎหมายประกันสังคม แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 3 ส่วน คือ คดีมโนสาเร่ การพิจารณาโดยขาดนัด และการบังคับคดี และแก้ไขกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นสิ่งจูงใจ ให้นักลงทุนต่างชาติ นำเงินทุนเข้ามา แต่ก่อนจะนำออกมาบังคับใช้ได้ กฎหมายบางฉบับ ต้องใช้เวลาพิจารณานานจนข้ามปี แล้วยังถูก พิพากษ์ พิจารณ์ว่า รัฐบาลออกกฎหมาย 11 ฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหนังสือ แจ้งความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการ และการเงินจาก IMF

  13. 4. การใช้งบประมาณแบบขาดดุล สืบเนื่องจากการดำเนินนโยบายตามเงื่อนไขของ IMF ในช่วงครึ่งแรกของปี 2541 รัฐบาลเริ่มถูกต่อต้านจากคนไทยที่เรียกร้องให้กลับมาตรการเพื่อลดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจภาคการผลิต (real economy) และลดผลลบต่อคนยากจนทั้งนี้ เพราะการรักษาวินัยทางการคลัง การรักเสถียรภาพค่าเงินบาท และการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินโดยเฉพาะมาตรการจำกัดอุปทานเงิน และการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง (เกินกว่าร้อยละ 20) ส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจภาคการผลิตชะงักงัน และหดตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากการขาดสภาพคล่อง (ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์ . 2541) รัฐบาลจึงได้เจรจาต่อรองกับ IMF ให้มีงบประมาณแบบขาดดุล ได้ร้อยละ 2 ของ GDP เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 และปรับเพิ่มการขาดดุล เป็นร้อยละ 3 ในเดือน พฤษภาคม 2541 รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และเร่งคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล

  14. 5. การจัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อให้มีอำนาจนำสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนที่ถูกปิด 56 แห่งออกประมูลขาย แต่ผลดำเนินการของ ปรส. ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่โปร่งใส เพราะให้บริษัทที่ปรึกษาของ ปรส. และบริษัทในเครือของลูกหนี้ ประมูลได้ นอกจากนี้ ยังสร้างกำลังให้บริษัทต่างชาติมหาศาล เพราะสามารถประมูลได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของยอดเงินต้นคงค้าง 6. การช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รัฐบาลได้ออก พ ร ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์จะกู้เงินในประเทศ จำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย และปรับโครงสร้างหนี้ ของกองทุนฟื้นฟู ฯ

  15. 7. การใช้เงินกู้ตามโครงการมิยาซาวา เงินกู้นี้ ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นเงิน 1850 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรร ให้แต่ละกระทรวงที่เสนอโครงการ จึงมีทั้งโครงการขนาดเล็กและโครงการขนาดใหญ่หลายลักษณะ ตัวอย่างเช่น การลงทุนและสร้างงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขังและการส่งออกของประเทศ ฯลฯ 8. โครงการลงทุนเพื่อสังคม เพื่อการบรรเทาผลกระทบทางสังคม รัฐบาลได้ใช้เงินกู้จาก ธนาคารโลก OECF เงินบาทสมทบ และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า จาก UNDP และ AusAID ประมาณ 21689 ล้านบาท ดำเนินโครงการเพื่อสังคม (Social Investment Project : SIP) โดยมีสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ที่จัดตั้งโดยธนาคารออมสิน รับผิดชอบด้านการจัดการและบริหาร กองทุนที่จัดตั้งขึ้น 2 กองทุน คือ กงทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม และกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค แต่ละกองทุนจะมีคณะกรรมการ พิจารณาอนุมัติโครงการ โดยชุมชนและองค์กรชุมชน เสนอโครงการขอเงินอุดหนุน จากกองทุนแรก และเทศบาลเสนอโครางการขอกู้เงินจากกองทุนหลัง

  16. นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้วยังมีมาตรการอื่น ๆ อีกหลายมาตรการที่รัฐบาลใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น มาตรการภาษ มาตรการ แรงงาน มาตรการรัฐวิสาหกิจ มาตรการด้านตลาดทุน มาตรการด้านการผลิต ฯลฯ อย่างไรก็ดีในขณะที่ระบบเศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง แต่กลับปรากฏว่าเงินฝากล้นธนาคาร โดยเงินฝากทุกประเภทมีมากถึง 4.12 ล้านล้านบาท ในปี 2541 เทียบกับ 3.62 และ 2.43 ล้านล้านบาท ในปี 2540 และ 2539 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ลดลง เหลือร้อยละ 6.00 - 6.25 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 10.00 – 13.00 และ 8.50 – 10.00 ในระยะเวลาเดียวกัน เนื่องจากธนาคารเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อ (ธนาคารแห่งประเทศไทย 2543) แต่เงินฟ้อกับสูงถึงร้อยละ 10.7 ในเดือน มิถุนายน 2541 และเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ ร้อยละ 8.1 เพราะสินค้าประเภทอาหาร มีราคาสูงขึ้น ประมาณร้อยละ 10 ส่วนสินค้ามิใช่ประเภทอาหารราคาสูงประมาณร้อยละ 7.3 นอกจากนี้ การที่ภาคเศรษฐกิจจริง ลดการผลิตลงมาก โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น วัสดุก่อสร้าง เหล็ก และ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ยานพาหนะ และชิ้นส่วน ประกอบกับการว่างงานสูงด้วย จึงส่งผลให้ขาดกำลังซื้อ และเกิดเงินเฟ้อในที่สุด เศรษฐกิจในปี 2541 จึงหดตัวอย่างรุนแรงถึงร้อยละ -10.2

  17. เศรษฐกิจเริ่มฟื้น(2542-2543) หลังจากประสบวิกฤติ เศรษฐกิจในช่วง 2 ปีกว่าที่ผ่านมา เศรษฐกิจในปี 2542 ก็ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกสาขา โดยเครื่องชี้การผลิตและการบริโภคหลายตัวได้ส่งสัญญาณว่ามีการปรับตัวดีขึ้งอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 ในปีนี้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 8.5 แยกออกเป็นการขยายตัวทางด้านบริโภคภาคเอกชนร้อยละ 3.8 ด้านการลงทุนด้านเอกชนร้อยละ 1.1 และด้านการใช้จ่ายภาครัฐร้อยละ 7.9 ด้านการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.0 แต่เนื่องจากมีการนำเข้าสูงถึงร้อยละ16.7 จึงทำให้ดุลการค้าแม้จะเกินดุล 9.2 พ้นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ยังต่ำกว่าปีก่อนที่เกินดุล 12.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นปัจจัยถ่วงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยสินค้าที่นำเข้าในอัตราสูงคือวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งอาจมีนัยต่อโครงสร้างสัดส่วนการนำเข้าของวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว

  18. ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ต่ำกว่าปีก่อน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีนี้เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลประมาณ 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนที่ขาดดุลประมาณ 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีการนำเข้าเงินกู้ภายใต้แผนมิยาซาวา เงินกู้ IMF และธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อเงินตราต่างประเทศ จึงส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุล 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มเป็น 34.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ภาคเอกชนก็ได้เร่งชำระหนี้ จึงทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงเหลือ 75.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศให้มีระยะยาวมากขึ้นด้วย (ธนาคารแห่งประเทศไทย.2543) ในด้านอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีปัญหา เพราะอยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 0.3 ต่อปี แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีก็ตาม แต่เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกลดลง และอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัว จึงไม่กดดันต่อระดับราคา ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อต่ำได้ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างต่อเนื่อง และเอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้

  19. สาเหตุที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ ทั้ง ๆ ที่ในปี 2541 เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างมากนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

  20. มาตรการแก้ไขปี 2542ในปี 2542 รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง ดังนี้ 1. มาตรการ 30 มีนาคม 2542 เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน ได้แก่เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ 53000 ล้านบาท ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม จากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เป็นระยะเวลา 2 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วง 50000 บาทแรก ส่วนที่เกิน 50000 บาท จะลดให้ 2500 บาทต่อปี รวมทั้งลดค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 25.87 สตางค์ต่อหน่วย ลดราคาขายแก๊สหุงต้ม 1.30 บาทต่อกิโลกรัม และลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาจากร้อยละ 17.50 เหลือร้อยละ 5 2. มาตรการ 10 สิงหาคม 2542 เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนผ่านมาตรการ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) มาตรการด้านภาษี ประกอบด้วยการปรับปรุงอัตราอากรขาเข้าของสินค้าทุนและวัตถุดิบให้ผู้ประกอบการเลือกค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในอัตราเร่งตามวิธียอดลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method) ได้อีกวิธีหนึ่ง ยกเลิกการจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า/หรือส่งออกซึ่งทองคำ (2) มาตรการสนับสนุนเรื่องเงินทุน ด้วยการจัดตั้งกองทุน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) กองทุนเงินร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง

  21. (Thailand Recovery Fund) และกองทุนร่วมเพื่อการร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (3) มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการจัดวงเงินสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวถึง 30 ปี โดยกำหนดให้มีดอกเบี้ยคงที่ทุกช่วง 3 ปี หรือ 5 ปี และลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 2 เหลือเพียงร้อยละ 0.01 และ (4) มาตรการปรับโครงสร้างการเงินวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีทั้งการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุน จัดตั้งบริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ ส ย) เอให้บริการค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกัน และปรับโครงสร้างของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ อ ย) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและขยาย ปรับปรุงกิจการของอุตสาหกรรมขนาดย่อมและธุรกิจส่งออกที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.2541.Online) อย่างไรก็ดี ถึงแม้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มขยายตัว แต่ NPL ของธนาคารพาณิชย์ไทย 13 แห่ง ยังอยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 46 ของสินเชื่อคงค้างรวมในปลายปี 2542 เทียบกับร้อยละ 35.89 ของสินเชื่อคงค้างรวมในเดือนมิถุนายน 2541 ส่วนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนในปี 2542 ลดลงเหลือ 39.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 54.7 และ 69.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 และ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่หนี้ต่างประเทศของรัฐเพิ่มขึ้นเป็น 23.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 20.3 และ 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาเดียวกัน โดยภาคเอกชนมีหนี้ระยะยาวมากกว่าระยะสั้นเกือบ 2 เท่าตัว ส่วนภาครัฐเกือบทั้งหมดเป็นหนี้ระยะยาว

  22. จากสัญญาณที่แสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวในทางที่ดี รัฐบาลจึงได้สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2542 ไปในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ถึง IMF ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 21 กันยายน 2542 โดยประมาณการว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3-4 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 0.5 การส่งออกเพิ่ม ร้อยละ 4 การนำเข้าเพิ่มร้อยละ 12.6 ทำให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9 ของ GDP และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 32-34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงตัดสินใจไม่เบิกถอนเงินกู้ในงวดนี้และงวดต่อ ๆ ไปจนจบโครงการในเดือน พฤษภาคม 2543 ซึ่งไทยได้เบิกเงินกู้มาแล้ว 8 งวดเป็นเงิน 13.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากที่อนุมัติให้กู้รวม 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่เศรษฐกิจของไทยในปี 2542 มีลักษณะที่คล้ายกับคนป่วยที่เพิ่งฟื้นไข้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะยังมีปัจจัยที่อาจซ้ำเติมให้ทรุดหนักลงได้อีก ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย(2543:2-3) ได้สรุปว่าปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง ได้แก่ (1) ความคืบหน้าในการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนที่จะต้องทำควบคู่กันกับการปรับโครงสร้างธุรกิจที่แท้จริง (2) หนี้ภาครัฐมีแนวโน้มมากขึ้น (3) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข (4) การตื่นตัวของภาคการผลิตที่ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้นและ (5) ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก ได้แก่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว

  23. ในปีนี้เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 ปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวเช่นเดียวกับเศรษฐกิจของประเทศที่เคยวางแผนจากส่วนกลาง ซึ่งอยู่ในช่วงของการปรับตัวเศรษฐกิจ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นภายหลังวิกฤติการณ์ทางการเงินของรัสเซียคลี่คลายลง และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาปรับตัวดีขึ้น จากกการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศอุตสาหกรรมใหม่เช่นกัน จงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้เศรษฐกิจไทย ในปีนี้ขยายตัวร้อยละ 4.2 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2542 มีผู้บริหารประเทศและนักวิชาการบางคน กล่าวว่า เราเริ่มหลุดพ้นจากก้นเหวแล้วแต่จะดีขึ้น แบบรูปตัว U หรือ V และจะยั่งยืนพียงใด ก็เป็นฯสิ่งที่ควรจบตาดูต่อไป เมื่อย่างเข้าสู่ปี 2543 หรือปี 2000 ที่คนทั่วโลกกลัวปัญหา Y2K ว่าจะสร้างปัญหากับระบบการคำนวณวัน และปีของ คอมพิวเตอร์ แต่การตื่นตัวเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงทำให้ ผ่านพ้นมาด้วยดี และแนวโน้มของเศรษฐกิจก็เริ่มมีสัญญาณบางตัวที่แสดงว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ตัวอย่างเช่น มีการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7.4 ในเดือน มกราคม ร้อยละ 19.1 ในเดือน พฤษภาคม 2543 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงว่ามีการใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จำนวนการประกันตนในระบบประกันสังคมก็เพิ่มขึ้นถึง 124053 คน ในระหว่างเดือน มกราคม หรือ พฤษภาคม เนื่องจากมีการขยายการผลิตและการจ้างงาน ทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในบางสาขาก็มีการขยายตัวในช่วง 5 เดือน แรกของปี เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อน โดยเฉพาะปิโตรเลียม และ เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก แต่ในช่วงครึ่งปีหลังการผลิตโดยรวมเริ่มชะลอตัว ดังนั้นดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมตลอดปี 2543 จึงขยายตัวร้อยละ 3 ชะลอลงจากร้อยละ 12.5 ในปีก่อนในขณะที่สินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวสูงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลก อาทิ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.6 หมวด อัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวร้อยละ 28.5 และหมวดยานยนต์ และอุปกรณีขนส่งขยายตัวร้อยละ 25.6

  24. อย่างไรก็ดียังมีตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้เช่นกัน เป็นต้นว่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 14.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 1 เป็น 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 4 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 1 เป็น 17.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 4 ซึ่งทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจาก 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 1 เหลือ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 4 นอกจากนี้เงินทุนก็ยังไหลออกมากกว่านำเข้า โดยมีการเคลื่อนย้ายสุทธิลดลงจาก 28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 1 เหลือ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 4 การที่เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังชะลอการนำเงินทุนเข้ามาลงทุนเพิ่ม ซึ่งอาจเกิดจากความไม่เชื่อมั่นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน เพราะ NGL ลดช้าลง โดยในเดือน กรกฎาคม 2543 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ยังคงเหลือร้อยละ 31.28 รวมทั้งตลาดหุ้นก็ไม่สนใจ ต่างชาติพากันเทขายหุ้น จนดัชนีตลาดหุ้นลดลงจาก 477.57 จุด ณ วันสิ้นเดือน มกราคม เหลือ 325.69 จุด ณ วันสิ้นเดือน มิถุนายน 2543 ส่วนการคลังรัฐบาลในระยะ 9 เดือน และของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม2542-มิถุนายน 2543) ยังขาดดุลงบประมาณ 77910 ล้านบาท และขาดดุลเงินสด 91979 ล้านบาท

  25. เมื่อมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบเข้ามากระตุ้นและเหนี่ยวรั้งตลอดปี 2543 จึงส่งผลให้ความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้า โดยขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0-5.0 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.0-4.5 และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 12.0-15.0 ส่วนดุลการค้าเกินดุล ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการส่งออก ขยายตัวร้อยละ 19.6 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 31.3 ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเปลี่ยนเป็นขาดดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เคยเกินดุล 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2542 ด้านหนี้ต่างประเทศก็ยังคงลดลงและปรับเป็นระยะยาวมากขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนชำระหนี้คืนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชน ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน ลดลงเหลือ 47.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 58 ของหนี้ต่างประเทศรวม ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำรพเงินกู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จำนวน 193 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีนี้ด้วย ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศรวมลดลงเหลือ 81.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  26. สำหรับตลาดการเงินยังมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงตัวในระดับต่ำ ณ สิ้นปี 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง เท่ากับร้อยละ 7.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเท่ากับร้อยละ 3.0 ต่อปี นอกจากนี้ หนี้ทีไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินก็ลดลงมากถึง 981.41 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน เนื่องจากโอนสินทรัพย์ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน จึงมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เท่ากับ 1113 พันล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 22.7 ของยอดสินเชื่อรวมในปีนี้ อัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แม้ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้ามากนัก เนื่องจาก ราคาสินค้าเกษตรที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของดัชนีราคา ผู้บริโภคยังลดลง อัตราเงินเฟ้อจึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เศรษฐกิจไทยในปี 2543 จึงยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัว เนื่องจากการขยายตัวชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี ตามการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมดังกล่าวในขณะที่รัฐก็ระมัดระวัง การใช้จ่ายมากขึ้น เพราะ ต้องการการควบคุมการก่อหนี้ของภาครัฐ ไม่ให้สูงเกินไปด้วย จึงขายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี

  27. ส่วนเศรษฐกิจโลกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4ในปี 2542 อันเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกาและยุโรป และการฟื้นตัวในภูมิภาคเอเชีย ละตินอเมริกา และตะวันออกกลางสำหรับอัตราในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วยังอยู่ในระดับต่ำ คือร้อยละ 2.3 โดยญี่ปุ่นยังติดลบร้อยละ 0.2 ส่วนกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนามีอัตราร้อยละ 6.2 ในด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการปรับตัวสูงขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวม 3 ครั้งเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และพฤษภาคม เป็นร้อยละ 5.75,6.0 และ 6.5 ตามลำดับเพื่อควบคุมการขยายตัวของเศรษฐกิจให้อยู่ในละดับที่เหมาะสม ส่วนสหภาพยุโรปมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.6 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในญี่ปุ่นกลับอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว นอกจากนี้ ยังคาดว่าอัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะชะลอตัวเหลือร้อยละ 5.9 ลดลงจากร้อยละ 6.3 ในปีก่อน เช่นเดียวกลับสหรัฐอเมริกาที่อัตราการว่างงานชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.2 ในปีก่อนเหลือร้อยละ4.1 ในปีนี้ แต่อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นกลับสูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 5.0 ในปีนี้ (ธนาคารแงประเทศไทย .Online)

  28. มาตรการแก้ไขปี 2543 ในปี 2543 รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง เพื่อรักษาระดับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อตาขายรองรับความปลอดภัย (Safety Net) แก่ระบบเศรษฐกิจพอสรุปได้ดังนี้

  29. 1. กรกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก (1) ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 (2) ยกเว้นละลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ได้จากการลงทุนรวมเพื่อเกษียณอายุ (RMF) สำหรับผู้มีเงินที่ได้จากการจ้างงานหรือการประกอบอาชีพ แต่ต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของรายได้ทั้งปีและจะขาดการลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปี (3) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการประกอบอาชีพ ของเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยโดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้กับ ก.ส. (2000 ล้านบาท) กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (2000 ล้านบาท) และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (2925 ล้านบาท) และ (4) ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและสมาชิก สถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยภาคใต้ โดยรัฐบาลจัดสรรเงินให้กับ ธกส. จำนวน 982 ล้านบาท เพื่อชดเชยที่ต้องงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ประสบภัย

  30. 2. การส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ (1) ขยายขอบข่ายและระยะเวลาเปลี่ยนแปลงในการลดค่าธรรมเนียม การโอนจากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 โดยให้ครอบคลุมถึงการโอนที่ดินที่ไม่มีสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 (2) เพิ่มค่าลดหย่อยดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อเช่าซื้อ และสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิม 10000 เป็น 50000 บาทต่อปี มีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2543 (3) ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้า หรือหากำไรจากเดิมร้อยละ 3.3 เหลือร้อยละ 0.01 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และ (4) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ผู้มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่ที่ได้มา 3. การสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ (1) ลดอัตราอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลางสินค้าทุน และสินค้าอย่างอื่น จำนวน 542 และ 73 รายการ (4 กรกฎาคม 2543 และ 31 ตุลาคม 2543) ตามลำดับ (2) ปรับโครงสร้างการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อย (SMEs) โดยจัดหาเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธกส. และ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) จากธนาคารพัฒนาเอเชียวงเงิน 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และความช่วยเหลือแบบให้เปล่า จากธนาคารพัฒนาเอเชียวงเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมเงินทุนขนาดย่อยและบรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อย และ (3) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPL ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า การให้บริการและการรับจ้างทำของ โดยมีสาระสำคัญ คือ ต้องมีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR หรือ MOR โดยบรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) จะค้ำประกันสินเชื่อใหม่ในสัดส่วนร้อยละ 75 และสถาบันการเงินจะเฉลี่ยความเสี่ยงในอัตราร้อยละ 25 ทั้งหนี้ โครงการมีอาบยุไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ 7 เมษายน 2543 - 6 เมษายน 2545 เมื่อ สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และให้ลูกหนี้ SMEs ลงนามในสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เรียบร้อยแล้วให้จัดเป็นลูกหนี้ฉันปกติได้ทันที

  31. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ครม. มีมติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 อนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาความจนระยะที่ 2 (พ.ศ.2541-2544) เพื่อกระจายให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นจำนวน 10000 หมู่บ้านโดยใช้เงินกู้จากต่างประเทศจำนวน 2924.80 ล้านบาท 5. ด้านการค้า ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก โดย ครม. มีมติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก เพื่อยกระดับมาตรฐานในการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ลดขั้นตอนและค้าใช้จ่ายในการส่งออก สร้างเสถียรภาพราคาสินค้าผักละผลไม้ในประเทศ รวมทั้งพัฒนาตลาดกลางผักแลละผลไม้ไทย มีระยะเวลาโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 15 ปี ในจากวันที่เริมเปิดดำเนินการ ใช้งบประมาณ 2544 จำนวน 27.3 ล้านบาท โดยภาครัฐจะทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าและออกเอกสารสำคัญ ส่วนภาคเอกชนจะทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้บริการและอำนวยความสะดวกต่อผู้ส่งออกรวมทั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อให้บริการแบบเบ็ตเสร็จแก้ผู้ส่งออก ผู้ค้า และเกษตรกรในรูปแบบ One Stop Serviceจากช่วงเศรษฐกิจเติบโตจนถึงขาลงและกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว คือ ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นจนมาจนถึงสิ้นปี 2543 เป็นช่วงที่อยู่ในการใช่แผนฯ 6-7 และกาลังอยู่ปลายแผนฯ 8 ซึ่งมีเป้าหมายทางเศรษฐกิจทางสังคม ดังนี้ แผนฯ 6 (2530-2534)จัดเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในช่วงแผนฯ 5 ซึ่งมีปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงิน เงินออมขาดแคลน โครงสร้างการผลิตอ่อนแอ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และความไม่สมดุลในตลาดแรงงาน แผนฯ 6 จึงมีสาระสำคัญ 2ประการคือ

  32. ด้านเศรษฐกิจ มุ่งรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถรองรับกำลังงานและมีการกระจายรายได้ ที่เท่าเทียมกันมากขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดเสถียรภาพของเศรษฐกิจการเงินทั้งภายในและนอกประเทศ ด้นสังคม เน้นการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร และเสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดี ความแตกต่างของแผนฯ 6 กับแผนฯ ฉบับก่อนๆคือให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารงานทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ จึงส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงแผนฯ 6 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดในโลก มีระดับการลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศช่วงนั้นเอื้ออำนวยด้วย กล่าวคือ ราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกทรงตัวในระดับต่ำประเทศอุตสาหกรรมมีเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องการส่งออกของไทยจึงกระเตื้องอย่างเห็นได้ชัด(ธนาคารแห่งไทย. 2535 : 284-285) ผลการพัฒนาในช่วงแผนฯ 6 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10.9 ต่อปีสูงกว่าเป้าหมายที่ปรับปรุงแล้ว คือ ร้อยละ 8.4 ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงที่สุดในปี 2531 คือ ร้อยละ13.3 ต่อปีนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา

  33. แผนฯ 7 (2535-2539 )เน้นให้มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงปริมาณและคุณภาพ ภายใต้การวางแนวปฏิบัติคือ 1.รักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ2.การพัฒนาตลาดการเงินและการลงทุน 1) พัฒนาเครื่องมือและช่องทางการออมระยะยาว 2) การปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน 3) การพัฒนาสถาบันการเงินและตลาดทุน4) การพัฒนาให้ตลาดเงินและตลาดทุนเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินและ เป็นตลาดหลักทรัพย์สากล 3. เร่งรัดการกระจายรายได้ 4. พัฒนาสิ่งแวดล้อม แผนฯ 7 มีเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปีและผลของการพัฒนาตามแผนฯทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.1 ต่อปี ต่ำกว่าเป้าหมายเป็นอย่างน้อย ผลการพัฒนาจากแผนฯ 1-7 ทำให้รายได้ต่อบุคคลเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี 2504 เป็น 69,000 บาท ในปี 2539

  34. แผนฯ 8 (2540-2544)เป็นแผนฯ ที่เริ่มเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยหันมาเน้น “คน” เป็นจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาแทน และให้กรพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือ (means) ในการพัฒนาคนเท่านั้น เนื่องจาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา แม้จะประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ผลของการพัฒนาได้ก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆมากมาย ได้แก่ ความเลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างคนในประเทศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม เช่น การย่อหย่อนในศีลธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมที่ดีงามของไทยเริ่มจางหาไป พร้อมกับการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่นรวมทั้งคนในสังคมเมืองได้รับสภาพบีบคั้นทางจิตใจ จากความแออัดของชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม (อัจฉรา วรศิริสุนทร. 2539:10-11)

  35. แผนฯ 8 จึงมีวัตถุประสงค์หลัก 3ประการคือ 1. เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของไทยให้มีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างที่เข้มแข็ง มีระบบชุมชนที่มีบทบาทเกื้อหนุนต่อกัน เป็นฐานเศรษฐกิจด้านหน้าของภูมิภาคนี้สามารถพัฒนาได้โดยยั่งยืน มารถรองรับและปรับตัวให้ทันต่อกะแสการเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจโลก2. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และลดความแตกต่างด้านผลประโยชน์จากการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพและทุกภูมิภาคได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้ชุมชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพและตั้งถิ่นฐาน โดยไม่ได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต3. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการ ที่ทำให้การพัฒนาบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการเพิ่มสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศ

  36. อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อคนไทยและสังคมหลายด้าน อาทิ ค่าครองชีพสูง ว่างงาน ผู้ด้อยโอกาสไม่ได้รับบริการที่เพียงพอทำให้มีผลสืบเนื่องไปถึง การก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงได้มีการปรับแผนด้านการพัฒนาคนและสังคม เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบดังกล่าว แต่ยังมุ่งให้คนเป็นศูนย์กลาง หรือจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาต่อไป สำหรับทิศทางหลักในการลดผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ในระยะที่เหลือของแผนฯ 8 (การปรับแผนฯ : ด้านการพัฒนาคนและสังคม.2540:25)1. ดูแลการจัดสรรทรัพยากรโดยเฉพาะงบประมาณแผนดิน มิให้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคนและสังคม ทั้งในด้านการศึกษาและสาธารณสุข และสวัสดิการแก่กลุ่มที่ด้อยโอกาส2. พัฒนากลไกลการบริหารจัดการพัฒนาคนและสังคมให้มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจในลักษณะหุ้นส่วนการพัฒนา และเสริมสร้างภาวการณ์เป็นผู้นำในทุกระดับ

  37. 3. ปูพื้นฐานการปฏิรูประบบการพัฒนาคนและสังคมในเรื่องสำคัญๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว ได้แก้ การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบสาธารณสุข และการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม

  38. การวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจฟองสบู่ในศตวรรษ 2530เศรษฐกิจฟองสบู่ในไทยเป็นอย่างไร เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร และมีตัวอะไรเป็นตัวเร่งให้ฟองสบู่พองตัวเร็วขึ้นเป็นสิ่งที่นักวิชาการได้มีการวิเคราะห์ให้เห็นภาพที่แท้จริงไว้ดังต่อไปนี้ (รังสรรค์ ธนพรพันธุ์. 2542:14-20) ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่เป็นสภาวการณ์ที่ราคาสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ถูกผลักดันให้สูงกว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เป็นจริง ซึ่งมีที่มาจากปัจจัยภายนอก ประเทศ และเกิดในตลาดที่ดินก่อนเกิดในหลักตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็เชื่อมโยงกันระหว่างตลาดทั้งสอง ตลาดที่ดินเริ่มปรากฏความคึกคักหลังปี 2528 สืบเนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เติบโตในระดับสูงในช่วงปลายทศวรรษ 2520 ต่อเนื่องไปถึงต้นทศวรรษ 2530 จนเกิดส่วนเกินทางเศรษฐกิจจำนวนมาก และถูกนำไปใช้ในการลงทุนต่างประเทศมีบางส่วนที่ใช่ในการเกณฑ์กำไรจากการชื้อขายหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และศิลปวัตถุ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศญี่ปุ่นเอง ประชาชนชาวญี่ปุ่นก็เสพสุขจากความรุ้งเรืองทางเศรษฐกิจ ด้วยการท่องเที่ยวและการเล่นกอลฟ์ในต่างประเทศ ตั้งแต่ชาวนา นักธุรกิจ พนักงานระดับล่างจนถึงระดับสูงต่างพากันออกท่องเที่ยว และใช้ชีวิตพักผ่อนวันสุดสัปดาห์ในต่างประเทศ ที่อยู่ริมขอบมหาสมุทรแปซิกฟิกสถานตากอากาศ (Resort) และสนามกอลฟ์จึงผุดขึ้นในประเทศเหล่านั้น เพื่อต้อนรับลูกค้าจากแดนอาทิตย์อุทัย

  39. หลังปี 2528 จึงมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อสร้างรีสอร์และสนามกอลฟ์ในไทยอย่างแพร่หลาย เพื่อสนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นและสนองตอบชนชั้นกลางชนชั้นสูงของไทยในเวลาต่อมา เมื่อเศรษฐกิจไทยก้าวสู่ยุคทองของการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะระหว่างปี 5231-2533 จึงได้ผลักดันให้มีความต้องการรีสอร์และสนามกอลฟ์เพิ่มขึ้น อันเป็นปัจจัยเร่งการซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไร กลุ่มที่มีฐานะดีเริ่มมองหาบ้านหลังที่สองในชนบทและชายทะเลสำรับการพักผ่อน ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ซึ้งเริ่มจากปัจจัยภายนอกประเทศจึงขยายตัวด้วยปัจจัยภายใน ในด้านตลาดหุ้นที่อยู่ในภาวะซบเซาเป็นระยะเวลายาวนาน หลังจากเกิดวิกฤติการณ์ราชาเงินทุนในปี 2522 ก็กลับฟื้นตัวหลังปี 2530 เนื่องจากมีการโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศจากกลุ่ม มหาสมุทรแอตแลนติก มาสู่กลุ่มมหาสมุทรแปรซิฟิก หลังจากเกิดวิกฤติการณ์ตลาดหุ้นเรียกว่า Black Monday ใน Wall Street เมื่อเดือนตุลาคม 2530 โดยเงินทุนโยกย้ายไปสู่ญี่ปุ่น และตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ในเอเชียแปรซิฟิกด้วย

  40. เหตุการณ์ Black Monday ได้ช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นของไทยก้าวสู่ยุคทอง เมื่อเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาเกื้อหนุนส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการเก็งกำไรที่ดินและถูกนำไปใช่ปั่นหุ้นในตลาดหุ้น ในทำนองเดียวกัน ส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการเก็งกำไรซื้อขายหุ้นก็ถูกผันไปปั่นราคาที่ดิน ตลาดหุ้นและตลาดที่ดินจึงเชื่อมต่อและสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ราคาที่ดินถูกปั่นจนเกินเลยระดับที่แสดงถึงผลิตภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของที่ดินนั้น เช่นเดียวกับราคาหุ้นที่ถูกปั่นจนเกินระดับที่สะฐานะทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของบริษัทผู้ออกหุ้นนั้น ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่(bubble economy) จึงถูกสร้างขึ้นและอัดลมจนเบ่งบาน เมื่อความเจริญทางเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นนั้น มิได้มาจากความเติบโตทางการผลิตที่แท้จริง แต่เป็นการเพิ่มข้อมูลที่สูงเกินราคาที่เป็นจริงของราคาหุ้น ที่ดิน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้น การขยายตัวจึงไม่มีเสถียรภาพ ก็ได้ใช้นโยบายเข็มงวดทางการเงิน ให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เพื่อลดสินเชื่อลง ประกอบกับการอนุญาตให้ทำกิจการวิเทศธนกิจ (BIBFs) เมื่อต้นปี 2536 ทำให้ภาคเอกชนมีต้นทุนทางการเงินที่ถูกกว่ากู้ในประเทศ จึงได้ระดมกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยผ่านธุรกรรมที่เรียกว่า เอาท์-อิน ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาเพื่อเก็งกำไร ในหุ้น และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มิได้หวังที่จะลงทุนใน “ภาคการผลิตที่แท้จริง”ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นในปลายปี 2537 ถึงต้นปี 2538 สูงเกิน 1,700 จุด และพนักงานบริษัทเงินทุนได้รับโบนัสโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 เดือน เพราะบริษัทมีกำไรจากการค่าธรรทเนียมในการซื่อขายหุ้นจำนวนมาก

  41. นอกจากนี้ในช่วงปลายปี 2538 ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะให้ใบอนุญาตธนาคารต่างประเทศ ที่ทำกิจการบีไอบีเอฟอยู่แล้วยกระดับเป็นสาขาจำนวน 7 แห่งโดยมีหลักเกณฑ์อยู่หนึ่งข้อดังนี้ จะพิจารณาจากปริมาณธุรกรรมบีไอบีเอฟ ซึ่งทำให้ธนาคารต่างประเทศเร่งปล่อยสินเชื่อ เอาท์–อิน แก่ภาคเอกชนไทย และส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อระยะสั้น ทำให้สิ้นปี2538 ไทยมียอดหนี้รวม 8.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และร้อยละ 80 เป็นหนี้ของภาคเอกชนอีกร้อยละ 20 เป็นหนี้ของรัฐบาล สำหนี้ของภาคเอกชน มีมากกว่าร้อยละ 60 ที่เป็นหนี้ระยะสั้น ที่ครบกำหนดชำระคืนในปี 2539 จึงส่งผลให้บริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ลดอันดับตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยจาก Prime-1 เป็น Prime-2

  42. พัฒนาการเศรษฐกิจไทย หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยในระยะ 2- 3 ปีที่ผ่านมาจึงคล้ายกับคนป่วยที่เพิ่งฟื้นไข้ ซึ่งยังต้องได้รีบการติดตามและดูแลต่อไปอย่างใกล้ชิดจนย่างเข้าสู่ช่วงหลังของปี 2543 ซึ่งเป็นช่วงปลายของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งจึงเน้นไปที่เรื่องของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยพรรคไทยรักไทย ชูนโยนายประชานิยมเช่น 30 บาทรักษาทุกโรค การพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น จนได้รับเลือกตั้งถึง 248 คน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 และเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ทยอยออกมาตรการต่าง ๆ ตามที่ได้หาเสียงไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศและระดับรากหญ้าอย่างมากมาย รวมทั้งไดดำเนินการปรับโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ โดยการยุบกระทรวงที่มีอยู่เดิม 15 กระทรวง และตั้งขึ้นใหม่รวม 20 กระทรวง 142 กรม

  43. เศรษฐกิจชะลอตัว (2544)การชะลอตัวของเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2543 ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2544 ต้องอาศัยอุปสงค์ภายในประเทศช่วงพยุงตัว โดยมีรายจ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญ ในปีนี้แรงกดดันจากราคาน้ำมันได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีเฉลี่ยร้อยละ 13.0 จากปีก่อน จึงทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศโดยรวมอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปี มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.6 ข่าวการชะลอตัวเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็นทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตัวอย่างภายในประเทศเช่น ตัวเลขของหนี้ประเภท NPL ในเดือน พฤษภาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 9.8 พันล้านบาทต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 รวมยอดคงค้าง 869.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 ของสินเชื่อรวม การส่งออกติดลบร้อยละ 5 และการนำเข้าลดลงมากด้วยจน ดร. วีรพงษ์ รามากูร ต้องเตือนให้ระวังเศรษฐกิจถดถอย (กรุงเทพธุรกิจ.1 กรกฎาคม และ 22 สิงหาคม 2544) รวมทั้งธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง คือ กรุงเทพฯ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ และ กรุงไทย ต้องเปิดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด เพื่อลดกำลังพลรวมกันได้หลายพันคน

  44. ส่วนข่าวภายนอกประเทศ เช่น หนี้ NPL ในระบบธนาคาร 8 ประเทศในเอเชีย คือ ไทย ญี่ปุ่น จีน ใต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพิ่มเป็น 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 28 ของ GDP รวม ซึ่งเป็นการเพิ่ม ถึงรอยละ 33 ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันรัฐบาลสิงคโปร์ ต้องทุ่มเงินเข้างบประมาณ 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือร้อยละ 7 ของ GDP เพื่อรับมือกับภาวะถดถอยรุนแรงในรอบ 36 ปี โดยใช้มาตรการสำคัญ 8 มาตรการ เช่น คืนหรือลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ช่วยเหลือบริษัทเอกชน ช่วยเหลือผู้ว่างงานที่มีรายได้น้อย ลดต้นทุนค่าจ้าง แจกจ่ายหุ้นใหม่ที่ออกโดยรัฐให้แก่ผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น รวมทั้งนำเรื่องมาตรการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจและแนวทางการสร้างเสถียรภาพของระบบการเงินโลก เข้าไปหารือ ในเวทีการประชุมของ APEC ในประเทศจีนด้วย (กรุงเทพธุรกิจ.13 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2544)

  45. ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยจึงกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายขาดดุลร้อยละ 3.5 ของ GDP และทำให้มีอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 88.4 ประกอบกับมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ เสถียรภาพทางภาคเศรษฐกิจจึงยังอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้แม้การส่งออกจะลดลง อันเป็นผลการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก แต่ดุลการค้าและดุลยบัญชีเดินสะพัดก็ยังเกินดุล 2.5 และ 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ขณะเดียวกันเงินทุนเคลื่อนย้ายก็ยังไหลออกต่อเนื่อง ตามการชำระเงินคืนหนี้จ่างประเทศ แต่มีแนวโน้มลดลงมากจากปี 2543 ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เคยขาดดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีต่อมา ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพและเงินสำรองทางการสูงขึ้นการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 2.4 ในปี 2544 เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรม เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจลดลง ส่วนสหภาพยุโรปก็ชะลอตัว เพราะราคาสินค้าสูงและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอ่อนตัวลงอีกทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังคงตกต่ำ เนื่องจากอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าลดลง และยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับสถาบันการเงินส่งผลให้ประเทศอาเซียนและประเทศอื่น ๆ มีเศรษฐกิจชะลอตัวตามไปด้วย

  46. ในด้านการเกษตร ราคาพืชผลก็ยังปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.2 โดยผลผลิตข้าวขยายตัวเล็กน้อยเนื่องจากราคาลดต่ำลง แต่ราคากลุ่มพืชน้ำมัน กำลุ่มธัญพืช และพืชอาหาร โดยเฉาะมันสำปะหลังและผัก-ผลไม้ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในขณะที่ราคาดัชนีผู้บริโภค ปรับตัวขึ้นต่ำกว่า จึงทำให้เกษตรกรมีกำลังซ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวจากปีก่อน มุ่งจากอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก มีการผลิตลดลงตามการชะลอตัวของการผลิตและการค้าของโลก อัตราการใช้กำลังการผลิตในปีนี้จึงอยู่ที่ร้อยละ 54.0 ลดลงจากร้อยละ 55.9 ในปีก่อน เพราะการลงทุนในภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงในครึ่งแรกของปี และเริ่มหดตัวในไตรมาสที่ 3 ส่วนการผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคในประเทศยังขยายตัวดี ทำให้หมวดรถยนต์และวัสดุก่อสร้าง และเพื่อช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยอย่างครบวงจร ทางการจึงให้ยุบเลิกบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อย และจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยแห่งประเทศไทยขึ้นในลักษณะบริษัทมหาชน จำกัดแทน

  47. ในปี 2544 สภาพคล่องในระบบโดยรวมยังคงมีอยู่สูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยปับตัวลง 2 ครั้ง โดยในเดือน กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งมีการปรับลดลงร้อยละ 0.50 และในเดือน ธันวาคม 2544 ปรับลดลงอีกครั้งร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลดลงเหลือร้อยละ 2.25 และ 7.0 – 7.5 ต่อปีตามลำดับ ในปีนี้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ถึง 11 ครั้งจากร้อยละ 6.5 ในช่วงต้นปีมาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ตอนสิ้นปี เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศยุโรปก็ได้ลดอัตราดอกเบี้ยทางการรวม 4 ครั้ง จากร้อยละ 4.75 ในช่วงต้นปี มาเป็นร้อยละ 3.25 ตอนสิ้นปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินเยนยังอยู่ในระดับต่ำใกล้ร้อยละ 0 เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี

  48. มาตรการแก้ไขปี 2544 • 1. การกระตุ้นเศรษฐกิจได้แก่ • 1.1 จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เป็นองค์กรมหาชน เพื่อจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท จำนวน 74881 หมู่บ้าน นำไปให้สมาชิกของกองทุนหมู่บ้านกู้ยืมเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งนำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น • 1.2 ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2545 • 1.3 พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนเดือนละ 2 ครั้ง (ทุกวันที่ 1 เมษายน และ 1 ตุลาคม ของทุกปี) โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ภายในวงเงินไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการและเงินรางวัลประจำปี (ทุกวันที่ 1 ตุลาคม โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2544) แก่ข้าราชการทกประเภทในสังกัดฝ่ายบริหาร ยกเว้น ข้าราชการฝ่ายอัยการ • 1.4 เร่งรัดติดตามการใช้เงินภาครัฐในปีงบประมาณ 2545 โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ทั้งนี้ให้ใช้อัตราการเบิกจ่ายงบทุนเป็นเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จในการบริหารองค์กรอย่างหนึ่ง

  49. 1.5 ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) เฉพาะกรณีที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้ปรับลดเหลือร้อยละ 20 และร้อยละ 25 สำหรับกำลังสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท และ 3ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนที่เกิน 3ล้านบาท เก็บในอัตราเดิมร้อยละ 30 • 1.6 พักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายไดย่อยที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่มีภาระหนี้กับเงินกู้กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท (ไม่นับภาระหนี้เงินกู้ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลและไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้) ซึ่งใช้บริการเงินกู้กับ ธ.ก.ส. หรือรับภาระหนี้สินแทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2544 และ แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 รวมทั้งไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้มาก่อนด้วย ส่วนเกษตรกรที่มีวงเงินกู้เกิน 100,000 บาท ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ

  50. 2. การส่งเสริมอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ • 2.1 ให้ผู้ซื้ออาคารที่ดินหรือห้องชุด หรือผู้ซื้อที่ดินพร้อมกับทำสัญญาจ่างก่อสร้างอาคารลงบนที่ดิน สามารถนำเงินดาวน์หรือเงินค่าซื้อทรัพย์สินดังกล่าวมาเป็นค่าลดหย่อนพิเศษได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 200,000 บาท แต่ต้องจ่ายภายใน 1 ปี นับแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และจ่ายทั้งจำนวน ในคราวเดียว ทั้งนี้ต้องมิใช่เงินที่ได้มาจากการกู้ยืมและหักค่าลดหย่อนได้ปีละครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปี ติดต่อกัน ส่วนกรณีผ่อนชำระค่าซื้ออาคารฯ ให้ได้รับสิทธิเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในปีภาษีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ไม่น้อยกว่า 2 ปี ตั้งแต่วันที่มีกรรมสิทธิ์ด้วย • 2.2 อนุมัติให้ข้าราชการที่กู้ยืมเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อซื้อเช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าว หักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน และแหล่งอื่นแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท • 2.3 ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่ดินอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน รวมทั้งห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดหรือห้องชุด ในอาคารชุด

More Related