1 / 41

บทที่ 2 ระบบตลาดและสภาพแวดล้อมทางการตลาด

บทที่ 2 ระบบตลาดและสภาพแวดล้อมทางการตลาด. การตลาดเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้า + บรรลุเป้าหมายขององค์กร. ลูกค้า ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย (Targey Market) เป็น ศูนย์กลางของระบบตลาด. นักการตลาดจะใช้กลยุทธ์หลักๆ 4 กลุ่ม ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

carney
Télécharger la présentation

บทที่ 2 ระบบตลาดและสภาพแวดล้อมทางการตลาด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2ระบบตลาดและสภาพแวดล้อมทางการตลาด การตลาดเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้า + บรรลุเป้าหมายขององค์กร • ลูกค้า ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย (Targey Market) เป็น ศูนย์กลางของระบบตลาด

  2. นักการตลาดจะใช้กลยุทธ์หลักๆ 4 กลุ่ม ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า 1. ผลิตภัณฑ์ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 2. ราคา ที่เขาพอใจ 3. ช่องทางการจำหน่ายสร้างความสะดวกสบายในการได้มาซึ่งสินค้า 4. การส่งเสริมการตลาด ช่วยแพร่กระจายข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าทราบ จูงใจให้เกิดความสนใจและตัดสินใจซื้อ - กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ทั้ง 4 ตัว ในการบริหารการตลาด

  3. กระบวนการบริหารการตลาดประกอบด้วยกระบวนการบริหารการตลาดประกอบด้วย 1. การวางแผน 2. การจักองค์กรเพื่อดำเนินงานตามแผน 3. การควบคุมและประเมินผลทางการตลาด 4. ระบบข้อมูลทางการตลาด • ในกระบวนการบริหารการตลาด มีปัจจัยภายในและภายนอก มามีผลกระทบต่อองค์กร • ในระบบบริหารการตลาดจึงต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่มีผลต่อการทำงานทางการตลาด เช่น คู่แข่งขัน สภาพ เศรษฐกิจ กฎหมาย เป็นต้น

  4. เมื่อนำมาประกอบกันได้ภาพรวมองค์ประกอบของระบบการตลาดเมื่อนำมาประกอบกันได้ภาพรวมองค์ประกอบของระบบการตลาด สภาพแวดล้อม ทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม ทางเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม ทางกฎหมาย สภาพแวดล้อมทาง วัฒนธรรมและสังคม

  5. สภาพแวดล้อมทางการตลาด(Marketing Environment ) • สภาพแวดล้อมทางการตลาด คือ ปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมได้ หรือ อาจจะควบคุมได้บางส่วน • ปัจจัยต่างๆเหล่านี้สามารถสร้างโอกาส และอุปสรรค ทางการตลาดให้การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดเป็นไปหรือไม่เป็นไปตามแผนการตลาดที่กำหนด • สภาพแวดล้อมทางการตลาดมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจทางการตลาดอย่างมาก

  6. สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งได้เป็น 2 ระดับ 1. สภาพแวดล้อมทางมหภาค (Macro Environment) 2. สภาพแวดล้อมทางจุลภาค (Micro Environment) • Macro และ Micro มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการตลาดในระดับที่แตกต่างกัน • การเข้าใจสภาพแวดล้อมทางการตลาด จะช่วยให้สามารถชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันจากคู่แข่งได้ และจะนำความสำเร็จมาสู่กิจการ

  7. สภาพแวดล้อมมหภาค (Macro Environment) • เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่ออุตสาหกรรมหรือธุรกิจนั้นๆ • ต่อจากจุลภาค ที่มีผลกระทบเพียงบางบริษัท หรือกิจการแต่ละแห่ง

  8. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมระดับมหภาคองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมระดับมหภาค 1. สภาพแวดล้อมทางด้านประชากรศาสตร์ 2. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ 3. สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย 4. สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี 5. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 6. สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม 7. สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน

  9. ทั้ง 7 องค์ประกอบ เป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมได้แต่นักการตลาดสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมผลักดัน หรือควบคุมได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อสร้างโอกาสหรือลดอุปสรรคทางการตลาดให้แก่กิจการ • เช่น กลุ่มกิจการต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนนักการเมืองภายในประเทศ เพื่อให้นักการเมืองเหล่านั้นเป็นผู้ผลักดัน หรือแก้ไขกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์ หรือลดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของกิจการ

  10. สภาพแวดล้อมทางด้านประชากรศาสตร์ (Demogrophic Environment) • ประชากรหรือประชาชน คือ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคสินค้าและบริการของกิจการ • คือ ตลาดของกิจการนั้นเอง

  11. 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านอายุ ความต้องการการบริโภคสินค้าหรือบริการของตลาดแต่ละช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงย่อมแตกต่างกัน จึงศึกษาจำนวนประชากรในแต่ละช่วงอายุเพื่อพยากรณ์ทิศทางการดำเนินการทางการตลาดที่ถูกต้อง • ประชากรวัยทำงาน (15 - 59) และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น • ประชากรวัยเด็ก (0 -14 ) มีแนวโน้มลดลง

  12. ขยายตลาดให้แก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เช่น เสื้อผ้าชุดทำงาน รถยนต์ ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไฟฟ้า ธุรกิจท่องเที่ยวและสินค้าในหมวดเดียวกับสุขภาพ • ขณะที่สินค้าเด็ก เช่น นมผง เสื้อผ้าเด็ก ของเล่น อุปกรณ์การศึกษา ขนมสำหรับเด็ก ฯลฯ จะลดขนาดของตลาดลง ทำให้สินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับเด็ก ต้องปรับตัวหรือแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลง

  13. 2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านระดับการศึกษา • การศึกษา  ความสามารถในการประกอบอาชีพ  รายได้  อำนาจในการซื้อในตลาด  • พิถีพิถัน ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ 3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางครอบครัว • อายุของคู่สมรส • ขนาดของครอบครัว

  14. ในอดีตไทยเป็นสังคมเกษตร ต้องการแรงงานภายในครอบครัวมาก แต่งงานอายุยังน้อย อยู่แบบครอบครัวขยาย • ปัจจุบันเป็นสังคมอุตสาหกรรม ประชาชนมีการศึกษาอพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ อายุเฉลี่ยของคู่แต่งงานสูงขึ้น อยู่แบบครัวเดี่ยว • การเปลี่ยนแปลง เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าเด็ก หรือ เครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับเด็ก มุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพ่อแม่วัยรุ่น (18-25 ปี) พ่อแม่ที่มีอายุสูงขึ้น (25-35 ปี) • ครอบครัวที่เล็กลง ทำให้สินค้าหลายชนิดต้องปรับขนาดหีบห่อ มาเป็นขนาดเล็กลง (3-4 คน) เช่น ข้าวสาร ถุงละ 3-5 กก. ผงซักฟอก ยาสีฟัน มีหลายขนาดให้เลือก

  15. 4. การย้ายถิ่นฐาน • มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรในชนบท มาทำงานในเมืองมากขึ้น ทำให้ตลาดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีขนาดและอำนาจซื้อมากกว่าตลาดในต่างจังหวัด

  16. สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment) • ในช่วง(2540-2542) เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคเอเซีย ธุรกิจต้องปรับตัว ผู้บริโภคว่างงาน ปัญหาเงินฝืด ขาดเม็ดเงินในระบบ ผู้บริโภคหยุดการจับจ่ายซื้อหาสินค้า 1. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product :GDP) • ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product :GNP)

  17. แสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของประชากรภายในประเทศ ในระยะเวลาหนึ่งๆ ออกมาเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในรูปร้อยละ (Percentage) • ถ้าอัตราการเติบโต อำนาจซื้อในตลาดสูง ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมาก • ถ้าอัตราการเติบโต อำนาจซื้อในตลาด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบต่ำ ว่างงานเงินขาดแคลน • อัตราเศรษฐกิจตกต่ำการแข่งขันในตลาดรุนแรงมีการแข่งขันด้านราคา เพื่อรักษาและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด 6-8 % ต่อปี (สำหรับประเทศ กำลังพัฒนา)

  18. 2. อัตราเงินเฟ้อ - ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) รายได้ที่เพิ่มขึ้นของประชากร - อำนาจซื้อในตลาดลดลง ผู้บริโภคไม่แน่ใจต่อการปรับเปลี่ยนของระดับราคา - การมีอัตราเงินเฟ้อ 3-4 % เพื่อเป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ

  19. 3. อัตราดอกเบี้ย • อัตราดอกเบี้ย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค i C I i C I • ถ้า i การแข่งขันย่อมรุนแรง • ถ้า i ทำเป็นเครื่องมือทางการตลาด จัดแผนส่งเสริมการขาย ซื้อสินค้าเงินผ่อนโดยไม่มีดอกเบี้ย เช่น รถยนต์ บ้าน คอนโด อัตราดอกเบี้ยจะกระตุ้นความสนใจในตลาด

  20. 4. การจ้างคนและอัตราค่าจ้าง - เมื่อมีการจ้างงานในอัตราค่าจ้างที่กำหนด • อำนาจซื้อในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าสูงขึ้น ซื้อถ้ารายได้สูงขึ้น ไม่สัมพันธ์กับราคาสินค้า จะทำให้เกิดเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ • สภาวะเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

  21. สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย(Political and Legal Environment ) • เช่น พรบ.เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 11 ฉบับ 1 ฉบับ เปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถถือครองที่ดินหรือมีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดมากกว่าในอดีตกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ • ตามหลักการค้าเสรีจากองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization :WTO) ขยายตลาดการส่งออกให้มากกว่าเดิม เกิดคูแข่งขันรายใหม่ในต่างประเทศ เข้าสู่ตลาดภายในประเทศมากขึ้น

  22. 1. นโยบายของรัฐบาล • โอกาส • อุปสรรค • นโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศ ความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ เช่น การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี การจัดเก็บภาษี มาตรการทางการเงินและการคลัง • การค้าการลงทุนกับต่างประเทศ ขยายโอกาสทางการตลาด เช่น การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมกันระหว่างประเทศอาเซียน (AFTA)ไทย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน เวียดนาม ลาว เขมร และพม่า เปิดโอกาสให้คู่แข่งจากประเทศสมาชิกสามารถเข้าสู่ตลาดภายในประเทศได้ง่ายด้วย

  23. 2. ระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องมีเหตุผลมาจาก • เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ เช่น การโฆษนาชวนเชื่อ ราคาสินค้าสูงเกินไป และการพัฒนาสินค้าที่เป็นสาเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยแก่ส่วนรวม • กรมการค้าภายใน สำนักงานอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม • เพื่อคุ้มครองกิจกรรมหรือธุรกิจ จากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จากการขยายกิจการต่างประเทศ • การกำหนดภาษี การนำมาตรฐานสินค้าสากล (International Organizetion for Standardization : ISO ) มาเป็นเครื่องมือต่อต้านการขยายสู่ตลาดต่างประเทศ

  24. 3. กลุ่มพลังมวลชล • บทบาทในการปกป้องคุ้มครองสังคม และผู้บริโภคผลักดันให้รัฐบาลควบคุม ดูแลกฎระเบียบ และมีผลต่อการดำเนินงานทางการตลาดของกิจการได้ เช่น กลุ่มของชาวบ้านรณรงค์ให้สังคมเลิกสูบบุรี่ ผลักดันให้ออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและผลักดันห้ามจำหน่ายบุรี่ให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จนกระทั่งประกาศเป็นกฎหมาย

  25. สรุป • WTO • สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Environment ) 1. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการสื่อสาร - ดาวเทียม ระบบใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) โทรศัพท์มือถือ PC ทำให้การสื่อสารหลากหลาย - เปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ เช่นการโฆษณา และขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถรับคำสั่งซื้อได้ทันทีภายใต้ทุนดำเนินการที่ต่ำ

  26. 2. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านพลังงาน - เครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มใช้พลังงานน้อยลง - คิดค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ทดแทนพลังงานเก่า เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ เช่น เครื่องคิดเลขพลังงานแสงอาทิตย์ นาฬิกาที่ใช้พลังงานจากคลื่นวิทยุ

  27. 3. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านการผลิต - ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม การผลิตสินค้าทำได้เร็วมากขึ้น มีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนได้ เช่น JPAN เริ่มผลิตรถยนต์ตามคำสั่งซื้อ โดยเลือกแบบ สี ชิ้นส่วนได้ตามใจชอบ • จากคำสั่งซื้อ โรงงานประกอบขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ • Just in Time (JTI) ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง

  28. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (NaturalEnvironment) 1. การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล • เป็นสาเหตุการขาดแคลนวัตถุดิบ ที่มีแหล่งมาจากธรรมชาติบางประเภทได้ เช่น ฝนแล้งขาดแคลนน้ำดิบที่จะทำน้ำประปา • สร้างโอกาสให้กับสุขภัณฑ์ ประหยัดน้ำ ถังเก็บน้ำ และเครื่องสูบน้ำ

  29. 2. การเพิ่มขึ้นของระดับมลพิษ • เช่น น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ หรือแม้แต่มลภาวะทางเสียง เพิ่มต้นทุนทางการตลาดให้กับสินค้าบางชนิดที่มีส่วนทำให้เกิดมลพิษ • เช่น มลภาวะด้านความสกปรกของน้ำทะเลพัทยา ทำให้เสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว บริษัทผู้ผลิตน้ำมัน ต้องเพิ่มต้นทุนด้านการวิเคราะห์และวิจัย เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่มีสารตะกั่ว เป็นส่วนประกอบมาจำหน่าย • ปัญหามลพิษ สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น ยาฆ่าแมลงที่สกัดจากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ง่าย พืชผักปลอดสารพิษ น้ำมันไร้สารตะกั่ว • รวมทั้งนำปัญหาดังกล่าว ไปประยุกต์กับแผนส่งเสริมการตลาดเชิงภาพพจน์ เช่น THINK EART ของสยามกลการ

  30. 3. ภัยธรรมชาติ • เช่น น้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าที่มีอายุการใช้งานบริโภคจำกัด เช่น นมสด อาหารสด ไอศกรีม ประสบปัญหาสินค้าเสีย • สร้างโอกาสให้อาหารแห้งหรือเครื่องกระป๋อง และ สินค้าต้านภัยน้ำท่วม เช่น กระสอบทราย เครื่องสูบน้ำ เรือ เป็นต้น

  31. สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม(Social and Gettural Environment) 1. การตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • ประชาชนหันมาสู่กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น Mc เปลี่ยนกล่องโฟมเป็นกล่องกระดาษ บริษัทผู้ผลิตกระดาษ เริ่มใช้กระดาษ Recycle 2. การตื่นตัวเรื่องสุขภาพ • ชีวจิต นิยมอาหารที่มีไขมันต่ำ ปราศจากน้ำตาล ผักปลอดสารพิษ ก่อให้เกิดโอกาสสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น บุกผง เครื่องดื่มนมผสมแคลเซียมร้านจำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษ

  32. 3. ปัญหาการจราจร • ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ทางสังคม และการดำรงชีวิต เนื่องจากการเสียเวลาในการเดินทาง • ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับเวลาที่กำหนด ทานอาหารน้อยลง เข้าร้าอาหารประเภทฟาสต์ฟูด • ต้องมีบ้านแบบที่อยู่ใจกลางเมือง เพื่อลดเวลาในการเดินทางระหว่างที่พักและสถานที่ทำงาน • ปรับตัวกับการใช้ชีวิตในรถมากขึ้น โอกาสสินค้าที่ใช้งานให้สะดวกกับการใช้งานภายในรถยนต์ เช่น คอมฟอร์ต 100 คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว ตู้เย็นเล็กๆ • เกิดบริการใหม่ๆ การขนส่งสินค้าให้ผู้บริโภคถึงสถานที่ (Delivery)

  33. สภาพแวดล้อมของการแข่งขันในตลาด (Competition Environment) • องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน 1.1 การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของคู่แข่งขัน HONDA CITY 3-4 แสนบาท TOYOTA โซลูน่า ราคาใกล้เคียงเข้าสู่ตลาด 1.2 การที่มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาร่วมแข่งขันในตลาด คู่แข่งรายใหม่ที่เป็นกิจการขนาดเล็ก ในตลาดใหญ่จะไม่มีผลกระทบอะไรมาก เช่น เพจเจอร์ โพนลิงค์ ที่มีผู้ผูกขาดต้องเสียความเป็นผู้นำตลาดไป

  34. 1.3 การออกไปจากตลาดคู่แข่งขัน • บริษัทโฟโมสต์ผู้นำอาหารนม ขายยี่ห้อให้แก่ ยูนิ-ลีเวอร์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายไอศครีม วอลล์ ทำให้วอลล์เป็นผู้นำตลาด และเกิดช่องทางในตลาด ไอศกรีม ทำให้เกิดคู่แข่งขันรายใหม่ๆในตลาด

  35. ลักษณะการแข่งขันในตลาดลักษณะการแข่งขันในตลาด 2.1 การแข่งขันระหว่างตรายี่ห้อ (brand Compettion) • สินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างในชื่อตรายี่ห้อ เช่นสบู่ปาล์มโอลีฟ ลักส์ นกแก้ว TOYOTA NISSAN MITSUBISHI HONDA 2.2 การแข่งขันที่เกิดจากสินค้าที่ทดแทนกันได้ (Substitute Product) • สินค้าทดแทนกันได้ หมายถึง สินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เช่นเดียวกัน เช่น VDO กับ โรงภาพยนต์ คอนโด กับบ้านเดียว หรือทาวน์เฮาส์

  36. 2.3 การแข่งขันที่เกิดจากสินค้าหรือบริการอื่นๆโดยทั่วไป (Other Product Competition) • เกิดจากความจำกัดด้านอำนาจซื้อของผู้บริโภค ในการจัดหาสินค้าหรือบริการมาตอบสนองความต้องการของตน เช่น ผู้บริโภคมีเงิน 10,000 บาท ซื้อ TV ไม่มีเงินเหลือซื้อกระเป๋าเดินทาง ซื้อบ้านไม่มีเงินซื้อ รถยนต์ การแข่งขันในลักษณะนี้ไม่ค่อยให้ความสนใจ

  37. สภาพแวดล้อมระดับจุลภาค (Micron Environment) • มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการตลาดของกิจการได้ มีผลกระทบเฉพาะกิจการในแต่ละแห่ง ไม่ได้กระทบทั้งอุตสาหกรรม หรือทั้งธุรกิจ

  38. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการตลาดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการตลาด 1. ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) 2. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries) 3. ผู้บริโภค (Consumer) 4. หน่วยงานต่างๆภายในกิจการ หรือองค์กร (Company) สามารถควบคุมให้เป็นไปตามแผนการตลาดได้ จะควบคุมได้น้อยมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของกิจการ

  39. 1. ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) - การจัดส่งมีความล่าช้า - วัตถุดิบที่จัดส่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ฤดูร้อน ต้องการบริโภคไอศครีมสูง และต้องการวัตถุดิบมาก แต่ถ้าวัตถุไม่ได้ตามต้องการจะสูญเสียโอกาสทางการตลาดครั้งสำคัญของกิจการ โดยปกติอำนาจต่อรองกิจการจะมีอำนาจมากกว่า ยกเว้นวัตถุมีจำกัด

  40. 2. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries) • หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำสินค้าของกิจการไปจำหน่ายให้แก้ผู้บริโภคต่อไปได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก และตัวแทนทางการค้า เป็นต้นเป็นผู้ติดต่อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้บริโภคสินค้า • ส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ผู้บริโภคมีต่อกิจการทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น HONDA เป็นรถยนต์ในระดับบนของตลาด แต่ตัวแทนจำหน่ายกลับจำหน่ายต่อไปยังรถรับจ้าง หรือ รถ TAXI ส่งผลต่อ แผนงานและกลยุทธ์ทางการตลาด

  41. 3. ผู้บริโภค (Consumer) • ลูกค้าคือพระเจ้า 4. หน่วยงานต่างๆภายในกิจการหรือองค์กร(Company) • ฝ่ายผลิต ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคล ฝ่ายวิจัย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ซึ่งมีบทบาทต่อการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด • ฝ่ายการตลาด ขยายโอกาสทางการตลาดให้แก่สินค้าของกิจการ แต่ฝ่ายผลิตไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าได้ตามปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น ยอมสูญเปล่าทางการตลาด

More Related