1 / 1

sepo.go.th

www.sepo.go.th. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.). ข้อมูลทั่วไป. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายประสงค์ พูนธเนศ

hansel
Télécharger la présentation

sepo.go.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. www.sepo.go.th การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด: กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายประสงค์ พูนธเนศ Website : www.exat.co.th โทร.0-2579-5380-9 , 0-2562-0044, 0-2940-1199 • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัท จำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง • การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • ผู้ว่าการ (CEO) : อยู่ในระหว่างการสรรหาผู้ว่าการแทน • พันโททวีสิน รักกตัญญู • (นายมณเฑียร กุลธำรง (รองผู้ว่าการ ฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการผู้ว่าการ)) • รอง CEO พนักงาน  สัญญาจ้าง • CFOพนักงาน สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง เงินเดือนพนักงาน วัตถุประสงค์ (ม. 8) (1) สร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีใดๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ (2) ดำเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับการทางพิเศษ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ. (ดู ม.10 ประกอบ) กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 4,136 คน (31 พ.ค. 54) • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ :ไม่เกิน 11 คน (ม.14) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 4 คน เป็นกรรมการ และผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ • ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ • วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน (ม.17) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด :คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการด้วยความเห็นชอบของ ครม. (ม.21) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ม.16)ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจะต้อง (1) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง (2) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (3) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กทพ. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กทพ. หรือในกิจการที่มีสภาพ อย่างเดียวกันและมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของ กทพ. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่กระทำการอันมี ส่วนได้เสียเช่นว่านั้นก่อนวันที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการหรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการ มอบหมายให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กทพ. เป็น ผู้ถือหุ้น หรือในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีสัญญาร่วมงานหรือสัญญาสัมปทานกับกทพ. ผู้ว่าการ (ม.22) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 16 (3) เช่นเดียวกับประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ว่าการ (ม.20) ผู้ว่าการ ต้อง (1) ไม่มีส่วนได้เสีในธุรกิจที่กระทำกับ กปภ. หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ กปภ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ย การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีโครงการให้เอกชนร่วมลงทุน จำนวน 2 โครงการ คือ · โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 และสัญญาเพื่อการ ต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 อยู่ในขั้นตอน การดำเนินงานตาม ม.22 · โครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ทางพิเศษ อุดรรัถยา) อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตาม ม.22 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน • อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง • กทพ.มีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใด ซึ่งมิใช่โรงเรือนที่คนอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการสร้าง ขยาย บำรุงรักษาทางพิเศษ โดยกำหนดค่าตอบแทนให้ตามสมควร (ม.32) • ให้พนักงาน กทพ. หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงาน มีอำนาจเข้าไปในที่ดิน หรือสถานที่ของบุตคลใด ในเวลาใดก็ได้ ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันอันตรายหรือแก้ไขความเสียหายแก่ทางพิเศษ (ม.33) • กทพ. มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่จำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ (ม.34) • พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกฉพาะการปฏิบีติหน้าที่ในทางพิเศษ ยกเว้นอำนาจเปรียบเทียบ (ม.43) ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร  www.krisdika.go.th  มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวอภิรดี จิตต์ปรารพ โทร. 022985880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 165/2553 เรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา 36 แห่ง พรบ. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 ม. 36 แห่ง พรบ. กทพ. เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ให้อำนาจแก่ กทพ. ในการอำนวยความสะดวกในการจราจรและกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยหรือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ทางพิเศษ ตลอดจนผู้ใช้ถนนที่ กทพ. จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะนั้น จึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะสร้างทางเพื่อเชื่อมต่อ ลอด หรือข้ามทางที่ กทพ. จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะอื่น ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กทพ. แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้อำนาจ กทพ. ที่จะเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างทางดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากกรณีตาม ม.37 ที่ให้ กทพ. มีอำนาจเรียกเก็บค่าเช่าจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นต้องปักเสาพาดสาย หรือวางท่อในเขตทางพิเศษหรือเพื่อข้ามหรือลอดทางพิเศษ หากหน่วยงานของรัฐนั้นทำความตกลงกับ กทพ. แล้ว

More Related