1 / 19

Privilege Society

N. S. MD SAYS. Global News. Privilege Society. INSIDE CUSTOMS. Supply & Demand. ทัศนา นาท่าเรือ. All about Logistics. SNP Joke. ข่าวสาร SNP ฉบับที่ 135 WWW.SNP.CO.TH. S. S. S. หลงทาง.

Télécharger la présentation

Privilege Society

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S MD SAYS Global News Privilege Society INSIDE CUSTOMS Supply & Demand ทัศนา นาท่าเรือ All about Logistics SNP Joke ข่าวสาร SNP ฉบับที่ 135 WWW.SNP.CO.TH

  2. S S S หลงทาง สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงการนำเข้าและการส่งออกของประเทศไทยในปัจจุบัน จะมีเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีควบคู่กันไปเกือบทุกครั้ง และผมได้กล่าวอย่างมั่นใจว่า ตัวแทนออกของของผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะรู้เรื่องเหล่านี้ดี และเพราะรู้ดีก็เลยคิดว่าผู้ส่งออกรู้เรื่องเงินชดเชยหรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีเช่นกัน เมื่อผู้ส่งออกแจ้งว่า ใบขนสินค้าขาออกฉบับนี้ไม่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีใด ๆ ตัวแทนออกของก็ถือว่ายุติตามนั้น และมักจะดำเนินการไปโดยไม่ใช้สิทธิ์ตามไปด้วย ฉบับนี้ ผมอยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในอดีตผมพบผู้ประกอบการจำนวนมาก คุ้นเคยอยู่กับสิทธิประโยชน์ทางภาษีประเภทหนึ่งที่ได้รับ เช่น คุ้นเคยอยู่กับการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ก็จะมุ่งเน้นการขอคืนอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าและผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกทุกครั้ง โดยไม่ใส่ใจว่า ภาษีนำเข้าลดลงมาก ภาษีนำเข้าสำหรับวัตถุดิบบางประเภท อาจเหลือ 0% แล้วก็ได้ ดังนั้น หากไม่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แต่ไปขอเงินชดเชยภาษีส่งออกแทน อาจคุ้มค่ากว่า หรือผู้ประกอบการบางท่านคุ้นเคยกับการได้รับส่งเสริมการลงทุน (B.O.I,) ก็จะทำตามที่คุ้นเคยทุกครั้งที่มีการนำเข้าหรือมีการส่งออก โดยไม่ใส่ใจความซับซ้อนในค่าภาษีที่ชำระไปก่อนเพื่อขอคืนภายหลังจะกลายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อผู้ประกอบการไม่รู้ในเรื่องความเสี่ยง ก็ไม่เปลี่ยนไปใช้การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แทน ซึ่งเป็นการได้คืนที่แน่นอนกว่า เป็นต้น N N N P P P ต่อหน้า 2

  3. ประเด็นต่าง ๆ นานา เหล่านี้ คนที่เป็นตัวแทนออกของที่มีความรู้ ส่วนใหญ่จะรู้ดี แต่ประเด็นคือส่วนใหญ่ตัวแทนออกของที่รู้ดีเหล่านี้ มักหลงทางไปกับท่านผู้ประกอบการที่คุ้นเคยอยู่กับสิทธิประโยชน์ทางภาษีประเภทใดประเภทหนึ่งที่เคยได้รับมาอย่างยาวนาน สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาอย่างยาวนานนั้น แท้จริงในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประการหนึ่งเกิดจากผลกระทบของตกลงทางการค้า หรือ FTA ที่นับวันจะทรงอิทธิพลขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีประเภทอื่นมีผลกระทบตามไปด้วย อีกประการหนึ่ง คือการปรับตัวของระเบียบราชการที่เกี่ยวกับการนำเข้า การส่งออก และการส่งเสริมการค้าของลงทุนของภาครัฐให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในเวทีโลก เมื่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามไปด้วยไม่มากก็น้อย ดังนั้น เมื่อใดที่ผู้ประกอบการติดตามความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ทัน หรือรู้ไม่เท่าทันผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นผู้ประกอบการก็จะยึดมั่นใจสิทธิประโยชน์ทางภาษีดั่งเดิมที่เคยได้รับ เมื่อท่านผู้ประกอบการยึดมั่นในสิ่งที่ได้รับ ผมว่า ตัวแทนออกของส่วนใหญ่ก็ต้องปฏิบัติตามจนในที่สุด การหลงทิศทางจึงเกิดขึ้น สิ่งที่ผมอยากแนะนำคือ ท่านผู้ประกอบการควรร่วมกับตัวแทนออกของของท่าน นำสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลามาเปรียบเทียบ และพัฒนารูปแบบการทำงานร่วมกันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ผมว่า ท่านผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์สูงสุด สิทธิชัย ชวรางกูร S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. Global News S จีนเบียดญี่ปุ่นขึ้นแท่นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ2ของโลก นิตยสารจีน “จงกั๋วก่ายเก๋อ” (China Reform)ฉบับปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รายงานการสัมภาษณ์รองผู้ว่าธนาคารประชาชนจีน หรือธนาคารกลาง นาย อี้ กัง ว่าจีนได้แซงหน้าญี่ปุ่น กลายเป็นชาติอำนาจเศรษฐกิจอันดับสองของโลกแล้ว และมีแนวโน้มจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา กลายเป็นยักษ์เศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกในปี 2568 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน หรือจีดีพีจีนประจำไตรมาสสอง สูงกว่าจีดีพีญี่ปุ่นแน่นอนแล้ว แม้ว่าขณะนี้ ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาสสองก็ตาม ขณะนี้เศรษฐกรหลายคนก็ได้อ้างอิงอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสแรก ต่างคาดการณ์ว่าจีดีพีแดนปลาดิบจะต่ำกว่าจีนทั้งนี้ ในปี 2552 มูลค่าจีดีพีของจีน เท่ากับ 4.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มูลค่าจีดีพีญี่ปุ่น เท่ากับ 5.07 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับว่าจีดีพีจีนต่ำกว่าญี่ปุ่น เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ สำหรับครึ่งปีแรกของปีนี้(2553) เศรษฐกิจจีนขยายตัว 11.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ คาดเศรษฐกิจจีนปี 2553 นี้ จะโต 10.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้ อาจขยายเพียง 2.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสะท้อนว่า ขนาดเศรษฐกิจของจีนได้เริ่มก้าวล้ำหน้ายักษ์เศรษฐกิจอันดับสองแห่งญี่ปุ่นไปแล้ว นับจากไตรมาสสอง กรรมการผู้จัดการใหญ่แห่ง IHS Global Insight นาย ทอดด์ ลี (Todd Lee) ชี้ว่า “เศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น สุกงอมแล้ว เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับนวัตกรรมเทคโนโลยีและความก้าวหน้าเป็นหลัก ซึ่งยากที่จะเกิดการเปลี่ยนอย่างพลิกโฉม และเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาแล้ว เศรษฐกิจจีนยังมีพื้นที่ในการขยายตัวอีกมาก” นอกจากนี้ นาย ทอดด์ ลี ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก จีนสามารถปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น และการที่เศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าอเมริกานั้น ก็ไม่ใช่เรื่องยาก N P ต่อหน้า 2

  5. พาณิชย์ค้านฟิลิปปินส์เก็บเงินค้ำประกันนำเข้าสินค้าจากไทยพาณิชย์ค้านฟิลิปปินส์เก็บเงินค้ำประกันนำเข้าสินค้าจากไทย กรมการค้าต่างประเทศ ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมาธิการภาษีศุลกากรของฟิลิปปินส์ เพื่อคัดค้านการที่ฟิลิปปินส์ประกาศผลการไต่สวนขั้นต้น โดยกำหนดให้เรียกเก็บเงินค้ำประกันในอัตรา 1,480 เปโซ/ตัน เป็นระยะเวลา 200 วัน กรณีที่ฟิลิปปินส์ไต่สวนภายใต้มาตรการปกป้อง (เซฟการ์ด) สินค้ากระดาษแผ่นบอร์ดจากวัสดุนำมาใช้ใหม่ ที่นำเข้าจากประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย หลังจากที่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ได้ประกาศเปิดไต่สวน ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย.52 สำหรับเหตุที่ไทยคัดค้านผลการไต่สวนดังกล่าว เป็นเพราะกรมการค้าต่างประเทศได้ประสานกับผู้ผลิต และผู้ส่งออกไทยที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และพบว่า อุตสาหกรรมภายในของฟิลิปปินส์ไม่ได้รับความเสียหาย จากปริมาณการนำเข้าสินค้ากระดาษแผ่นบอร์ดจากวัสดุนำมาใช้ใหม่ ที่เพิ่มขึ้นตามที่กล่าวอ้าง โดยเห็นได้จากการที่ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศมากกว่า 85% แสดงให้เห็นชัดเจนว่า สินค้านำเข้าไม่ได้ขายตัดราคา หรือยับยั้งการขึ้นราคาสินค้าของอุตสาหกรรมภายใน รวมถึงไม่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจใดที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า อุตสาหกรรมภายในได้รับความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทย ลำดับที่ 15 โดยในปี 52 มีมูลค่าการส่งออกรวม 7.22 ล้านบาท ส่วน 6 เดือนแรกปีนี้ ขยับขึ้นมาเป็นตลาดลำดับที่ 4 มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 62.91 ล้านบาท หากไทยสามารถคัดค้านให้ฟิลิปปินส์ยุติการไต่สวนในครั้งนี้ จะทำให้ผู้ส่งออกไทยสามารถรักษาตลาดส่งออกในฟิลิปปินส์ไว้ได้ โดยไม่ได้รับผลกระทบ S N P ต่อหน้า 3

  6. เมืองผู้ดีหันมาให้ความสนใจบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้นเมืองผู้ดีหันมาให้ความสนใจบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้น กรมส่งเสริมการส่งออกเผยอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) และสินค้าประเภทเครื่องแกง ได้รับความนิยมในอังกฤษ เห็นได้จากยอดจำหน่ายร่วมกับห้างดังของอังกฤษ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 300 นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาทางสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ร่วมมือกับห้าง Wholefoods Market จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหาร ผัก และผลไม้สดของไทย เพื่อกระตุ้นให้ชาวอังกฤษสนใจสินค้าอาหาร ผัก และผลไม้สดไทยมากขึ้น ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ให้ความสนใจสินค้า Ready to Eat รวมทั้งยังสนใจการสาธิตปรุงอาหารไทย และสินค้าประเภทเครื่องแกง เครื่องปรุงไทยมียอดจำหน่ายในงานนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 300 จากยอดขายเดิมปีที่แล้ว ส่วนสินค้าที่ได้รับความนิยมได้แก่ ผักสดไทย เช่น ตะไคร่ ข่า กระเพา โหระพา พริกขี้หนู ข้าวโพดอ่อน ผักบุ้ง ผลไม้ไทย เช่นมะม่วง เงาะ มังคุด แก้วมังกร สินค้าปรุงอาหารไทย เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป แกงเขียวหวาน แกงแดง ต้มยำ ต้มข่า เส้นก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เครื่องปรุงรสอาหารไทย ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำจิ้มไก่ กะทิกระป๋อง และข้าวหอมมะลิ โดยมียอดสั่งซื้อทันทีถึง 5 ล้านบาทและคาดว่ายอดสั่งซื้อใน 1 ปี สูงถึง 10 ล้านบาทต่อปี ในปี 2553 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรสูงถึง 1,369.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.32  เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสินค้าอุตสาหกรรม 1,003.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม. ปศุสัตว์, ประมง) 244.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 119.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสินค้าประเภทแร่และเชื้อเพลิง 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่มา: http://www.depthai.go.th S N P ต่อหน้า 4

  7. เศรษฐกิจครึ่งปีแรกโต 10% ชี้ อาฟต้า มีส่วนทำให้อาเซียนเป็นตลาดที่น่าสนใจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน "DFT 68 ปี สู่ความเป็นเลิศเปิดแนวรุกบุกตลาด AFTA" ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งจัดโดยกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งในหัวข้อ "เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยก้าวไกลไปกับ AFTA" ถึงอาฟต้า ว่า อาฟต้าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ที่ก้าวไปด้วยความเชื่อในศักยภาพที่มีความพร้อม ทำให้การขยายตัวและการเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ มีหลายเหตุผลที่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทย จะขับเคลื่อนโดยใช้ศักยภาพของอาฟต้า ประการแรกเศรษฐกิจไทยปีนี้นับตั้งแต่ต้นปี แม้เผชิญกับภาวะวิกฤติทางการเมือง แต่ก็เป็นที่รับทราบทั่วโลกว่าการฟื้นตัวของไทยบอกถึงความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย โดยตัวเลขในช่วงไตรมาสแรก ออกมาเศรษฐกิจเติบโตถึงร้อยละ 12 และครึ่งปีแรก ตัวเลขน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 10 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงมาก และที่สำคัญการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ ได้รับแรงส่งจากการส่งอออก และฟื้นตัวของภาคบริการของไทยได้รับความไว้ใจจากผู้บริโภคทั่วโลก ทำให้การขยายตัวอยู่ในระดับที่สูงทั้งมูลค่า และอัตราการขยายตัว นอกจากนี้ทั้งแง่ของสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมรมนั้นตัวเลขของการเติบโต ก็บอกถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทยที่มีความเชื่อมั่นได้ นายกฯ กล่าวอีกว่า ประการที่สองถึงเหตุผลที่ต้องเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยว่า เมื่อมองถึงเรื่องความเกี่ยวพันทางอาฟต้า จะเห็นว่าอาเซียนเป็นตลาดอันดับหนึ่งที่เป็นไปตามแนวทาง นอกจากนั้นที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิของอาฟต้า ก็พบว่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ฉะนั้นเป็นตัวที่บอกถึงความสัมพันธ์และการเติบโตของอาฟต้าในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทย S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  8. Privilege Society S ตอน จาก CEPT สู่ ATIGA อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือให้เกิด สันติภาพความมั่งคงและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยมีประเทศไทยเองนั่นแหละครับ ที่เป็นหัวหอกร่วมกับอีก 5 ประเทศในการริเริ่มให้เกิดการเจรจาเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ขึ้นเป็นครั้งแรกภายในภูมิภาคนี้ ประเทศพี่เบิ้มทางเศรษฐกิจของโลกแทบจะทุกประเทศนะครับ ที่จดๆจ้องๆจะเข้ามาเจรจาทำ FTA กับ ASEANของเราอย่างไม่กล้าละสายตา เพราะไม่ว่าจะพิจารณาในด้านอุปสงค์หรืออุปทาน ASEAN ล้วนมีศักยภาพอยู่ในระดับที่สูงทั้งนั้น แรงงานก็ถูก เหมาะกับการย้ายฐานการผลิตมาไว้ในภูมิภาค แถมประชากรของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศรวมกันแล้ว มีจำนวนมากกว่า 600 ล้านคน กลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกไปเลยทีเดียว แต่ไม่ง่ายนะครับ กว่า ASEAN จะกลายมาเป็นสาวเนื้อหอมอย่างในปัจจุบัน ย้อนกลับไปในยุคแรกของการเจรจาเขตการค้าเสรี ประเทศสมาชิกได้ลงนามให้สัตยาบันในการเริ่มใช้ “การให้สิทธิภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Preferential Trading Arrangement: ASEAN PTA)” ซึ่งพอใช้ไปสักพัก ก็เจอปัญหาเดิมล่ะครับ ผู้นำแต่ละประเทศก็มักจะเข้าร่วมเจรจาในลักษณะ Take มากกว่า Give อยู่แล้ว เพราะอย่างไรก็ต้องรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศของตนไว้ก่อน เป็นเหตุให้การค้าไม่ขยายตัวมากเท่าที่ควร และการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกันก็ดำเนินไป อย่างเชื่องช้า และไม่ได้ผลเท่าที่ควร จนสุดท้ายก็ส่งสัญญาณระส่ำเต็มที่ครับว่า ถ้ายังฝืน พังแน่นอน N P ต่อหน้า 2

  9. ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers : AEM) ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2534 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไทยได้เสนอแนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงมีมติให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนและให้ใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) เป็นกลไกลสำคัญในการลดภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าอาเซียน นี่นับเป็นออกซิเจนถังสำคัญที่มาต่อชีวิต ASEAN ของเราเอาไว้นะครับ ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-28 มกราคม 2535 ประเทศสมาชิกจึงได้ตกลงตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ภายในเวลา 15 ปีเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2536 ทั้งนี้จะใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) เป็นกลไกลหลักในการลดภาษีให้อยู่ในระดับต่ำเพียง 0% ภายในปี 2010 แต่อย่าลืมนะครับ การยกเว้นภาษีปุบปับ ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อโครงสร้างรายได้ของประเทศที่ยากจนอย่าง กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม อยู่แล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกประเทศต่างมีบทเรียนมาจาก PTA มาแล้วครับ ทำให้กฎเกณฑ์การลดหย่อนภาษีเป็นไปแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยครับ กล่าวคือ ประเทศที่ด้อยพัฒนาอย่าง 4 ประเทศข้างต้น จะได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องลดหย่อนภาษีให้เหลือ 0-5% ภายในปี 2010 เหมือนกับอีก 6 ประเทศที่เหลือ แต่สามารถยืดระยะเวลาออกไปถึงปี 2012 ด้วยนโยบายแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ทำให้ CEPT มีอายุยาวนานมากกว่าที่หลายๆประเทศคาดการณ์ไว้ด้วยซ้ำนะครับ แต่ไม่มีงานเลี้ยงไหน ไม่มีวันเลิกรานะครับ สุดท้าย CEPT ก็ต้องหลีกทางให้กับ “ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน” หรือ ASEAN Trade in Goods Agreement หรือ ATIGA (อะทิก้า) อยู่ดี S N P ต่อหน้า 3

  10. ถ้าเปรียบ CEPT ที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนานเป็น “เมียหลวง” เจ้า ATIGA ก็คงเปรียบได้ดั่ง “เมียน้อยระดับนักศึกษา” นั่นแหละครับ เพราะแก่นของ CEPT จริงๆนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การลดหย่อนภาษีระหว่างกันในการซื้อขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เมียน้อยอย่าง ATIGA กลับครบเครื่องกว่าเพราะมีเนื้อหาครอบคลุมไปถึงการลดภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้า กระบวนการศุลกากร มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า การเริ่มใช้ ATIGA ยังมีนัยยะสำคัญอีก 2 อย่างนะครับ นัยยะแรก เนื่องจากเนื้อหาต่างๆใน ATIGA ที่ประกาศเริ่มใช้ไปแล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ยกมาจากร่างการเจรจาระหว่าง ASEAN และคู่เจรจาระดับโลกอย่าง JAPAN, CHINA, SOUTH KOREA, INDIA, AUSTRALIA และ NEW ZEALAND ครับ ทำให้การประกาศใช้ ATIGA เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่า ASEAN+6 ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเพ้อฝันแล้วนะครับ นัยยะที่ 2 ประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN หรือ ASEAN Economic Community : AEC ที่พวกเราฃาว ASEAN ตั้งเป้าไว้ว่า จะเกิดขึ้นภายใน ปี 2015 ไม่น่าจะไกลเกินเอื้อมครับ เพราะด้วยเจ้า ATIGA เริ่มใช้ ทำให้ตอนนี้ การเปิดเสรีด้านการค้า และการบริการในภูมิภาคอาเซียนเริ่มมีผลแล้ว อีกไม่นานคงมียักษ์ใหญ่ของไทยเรา เข้าไปลงทุน ในประเทศอื่นๆใน ASEAN กันอีกมาก และในทางกับกันบริษัทฯข้ามชาติจาก มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฯลฯ ก็คงเข้ามาทำมาหากินในประเทศไทยในจำนวนที่มากขึ้นเช่นกัน จาก PTA และ CEPT ในอดีต วันนี้พวกเราชาว ASEAN กำลังเริ่มย่างก้าวสำคัญสู่ ATIGA กันแล้ว โดยที่เข็มทิศของเราตั้งไปที่ AEC ในปี 2015 กัน ปรับตัวให้ทันนะครับท่านผู้อ่าน อย่ายอมตกเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง กำหนด Position วางกลยุทธ์ให้กับองค์กรของท่านให้ดี อย่าให้พวกเราตกเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นนะครับ โดย...... Mr. Privilege S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  11. INSIDE CUSTOMS S ตอน ไม่เสียสิทธิ์นะครับ.... เจ้านาย การเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีของประเทศไทยกับคู่ค้าประเทศต่างๆ ทำให้มีการแจ้งเกิดของเอกสารสำคัญชนิดหนึ่ง ได้แก่ “ใบรับรองแหล่งกำเนิด (Certificate of Origin : C/O)” ซึ่งกลายมาเป็นเอกสารสำคัญอีกหนึ่งฉบับที่ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกชาวไทย พึงต้องนำมาแสดงกับศุลกากรประเทศปลายทาง หากประสงค์ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามข้อตกลง FTA กรอบต่างๆ แต่ตามประสบการณ์ของผม หลายครั้งทีเดียวครับ ที่ C/O กลับกลายมาเป็นปัญหาคาใจแก่ท่านผู้ประกอบการ ทำให้การผ่านพิธีการทั้งส่งออก-นำเข้าติดขัดไปหมด ปัญหาอย่างเดียวของ C/O ก็คือ นำ C/O มาใช้แล้วขอใช้สิทธิไม่ได้นั่นเอง แต่ช้าก่อนนะครับ! ความผิดพลาดขนาดไหนล่ะ ที่จะทำให้ C/O เราถึงกับใช้สิทธิไม่ได้เลย หลายครั้งนะครับที่ C/O ของเราไม่ได้ผิดมากมายจนกระทั่งเสียสิทธิ์ไปเลย แต่เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ขากความรู้ ความเข้าใจในส่วนนี้ ทำให้บางครั้งเข้าใจผิด ต้องส่ง C/O กลับไปแก้ที่ประเทศต้นทาง ต้องเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายอย่างไม่น่าจะเสีย สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้นำเข้ารายหนึ่งครับ โทรมาขอคำปรึกษาจากผม เล่าให้ผมฟังว่า C/O ที่ได้มาจากต่างประเทศมีปัญหา ผมสอบถามลึกลงไปในรายละเอียด ปรากฏว่า C/O ของผู้นำเข้ารายนี้ ระบุไว้ว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 24 Pallets แต่ในเอกสารประกอบพิธีการอื่นๆเช่น Invoice, Packing List และ B/L N P ต่อหน้า 2

  12. นั้นต่างสำแดงเป็น 24 Cartons ตอนผ่านพิธีการใบขนใบนี้เป็น Red Line คือ ต้องมีการเปิดตรวจสินค้าโดยเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร หลังการตรวจพบว่า สินค้านำเข้ามาทั้งหมด 24 Cartons ทำให้สิ่งที่สำแดงใน C/O ผิดไปในทันที ผู้นำเข้ารายนั้น เล่าให้ผมฟังต่อไปว่า เจ้าหน้าที่แจ้งว่า C/O ชุดนี้ ใช้ไม่ได้ ครับท่านผู้อ่าน ผมชวนทุกท่านไปดู “คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ที่ 9/2553 เรื่องหลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน”(C/O ดังกล่าวเป็น Form E ครับ) ในส่วนที่ 3 ข้อที่ 2.7.1 ว่าด้วยเรื่อง วิธีปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ด่านศุลกากรที่นำของเข้า ในกรณีพบความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างข้อความที่ระบุใน C/O และข้อความในเอกสารประกอบพิธีการอื่นๆ กันนะครับ ในคำสั่งบอกไว้ชัดเจนว่า หากพบมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่าง C/O และเอกสารอื่นๆ เช่น กรณีพิมพ์ผิด พิมพ์ตก พิมพ์หล่น ให้เจ้าหน้าที่ผ่อนผันใช้ C/O ฉบับดังกล่าวได้เลย หากข้อเท็จจริงสอดคล้องถูกต้องตรงกับสินค้าที่นำเข้าและไม่มีข้อสงสัยในแหล่งกำเนิด ฉะนั้นกรณีแบบนี้ C/O ของท่านยังคงใช้ได้นะครับ ยังไม่ได้เสียสิทธิ์แต่อย่างใด ผู้นำเข้าท่านนี้โชคดีครับที่ตัดสินใจโทรปรึกษาเราเสียก่อน ยังมิได้ตีโพยตีพาย ส่ง C/O กลับไปแก้ที่ประเทศจีนเลย อย่าลืมนะครับ แค่พิมพ์ผิด ไม่เสียสิทธินะครับ....เจ้านาย โดย...... ชิปปิ้งสีเทา S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  13. Supply & Demand S สินค้าไทยกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก สวัสดีค่ะท่านผู้ประกอบการ สำหรับคอลัมน์ Supply & Demand นี้ ขอเปิดตัวด้วยการปูพื้นฐานตลาดบ้านใกล้เรือนเคียงไทยและความเป็นไปของอาเซียนค่ะ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางกระทรวงการต่างประเทศได้มีการจัดเสวนาภายใต้หัวข้อเรื่อง "2558 ปีแห่งประชาคมอาเซียน : ใครเป็นคู่แข่ง... ใครเป็นหุ้นส่วนของไทย" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิถึง 3 ท่าน วิทยากรหนึ่งในสามท่านนั้นคือ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ ผู้ที่กำลัง "มาแรง" จากการที่หนังสืออัตชีวประวัติของท่านได้รับการนำไปเป็นละครเรื่อง "ไฟอมตะ" เมื่องสองสามเดือนที่ผ่านมานี้ในการเสวนาครั้งนี้คุณวิกรมได้มาให้แนวคิดว่าประเทศไทยมีทรัพยากรที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆอยู่ก็คือ "ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม" และสิ่งที่ประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นที่สุดคือการบริการที่ดีเยี่ยมซึ่งเป็นที่ประทับใจของคนทั้งโลก ขณะนี้ประเทศที่เริ่มทำตลาดตีคู่สูสีกับไทยมาแล้วก็คือประเทศเวียตนามเพื่อนบ้านเรานี่เอง ในช่วงนี้ทางไทยเราจึงควรรีบออกตัวตีตลาดก่อนที่เวียตนามจะก้ามนำหน้าเราไป สิ่งหนึ่งที่วิทยากรทั้งสามท่านเห็นพ้องต้องกันคือสินค้าไทยกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างอินโดนี่เซียเองก็กำลังนิยมสินค้าไทยเช่นกัน สินค้าไทยที่ขายดิบขายดีอย่างมากในอินโดนีเซียได้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง และ เครื่องดื่มชูกำลัง โดยคุณวิกรมแอบแนะมาว่าการศึกษาความนิยมท้องถิ่นและใช้ภาษาท้องถิ่นนั้นใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวสินค้าได้อีกเยอะเลยค่ะ สัปดาห์หน้าดิฉันจะมาให้ข้อมูลเพิ่มเดิมเกี่ยวกับโอกาสของสินค้าไทยในอินโดนีเซียนะคะ เพนกวิ้นตัวกลม N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  14. ทัศนา นานาท่าเรือ S ไปดู Chennai Port กับ โย่ง ยิงยาว สวัสดีครับท่านผู้ประกอบการ ทั้งนำเข้าและส่งออก สำหรับคอลัมน์นี้จะเป็นคอลัมน์ใหม่ที่นำเสนอสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรก โดยเนื้อหาของเราจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทั้ง International Port และ Inland Port ต่างๆ ของประเทศทั่วโลก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วนั้น น่าจะสร้างภาพ และไอเดียประกอบกับข้อมูลบางอย่างให้กับท่านผู้ประกอบการที่รับทราบข้อมูลดังกล่าวไม่มากก็น้อย ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ Chennai Port ซึ่งอยู่ในประเทศ India เรามารู้จักถึงระบบคมนาคมขนส่งของประเทศอินเดียกันก่อนคร่าวๆ ประเทศอินเดียมีระบบการคมนาคมขนส่ง 4 ประเภท อันได้แก่ ทางบก โดย รถยนต์ ซึ่งมีถนนเชื่อมระหว่างเมืองสำคัญทางธุรกิจ 4 เมืองของอินเดีย ได้แก่ New Delhi, Chennai Mumbai และ Kolkata และทางรถไฟ ซึง เครือข่ายรถไฟในอินเดียนั้นถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งเชื่อมถึง เนปาล บังกลาเทศ และปากีสถาน การลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่ภายในประเทศก็ใช้รถไฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการขนส่งทางอากาศซึ่งปัจจุบันมีถึง 42 สายการบินที่เปิดให้บริการจากอินเดียไปยังทั่วโลก สุดท้ายคือการขนส่งโดยทางน้ำ โดยนับเป็นปริมาณสินค้า ราว 95% ของสินค้าทั้งหมด เรามาว่ากันต่อที่ท่าเรือนะครับ ท่าเรือหลักในอินเดียมี 12 ท่าเรือหลัก อันได้แก่ Chennai, Ennore, Haldia, Parakip, Kandla, Kochi, Kolkata, Marmagao, Mumbai, New Mangalore, Tuticorin และ Visakhapatnam โดยสำหรับคอลัมน์พาชม Port ต่างๆทั่วโลกวันนี้ จะพาท่านไปเยือน ที่ Chennai Port ครับ N P ต่อหน้า 2

  15. ท่าเรือ Chennai มีชื่อเดิมว่า Madras (มัทราส)ตั้งอยู่ในเมือง Chennai ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑูถือเป็นท่าเรือที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 3 และเป็นหนึ่งในท่าเรือที่เป็น ศูนย์กลางของท่าเรือในฝั่งตะวันออกของประเทศ อินเดีย เปิดดำเนินการมาแล้วกว่า 128 ปี เป็นท่าเรือน้ำลึกที่มีท่าเทียบเรือราว 21 แห่ง ส่วนใหญ่ ใช้ขนส่งแร่เหล็ก ถ่านหิน แกรนิต ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และรถยนต์ เป็นต้น ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1639 ท่าเรือ Chennai เปิดดำเนินการส่งออก และนำเข้า มาจนกระทั่งประมาณปี ประมาณปี 1868 และปี 1872 เกิดพายุครั้งใหญ่ที่ทำให้การดำเนินการของท่าเรือต้องหยุดไประยะหนึ่ง ซึ่งผลให้จำเป็นต้องมีการก่อสร้างพื้นที่เพื่อปฏิรูปท่าเรือ Chennai ครั้งใหม่ ซึ่งกว่าจะเปิดบริการได้อีกก็ปาเข้าไปปี 1881 ซึ่งหลังจากนั้น ท่าเรือ Chennai ต้องประสบปัญหาอยู่เป็นระยะๆ กับเรื่องของพายุ พื้นที่ซึ่งส่วนมากเป็นทราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการท่าเรือที่จะต้องพา ท่าเรือ Chennai ผ่านมรสุมเหล่านั้นไปให้ได้ อย่างไรก็ดี การเพิ่มเติมส่วนของท่าเรือจากด้านตะวันออกของชายหาด ไปยังทางตะวันออกเฉียงเหนือของชายหาดช่วยส่งผลอย่างมากในการป้องกันมรสุมต่างๆ ที่พัดโหมใส่ ท่าเรือ Chennai ในปี 1920 ท่าเรือ Chennai เรียกได้ว่าแทบจะมีความเพียบพร้อมไปเสียทุกอย่างในการดำเนินกิจการท่าเรือพาณิชย์ที่จะเปิดกว้างสู่สายตาชาวโลกอย่างภาคภูมิใจ ด้วยท่าเรือที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์รองรับคอนเทนเนอร์ รวมถึงลานวางตู้ โกดังสินค้า ท่าเทียบเรือที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น S N P ต่อหน้า 3

  16. สำหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าและส่งออกผ่านท่าเรือ Chennai นั้น น้ำมันปิโตรเลียม (POL) ถือเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วย แร่เหล็กต่างๆ (Iron Ore) ถ่านหิน (Coal) ปุ๋ย (Fertiliser) ซึ่งอัตรการเติบโตในเชิงพาณิชย์ของท่าเรือ Chennai เทียบกันในปี 2008-09 และ 2009-10 เป็นในทิศทางที่เติบโตขึ้น และจากการที่ทางประเทศอินเดียเปิดการค้าให้เสรีมากขึ้น รวมถึงมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อลดภาษีลง ยิ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตในด้านเศรษฐกิจของ ท่าเรือ Chennai อีกด้วย • ในสัปดาห์หน้า ผมจะพาท่านผู้ประกอบการไปเยี่ยมชมท่าเรือที่เป็นที่น่าสนใจ และข้อมูลอื่นๆที่น่าจะเป็นประโยชน์กันบ้าง • หมายเหตุ: - ประเทศอินเดียมีมากกว่า 40 ภาษา แต่ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการ คือ ภาษาทมิฬ (Tamil) และ ภาษาฮินดี (Hindi) ซึ่งลักษณะการใช้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง (ไม่เหมือนความต่างของสำเนียงในบ้านเรา) • คนอินเดียเป็นจำนวนมากนิยมทานมังสวิรัติ และทานด้วยมือล้วนๆ • ถ้าเวลาคนอินเดียส่ายหน้าอยู่เรื่อยๆ ขณะที่เราพูดคุย ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เห็นด้วย แต่เขากำลังตั้งใจฟัง • ภาพยนตร์อินเดียต้องมีเพลง และการเต้นรำประกอบไปด้วยอย่างน้อย 3-5 เพลง • เขียนโดย “โย่ง ยิงยาว” S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  17. All about Logistics S ยุทธศาสตร์ด่านหน้า...พาจีนสู่ผู้นำโลก(ภาค2) ในฉบับที่แล้ว ได้เกริ่นนำถึงความเป็นมาเป็นไปของ ยุทธศาสตร์ด่านหน้า ที่จะพาจีนสู่การเป็นผู้นำแล้วไปแล้ว และยังติดค้างไว้ว่า ในฉบับนี้จะมาชี้ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพว่ายุทธศาสตร์ด่านหน้า กับการเร่งพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศจีนนั้น มีความเกี่ยวเนื่อง หรือส่งผลกระทบในด้านดี หรือ เสีย อย่างไรกับประเทศไทยเริ่มกันที่ด้านดีก่อน ก็เป็นที่ทราบๆกันดีอยู่ว่า เมื่อประเทศจีนเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศก็เริ่มมีการกระเตื้องขึ้น ย่อมส่งผลให้กำลังซื้อสินค้าทั้งภายใน และนอกประเทศมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ย่อมเป็นผลดีกับประเทศไทยอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อจากประเทศจีน หรือโครงการการลงทุนต่างๆที่หลังไหลเข้ามา อันที่จริง ต้องยอมรับได้เลยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าชนิดต่างๆ ทั้งทางภาคเกษตร และอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะสามารถผันตัวเองให้เป็นโรงงานของโลกในภายภาคหน้าได้ดีทีเดียว ซึ่งในกรณีของประเทศจีนนั้น  5 อันดับสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศจีนนั้น ไม่ใช่สินค้าทางการเกษตรอย่างที่เราๆ ท่านๆ เคยคิดกัน แต่กลับเป็นสินค้าด้านอิเลคโทรนิคส์ซะเป็นส่วนมาก ดังลำดับต่อไปนี้ 1.    ชิ้นส่วน / อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์      27.67 % 2.    ยางพารา                                                 8.63 % 3.    เคมีภัณฑ์                                                 8.35 % 4.    เม็ดพลาสติก                                            7.20 % 5.    แผงวงจรไฟฟ้า                                         4.95 % N P ต่อหน้า 2

  18. ซึ่งสินค้าทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น ยังคงเป็นหนึ่งใน400 รายการของสินค้าอ่อนไหว (sensitive list) และ 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวสูง( highly sensitive list) ของประเทศจีนภายใต้ความตกลง ACFTA อีกดัวย ถ้าดูจากประเภทของสินค้าแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ในการนำเข้าของจีนนั้น เป็นไปเพื่อการก่อสร้าง และพัฒนาระบบต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรม ของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากโครงการต่างๆที่ท่านๆทั้งหลายพยายามจะคิด ประดิษฐ์ขึ้นมานำเสนอชาวโลกให้ก้าวล้ำ นำยุค ไฮโซเกินหน้าเกินตาประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจการส่งออกที่กระเตื้องขึ้นในสภาวการณ์เช่นนี้ เป็นหนึ่งในผลดีของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของจีน แต่นี่เป็นเพียงหนึ่งในผลดีที่ประเทศไทยได้รับเท่านั้น ยังมีผลอะไรต่างๆตามมาให้พี่น้องชาวไทยได้ใจเต้น ตุ้มๆต่อมๆอีกมากมาย ซึ่งจะค่อยทยอยๆชี้แจงแถลงไขให้ทราบตามลำดับต่อๆ ไปค่ะ Sathinun S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  19. SNP Joke ถึงเครื่องบินของเราจะเก่า แอร์โฮสเตสสายการบินที่ตกบ่อยๆ ประกาศก่อนเครื่องออกว่า" ท่านผู้โดยสารทุกท่านโปรดทราบ เที่ยวบินสู่เมืองปักกิ่งกำลังจะออกเดินทาง ณ บัดนี้แล้วเพื่อความปลอดภัยขอให้ทุกท่านโปรดคาดเข็มขัดนิรภัยท่านที่พบว่าเข็มขัดนิรภัยตรงที่นั่งท่านชำรุด กรุณามัดไว้ด้วยเงื่อนพิรอดนะคะ กรุณาอย่าใช้เงื่อนตายถ้าท่านหาสายคาดเข็มขัดนิรภัยไม่พบ กรุณาย้ายไปที่นั่งอื่นที่ว่างอยู่ทั้งนี้ ขอให้ท่านได้โปรดวางใจ ถึงแม้เครื่องบินของเราจะเก่าแต่ทั้งนักบินและนักบินผู้ช่วยของเรายังใหม่อยู่นะคะ...“ "บ๊าย บาย ครับคุณแม่" ชายหนุ่มกำลังเดินอยู่ในซุปเปอร์มาเกต เพื่อจะซื้อของเขาสังเกตเห็นหญิงแก่เดินตามเขามา "ขอโทษนะจ๊ะ" เธอพูด "ขอโทษนะที่ทำให้เธอไม่สะดวกคือเธอช่างดูเหมือนลูกชายชั้นที่เพิ่งตายเลย" "โอ้ เสียใจด้วยครับ" เขาตอบ "มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้หรือเปล่าครับ" "จ๊ะ" "ตอนที่ชั้นออกจากซุปเปอร์ ขอให้เธอพูดว่า 'บ๊าย บาย ครับคุณแม่'มันจะทำให้ชั้นรู้สึกดีมากๆ เลย" "ได้ครับ" เขาตอบ พอหญิงแก่กำลังเดินออกจากซุปเปอร์ เขาก็พูดว่า "บ๊าย บาย ครับคุณแม่"หลังจากนั้นเขาก็ไปจ่ายเงินที่เคาเตอร์ เขาต้องจ่ายถึง 4800 บาท "มันเป็นไปได้งัยเนี้ย" เขาถาม "ผมซื้อของไปนิดเดียว"พนักงานตอบ "แม่คุณบอกว่าคุณจะจ่ายให้เธอ" S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related