1 / 62

Chapter 2

Chapter 2. The Business Case ( กรณีศึกษาทางธุรกิจ ). Chapter 2 Objectives. ให้นิยามว่า กรรมวิธี ( methodology ) คืออะไร และ อธิบายบทบาทของมันในการรองรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับ IT

cady
Télécharger la présentation

Chapter 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 2 The Business Case (กรณีศึกษาทางธุรกิจ)

  2. Chapter 2 Objectives • ให้นิยามว่า กรรมวิธี (methodology)คืออะไร และ อธิบายบทบาทของมันในการรองรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับ IT • ระบุถึงเฟสต่าง ๆ และโครงสร้าง (infrastructure)ที่ประกอบขึ้นเป็นกรรมวิธีในการบริหารโครงการเกี่ยวกับ IT (IT project methodology) ที่กล่าวเอาไว้ในบทนี้ • พัฒนาและประยุกต์ใช้แนวความคิดของคุณค่าที่เกิดแก่องค์กรอันสามารถวัดได้ของโครงการนี้ (project’s measurable organizational value (MOV)) • อธิบายถึง Business case และการจัดเตรียม • แยกแยะระหว่างแบบจำลองเชิงการเงิน(financial models)และ แบบจำลองเชิงคะแนน (scoring models) • อธิบายถึงกระบวนการคัดเลือกโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการใช้แนวทางของ Balanced Scorecard approach.

  3. อธิบายถึงความโปร่งใสของ IT (IT Governance) และมันช่วยให้มั่นใจได้อย่างไรว่า การลงทุนในโครงการ IT ได้ปรับเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรและยังคงสอดรับกับวิสัยทัศน์ตั้งต้นขององค์กร • อธิบายถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ (Project Management Officer, PMO) ในองค์กร

  4. กรรมวิธี (Methodology) • Methodology หมายถึงแผนระดับกลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารและควบคุมโครงการต่าง ๆ ของ IT • เทมเพลต (template) สำหรับช่วงเริ่มต้น (initiating), การวางแผน (planning) และการพัฒนา (developing) ระบบสารสนเทศ • คำแนะนำที่จำเป็นต่อการสนับสนุนโครงการ IT : • เฟสหรือระยะต่าง ๆ (phases) • สิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากโครงการ (deliverables) • กระบวนการต่าง ๆ (processes) • เครื่องมือต่าง ๆ (tools) • องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ (knowledge areas) • จะต้องมีความคล่องตัวและรวมไปถึง “practices” ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

  5. An IT Project Methodology Deliverable มักจะได้แก่ เอกสาร และรายงานต่าง ๆ

  6. เฟส หรือ ระยะต่าง ๆ (Phases) • เฟส 1:แนวความคิด (Conceptualize) และ การเริ่มต้น (Initialize) • เฟสแรกของ IT Methodology มุ่งไปที่การกำหนดเป้าหมาย (goal) โดยรวมของโครงการ • การกำหนดเป้าหมายของโครงการถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดใน IT project methodology • โครงการที่เราเลือกขึ้นมาทำนั้นมักจะมีความต้องการที่เจาะจง และความต้องการนั้นต้องเพิ่มคุณค่าที่วัดได้เป็นตัวเลข (tangible value) ให้กับองค์กร • ทางเลือกอื่น ๆ อันจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายต้องถูกบ่งชี้เช่นกัน แล้วต้นทุนและผลประโยชน์ตอบแทน ความเป็นไปได้และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกต้องถูกวิเคราะห์ หลังจากทำการวิเคราะห์แล้วทางเลือกที่ดีที่สุดต้องถูกระบุเพื่อขอเงินทุนสนับสนุน

  7. ท้ายที่สุด เป้าหมายของโครงการและการวิเคราะห์ทางเลือกที่สนับสนุนเป้าหมายจะถูกสรุปออกมาในเชิงของสิ่งที่ต้องส่งมอบ (deliverable) ซึ่งถูกเรียกว่า Business case • ผู้บริหารระดับสูงจะใช้ Business case ในระหว่างกระบวนการคัดเลือกว่าจะให้เงินทุนสนับสนุนโครงการใด

  8. เฟส 2:การพัฒนา(เขียน) โปรเจ็ค ชาร์เตอร์(Project Charter)และรายละเอียดของแผนของโครงการ (Detailed Project Plan)ที่ถูกนิยามอยู่ในเทอมของโครงการ อันได้แก่: • ขอบเขต (scope) • ตารางเวลา (schedule) • งบประมาณ (budget) • วัตถุประสงค์เชิงคุณภาพ (quality objectives)

  9. โปรเจ็ค ชาร์เตอร์ (Project Charter)คืออะไร ? • Project Charter คือสิ่งสำคัญที่ให้ออกมา (key deliverable) ของเฟสที่ 2 ของ IT Methodology จะใช้เพื่อนิยามว่า โครงการจะถูกจัดโครงสร้างอย่างไรและทางเลือกอื่น ๆในโครงการให้คำแนะนำไว้อย่างไร เงินทุนที่ได้รับการอนุมัติมาจะถูกนำมาใช้อย่างไร • Project Charter จะเป็นโอกาสที่จะแสดงเป้าหมายของโครงการ (Project’s goal) ให้ชัดเจน และ กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ (Project’s objective) ในเทอมของ ของเขต (scope) ตารางเวลา (schedule) ค่าใช้จ่าย (budget) และ มาตรฐานทางคุณภาพ (quality standards) • นอกจากนั้น Project Charter ยังเป็นการบ่งชี้ และ ให้อำนาจกับผู้บริหารโครงการในการเริ่มต้นเข้าไปดำเนินการกระบวนการและงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ System Development Life Cycle (SDLC)

  10. แผนของโครงการ (Project Plan)จะให้รายละเอียดทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ต้องทำงานของโครงการ(ว่าต้องทำอะไรบ้าง และ ทำเมื่อใด) Project plan จะตอบคำถามต่อไปนี้ • ใครคือผู้บริหารโครงการ • ใครคือสปอนเซอร์ของโครงการ (Project Sponsor) • ใครอยู่ในกลุ่มของโครงการ • บทบาทอะไรที่แต่ละคนต้องเล่น • ขอบเขตของโครงการคืออะไร • ต้นทุนของโครงการเป็นเท่าใด • โครงการใช้เวลาใช้เวลานานเท่าใด • ต้องการทรัพยากรและเทคโนโลยีอะไรบ้าง

  11. เครื่องมือ เทคนิค แนวทางใดที่จะใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมา • งานหรือการดำเนินการใดบ้างที่ต้องทำเพื่อให้โครงการเดินไปข้างหน้า • งานและการดำเนินการนั้น ๆ ใช้เวลานานเท่าใด และใครรับผิดชอบ • องค์กรจะได้อะไรจากการเสียเวลา เงิน และทัพยากรในการทำโครงการนี้ • นอกจากนั้น ขอบเขตของโครงการ ตารางเวลา งบประมาณ และ เรื่องของคุณภาพต้องกำหนดอย่างละเอียด แม้ว่ามันบางส่วนจะอยู่ใน Business case แล้วก็ตาม แต่เอกสารทั้งสองตัวคือ Business case และ Project charter ถือเป็นเอกสารที่แยกอิสระจากกัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  12. 1) Business case จะถูกพิจารณาในเชิงภาพใหญ่ในเชิงการวางแผนกลยุทธ์ในระดับสูง (high level strategic planning) อันเป็นการนิยามและและตกลงร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายของโครงการและการกำหนดทางเลือกในการทำโครงการ อันเป็นไปเพื่อการอนุมัติเงินทุนเพื่อทำโครงการ เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติแล้ว Project charter จะใช้บ่งบอกถึงรายละเอียดของโครงการในเชิงใครต้องทำอะไรและทำเมื่อใด • 2) Project charter และ แผน เป็นผลิตผลมาจากการวางแผนเชิงยุทธวิธี (tactical planning) เป็นรายละเอียดอันเกิดจากการกำหนดว่าเป้าหมายของโครงการจะบรรลุได้อย่างไร • 3)Project charter เป็นการแยกขั้นตอนต่าง ๆ ออกจากกันตามเวลาที่ดำเนินการ เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจในการดำเนินการหรือหยุดดำเนินการ

  13. เฟส 3: การปฏิบัติการและการควบคุมโครงการโดยใช้แนวทางต่าง ๆ เช่น SDLC • นอกจากนั้นผู้บริหารโครงการต้องมั่นใจว่า สภาพแวดล้อมและโครงสร้างต่าง ๆสนับสนุนโครงการด้วย สิ่งเหล่านี้ได้แก่ • มีคนที่มีทักษะ ประสบการณ์ และองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับโครงการ • โครงสร้างเชิงเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา • วิธีการพัฒนา IS และเครื่องมือต่าง ๆ • มีสภาพแวดล้อมในการทำงานถูกต้อง • มีรายละเอียดของ risk plan • มีการควบคุมขอบเขต เวลา เงินทุน และคุณภาพ

  14. มีแผนปฏิบัติการ • มีแผนบริหารจัดการด้านคุณภาพ • มีแผนบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลง • มีแผนด้านการติดต่อสื่อสาร • มีแผนการทดสอบ • มีระบบบริหารงานบุคคลเพื่อประเมินผลงานและให้รางวัล

  15. เฟส 4: การปิดโครงการ (Close Project) • เมื่อระบบสารสนเทศถูกพัฒนาจนแล้วเสร็จ ผ่านการทดสอบ และติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ความรับผิดชอบในโครงการนั้น ๆ ต้องถูกถ่ายโอนไปยังผู้เกี่ยวข้องหรือสปอนเซอร์ของโครงการ • กลุ่มที่ทำโครงการจะต้องจัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับโครงการขั้นสุดท้าย (final project report)และการนำเสนอ (presentation)ให้เป็นเอกสาร และจะต้องตรวจสอบสิ่งที่ได้รับจากโครงการ (project deliverable) ว่าครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในขอบเขตของโครงการหรือไม่ เพื่อสปอนเซอร์ของโครงการจะได้เชื่อมั่นว่า โครงการเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และทำการรับรองและรับช่วงต่ออย่างเป็นทางการ • ที่จุดนี้ต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ไปในโครงการจะถูกตรวจสอบ รวมถึงการจัดการเกี่ยวกับการชำระเงินต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จสิ้น

  16. เฟส 5: การประเมินความสำเร็จของโครงการ (Evaluate Project Success) • หลังทำโครงการโดยผู้บริหารโครงการ (project manager)และกลุ่ม(team)ทั้งหมด (ประเมินทั้งโครงการ) • 1) ประเมินสมาชิกของกลุ่มโดยผู้บริหารโครงการ • 2)ประเมินจากภายนอกเกี่ยวกับโครงการ ผู้นำโครงการ (project leader) และสมาชิกของกลุ่มโดยมุ่งเน้นในการตอบคำถามต่อไปนี้ • 1) โอกาสที่โครงการจะบรรลุเป้าหมายเป็นอย่างไร? • 2) โครงการบรรลุขอบเขต ตารางเวลา งบประมาณ และ เป้าประสงค์ทางคุณภาพ หรือไม่? • 3) กลุ่มทำโครงการได้ส่งมอบทุก ๆ อย่างที่ได้สัญญาไว้ให้กับสปอนเซอร์หรือผู้เกี่ยวข้องครบถ้วนหรือไม่?

  17. 4) สปอนเซอร์ของโครงการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจกับงานที่ทำในโครงการหรือไม่? • 5) ความเสี่ยงหรือความท้าทายอะไรที่กลุ่มทำโครงการได้เผชิญบ้าง? แล้วกลุ่มทำโครงการจัดการกับความเสี่ยงหรือความท้าทายนี้ได้ดีเพียงใด? • 6) สปอนเซอร์ของโครงการ กลุ่มทำโครงการ และผู้จัดการโครงการ ทำงานร่วมกันได้ดีเพียงใด? ถ้ามีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น พวกเขาระบุข้อขัดแย้งและจัดการกับมันได้ดีเพียงใด? • 7) ผู้จัดการโครงการและกลุ่มดำเนินโครงการได้แสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพและความมีจรรยาบรรณหรือไม่?

  18. 3) ประเมินคุณค่าของโครงการที่มีต่อองค์กร (project’s organizational value) คุณค่าที่มีต่อองค์กรอาจจะยังไม่ชัดเจนทันทีที่ปิดโครงการ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนมองเห็นคุณค่าของโครงการเกิดขึ้น ก็จะต้องทำการประเมินเทียบกับเป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้ในเฟสแรกทันที

  19. กระบวนการต่าง ๆ ในการบริหารโครงการ(Project management process) ตามนิยามใน PMBOK นั้น “กระบวนการ” คือ อนุกรมของการดำเนินการต่าง ๆ ที่ให้ผลลัพธ์ออกมา ดังนั้นการบวนการบริหารโครงการ (Project Management Process) เป็นการอธิบายและช่วยจัดกลุ่ม งานที่ต้องทำให้เสร็จสิ้น ส่วน Product oriented processes จะมุ่งเน้นในการสร้างและได้มาซึ่งผลิตผล (product) จากโครงการ Project management process จะประกอบด้วย: กระบวนการต่างๆ ในช่วงเริ่มต้น (Initiating processes) เป็นการเริ่มต้นโครงการเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว กระบวนการต่าง ๆ ในการวางแผน (Planning processes) เป็นการพัฒนาและรักษาแผนการทำงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายโดยรวม (overall goal) ของโครงการ IT Project Management Foundation

  20. กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน(Executing processes) เป็นการประสานงานกับผู้คนและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดำเนินโครงการ • กระบวนการต่าง ๆ ในการควบคุม (Controlling processes) เพื่อมั่นใจว่ามีการควบคุมอย่างถูกต้องและมีกลไกในการรายงานใช้งาน ซึ่งใช้เป็นตัวเฝ้าดูความคืบหน้าของโครงการ ใช้บ่งชี้ปัญหา และมีการดำเนินการอย่างถูกต้องยามจำเป็น • กระบวนการต่าง ๆ ในการปิดโครงการ (Closing processes) เพื่อดำเนินการปิดโครงการในเทอมของการยอมรับโครงการอย่างเป็นทางการ หรือ เป็นการยอมรับการสิ้นสุดของแต่ละเฟสด้วยความพึงพอใจ

  21. วัตถุประสงค์ของโครงการ (Project Objectives) • โครงการหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยหลาย ๆ วัตถุประสงค์ (objectives) • วัตถุประสงค์เหล่านี้จะต้องสนับสนุน เป้าหมายโดยรวม (overall goals) • วัตถุประสงค์ข้างต้นสามารถนิยามอยู่ในเทอมของ ขอบเขต ตารางเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพ และจะเห็นว่า การแยกเป้า ประสงค์ออกจากกันโดด ๆ แล้ว เราจะไม่สามารถกำหนดความสำเร็จได้เลย

  22. Tools • เครื่องมือต่าง ๆ ที่ต้องใช้สนับสนุนทั้งกระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น • เครื่องมือและเทคนิคในการประมาณการ (estimation) • เครื่องมือในการพัฒนาและจัดการกับขอบเขต ตารางเวลา งบประมาณ และคุณภาพของโครงการ • เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น CASE (Computer Aided Software Engineering) การวิเคราะห์แบบจำลอง เป็นต้น

  23. Infrastructure • โครงสร้าง (Infrastructure) • โครงสร้างขององค์กร (Organizational Infrastructure) • โครงสร้างของโครงการ (Project Infrastructure) • สภาพแวดล้อมของโครงการ (Project Environment) • ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม • กระบวนการและการควบคุมต่าง ๆ • โครงสร้างเชิงเทคนิค (Technical Infrastructure)

  24. Project Management Body of Knowledge (PMBoK)

  25. กรณีศึกษาทางธุรกิจ (The Business Case) • นิยามของกรณีศึกษาทางธุรกิจก็คือ การวิเคราะห์ถึง คุณค่า (value) ความเป็นไปได้ (feasibility) งบประมาณ (costs) ผลตอบแทน (benefits) และ ความเสี่ยง (risks) ของแผนโครงการที่เกี่ยวข้องกับองค์กร • ลักษณะของกรณีศึกษาทางธุรกิจที่ดีนั้นต้อง • มีรายละเอียดของผลกระทบ (impacts) ต้นทุน (costs) และ ผลตอบแทน (benefits) ที่เป็นไปได้ทั้งหมด • มีการเปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ อย่างชัดเจน • มีวัตถุประสงค์รวมทั้งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน • มีความเป็นระบบในเทอมของ summarizing findings

  26. โครงการ IT อาจเกี่ยวข้องกับ: • การลดต้นทุน • สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ • ปรับปรุงด้านการให้บริการลูกค้า • ปรับปรุงด้านการสื่อสาร • ปรับปรุงด้านการตัดสินใจ • สร้างหรือเสริมความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ ลูกค้า หรือ หุ้นส่วน • ปรับปรุงกระบวนการ • ปรับปรุงความสามารถในการทำรายงาน • สนับสนุนความต้องการของกฎหมายใหม่ ๆ

  27. Process for Developing the Business Case กระบวนการในการสร้าง Business Case

  28. Developing the Business Case • Step 1:เลือก Core Team ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้: • มีเครดิตเป็นที่ยอมรับ (Credibility) • ปรับแนวทางเข้าสู่เป้าหมายขององค์กร(organizational goals) • สืบค้นไปสู่ต้นทุนที่แท้จริง (Access to the real costs) • มีความเป็นเจ้าของ (Ownership) • รักษาคำมั่นสัญญา (Agreement) • เป็นนักประสานงาน (Bridge building)

  29. Developing the Business Case • Step 2:นิยาม Measurable Organizational Value (MOV) the project’s overall goal • MOV ที่ดีต้อง: • วัดได้ • ให้คุณค่าแก่องค์กร • ตรงตามข้อตกลง • ตรวจสอบได้ • ควรปรับแนวทางของ MOV เข้ากับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร

  30. The IT Value Chain

  31. Project Goal ? • ติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใหม่เพื่อปรับปรุงการให้บริการลูกค้าในระดับโลก(world class)(วัดไม่ได้) • สนองตอบ 95% ของคำถามจากลูกค้าภายใน 90 วินาที โดยที่มีการโทรกลับมาสอบถามเรื่องเดิมน้อยกว่า 5% (วัดได้) versus

  32. A Really Good Goal • I believe that this nation should commit itself to achieving the goal before this decade is out, of landing a man on the moon and returning him safely to Earth. John F. Kennedy • ถอดความ: • ส่งมนุษย์ขึ้นไปบนดวงจันทร์ (ไม่ใช่แค่ยานอวกาศ หรือ ลิงชิมแพนซีในยานอวกาศ) • ไม่ใช่แค่ไปส่งหรือรับกลับเท่านั้น ต้องทั้งไปและกลับอย่างปลอดภัย • ต้องแล้วเสร็จก่อน 1970

  33. Steps to develop MOV • MOV Step 1 - บ่งชี้พื้นที่ที่ต้องการอันได้รับผลกระทบ • Strategic: ส่วนแบ่งการตลาด • Customer: สินค้าหรือบริการ • Financial: รายได้หรือผลกำไร • Operational: ประสิทธิผลในการทำงาน • Social: การศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัย สภาพแวดล้อม • ลองดูจากตารางในหน้าถัดไป

  34. กำหนดด้านที่สนใจ • เริ่มด้วยการกำหนดด้านที่สนใจหรือต้องการโฟกัส แล้วดูว่ามันมีผลกระทบอะไรบ้าง

  35. Steps to develop MOV • MOV Step 2 - บ่งชี้คุณค่าที่ต้องการของโครงการที่เกี่ยวข้องกับ IT • ดีขึ้น (Better) • เร็วขึ้น (Faster) • ถูกลง (Cheaper) • ทำงานได้มากขึ้น (Do more)

  36. Steps to develop MOV • MOV Step 3 - กำหนดตัววัดที่เหมาะสม (Appropriate Metric) • กำหนดเป้าหมาย (provide target) • ตั้ง/กำหนดความคาดหวัง (set expectations) • กำหนดสิ่งที่แสดงถึงความสำเร็จ/ล้มเหลว (enable success/failure determination) • ตัววัดที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป • Money ($ £¥) (เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง) • Percentage (%) (เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง) • Numeric Values (เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง)

  37. Steps to develop MOV • MOV Step 4 - กำหนดกรอบเวลาในการบรรลุถึง MOV ที่ตั้งขึ้น • MOV Step 5 - ทวนสอบและทำข้อตกลงกับ Project Stakeholders • MOV Step 6 - สรุป MOV ให้ Clear, Concise Statement or Table เช่น • โครงการนี้จะประสบผลสำเร็จถ้า ………………………. • หรือใช้คำพูดเป็นประโยค เช่น • MOV: โครงการจะให้ผลตอบแทนในการลงทุน (Return on Investment, ROI) 20% และ มีลูกค้าใหม่ 500 รายภายในปีแรก หลังจากระบบใช้งาน • หรือใช้เป็นตารางดังแสดงในหน้าถัดไป

  38. Sample MOV Using Table Format

  39. Developing the Business Case • Step 3:บ่งชี้ทางเลือก (Identify Alternatives) • Base Case Alternative (การคงสถานะเดิมเอาไว้) • Alternative Strategies (ทางเลือก) • เปลี่ยนกระบวนการที่ใช้อยู่โดยไม่ต้องลงทุนทางด้าน IT เพิ่ม • ปรับปรุง/แก้ไขระบบจากพื้นที่อื่น ๆ ในองค์กรที่มีใช้อยู่แล้ว • ปรับรื้อระบบที่มีอยู่เดิม (Reengineer Existing System) • จัดซื้อ off-the-shelf Applications package • Custom Build New Solution

  40. Developing the Business Case • Step 4:กำหนดความเป็นไปได้และประเมินความเสี่ยง (Feasibility and Asses Risk) • ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic feasibility) • ความเป็นไปได้เชิงเทคนิค (Technical feasibility) • ความเป็นไปได้เชิงองค์กร (Organizational feasibility) • ความเป็นไปได้ด้านอื่น ๆ (Other feasibilities) • ส่วนความเสี่ยงนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ • การบ่งชี้ (Identification)อะไรที่อาจจะผิดพลาด/อะไรควรทำให้ถูก • การประเมิน (Assessment)ความเสี่ยงแต่ละอย่างจะส่งผลกระทบอย่างไร • การสนองตอบ (Response)จะหลบเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงลงได้อย่างไร

  41. Developing the Business Case • Step 5:กำหนด Total Cost of Ownership (TCO) • Direct or Up-front costs ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการซื้อ H/W, S/W เป็นต้น • Ongoing Costs เช่น เงินเดือน ค่าอบรม ค่า upgrade ค่าบำรุงรักษา • Indirect Costs เช่น สูญเสียการผลิต เสียเวลาของผู้ใช้ • Step 6:กำหนด Total Benefits of Ownership (TBO) • เพิ่มการทำงานให้มีคุณค่าสูงขึ้น (Increasing high-value work) • ปรับปรุงความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ • ปรับปรุงการตัดสินใจ • ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า

  42. Developing the Business Case • Step 7:วิเคราะห์ทางเลือกโดยการใช้รูปแบบทางการเงิน(financial models)และรูปแบบการให้คะแนน (scoring models) • การคืนทุน (Payback) • จุดคุ้มทุน (Breakeven) • ผลประโยชน์ตอบแทนในการลงทุน (Return on Investment, ROI) • มูลค่าสุทธิในปัจจุบัน (Net Present Value, NPV) • Step 8:เสนอ (Propose) และสนับสนุนทางด้านคำแนะนำ (Support the Recommendation) • ดูตัวอย่างจาก Slide ถัดไป

  43. Business Case Template

  44. Project Selection and Approval • กระบวนการในการเลือก IT Project • กระบวนการเลือกโครงการของแต่ละองค์จะแตกต่างกันไปโดยทั่วไปแล้วโครงการใด ๆ ก็ตามที่บรรลุถึง minimum requirement จะถูกส่งต่อไปให้คณะกรรมการที่เป็นผู้บริหารระดับอาวุโสผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจและอนุมัติทุนให้ทำการตัดสินใจต่อไป ซึ่งคณะกรรมการก็จะพิจาณาในเชิง ต้นทุนในการทำโครงการ ผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการ และความเสี่ยงของโครงการ ทั้งในขณะที่กำลังดำเนินโครงการและหลังจากโครงการเสร็จสิ้นแล้ว • การพิจารณาโครงการ คระกรรมการมักจะใช้ Business case เป็นหลัก

  45. การตัดสินใจเลือกโครงการการตัดสินใจเลือกโครงการ • IT project ต้อง map เข้าสู่ organization’s strategies and goals • IT project ต้องให้ MOV ที่สามารถตรวจสอบได้ • การเลือกควรอยู่บนพื้นฐานของการวัดได้หลายวิธี เช่น • ต้นทุนและผลประโยชน์ที่วัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง (Tangible costs and benefits) • ต้นทุนและผลประโยชน์ที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้โดยตรง (Intangible costs and benefits) • various levels throughout the organization (individual, process, department and enterprise) • แนวทางหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาหลาย ๆ วิธีข้างต้นคือใช้ Balanced Scorecard

  46. Balanced Scorecard Approach

  47. มุมมองทางด้านการเงิน • ผู้ถือหุ้นหรือผู้ให้เงินทุนแก่องค์กรของเรามองเราอย่างไร ? • ในอดีตนั้น การวัดทางการเงินมักถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อทำความเข้าใจว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานในอดีตอย่างไร • แต่ในแง่ของ Balanced Scorecard นั้น มันทำการเชื่อมประสิทธิภาพในการดำเนินการทางการเงินเข้ากับการมุ่งเน้นที่ลูกค้า (ความคิดริเริ่ม) การดำเนินงานภายในองค์กร และการลงทุนไปในส่วนของพนักงานและโครงสร้างขององค์กรเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพขององค์กรในภาพรวม • นอกจากผลกำไรจากการดำเนินการ (operating income) แล้ว ยังใช้ตัววัดอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย เช่น ROI, NPV, IRR เป็นต้น ปัจจุบันยังนิยมใช้ EVA (Economic value added (EVA) เข้าร่วมด้วย ในเน็ตมีเยอะลองหาอ่านดูครับ

  48. มุมมองทางด้านลูกค้า • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายและลูกค้าของเรามองเราอย่างไร? • ในสายตาของลูกค้าแล้วประสิทธิภาพการดำเนินงานของเราเป็นอย่างไร ได้สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากไหม เมื่อพูดในทางกลับกัน ลูกค้าที่พึงพอใจย้อหมายถึงการดำเนินธุรกิจระหว่างกันต่อไปหรือให้ธุรกิจใหม่ ๆ เข้ามา มันจึงเชื่อมกับผลทางการเงินด้วย • สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดสายโซ่แห่งคุณค่า (value chain) สำหรับความคิดริเริ่มที่มุ่งเน้นไปยังลูกค้า และมันย่อมเชื่อมไปสู่ประสิทธิภาพทางการเงินด้วย • การวัดบนพื้นฐานของลูกค้าจะมุ่งเน้นไปที่ระดับความพึงพอใจของของลูกค้าทางด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา และ ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ จัดส่งถึงมือลูกค้าได้ดีเพียงใด (มักวัดในแง่ของ On Time Delivery หรือ OTD)

  49. มุมมองทางด้านกระบวนการภายในมุมมองทางด้านกระบวนการภายใน • กระบวนการภายในอะไรบ้างที่เราต้องทำให้ดีขึ้นเพื่อดึงดูดหรือรักษาลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ เอาไว้? • ต้องมุ่งเน้นที่กระบวนการภายใน (ทั้งระยะสั้นและระยะยาว) เพื่อทำให้ดีขึ้นเพื่อดึงดูดหรือรักษาลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ๆ เอาไว้ • ความพึงพอใจของลูกค้าจะเกิดมากขึ้นได้ผ่านทางการปรับปรุงกิจกรรมการดำเนินงานภายในขององค์กร ซึ่งมันจะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพทางการเงินด้วย • ดังนั้นการวัดจึงมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร

  50. มุมมองทางด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมมุมมองทางด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม • พวกเราจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร? • ความสามารถ ศักยภาพ และแรงบันดาลใขของคนในองค์กรย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจกรรมการดำเนินงาน ประสิทธิภาพทางด้านการเงิน และระดับความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นองค์กรที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงพนักงานของเขานอกจากจะเกิดการสนับสนุนทั้งสามด้านข้างต้นแล้ว ยังก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ พื้นที่ • ตัววัดที่ใช้กันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง การฝึกอบรม การผ่านการรับรอง (certification) การพึงพอใจของพนักงานและการเก็บรักษาพนักงานที่เก่ง ๆ เอาไว้

More Related