1 / 32

เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ

เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ. สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6). โรงเรียนวัดคณิกาผล สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. เรื่องน่ารู้. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง. สาระการเรียนรู้. แบบทดสอบ.

wesley
Télécharger la présentation

เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) โรงเรียนวัดคณิกาผล สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

  2. เรื่องน่ารู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ แบบทดสอบ

  3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สืบค้นข้อมูลและอธิบายความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศที่ทำให้มนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้า สืบค้นข้อมูลและอธิบายเทคโนโลยีอวกาศที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

  4. สาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีอวกาศ ประวัติการสำรวจอวกาศ ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ

  5. เทคโนโลยีอวกาศ เมื่อแหงนมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไปจะเป็นอวกาศ ซึ่งอวกาศเป็นบริเวณที่กว้างไกลออกไปในท้องฟ้าและเป็นที่อยู่ของระบบสุริยะและดวงดาวในระบบอื่น ๆ ในอวกาศไม่มีอากาศ ไม่มีอาหาร มีรังสีมากมาย และไม่มีสิ่งมีชีวิต ในอวกาศไม่มีน้ำหนัก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า สภาพไร้น้ำหนัก

  6. การศึกษาอวกาศต้องอาศัยเทคโนโลยี ซึ่งเป็นวิทยาการในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเดินทางสู่อวกาศอย่างมีประสิทธิภาพโดยนักบินอวกาศจะต้องมีความปลอดภัยมากที่สุด

  7. เทคโนโลยีอวกาศ มีดังนี้ 1. การสร้างยานอวกาศ ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ยานอวกาศสามารถเคลื่อนที่หลุดพ้นแรงโน้มถ่วงของโลกซึ่งเป็นแรงที่จะดึงวัตถุต่าง ๆ ให้ลงสู่พื้นโลก โดยยานอวกาศต้องเคลื่อนด้วยความเร็วที่หลุดพ้นแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น

  8. นอกจากนี้การส่งยานอวกาศขึ้นจากพื้นโลก ต้องอาศัยแรงขับดันของจรวด โดยการเคลื่อนที่ของจรวดจะไปในทิศทางตรงข้ามกับแรงขับดันจากเชื้อเพลิงของจรวด ซึ่งมีหลักการคล้ายกับการปล่อยลมออกมาจากปากลูกโป่ง จะทำให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปในทิศตรงข้ามกับลมที่พุ่งออกมาจากปากลูกโป่ง

  9. 2.การผลิตชุดอวกาศ เนื่องจากในอวกาศ ไม่มีอากาศ และมีความร้อนสูงมาก รวมทั้งรังสีที่เป็นอันตรายมากมาย นอกจากนี้สิ่งต่าง ๆ อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องผลิตชุดอวกาศเพื่อใช้ป้องกันความร้อน รังสี ปรับความดัน และมีถังบรรจุอากาศสำหรับหายใจ

  10. 3. การทำให้ยานอวกาศมีน้ำหนักน้อย ยานอวกาศต้องบรรจุเชื้อเพลิงมาก ทำให้ยานอวกาศมีน้ำหนักมาก ซึ่งจะทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ช้า นักวิทยาศาสตร์จึงต้องออกแบบและสร้างยานอวกาศที่มีหลายท่อน สำหรับบรรจุเชื้อเพลิง เมื่อยานใช้เชื้อเพลิงหมดแล้ว จึงสลัดท่อนที่บรรจุเชื้อเพลิงที่หมดไปแล้วเพื่อลดน้ำหนักของยานอวกาศ

  11. 4. การฝึกนักบินอวกาศในอวกาศ นักบินอวกาศจะต้องฝึกการปฏิบัติงานในสภาพไร้น้ำหนัก

  12. ประวัติการสำรวจอวกาศ เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศเจริญก้าวหน้า จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศ เพื่อสำรวจอวกาศได้ ยุคอวกาศถือว่าเริ่มต้นเมื่อ

  13. พ.ศ. 2500 รัสเซียได้ส่งดาวเทียมดวงแรกชื่อ สปุตนิก 1 ขึ้นไปโคจรในอวกาศ หลังจากนั้นรัสเซียได้ทดลองการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในอวกาศโดยส่งสุนัขชื่อไลก้าไปพร้อมกับอวกาศ ไลก้า สุนัขอวกาศที่เดินทาง ไปพร้อมกับยานสปุตนิก2 ดาวเทียมสปุตนิก ดาวเทียมดวงแรกของโลก

  14. พ.ศ. 2504 รัสเซียส่ง ยูริ กาการิน มนุษย์อวกาศคนแรกขึ้นไปกับยานอวกาศวอสต็อก 1 พ.ศ.2506 รัสเซียทำการส่งมนุษย์อวกาศหญิงคนแรก ได้แก่ วาเลนตินา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ ขึ้นสู่อวกาศไปกับยานวอสต๊อก

  15. พ.ศ. 2512 นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติซึ่งเป็นครั้งแรกที่ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ โดยมีนักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา จำนวน 3 คน ที่ไปพร้อมกับยานอวกาศอะพอลโล11 ได้แก่ นีล อาร์มสตรอง, เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ ได้ลงสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์

  16. พ.ศ. 2520 – 2522 สหรัฐอเมริกาส่งยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ 2 สำรวจดาวเคราะห์ที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ พ.ศ. 2533 สหรัฐอเมริกาและองค์การอวกาศยุโรปได้ร่วมกันส่งกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลขึ้นไปโคจรรอบโลก พ.ศ. 2539 – 2540 สหรัฐอเมริกาประสบผลสำเร็จในการส่งยานมารา พาธไฟน์เดอร์ ขึ้นไปสำรวจบนดาวอังคารเพื่อให้ยานหุ่นยนต์ 6 ล้อ ชื่อโซเจอร์เนอร์ซึ่งบังคับด้วยคลื่นวิทยุออกสำรวจ และวิเคราะห์ตัวอย่างหิน โดยถ่ายภาพดาวอังคารส่งกลับมายังโลก

  17. พ.ศ. 2540 – 2551 สำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซ่า) องค์การอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) และองค์การอวกาศอิตาลี (ไปเอสเอ) ได้ร่วมมือกันสร้างยานอวกาศลำใหญ่ที่สุดน้ำหนักมากที่สุด ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา ยานลำนี้ ยานเคสซินี-ฮอยเยนส์ ซึ่งถูกส่งออกไปจากโลกเมื่อเดือนตุลาคม 2540 ยานแคสซินี-ฮอยเยนส์ ได้เดินทางเข้าสู่โคจรของดาวเสาร์ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2547

  18. นับจากนี้ต่อไปอีก 4 ปี ยานแคสซินีจะโคจรรอบดาวเสาร์ประมาณ 76 รอบ เพื่อเก็บข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของดาวเสาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลของระบบ “วงแหวน” และดวงจันทร์บริวารดวงใหญ่ที่สุดชื่อว่า “ไททัน” คาดว่าในรอบ 4 ปี ยานแคสซินีจะถ่ายภาพดาวเสาร์ได้ถึง 5 แสนภาพในส่วนของยานลูก “ฮอยเยนส์” นั้นทางอีเอสเอเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ยานลำนี้เกาะติดแคสซินีพุ่งทะยานออกนอกโลกไปตั้งแต่ปี 2540 และจะปลดล็อกตัวเองออกจากแคสซินี เคลื่อนที่สำรวจดวงจันทร์ “ไททัน” ในช่วงเดือนธันวาคม

  19. ความสำคัญสูงสุดของการปฏิบัติการ “แคสซินี-ฮอยเยนส์” ได้แก่ การเก็บข้อมูลเพื่อพยายามค้นหาและตอบคำถามให้ได้ว่า “มนุษย์กำเนิดขึ้นมาจากไหน” และ “ดาวเคราะห์เช่นดาวโลกเรานี้ก่อตัวขึ้นได้อย่างไร” เนื่องจากทั้งดวงจันทร์และวงแหวนของดาวเสาร์ก็คือ รูปแบบจำลองของ “กลุ่มแก๊ส” และ “ฝุ่นผง” ในห้วงอวกาศที่เคยห่อหุ้มดวงอาทิตย์มาในยุคก่อนที่ดาวเคราะห์จะถือกำเนิดขึ้นในระบบสุริยะ

  20. ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศมีความเจริญก้าวหน้ามาก มนุษย์ได้ส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงดาวต่าง ๆ หลายครั้ง ซึ่งทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับดาวต่าง ๆ มนุษย์ได้ค้นคว้าและใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สร้างยานพาหนะและเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ดาวเทียม สถานีอวกาศ ยานขนส่งอวกาศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น

  21. 1. ดาวเทียม ดาวเทียมเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยบรรจุเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แล้วส่งไปโคจรรอบโลกเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่น ใช้ในการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม สื่อสารระหว่างเรือกับสถานีชายฝั่ง ใช้สำรวจทรัพยากร ใช้สำรวจสภาพอากาศ ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ใช้ตรวจรังสีในอวกาศค้นหาวัตถุในอวกาศ เป็นต้น

  22. 2. ห้องปฏิบัติการอวกาศ ใช้เป็นหอวิจัยลอยฟ้า เพื่อศึกษาทดลองความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่บนโลกไม่สามารถทดลองได้ เช่น สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก การผลิตยา การผลิตโลหะผสม เป็นต้น

  23. 3. ยานอวกาศ คือ ยานพาหนะที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อส่งออกไปสำรวจอวกาศที่ไกลออกไปจากโลกมีทั้งแบบที่มีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุม และไม่มีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุม แต่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ยานไพโอเนียร ยานมาร์เมียร

  24. 4. จรวด คือ ยานพาหนะที่ใช้ในการส่งยานอวกาศขึ้นไปสู่อวกาศ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนปลายของจรวดบรรจุเชื้อเพลิง ในการขับดันเพื่อให้จรวดพุ่งขึ้นไปข้างหน้า

  25. 1 2 3 แบบทดสอบ 4 5

  26. แบบทดสอบ 1. ข้อใดเป็นเทคโนโลยีอวกาศ ก. การผลิตชุดอวกาศ ข. การผลิตเสื้อนาโน ค. การผลิตเส้นใยไร้น้ำหนัก

  27. แบบทดสอบ 2. ดาวเทียมดวงแรกชื่อว่าอะไร ก. มาร์ส พาธไฟน์เดอร์ ข. อะพอลโล ค. สปุตนิก 1

  28. แบบทดสอบ 3. มนุษย์อวกาศคนแรกคือใคร ก. วาเลนตินา ข. ยูริ กาการิน ค. นีล อาร์มสตรอง

  29. แบบทดสอบ 4. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของดาวเทียม ก. สำรวจสภาพอากาศ ข. สื่อสารในระบบโทรคมนาคม ค. ส่งนักบินอวกาศ

  30. แบบทดสอบ 5. ยานอวกาศผ่านชั้นบรรยากาศไปถึงอวกาศได้เพราะเหตุใด ก. มีรูปทรงกระบอก บรรจุเชื้อเพลิงเพื่อการขับดัน ข. มีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการทำงานตลอดเวลา ค. เคลื่อนที่ด้วยความเร็วหลุดพ้นแรงโน้มถ่วงของโลก

  31. ถูกต้อง นะคร๊าบบบบบบ

  32. ผิดครับ ทบทวน แล้วลองทำอีกครั้ง

More Related