1 / 34

ดร. อำไพ หรคุณารักษ์ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ 18 กรกฎาคม 2552

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษาและครูผู้สอน เรื่องการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย. แนวคิดและแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ เรื่อง ข้อความแสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ตามระบบสากล GHS.

baylee
Télécharger la présentation

ดร. อำไพ หรคุณารักษ์ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ 18 กรกฎาคม 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษาและครูผู้สอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษาและครูผู้สอน เรื่องการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย แนวคิดและแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ เรื่อง ข้อความแสดงความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS ดร. อำไพ หรคุณารักษ์ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ 18 กรกฎาคม 2552

  2. หัวข้อการนำเสนอ • ความเป็นมาและเป้าหมาย • สรุปสาระความรู้เรื่อง GHS สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • แนวคิดการบูรณาการสาระเรื่องระบบสากล GHS • แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้เรื่อง GHS • การออกแบบหน่วยเรียนรู้ • การจัดทำแผนการเรียนรู้ • การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ • ข้อพิจารณาเพื่อการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนหรือสถานศึกษา

  3. ความเป็นมาและเป้าหมายความเป็นมาและเป้าหมาย • อย. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องด้านสารเคมีแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน จึงสนับสนุนการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมี ตามระบบสากล GHS เข้ากับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน • เป้าหมายของการทำงาน คือ การเสริมสร้างศักยภาพของครูผู้สอน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เรื่อง ความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS สำหรับระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา

  4. สรุปสาระความรู้เรื่อง GHSสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • การจัดกลุ่มสารเคมี/เคมีภัณฑ์ ตามความเป็นอันตรายในระบบสากล GHS (ได้แก่ อันตรายทางกายภาพ 16 ประเภท อันตรายทางสุขภาพ 10 ประเภท อันตรายทางสิ่งแวดล้อม 1 ประเภท) • ฉลากเคมีภัณฑ์ตามระบบสากล GHS (ได้แก่ รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย 9 รูป คำสัญญาณ 2 คำ ข้อความแสดงความเป็นอันตราย ข้อควรปฏิบัติ 4 ประเภท) • เอกสารความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี (Safety Data Sheet ประกอบด้วย 16 หัวข้อหลัก)

  5. การจัดกลุ่มสารเคมี/เคมีภัณฑ์ตามความเป็นอันตรายในระบบสากล GHS

  6. รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย (Pictogram)มี 9 รูป ลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์สีดำบนพื้นสีขาวและมีกรอบรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีแดง กลุ่มความเป็นอันตรายด้านกายภาพ กลุ่มความเป็นอันตรายด้านสุขภาพ กลุ่มความเป็นอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม

  7. คำสัญญาณ (Signal Word) ใช้กำหนดระดับความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอันตรายระบบ GHS มี 2 คำ“อันตราย (Danger)”สำหรับอันตรายที่มีความรุนแรง“ระวัง (Warning)”สำหรับความเป็นอันตรายระดับที่ต่ำกว่า ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statement)อธิบายความเป็นอันตรายกำหนดโดยการจำแนกประเภทความเป็นอันตราย อาทิ อาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน ระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เป็นต้น ข้อควรปฏิบัติ (Precautionary Statement)แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) การป้องกัน 2) การตอบสนองในกรณีอุบัติเหตุสารเคมีหกหล่นหรือสัมผัส 3) การเก็บรักษา และ 4) การกำจัด

  8. แนวคิดการบูรณาการสาระเรื่องระบบสากล GHS • กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางระดับชาติ (8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ - สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม - สุขศึกษาและพลศึกษา - ศิลปะ - การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ) มาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ในแต่ละระดับชั้นไว้อย่างชัดเจน • สถานศึกษา สามารถนำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS มาบูรณาการเข้าสู่การจัดการเรียนรู้ภายใต้หลักสูตรสถานศึกษา โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษาในเรื่องนี้ให้ชัดเจน พร้อมกับกำหนดสาระการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จัดทำคำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ย่อย และแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งจัดทำสาระเพิ่มเติมให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียนในท้องถิ่น

  9. แนวคิดการบูรณาการสาระเรื่องระบบสากล GHS • ผู้สอนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสากล GHS เข้าสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้โดยตรงอย่างน้อย 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ • นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบสากล GHS เพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ในสาระอื่นๆ ซึ่งสามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสากล GHS (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ) เป็นต้น

  10. หลักสูตรสถานศึกษา กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพ และมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ความต้องการเรียนรู้ภายในชุมชน/ท้องถิ่น การจัดทำนโยบาย/เป้าหมายหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนรายสาระการเรียนรู้ (รายวิชา) จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค มาตรฐานเรียนรู้ช่วงชั้น • กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ GHS • วิทยาศาสตร์ • สุขศึกษาและพลศึกษา • ภาษาต่างประเทศ • ภาษาไทย • การงานอาชีพและเทคโนโลยี โครงสร้างรายวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนเวลา/หน่วยกิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค สาระการเรียนรู้รายปี/ภาค คำอธิบายรายวิชา ลำดับที่ ชื่อหน่วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายหน่วย สาระการเรียนรู้รายหน่วย จำนวนชั่วโมง/หน่วยกิต หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล แหล่งเรียนรู้ จำนวนแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้เรื่อง GHS ของสถานศึกษา

  11. ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี และข้อมูลระบบสากล GHS สำหรับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา • วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้น) สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร รายวิชาเพิ่มเติม และหน่วยการเรียนรู้เรื่องสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) เรื่อง สารเคมีใกล้ตัว และเรื่องสารและการเปลี่ยนแปลง (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) รวมถึงการจัดกิจกรรมสำรวจสารเคมีภายในบ้าน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) กิจกรรมทดลองในห้องปฏิบัติการรายวิชาเคมี (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4) จัดทำโครงงานศึกษาทดลองสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร ได้แก่ การทดสอบสารอาหาร ประโยชน์ของสารอาหาร การกินอาหารให้ถูกสัดส่วน และหลีกเลี่ยงสารพิษเจือปนในอาหาร

  12. ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี และข้อมูลระบบสากล GHS สำหรับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา • วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรียนรู้ถึงปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยจากสารเคมี • วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 4 การอาชีพ (ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3) หน่วยการเรียนรู้สวัสดิภาพในชีวิต ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ รายวิชาโภชนาการ งานบ้าน งานเกษตร และงานธุรกิจ

  13. ตัวอย่างการจัดหน่วยการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS

  14. ตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ระบบสากล GHSกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

  15. ตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ระบบสากล GHSกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

  16. ตัวอย่างผังมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้ระบบสากล GHS แบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน Signal Words and Safety Signs ระบบข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ภาษาต่างประเทศ/ต สัญลักษณ์และข้อความเตือนภัย การงานอาชีพ/ง สุขศึกษา/พ ภาษาไทย/ท การอ่านข้อความเตือนภัย เครื่องหมายเตือนภัย

  17. ตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ระบบสากล GHSกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

  18. หลักสูตรสถานศึกษา กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพ และมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ความต้องการเรียนรู้ภายในชุมชน/ท้องถิ่น การจัดทำนโยบาย/เป้าหมายหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนรายสาระการเรียนรู้ (รายวิชา) จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค มาตรฐานเรียนรู้ช่วงชั้น • กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ GHS • วิทยาศาสตร์ • สุขศึกษาและพลศึกษา • ภาษาต่างประเทศ • ภาษาไทย • การงานอาชีพและเทคโนโลยี โครงสร้างรายวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนเวลา/หน่วยกิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค สาระการเรียนรู้รายปี/ภาค คำอธิบายรายวิชา ลำดับที่ ชื่อหน่วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายหน่วย สาระการเรียนรู้รายหน่วย จำนวนชั่วโมง/หน่วยกิต หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล แหล่งเรียนรู้ จำนวนแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้เรื่อง GHS ของสถานศึกษา

  19. การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ • วิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชารายปีหรือรายภาค และจากแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่ได้มีการจัดทำขึ้น • แผนการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป ประกอบด้วยขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินผลการเรียนรู้ • การออกแบบจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยหรือเรื่อง เพื่อเตรียมการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษร มีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ • อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ระบบสากล GHS

  20. ตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ข้อมูลระบบสากล GHS(ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) • การจัดตั้งชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภค • กิจกรรมผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี • กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยจากพิษของสารเคมี • การรณรงค์ดื่มน้ำจากถังปลอดสารตะกั่ว • เรียนรู้การฉีดยาฆ่าแมลงอย่างถูกวิธีของเกษตรกร • การจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ในลักษณะแผ่นพับและหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับสารเคมีในชีวิตประจำวัน

  21. สื่อและแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS • สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร โปสเตอร์ ตำราเรียน ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบซีดี เอกสารอ้างอิง ข้อมูลเผยแพร่ เอกสารการฝึกอบรม และเอกสารวิชาการ ตลอดจนประกาศข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ และองค์กรวิจัยที่เกี่ยวข้อง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบการเอกชนที่ผลิตสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด GHS • การสืบค้นจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ http://www.diwsafety.org/add_ghs/ghs_manual_th.htm • ฉลากติดเคมีภัณฑ์ที่วางขายตามท้องตลาด และเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี (Safety Data Sheet หรือ SDS) ซึ่งจัดทำโดยสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

  22. แนวทางการดำเนินงานเพื่อบูรณาการสาระข้อมูลระบบสากล GHS ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา • หน่วยงานสนับสนุนการจัดการความรู้เรื่องระบบสากล GHS (อาทิ อย.) ร่วมกับหน่วยงานกำกับด้านการศึกษา (อาทิ สพฐ.) พิจารณาวางแผนจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้เรื่อง การแบ่งกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมี และการแสดงฉลากตามระบบสากล GHS เพื่อบูรณาการสู่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน • จัดทำเอกสาร ศึกษาวิจัย ติดตาม สนับสนุน และส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาหรือโรงเรียน • จัดหลักสูตรอบรมครูวิทยากรแกนนำ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้สอนและผู้เรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี

  23. แนวทางการดำเนินงานเพื่อบูรณาการสาระข้อมูลระบบสากล GHS ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา จัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ให้ครอบคลุมสาระและรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน • พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน พร้อมกับจัดทำสื่อเรียนรู้ประเภทต่างๆ อาทิ เอกสารเผยแพร่และเว็บไซต์ • คัดเลือกโรงเรียนหรือสถานศึกษานำร่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพและศึกษารูปแบบที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS พัฒนาเครือข่ายโรงเรียนนำร่องจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS พร้อมกับเปิดโอกาสให้มีการหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และติดตามประเมินผลการบูรณาการสาระเรื่อง การแบ่งกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมี และการแสดงฉลากตามระบบสากล GHS ระหว่างผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ในโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างเครือข่ายโรงเรียนนำร่อง เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับแต่ละช่วงชั้นและ/หรือชั้นปีอย่างต่อเนื่อง

  24. แกนนำองค์กร หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง • กระทรวงศึกษาธิการ – ส่วนกลางและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข • คณะกรรมการบริหารโรงเรียน/สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน • ผู้บริหารโรงเรียน/สถานศึกษา • ครู-อาจารย์ • ผู้เรียน • หน่วยงาน/สถาบัน/องค์กรเอกชน/ภาคธุรกิจ • ผู้ปกครองและชุมชน

  25. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ – ส่วนกลาง • จัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการบูรณาการสาระและกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ของสถานศึกษา โดยอาจพิจารณากำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดแทรกสู่สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม หรือเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง • พัฒนาความพร้อมของครู บุคลากรการศึกษา และสถานศึกษาโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS

  26. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ – สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • กำกับ ประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษาเรื่องความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ให้กับโรงเรียน/สถานศึกษา • พัฒนาการจัดการศึกษาเรื่องระบบสากล GHS ของสถานศึกษาในรูปแบบของ “โรงเรียนเครือข่าย” เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาปัจจัยที่สร้างเสริมและพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ ครู ผู้บริหาร หลักสูตร สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ชุมชนและบุคลากรทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง

  27. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข • สนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบสากล GHS ของโรงเรียน/สถานศึกษา โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของครู อาจารย์ บุคลากรด้านการศึกษา และเด็กนักเรียน ให้สามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง • พัฒนาและทดลองใช้หลักสูตรต้นแบบการเสริมสร้างศักยภาพของครูและบุคลากรการศึกษา ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้สาระ GHS อย่างมีประสิทธิภาพ

  28. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริหารโรงเรียน/สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน • กำกับ ดูแล และกำหนดนโยบาย/แผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งบูรณาการสาระและกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS ของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น กำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา • เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านวิชาการและส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากร (ด้านงบประมาณและวิทยากร) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมี

  29. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารโรงเรียน/สถานศึกษา • กำหนดแนวปฏิบัติ นโยบาย เป้าหมาย และมาตรการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS ของโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน • ควบคุม ดูแล สนับสนุน ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรภายในโรงเรียนให้เกิดผลดีต่อการจัดการศึกษาด้านความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS ของโรงเรียน • นิเทศ ติดตาม ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ กำกับและติดตามให้มีการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลให้เป็นไปหลักสูตรการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS • พัฒนากิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเพื่อความปลอดภัยสารเคมีภายในโรงเรียน และให้ความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานอื่น

  30. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ครู-อาจารย์ • จัดการเรียนการสอนเรื่องระบบสากล GHS และความปลอดภัยสารเคมี โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม ให้การแนะแนวศึกษาอย่างต่อเนื่อง • ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมวิทยาการและประสบการณ์ใหม่ๆ ในสาขาวิชาความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS จัดทำสื่อการเรียนการสอนใหม่ที่น่าสนใจ วิเคราะห์วิจัยในสาระวิชาที่สามารถบูรณาการสาระเรื่องความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ประเมินผลการเรียนตามสภาพจริง และตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ • ให้บริการทางการศึกษา ส่งเสริมการเรียนการสอน และให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS แก่ผู้ปกครอง/ชุมชน

  31. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียน • ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS • มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนสาระเรื่อง ความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของโรงเรียน • ป้องกัน รักษาสุขภาพของตนและผู้อื่น ให้มีความปลอดภัยจากผลกระทบของการใช้สารเคมี/ผลิตภัณฑ์สารเคมี หน่วยงาน/สถาบัน/องค์กรเอกชน/ภาคธุรกิจ • ให้ความร่วมมือและสนับสนุนแก่โรงเรียน/สถานศึกษา ในการจัดการศึกษาเรื่อง ความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS

  32. บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและชุมชน • มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพการศึกษาความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ของโรงเรียน • ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนด้านความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ที่โรงเรียนจัดขึ้น

  33. “การจัดการเรียนรู้เรื่องของสารเคมี ควรปลูกฝังกับเด็กตั้งแต่วัยเยาว์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยสนใจถึงพิษภัยของสารเคมี ถึงแม้เป็นสิ่งใกล้ตัว เพราะไม่ทราบถึงพิษภัยของสารเคมีแต่ละชนิด และยังขาดความรู้ว่าสารเคมีแต่ละชนิดมีความรุนแรงหรือเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด มีผลกระทบต่อตนเองอย่างไรบ้าง”

More Related