350 likes | 644 Vues
ประเด็นหลักที่เปลี่ยนแปลง ของ พรบ . คุ้มครองแรงงาน พ . ศ . 2551 ที่ผ่าน สนช . เมื่อ 19/12/07. มาตรา 9 ... ถ้านายจ้างไม่คืนหลักประกัน / ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด / ไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
E N D
ประเด็นหลักที่เปลี่ยนแปลง ของพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 ที่ผ่าน สนช. เมื่อ 19/12/07
มาตรา 9...ถ้านายจ้างไม่คืนหลักประกัน / ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด / ไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้กับลูกจ้าง 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัด
มาตรา 10... ห้ามเรียกรับหลักประกันการทำงานจากลูกจ้าง ยกเว้นเป็นงานที่เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สิน ถ้ามีเรียกต้องคืนพร้อมดอกเบี้ยให้ลูกจ้างภายใน 7 วันที่ลูกจ้างออกจากงาน ( เดิมห้ามเรียกเงินประกัน )
มาตรา 11/1...ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างของลูกจ้าง Subcontract และถ้าให้ทำงานในลักษณะเดียวกับลูกจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ **** ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 14/1...สัญญาจ้าง / ข้อบังคับการทำงาน / ระเบียบ / คำสั่งของนายจ้าง ที่ได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอานาจสั่งให้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
มาตรา 16...หาม นายจาง / หัวหนา / ผูควบคุมงาน หรือผูตรวจงาน กระทําการ ลวงเกิน /คุกคาม / ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ทางเพศ ตอลูกจาง ( เดิมห้ามล่วงละเมิดทางเพศแก่ลูกจ้างหญิงและเด็ก ฉบับใหม่เพิ่มการคุ้มครองทุกเพศ ทุกวันและเพิ่มห้ามทำความรำคาญ เดือดร้อนคุกคามทางเพศด้วย
มาตรา 17...สัญญาจ้างทดลองงาน เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา *** ข้อควรระวัง คือ การบอกระงับทดลองงานทุกระยะต้อง 1. จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดค่าจ้าง 2. ถ้าบอกหลังครบ 120 วันจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
มาตรา 18...การส่งเอกสารให้ราชการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถส่งผ่านสื่อ อิเลคโทรนิกส์ หรือ สื่อเทคโนโลยี ได้ ( เดิมให้ส่งเป็นกระดาษ-ลงชื่อรับ-ลงทะเบียน - ติดประกาศ)
มาตรา 23...กำหนดการทำงานปกติวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง กรณีที่วันใดทำไม่ครบ 8 ชั่วโมงให้ตกลงกันนำชั่วโมงที่เหลือไปรวมกับวันอื่นได้ แต่รวมแล้วไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงที่เกินมานั้นให้จ่ายค่าตอบแทน1.5 เท่า ข้อสังเกตุ ที่บอกว่าทำงานเพิ่มวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และ พนักงานยินยอม เป็นการตกลงที่ผิดกฎหมายเป็นโมฆะ ถ้ามีคนไปฟ้อง จะต้องจ่ายโอ ที ย้อนหลังให้ทุกคน
มาตรา 39/1...ลูกจางหญิงมีครรภ์ทํางาน ในตําแหนง ผูบริหาร /งานวิชาการ /งานธุรการ/งานการเงินหรือบัญชีทํางานลวงเวลาไดโดยไดรับความยินยอมจาก ลูกจางกอนเปนคราวๆ ไป
มาตรา 51...ห้ามจ้าง / ห้ามรับหลักประกันจากลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เงินที่จ่ายให้กับบิดา มารดา ของเด็กก่อนการเข้าทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง - จะนำมาหักจากค่าจ้างไม่ได้
มาตรา 65...เพิ่มข้อความว่า ..( 2 ) พนักงานที่ทำงานเร่ขาย หรือ ชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
มาตรา 65...( 8 ) พนักงานที่นายจ้างจัดให้เข้ามาเฝ้าดูแลสถานที่ ทรัพย์สินอันไม่ใช่หน้าที่ปกติของลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างในชั่วโมงทำงานปกติ
มาตรา 67...ให้นายจ้างจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามสัดส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิ ของปีที่เลิกจ้าง กรณีที่ลูกจ้างลาออก หรือ นายจ้างเลิกจ้างทุกกรณี ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่มีตามสิทธิ
มาตรา 75...ในกรณีที่นายจ้างจำเป็นต้องหยุดกิจการ ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ให้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่หยุดงาน 75% ( เดิมจ่าย 50 % ) และแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ทำการ
มาตรา 115/1...ถ้ามีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปให้ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานต่ออธิบดี ภายในเดือนมกราคมของทุกปี ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีคนเข้าใหม่ – ลาออก – เปลี่ยนหน้าที่ ให้ยื่นการเปลี่ยนแปลงภายในเดือนถัดไป ถ้าเตือนให้ยื่นแล้ว ไม่ยื่นภายใน 15 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 119... ( 6 ) การเลิกจ้างด้วยเหตุที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ถ้าเป็นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ ต้องเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • หนังสือเตือนมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิด • ถ้าไม่ได้อ้างเหตุความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จะยกเหตุนั้นมาต่อสู้ในศาลไม่ได้
มาตรา 120...ในกรณีที่นายจาง ยายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่นถาลูกจางไมไปด้วย ใหนายจ้างคาชดเชย 100 %ของคาชดเชยที่ลูกจางพึงมีสิทธิ ไดรับ( จากเดิมจ่าย 50% )
มาตรา 124/1...ในกรณีที่นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน หรือ ตามคำสั่งของศาลแล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับ ( ลูกจ้างสามารถแยกฟ้องคดีแรงงาน กับ คดีอาญา ศาลจะแยกกันพิจารณา แต่ฉบับใหม่เห็นความยุ่งยาก จึงให้แก้ว่าถ้านายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ให้ถือว่าคดีสิ้นสุด การพิจารณาของศาลอาญาระงับไปด้วย ไม่ต้องพิจารณาต่อ )
มาตรา 141...ถ้าไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีภายในระยะเวลาที่กำหนดในคำสั่ง ให้อธิบดีพิจารณาและแจ้งผลกลับภายใน 30 วันคำตัดสินของอธิบดี ถือเป็นที่สุด เมื่อสั่งแล้วไม่ทำตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 150...ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก / ไม่มาให้ถ้อยคำ / ไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดขัดขวาง / ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับพระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับ เมื่อพนกําหนด 90 วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ***คาดว่าประมาณพฤษภาคม 2551
พนักงานผู้รับเหมาช่วง ( มาตรา 11/1 ) ที่ทำงานในสวนหนึ่ง สวนใดใน กระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผูประกอบกิจการ ให้ถือว่าผูประกอบกิจการเปนนายจาง...และถ้าให้ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างโดยตรงให้ลูกจ้างผู้รับเหมาช่วงนั้น ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ *** ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 100,000 บาท
ข้อดีของการมีพนักงาน Subcontract คือ 1. ลด – เพิ่มคน ตามกระแสเศรษฐกิจที่ขึ้นเร็ว -ลงเร็วได้ 2. ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้าง & สวัสดิการบางรายการได้ 3. ถ่วงดุลย์กำลังของสหภาพแรงงานได้
ข้อเสียของการมีพนักงาน Subcontract คือ 1. จูงใจให้คนมาสมัครงานได้น้อยเพราะรู้สึกไม่มั่นคง 2. อัตราการลาออกสูง ผลงานไม่ต่อเนื่อง ไม่ผูกพันกับองค์กร 3. แบ่งแยกชนชั้นของคน ในสถานประกอบการ 4. เพิ่มคน เพิ่มงาน ควบคุมการทำงาน การเบิกจ่ายเงิน 5. หลีกเลี่ยงไม่พ้น ในกรณีที่บริษัทผู้รับเหมาไม่รับผิดชอบ
ข้อแนะนำในการจัดการ : 4 ทางเลือก 1. ปรับเป็นพนักงานประจำ ตามความจำเป็นของงาน 2. ทำสัญญาจ้างเป็นพนักงานโดยตรงแต่มีระยะเวลา 10 เดือน ( เมื่อครบ 10 เดือนแล้วเลิกจ้างจ่ายค่าชดเชย 1 เดือน ) 3. ถ้าต้องมีอยู่ให้ แยกงาน - แยกคน– แยกระดับ ให้เห็นแตกต่าง ( เช่น ตัดงานออกไปให้ผู้รับเหมาทำทั้งแผนก โดยคนของเราควบคุม ตรวจสอบ เท่านั้น ) 4. ถ้าให้ทำงานด้วยกัน / ในลักษณะงานอย่างเดียวกัน ให้ปรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
สรุปเรื่องที่ต้องทำเฉพาะหน้า 2 เรื่อง คือ • 1. การจัดการกับพนักงาน Subcontract ว่า • 1.1 จะจ้างเป็นพนักงานโดยตรง หรือ • 1.2 ถ้ายังต้องมีอยู่ ต้องปรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดย • ไม่เลือกปฏิบัติ ( ถ้าไม่ทำถูกปรับ 100,000 บาท ) • การปรับเวลาทำงานของพนักงานรายเดือนที่โรงงาน จากวันละ 9 ชั่วโมง ให้ • เป็นวันละ 8 ชั่วโมง ให้ถูกต้องตามมาตรา 23 ( ถ้าไม่ทำตามปรับไม่เกิน 5,000 • บาท ถ้ามีคนร้องเรียนต้องจ่ายโอที ให้คนละ 1 ชั่วโมง + อาจจะจ่ายย้อนหลัง • ใน 2 ปีที่ผ่านมาด้วย)