10 likes | 211 Vues
www.sepo.go.th. การท่าเรือแห่ง ประเทศ ไทย (กทท.). ข้อมูลทั่วไป. สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายชลอ คชรัตน์ กรรมการผู้แทน กค. : นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล Website : www.port.co.th โทร. 0 2269 5501. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
E N D
www.sepo.go.th การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ข้อมูลทั่วไป สังกัด: กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายชลอ คชรัตน์ กรรมการผู้แทน กค. : นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล Website : www.port.co.thโทร.022695501 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง • การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • ผู้อำนวยการ (CEO) : นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม • สัญญาจ้างลงวันที่ : 20 มกราคม 2553 • ระยะเวลาจ้าง : 20 ม.ค. 53 -15 มี.ค. 55 • วาระหนึ่ง วาระสอง • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO • Board รอง CEO บุคคลภายนอก • (รองผู้ว่าการการท่าเรือแห่งประเทศไทย) • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFO พนักงาน สัญญาจ้าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 เงินเดือนพนักงาน • วัตถุประสงค์ (ม. 6) • รับโอนกิจการท่าเรือจากสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯ ในกรมการขนส่งกระทรวงคมนาคม • ประกอบและส่งเสริมกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน • ดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่าเรือ • (ดู ม. 10 ประกอบ) กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 8,610บาท จำนวนพนักงาน : 3,117 คน(31 พ.ค. 54) • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ กำหนดให้คณะกรรมการ กทท. ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการ 1 คน กรรมการอื่นไม่น้อยกว่า 6 คน แต่ไม่เกิน 10 คน ซึ่งอย่างน้อยจะต้องเป็นผู้มีความรู้ และจัดเจนเกี่ยวกับการท่าเรือ 1 คน และเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือการคลัง 1 คน (ม. 22) • วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการและกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ม. 26) • (ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่ • แก้ไขเพิ่มเติม ม. 8 วรรคสอง กำหนดให้กรรมการรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปื ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้องยึดถือระยะเวลาการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เนื่องจากเป็นหลักกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบของคณะกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่ง ตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 734/2535 เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจแต่งตั้งกรรมการเป็นผู้อำนวยการก็ได้ (ม. 30) • ค่าตอบแทนผู้บริหารสูงสุด ผู้อำนวยการได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม. 30 วรรคสอง) • ให้คณะกรรมการเป็นผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แต่คณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้อำนวยการหรือพนักงานอื่นใดเป็นผู้แทนๆ ก็ได้ (ม. 24) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามม. 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 • ในปัจจุบันปรากฏว่ามี 3 โครงการที่มีการปฏิบัติตาม พรบ. • ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ ได้แก่ • โครงการท่าเทียบเรือตู้สินค้า C3 อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการ ม. 22 • โครงการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1, D2 และ D3 อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการ ม. 22 • โครงการอู่ต่อเรือบริษัท ยูนิไท จำกัด B5 อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการ ม. 22 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ ประธานกรรมการและกรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียในสัญญากับการท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือในกิจการที่กระทำให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น (ม. 25) • อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง • ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ผัอำนวยการ และพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา (ม.16) • ทรัพย์สินของ กทท. ไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี (ม.14) • กทท. ได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรค่าธรรมเนียมตามกฎหมายอื่นที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของ กทท.นอกจากอาคารและที่ดินที่ให้เช่า (ม.17) • กทท. ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายศุลกากร (ม.17 ทวิ) • กทท. ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า (ม.17 ตรี) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน • ที่มาของข้อมูล • สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th • คณะรัฐมนตรี • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นายเอกวิทย์ ชูทอง โทร. 022985880-9 ต่อ 6722 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) - ปัจจุบันไม่ปรากฎว่า กทท. ได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 735/2548 เรื่อง การยกเว้นค่าภาระตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่ได้ให้อำนาจการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่จะยกเว้นค่าภาระแก่ผู้ใดได้ การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงไม่อาจพิจารณายกเว้นค่าภาระต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการที่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรการกุศลได้ การกำหนดอัตราค่าภาระของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะต้องอยู่ภายในอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำที่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองค์กรควบคุมและกำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำหนด ตามมาตรา 29(5) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 โดยต้องประกาศใช้เป็นการทั่วไป