1 / 1

sepo.go.th

www.sepo.go.th. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.). ข้อมูลทั่วไป. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายเอกศักดิ์ โอเจริญ

rowa
Télécharger la présentation

sepo.go.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. www.sepo.go.th ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด: กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ กรรมการผู้แทน กค. :นายเอกศักดิ์ โอเจริญ Website : www.ibank.co.th โทร.0 2650 6999 • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ได้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง • การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • ผู้จัดการ (CEO) : นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ • สัญญาจ้างลงวันที่ : 1 ส.ค. 51 • ระยะเวลาจ้าง : 1 ส.ค. 51– 4 ก.ค. 55 • วาระที่ 1  วาระที่ 2 • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO •  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก • (กรรมการ (รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธอท.)) • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFO  พนักงานสัญญาจ้าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง พรบ. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 วัตถุประสงค์ (ม. 12)เพื่อประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่น โดยยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ (๘) จัดการบัญชีซะกาต (๙) เป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริม ทรัพย์โดยได้รับค่านายหน้าหรือบำเหน็จเป็นการตอบแทนในทางการค้า (๑๐) เป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการจัดหาเงินให้ยืมหรือเงินลงทุนให้แก่กิจการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือการจัดการให้ยืมหรือการลงทุนแก่กิจการดังกล่าว การดำเนินกิจการของธนาคารตามวรรคหนึ่งจะต้องไม่ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลาม (ดู ม. 13 ประกอบ) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 10,630 – 328,090 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี) : 10,630 บาท จำนวนพนักงาน : 1,816คน (31 พ.ค. 54) • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 11 คน • 7คน (ในวาระเริ่มแรกก่อนมีผู้ถือหุ้น) ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง,ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านศาสนาอิสลามอย่างน้อย 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการธนาคารหรือด้านอื่นอันเป็นประโยชน์แก่กิจการของธนาคาร • ให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดประธานกรรมการ • ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการ (ม.16) • 4 คน (ในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก) ประกอบด้วย กรรมการซึ่งเลือกเพิ่มขึ้นจากจำนวนกรรมการ ตาม ม.16 • อีก 2 คน และเมื่อที่ประชุมสามัญประจำปีเห็นสมควรจะเลือกตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 2 คนก็ได้ (ม.18) • วาระการดำรงตำแหน่ง : 4 ปี เมื่อครบ 1 ปีนับแต่วันที่ประชุมสามัญประจำปีครั้งแรกให้กรรมการตาม ม.16 ออกจากตำแหน่ง 2 คนโดยวิธีจับสลาก และในทุกปีถัดไป ให้กรรมการที่เหลือจากการจับสลากออกจากตำแหน่ง • 2 คนโดยวิธีจับสลาก (ม. 19) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด :คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการคนใดเป็นผู้จัดการก็ได้ และให้ผู้จัดการ ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการกำหนด (ม. 27 วรรค 2 และ 3) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีโครงการที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ กรรมการ ต้องไม่มีลักษณะ ดังนี้ (ม. 22) (1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (3) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (4) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (5) เป็นผู้มีมลทินมัวหมองว่าทุจริตในสถาบันการเงินใด หรือบริหารงานในสถาบันการเงินใดผิดพลาด อย่างร้ายแรง (6) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินอื่น ผู้จัดการ ผู้จัดการต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่ธนาคาร ไม่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่หรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการใน กิจการอื่นที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับธนาคาร และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 22 (ม.29) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร  www.krisdika.go.th  มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นาย ปนิธิ ภูเจริญ โทร. 022985880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง -ไม่มี- สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 557/2550 เมื่อพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยฯ ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มทุนไว้โดยเฉพาะ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยก็สามารถเพิ่มทุนโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 ที่กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยฯ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจึงสามารถนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับได้

More Related