110 likes | 479 Vues
รายงานการวิจัย. เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส .) ปีที่ 1/3. ผู้เสนอ นางบัวแก้ว สุกใส สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี.
E N D
รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ปีที่ 1/3 ผู้เสนอ นางบัวแก้ว สุกใส สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากประสบการณ์ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ปีการศึกษา 2554 พบว่าจากผู้เรียนทั้งหมด 39 คน มีผู้เรียนจำนวน 20 คนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชันเนื่องจากมีกฎหรือทฤษฎีที่ผู้เรียนต้องจำและนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ต่างๆและในปีการศึกษา 2555 ได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชาเดิมจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในเรื่องดังกล่าวโดยการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย 1.เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจาการเรียนด้วยสื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน 2.ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อ สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ตัวแปรตาม กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น
ตาราง-ผังสรุปสำคัญ • 1.แสดงผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผล จากตารางพบว่า ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเท่ากับ .8769 คิดเป็นร้อยละ 87.69 หมายถึงมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 87.69 หลังจากที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ตาราง-ผังสรุปสำคัญ • 2.แสดงผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน จากตารางพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 87.83/89.33 หรือ E1 / E2 = 87.83/89.33 แสดงว่าหนังสือที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
ตาราง-ผังสรุปสำคัญ • 2.แสดงผลการวิเคราะห์หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน จากตารางพบว่า กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 4.0 คิดเป็นร้อยละ 13.3 และเมื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แล้วทดสอบหลังเรียนจากแบบทดสอบชุดเดิมได้คะแนนเฉลี่ย 26.8 คิดเป็นร้อยละ 89.3 ซึ่งคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 22.80 ของคะแนนเต็ม
3.แสดงผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์3.แสดงผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สรุปผล • 1)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับ 87.83/89.33 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุมาภรณ์ แสนเหลา (2553) • 2). ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเท่ากับ 0.8769 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.69 หมายถึงหลังการเรียนโดยใช้นวัตกรรมผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 87.69 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิรินทิพย์ สรรพอาษา(2552) • 3) จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนเรียนเป็นเพราะว่าการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือผู้เรียนเป็นสำคัญ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542: 12-13) สอดคล้องกับงานวิจัยของ อัจนา นิตยพงศ์ชัย (2552)
สรุปผล 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าหนังสืออิเลคทรอนิกส์ช่วยเร้าความสนใจในการเรียนแก่นักศึกษา เนื่องจากนักศึกษาได้ใช้ประสาทสัมผัสเกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นสายตา การรับฟัง และการสัมผัส นอกจากนี้ยังสามารถทราบผลการเรียนรู้ของตนเองได้ทันที ซึ่งนักศึกษาจะรู้สึกถึงการท้าทายเหมือนการแข่งขันกับตนเอง สอดคล้องกับงานวิจัยของ จีรนันท์ เค้าคำ(2553)
ผู้สนับสนุนการวิจัย ผู้อำนวยการวรรณา ตันประภัสร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี สถานศึกษารับรางวัลพระราชทาน 2 ครั้งต่อเนื่อง ระดับอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศและความเป็นสากล ปรัชญา มาตรฐานดีกิจกรรมเด่น เน้นวินัย