1 / 58

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009. กรมควบคุมโรค 18 พฤศจิกายน 2552. หัวข้อนำเสนอ. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ การป้องกันควบคุมโรค บทสรุป. สถานการณ์ทั่วโลก. ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มากกว่า 482 ,300 ราย เสียชีวิต 6 ,071 ราย

mark-nixon
Télécharger la présentation

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กรมควบคุมโรค 18 พฤศจิกายน 2552

  2. หัวข้อนำเสนอ • สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • การป้องกันควบคุมโรค • บทสรุป

  3. สถานการณ์ทั่วโลก • ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มากกว่า 482,300 ราย เสียชีวิต 6,071 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 6พ.ย. 2552) • ซีกโลกภาคเหนือ กำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาว การระบาดมีแนวโน้มการแพร่กระจายและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ในพื้นที่เขตร้อน อัตราการป่วยโดยทั่วไปลดลง • ในเขตอบอุ่นแถบซีกโลกใต้ จำนวนผู้ป่วยไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ต.ค. 2552)

  4. ระยะปัจจุบัน (ก.ค.-พ.ย.52) ระยะต่อมา (มิ.ย.52) ระยะแรก (ปลายเม.ย. – พ.ค.52) ผู้เดินทางที่ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีไข้ ผ่านเข้าประเทศ สถานการณ์ของไทย 8 ก.ย. 2552

  5. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทยสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทย ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2552 รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด (ตั้งแต่ 28 เม.ย. 52) 184 ราย การระบาดได้ขยายตัวไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯและปริมณฑล ยังมีผู้ป่วยต่อเนื่อง ติดตามข้อมูลได้จากเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.thหรือ call center : 1422

  6. จำนวนผู้ป่วยรายสัปดาห์ แยกกลุ่มอายุ ประเทศไทย นักเรียนป่วยในจังหวัดอื่นๆ นักเรียนป่วยใน กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล

  7. แนวโน้มการระบาดจำนวนผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

  8. กลุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคในวงกว้างกลุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคในวงกว้าง บ้าน โรงเรียน นักท่องเที่ยว ค่ายทหาร เรือนจำ สำนักงาน โรงงาน สถานที่สาธารณะ

  9. สรุปแนวโน้มการระบาด • กรุงเทพมหานครปริมณฑล มีรายงานผู้ป่วยยืนยันรายใหม่จำนวนมากและกระจายในหลายอำเภอ • ต่างจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีรายงานผู้ป่วยยืนยันรายใหม่กระจายอยู่หลายอำเภออย่างต่อเนื่อง • ในภาพรวมของประเทศ คาดว่าจะระบาดจะต่อเนื่องถึงปลายปี การแพร่ระบาดจะดำเนินต่อไป และอาจขยายตัวเป็นการระบาดระลอกใหม่ • กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน เรือนจำ สถานสงเคราะห์ต่างๆ การรวมกลุ่มกิจกรรม กลุ่มทัวร์ และการชุมนุมต่างๆ • กลุ่มเสียงต่อโรครุนแรง คือ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงมีครรภ์ คนอ้วน ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็กและผู้สูงอายุ

  10. ในระยะนี้ควรให้ความสนใจในระยะนี้ควรให้ความสนใจ • ยุทธศาสตร์ 2 ลด 3 เร่ง โดยลดการเสียชีวิต การติดเชื้อและการป่วย ให้น้อยที่สุด และเร่งให้ อสม.สำรวจผู้ป่วย เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเร่งการบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น • ป้องกันการระบาด โดยเฉพาะโรงเรียน สถานที่ทำงาน โรงงาน หอพัก สถานดูแลเด็กเล็ก สถานสงเคราะห์คนชราหรือสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมาก • การดูแลผู้ป่วย แพทย์ควรวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยโดยใช้อาการทางคลินิกเป็นหลัก ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ป่วยที่อยู่ในปัจจัยเสี่ยง ควรดูแลให้ยาต้านไวรัสโดยเร็ว • การเฝ้าระวังโรค เพื่อติดตามการกระจายและแนวโน้มการระบาด

  11. จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกและในประเทศไทยในแต่ละปีEstimated number of annual influenza cases – Global vs Thailand 17 มิย. 2552

  12. เปรียบเทียบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) กับไข้หวัดใหญ่ธรรมดา (ตามฤดูกาล) 17 มิย. 2552

  13. ข้อเปรียบเทียบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เก่า-ใหม่ A/H1N1

  14. แนวทางปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009

  15. กลุ่มเสี่ยงน้อยกว่า • อายุน้อยกว่า 2 ปี หรือ มากกว่า 65 ปี • เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และ อยู่ในระดับปรกติจากการรักษา • ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4 >350/uL • โรคระบบประสาทที่ผู้ป่วยรับรู้และดูแลตัวเองได้ดี ไม่มีปัญหาการหายใจและการสำลัก

  16. สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ต้องสวม หน้ากากอนามัย ทุกราย • จัดให้มีจุดล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือ น้ำยาล้างมือแห้ง รวมถึงถังขยะติดเชื้อ • คลินิกเอกชนที่รับฝากครรภ์ หรือ รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน อาจมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ หากเป็นไปได้ ควรแยกInfluenza OPD ออกจาก OPD สำหรับผู้ป่วยอื่น • ควรเป็นห้องที่โล่งที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติได้หรือจัดให้เป็นห้องแยก - จัดให้มีทิศทางลมให้พัดจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยและระบายออกภายนอกหรือให้มีพัดลมระบายอากาศช่วย โดยให้ทิศทางลมระบายออกไปยังทิศทางที่ไม่มีผู้ป่วยโรคอื่นมานั่งคอย

  17. แนวทางการปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1) • แนวทางการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาล - ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้เยี่ยมไข้ - ผู้ป่วยอื่น - บุคลากรของโรงพยาบาล

  18. พศ. 2548 - 2552 • แผนเตรียมความพร้อม • กระทรวง / หน่วยงาน / จังหวัด • รัฐวิสาหกิจ • ภาคเอกชน • การซ้อมแผน (Exercises) • ซ้อมแผนบนโต๊ะ • ซ้อมแผนตามบทบาทหน้าที่ แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553)

  19. หลายปีที่ผ่าน ได้เตรียมฐานไว้ไม่น้อย • โรงพยาบาล สถานริการ สธ. ปรับตัวรับการระบาดได้เร็ว ทั้งด้านบุคลากร สถานที่ และ ระบบงาน • คลังสำรอง (Stockpile) มียาต้านไวรัส PPE เพียงพอ • ศักยภาพด้านวัคซีนไข้หวัดใหญ่ • โครงการพัฒนาวัคซีน • เริ่มสร้างโรงงานผลิตวัคซีน • ขยายบริการให้วัคซีน • โรงงานผลิต Oseltamivir • ระบบประสาน สั่งการ ระดับต่างๆ • แผนเตรียมความพร้อม หรือ Business continuity plan • กระทรวง / หน่วยงาน / จังหวัด • รัฐวิสาหกิจ • ภาคเอกชน • การซ้อมแผน (Exercises) • Tabletop • Functional

  20. นายกรัฐมนตรี ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน คณะกรรมการอำนวยการฯ (รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ/ นานาชาติ WHO US CDC ….… กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) โครงสร้างคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบัน (รองนรม.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน)

  21. หน่วยราชการ • กระทรวงสาธารณสุข • กระทรวงมหาดไทย • กระทรวงศึกษาธิการ • กระทรวงวัฒนธรรม • กระทรวงคมนาคม • กระทรวงวิทยาศาสตร์ • กระทรวงการท่องเที่ยว • กระทรวง ICT • กระทรวงอื่นๆ คณะกรรมการอำนวยการฯระดับชาติ (รองนายกฯ สนั่น) คณะกรรมการ กองทุนส่งเสริมสุขภาพ (นายกรัฐมนตรี) คณะกรรมการ สนับสนุนการขับเคลื่อน การป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษทางวิชาการและยุทธศาสตร์าด้านการแพทย์และสาธารสุข • กองทุน ส่งเสริม สุขภาพ (สสส.) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ภาคเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ NGO • รัฐวิสาหกิจ คณะอนุกรรมการเผยแพร่ ปชส.(กปส.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน รัฐบาล (ครม.) กิจกรรมป้องกัน ควบคุมโรค ดูแลผู้ป่วย ส่งเสริมสุขภาพ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ รักษาความเรียบร้อย

  22. แนวทางการป้องกัน และควบคุมโรค

  23. หากทุกฝ่าย ช่วยกัน ป้องกันโรคควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด เป้าหมายการจัดการปัญหาไข้หวัดใหญ่ H1N1 การป้องกันและ ควบคุมโรค ช่วง เมย. – พค. ช่วย ชะลอการระบาดใน ประเทศประมาณ 6 สัปดาห์ จำนวนผู้ป่วยในแต่ละวัน วัน นับตั้งแต่เริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หน่วยงานต่างๆ และประชาชน มีโอกาสเตรียมตัว ทุกฝ่ายไม่ตระหนก ประชาชนรู้วิธีป้องกันโรค โรงเรียนและธุรกิจปรับตัวรับได้ มีผลกระทบน้อย 17 มิย. 2552

  24. การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตามสถานการณ์ของโรคการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตามสถานการณ์ของโรค สถานการณ์ A มีผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ เดินทางเข้าประเทศ เป้าหมาย ป้องกันการแพร่เชื้อในประเทศ ยุทธศาสตร์หลัก คัดกรองผู้เดินทาง เฝ้าระวังโรคค้นหาผู้ป่วย ดูแลรักษาผู้ป่วย เฝ้าติดตามผู้สัมผัสโรค สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เตรียมเข้าสถานการณ์ B ระดับ 6 ระดับ 5 • สถานการณ์ B • เกิดการระบาดในประเทศ ในวงจำกัด • เป้าหมาย ควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงแคบที่สุด • ยุทธศาสตร์หลัก • เฝ้าระวังโรค ค้นหาผู้ป่วย เฝ้าติดตามผู้สัมผัสโรค • รักษาผู้ป่วย แนะนำดูแลที่บ้าน • สุขศึกษา ปชส. ส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรค • แยกตัว / ลดกิจกรรมทางสังคม พร้อมการป้องกันโรค • เตรียมพร้อมเข้าสถานการณ์ C • สถานการณ์ C • การระบาดในประเทศ ขยายวงกว้าง • เป้าหมาย บรรเทาความรุนแรง & ลดผลกระทบของการระบาด • ยุทธศาสตร์หลัก • รักษาผู้ป่วย / ดูแลที่บ้าน • สุขศึกษา ปชส.เสริมสุขภาพจิต • มาตรการด้านชุมชน/สังคม • ดูแลสาธารณูปโภคไม่ให้ชะงัก • ประคองกิจการ รัฐ / เอกชน • พยุงเศรษฐกิจ รักษาความสงบ • ใช้วัคซีน (ถ้ามี) ป้องกันการนำเชื้อ เข้าประเทศ และตรวจจับโรค อย่างรวดเร็ว ควบคุมโรค อย่างทันท่วงที เน้นการรักษา และบรรเทาความสูญเสีย

  25. เสียชีวิต 1,200 ปอดบวม 130,000 ผู้ป่วยนอก 3,400,000 มีอาการป่วย 15,000,000 ไม่มีอาการป่วย 15,000,000 ผู้ติดเชื้อ 30,000,000 ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 • ลดตาย • แพทย์ดูแลให้ยาเร็ว / เหมาะสม ตาม แนวทาง • รพ.จัดช่องทางด่วน หรือ คลินิคไข้หวัดใหญ่ • ให้ความรู้ ปชช. ดูแลตนเองที่บ้านได้ และรีบมาหาแพทย์ไว ถ้ามีภาวะเสี่ยง • เร่ง ให้อสมช่วย.แนะนำการป้องกันโรค และค้นหาผู้ป่วย • เร่ง เผยแพร่ สื่อสารส่งเสริมพฤติกรรม ป้องกันโรค ดูแลตนเองถูกต้อง • เร่ง กระจายการ บริหารจัดการ สู่จังหวัดและท้องถิ่น เสริม เฝ้าระวังโรค ชันสูตร (Lab) ผลิต จัดหา สำรอง ยา PPE พัฒนา ผลิต สำรอง วัคซีน พัฒนาบุคลากร ประสาน สั่งการ งบประมาณ ฯลฯ • ลดป่วย • เสริมพฤติกรรม • ป้องกันโรค (เช่น • ล้างมือ ใช้หน้ากาก) • ลดการสัมผัส • (Social distancing) • เช่น ให้ผู้ป่วยอยู่บ้าน • เลี่ยงการชุมนุม • ให้วัคซีน (ถ้ามี) 4 กย 2552

  26. การรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี

  27. สื่อประชาสัมพันธ์

  28. สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ วัคซีน เตรียมพร้อมด้วยยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยกว่า 4.9 ล้านคนและสั่งจองวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ จำนวน 2 ล้านโด๊ส (1-2 ล้านคน) ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อมวลชน เว็บไซต์ call center ตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (เฉพาะ 1-2 เดือนแรกของการระบาด) ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบินนานาชาติและมีแพทย์ประจำจุดตรวจ พร้อมส่งผู้ป่วยทันทีหากพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ เช่น เฝ้าระวังโรคในสถานศึกษา สายการบิน บริษัททัวร์ โรงแรม การประชาสัมพันธ์ การซ้อมแผนทุกภาคส่วนระดับจังหวัด ประสานความร่วมมือกับ WHO และ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข

  29. การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ปฏิบัติการ ตั้งแต่ 25 เม.ย. 2552 เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค โดยสถานบริการสธ., ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทั่วประเทศและอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทราบผลตรวจใน 48 ชม. ด้วยเครือข่าย 14 แห่ง และรถตรวจเคลื่อนที่ 7 คัน พร้อมทั้งพันธมิตรทางห้องปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฝึกอบรมบุคลากรและเตรียมห้องแยกผู้ป่วยในรพ.ทุกแห่ง

  30. การควบคุมและป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (1)

  31. ตัวอย่างคลินิคไข้หวัดใหญ่ แบบ One Stop Service

  32. การควบคุมและป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (2)

  33. การควบคุมและป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (3)

  34. การควบคุมและป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (4)

  35. การควบคุมและป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (5)

  36. การควบคุมและป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (6)

  37. เตรียมรับมือการระบาดช่วงหน้าหนาวเตรียมรับมือการระบาดช่วงหน้าหนาว คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป รักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรค - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ - ดื่มน้ำสะอาดให้มากพอ - ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล - หมั่นล้างมือบ่อๆ และล้างมือทุกครั้งหลังสั่งน้ำมูล ไอ จาม และหลังขับถ่าย - ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% - ใช้หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัด

  38. หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอล เพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (1)

  39. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (2) • ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม

  40. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ (3) • อาการจะค่อยๆทุเลา ดีขึ้นใน 3-5 วัน • หากไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงขึ้น คือไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ไอถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก หายใจเร็วกว่าเดิม ควรรีบไปพบแพทย์

  41. กลุ่มเสี่ยงที่ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่กลุ่มเสี่ยงที่ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ • กลุ่มเสี่ยงที่อาจมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก (น้อยกว่า 2 ปี) หญิงมีครรภ์และผู้มีภาวะอ้วน ควรรีบไป พบแพทย์

  42. คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (1) • ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน • เช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่เย็น • ให้ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด • พยายามให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

  43. คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (2) • ให้นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก • ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก และจมูก เวลาไอหรือ จามด้วยกระดาษทิชชูหรือแขนเสื้อของตนเอง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ร่วมบ้านหรือร่วมห้อง (หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง) รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หรือใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น • หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น คือไข้สูงขึ้น ไอถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก หายใจเร็วกว่าเดิมควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  44. คำแนะนำสำหรับโรงเรียนคำแนะนำสำหรับโรงเรียน - สำรวจนักเรียนที่ป่วย ทุกวัน • ให้นักเรียนที่ป่วยหยุดเรียน เพื่อพักผ่อนที่บ้าน หรือรักษาจนหาย • แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการ 7 วันถ้าป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน - สอน กระตุ้นเตือนนักเรียน เรื่องการป้องกันโรค อย่างสม่ำเสมอ - ทำความสะอาด อุปกรณ์ สถานที่ ที่อาจแพร่เชื้อ อย่างสม่ำเสมอ

  45. - ให้พนักงาน ที่ป่วยพักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการรุนแรงรีบไปพบแพทย์ • - ตรวจสอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค • - ให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเฝ้าสังเกตอาการของตนเอง เป็นเวลา  7  วันถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน • ไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการเพื่อการป้องกันการระบาด • ควรทำความสะอาดอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก อย่างสม่ำเสมอ และจัดให้มีอ่างล้างมือน้ำและสบู่อย่างเพียงพอ   • - ควรจัดทำแผนการประคองกิจการเพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ อย่างต่อเนื่องหากเกิดการระบาดใหญ่ คำแนะนำสำหรับที่ทำงาน สถานประกอบการ

More Related