640 likes | 1.04k Vues
การจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย แบบ Chain Volume Measure (CVM). พรายพล คุ้มทรัพย์. 25 ธันวาคม 2550. เค้าโครงการสัมมนา. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ระดับราคาคงที่ การทดสอบการใช้ GDP ณ ราคาคงที่แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่
E N D
การจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทยการจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย แบบ Chain Volume Measure (CVM) พรายพล คุ้มทรัพย์ 25 ธันวาคม 2550
เค้าโครงการสัมมนา • ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ระดับราคาคงที่ • การทดสอบการใช้ GDP ณ ราคาคงที่แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ • การคัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม หรือปีอ้างอิงที่เหมาะสม
เค้าโครงการสัมมนา • การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติ ณ ระดับราคาคงที่ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) : ประสบการณ์ของต่างประเทศ • การจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติ ณ ระดับราคาคงที่ และผลการคำนวณเบื้องต้น
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ การคำนวณ GDP ณ ราคาคงที่(constant price value) หรือ ในรูปมูลค่าที่แท้จริง (real value) คือ การขจัดผลการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคา (price effect) ออกไปจากมูลค่า GDP ในรูปตัวเงิน (nominal value) เพื่อให้เหลือเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ ( quantity effect หรือ volume effect)
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ เราไม่สามารถนำปริมาณสินค้าต่างๆ มารวมกัน เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณได้ เพราะสินค้าต่างๆมีหน่วยไม่เหมือนกัน วิธีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ คือ การนำมูลค่าของสินค้าต่างๆ ในแต่ละปีมารวมกัน โดยใช้วิธีการรวมกันที่ทำให้ราคาสินค้ามีค่าคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ การรวมมูลค่าสินค้าในทุกๆ ปี โดยใช้ชุดราคาในปีอดีต เป็นตัวคูณกับปริมาณ ทำให้ได้ “มูลค่าสินค้า ณ ราคาคงที่” ชุดราคาในปีแรก คือ ราคาคงที่ และเราเรียกปีแรกนี้ว่า “ปีฐาน” การเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ สามารถแสดงได้โดยตัวแปรที่เรียกว่า “ดัชนีปริมาณ”
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ดัชนีปริมาณ แบบ Laspeyres มีสูตร ดังนี้ โดยที่ P0 เป็นราคาสินค้าในปีอดีต/ฐาน (ตัวถ่วงน้ำหนัก) Q0เป็นปริมาณสินค้าในปีฐาน Qtเป็นปริมาณสินค้าในปี t
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 1
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 1 อัตราการเพิ่มของ GDP ในปีที่ 3 เทียบกับปีที่ 1 ซึ่งเป็นปีฐาน โดยการอาศัยสูตรการคำนวณแบบ Laspeyres เท่ากับ P1เป็นตัวถ่วงน้ำหนักคงที่ (fixed weight)
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 1 เราสามารถอัตราการเพิ่มของ GDP ณ ราคาปีฐานคงที่ แบบ Laspeyres ในปีอื่นๆ ได้โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คำนวณได้จาก GDP ณ ระดับราคาปีฐานที่ “ เก่า ” เกินไปมักจะมีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น (overestimate) เพราะดัชนีปริมาณแบบ Laspeyres จะให้น้ำหนักมากเกินไป (น้อยเกินไป) แก่สินค้าที่มีราคาถูกลง (แพงขึ้น) และที่มีปริมาณมากขึ้น (ลดลง) [“substitution bias”]
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ดัชนีปริมาณ แบบ Paasche มีสูตร ดังนี้ โดยที่ Pt เป็นราคาสินค้าในปีปัจจุบัน Q0เป็นปริมาณสินค้าในปีอดีต Qtเป็นปริมาณสินค้าในปี t
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ กรณี GDP ณ ระดับราคาคงที่ ซึ่งปีปัจจุบันห่างจากปีอดีตมากเกินไป: ถ้าใช้ดัชนีปริมาณแบบ Paasche จะคำนวณได้ผลอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำเกินไป (underestimate growth) ความแตกต่างระหว่างผลการเติบโตจากการคำนวณแบบ Laspeyres และการคำนวณแบบ Paasche เรียกว่า Laspeyres – Paasche gap หรือ L-P gap
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 2
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 2 อัตราการเพิ่มของ GDP ในปีที่ 3 เทียบกับปีที่ 1 โดยใช้ปีที่ 5 เป็นปีฐาน โดยการอาศัยสูตรการคำนวณแบบ Paasche เท่ากับ P5เป็นตัวถ่วงน้ำหนักคงที่ (fixed weight)
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 2 เราสามารถอัตราการเพิ่มของ GDP ณ ราคาปีฐานคงที่ แบบ Paasche ในปีอื่นๆ ได้โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ • การแก้ไขปัญหาการใช้ปีฐานที่เก่าเกินไปมี 2 แนวทาง คือ • การปรับปีฐานให้ทันสมัยมากขึ้น และบ่อยครั้งขึ้น(แต่ยังเป็นระบบตัวถ่วงน้ำหนักคงที่อยู่) • การเปลี่ยนไปใช้ดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ หรือ chain volume measure (CVM)
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ • ดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ หรือ chain volume measure (CVM) : เปลี่ยนปีฐานสำหรับข้อมูลทุกปี ดังนี้ • ปีที่ 2 เทียบกับ ปีที่ 1 ใช้ราคาปีที่ 1 เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก • ปีที่ 3 เทียบกับ ปีที่ 2 ใช้ราคาปีที่ 2 เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก • ปีที่ 4 เทียบกับ ปีที่ 3 ใช้ราคาปีที่ 3 เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก • ............................ DI i, j คือ ดัชนีโดยตรง (direct index) สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ นำดัชนีโดยตรงสำหรับช่วงเวลาต่างๆ ที่อยู่ติดกันมาเชื่อมโยงกัน กลายเป็น “ดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ หรือ chain volume measure (CVM)” หรือดัชนีที่ใช้ชุดราคาที่เปลี่ยนไปในทุกช่วงเวลาของการคำนวณเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก โดย CI i, j คือ ดัชนีลูกโซ่ (chain index) สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i DI i, j คือ ดัชนีโดยตรง (direct index) สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 3
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 3 เราสามารถคำนวณดัชนีโดยตรงระหว่างปีที่ 4 และปีที่ 3 ได้ดังนี้
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 3 เราสามารถคำนวณหา ดัชนีโดยตรง ดัชนีลูกโซ่ GDP ณ ราคาคงที่ แบบ CVM และ อัตราการเพิ่มของ GDP ณ ราคาคงที่ แบบ CVM ได้โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้ (ปีที่ 1 เป็น reference year)
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ในกรณีที่การเปลี่ยนโดยเปรียบเทียบในราคาและปริมาณสินค้าส่วนใหญ่ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Monotonic change) การใช้ดัชนีแบบ chain จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีค่าใกล้เคียงกับอัตราที่เป็นจริงมากกว่าดัชนีแบบ fixed-weight ซึ่งสามารถทดสอบโดยการเปรียบเทียบ L-P gap ที่เกิดจากการใช้ดัชนีแบบ chained และการใช้ดัชนีแบบ fixed-weight
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ สูตรการคำนวณแบบ Fisher ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ระหว่างสูตรการคำนวณแบบ Laspeyres และ Paasche เป็นอีกสูตรการคำนวณหนึ่งที่เหมาะสำหรับการคำนวณดัชนีแบบ chained Fisher index มีคุณสมบัติหลายประการที่ทำให้เป็น index number ที่ดี จัดเป็นดัชนีประเภท superlative index และสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการทดสอบดัชนีอื่นๆ
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ • โดยหลักการแล้ว ดัชนีปริมาณแบบ chain มีคุณสมบัติที่มีกว่าดัชนีปริมาณแบบ fixed-weighted • ความแม่นยำในการคำนวณอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ • การจัดทำดัชนีแบบ chain ยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม/สินค้า ชนิดใหม่ๆ เข้าไปได้ตลอดช่วงอนุกรม • อัตราการเติบโตจะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเปลี่ยนปีอ้างอิง SNA 1993 เสนอให้ใช้ดัชนีแบบ chain แทนแบบ fixed-weight
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ คุณสมบัติประการหนึ่งของ ดัชนีแบบ chain คือ มูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ในปีอ้างอิง แบบดัชนีลูกโซ่ ที่เป็นค่าของส่วนประกอบ (component) รวมกัน จะไม่จำเป็นต้องเท่ากับค่าของยอดรวม (aggregates) คุณสมบัตินี้มีชื่อเรียกว่า non-additivity
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 : สาขาอาหาร
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 : สาขาสิ่งทอ
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 ผลการคำนวณ GDP ณ ราคาปีฐานคงที่ (ปีที่ 1 เป็นปีฐาน) แบบ Laspeyres
1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 ผลการคำนวณ GDP ณ ราคาคงที่แบบ chain (ปีที่ 1 เป็นปีอ้างอิง)
2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ • ปัญหาการจัดทำ GDP ของไทยในปัจจุบัน: • ใช้ดัชนีปริมาณแบบ Laspeyres (fixed weight) และ • มีปี พ.ศ. 2531 เป็นปีฐาน ซึ่ง “เก่า” มาก • ทำให้ GDP growth ที่คำนวณได้ สูงเกินจริงไปมาก? • i.e. มี “substitution bias” มาก? • ตอบโดยการทดสอบจากข้อมูลจริง
2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ โครงการเปลี่ยนปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย ระยะที่ 1 ได้ทดสอบโดยใช้สถิติรายได้ประชาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2546 ประเด็นทดสอบที่ 1 ในการคำนวณโดยใช้ดัชนีแบบ fixed-weight การใช้ปีฐานที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ผลการคำนวณ GDP growth มีค่าลดลง
2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ ประเด็นทดสอบที่ 2 การใช้ chain index ทำให้ผลการคำนวณ Laspeyres-Paasche gap (L-Pgap) ลดลงเมื่อเทียบกับการใช้ fixed-weight index สรุปได้ว่า ในช่วง พ.ศ. 2536 – 2546 ราคาและปริมาณสินค้า ในเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ทำให้เกิด substitution bias ดังนั้นการใช้ข้อมูล GDP ณ ราคาปีฐาน 2531 จึง overestimate อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ ประเด็นทดสอบที่ 3 การคำนวณ GDP growth โดยใช้ข้อมูลรายได้ประชาชาติ ณ ราคาปี 2531 ให้ค่าเฉลี่ยสูงเกินไปปีละประมาณ 0.56 percentage point ดังนั้นควรปรับปีฐานได้แล้ว หรือไม่ก็หันไปใช้ chain index (หรือ CVM) ประเด็นทดสอบที่ 4 การใช้ chain index แบบ Laspeyres ให้ผลการคำนวณที่แตกต่างจากการใช้ chain index แบบ Fisher ไม่มากนัก ดังนั้น ถ้าจะใช้ CVM ใช้แบบ Laspeyres ก็ได้
3. การคัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม หรือปีอ้างอิงที่เหมาะสม • หลักเกณฑ์การคัดเลือกปีฐานใหม่ (เลือกจากปี 2544-2548) • ปีที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ • ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/การสำรวจ หรือการใช้ข้อมูลระบบใหม่ • ปีที่เป็นปีฐานของดัชนีราคา • ปีที่มีการจัดทำข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต • ปีที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์หรือเลขห้า (นับตาม ค.ศ.)
3. การคัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม หรือปีอ้างอิงที่เหมาะสม • สรุป ปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ.2002) สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มากที่สุด • เป็นปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะค่อนข้างปกติ • เป็นปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฉบับที่ 9 • เป็นปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ เกือบทุกสาขา (เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการ) • เป็นปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) หากคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ แบบดัชนีลูกโซ่ ด้วยคุณสมบัติ non additivity จะทำให้ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาคงที่ แบบดัชนีลูกโซ่ จะไม่เท่ากับผลรวมของของมูลค่า ณ ราคาคงที่แบบดัชนีลูกโซ่ ของการใช้จ่ายประเภทต่างๆ
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของสถิติรายได้ประชาชาติ ในประเทศต่างๆ มี 4 รูปแบบด้วยกัน • มูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ • อัตราการเจริญเติบโต • ดัชนีปริมาณ • องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงในหน่วยย่อยต่อการเปลี่ยนแปลงโดยรวม (contribution to growth)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงานมูลค่า Constant Price GDP แบบ CVM: • รายงานไปตามปกติ โดยไม่แสดงให้เห็นผลต่างระหว่าง ค่ายอดรวม กับ ผลรวมของส่วนประกอบ แต่เตือนว่า สถิติที่รายงานมีคุณสมบัติ Non Additivity เช่น เดนมาร์ก
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงานมูลค่า Constant Price GDP แบบ CVM: • รายงานมูลค่า โดยแสดงให้เห็นผลต่างระหว่างมูลค่ารวม และผลรวมมูลค่าของหน่วยย่อย (residual หรือ statistical discrepancy) เช่น สหรัฐอเมริกา
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงานมูลค่า Constant Price GDP แบบ CVM: • รายงานเฉพาะมูลค่า ณ ระดับราคาปีก่อนหน้า และดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ (กรีซ)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงาน contribution to growth : • Contribution to growth in GDP แบบ Fisher (USA, Canada)
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงาน contribution to growth : • Contribution to growth in GDP แบบ Fisher (USA, Canada) พิสูจน์ได้ว่า จะสามารถแก้ปัญหา Non additivity ได้ โดยผลรวมของ จะเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ารวมพอดี
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงาน contribution to growth : • Contribution to growth in GDP แบบ Laspeyres CVM แบบ Laspeyres ไม่สามารถทำให้สูตรการคำนวณ contribution to growth มีคุณสมบัติเป็น additivity ได้ จึงต้องปรับ ให้เป็นมูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ในปีใดปีหนึ่งก่อน ( คือ ใช้ fixed-weight measure) เช่น ปรับให้เป็น previous year’s price แล้วจึงใช้ค่าดังกล่าวมาคำนวณ contribution to growth ต่อไป
4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) การรายงาน contribution to growth :