1 / 28

บทที่ 5 ทรัพยากรคงคลัง ( Inventory Model)

บทที่ 5 ทรัพยากรคงคลัง ( Inventory Model). การเก็บสินค้าค้างไว้ในสต๊อก น้อยจนเกินไป อาจเกิดปัญหาของไม่พอใช้ หรือสินค้าไม่พอขาย นั่นหมายถึง การเสียโอกาสที่จะได้รับกำไร หรือการดำเนินงานหยุดชะงัก (เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้น).

lok
Télécharger la présentation

บทที่ 5 ทรัพยากรคงคลัง ( Inventory Model)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 ทรัพยากรคงคลัง (Inventory Model)

  2. การเก็บสินค้าค้างไว้ในสต๊อกน้อยจนเกินไป อาจเกิดปัญหาของไม่พอใช้ หรือสินค้าไม่พอขาย นั่นหมายถึง การเสียโอกาสที่จะได้รับกำไร หรือการดำเนินงานหยุดชะงัก (เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้น)

  3. การเก็บสินค้าไว้มากจนเกินไป นอกจากจะทำให้เงินทุนจมอยู่ในทรัพยากรคงคลังแล้ว ยังก่อให้เกิดตันทุนต่างๆ เช่น ต้นทุนการดูแลรักษา ค่าเช่าโกดังสินค้า ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสินค้าเสื่อมสภาพ หรือล้าสมัย

  4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพยากรคงคลัง มี 4 ประเภท 1. ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) 2. ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อทรัพยากร (Ordering Cost) 3. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพยากรคงคลัง (Holding Cost or Carrying Cost) 4. ค่าใช้จ่ายในการขาดแคลนทรัพยากร (Shortage Cost or Stock-out Cost)

  5. ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายรวม ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Holding Cost) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ( Ordering Cost) ปริมาณการสั่งซื้อ

  6. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity : EOQ)ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด( EOQ)คือ ปริมาณการสั่งซื้อที่ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวมกันแล้วเกิดน้อยที่สุด ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดจะอยู่ ณ จุดที่ค่าใช้จ่ายทั้งสองเท่ากัน (ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา )

  7. สัญลักษณ์ที่ใช้ในตัวแบบมีดังนี้K = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ หรือเตรียมการผลิตต่อครั้งH = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพยากรต่อหน่วย C = ราคาทรัพยากรต่อหน่วย Q = ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้ง D = ความต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมด TC = ค่าใช้จ่ายรวม

  8. สูตรในการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด Q* = สูตรในการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด TC = DK + QH + CD Q 2

  9. ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ = DK Q ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา = QH 2 ต้นทุนของสินค้า = CD

  10. ตัวอย่าง บริษัทพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตวิทยุกระเป๋าหิ้ว สั่งซื้อส่วนประกอบชนิดหนึ่ง เพื่อใช้ในการผลิตวิทยุจากบริษัทไทยรุ่งเรือง ประมาณว่า บริษัทต้องการใช้ส่วนประกอบนี้ ปีละ 3,500 ชิ้น โดยมีต้นทุนชิ้นละ 10 บาท จากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ประมาณว่าในการสั่งซื้อสินค้านี้แต่ละครั้งจะเสียค่าใช้จ่าย 70 บาท และต้นทุนการเก็บรักษาคิดเป็นเงินชิ้นละ 25 สตางค์ต่อปี จงหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดและค่าใช้จ่ายทั้งหมด

  11. วิธีทำD = 3,500 ชิ้นC = 10 บาทK = 70บาทH = 0.25 บาท/ชิ้น

  12. สูตร Q* = = = 1,400ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด คือ 1,400 ชิ้น

  13. TC = DK + QH + CD Q 2 = 3,500 (70) + 1,400 (0.25) + 10 (3,500) 1,400 2 = 175 + 175 + 35,000 = 35,350ค่าใช้จ่ายรวม คือ 35,350

  14. ตัวอย่าง 5.1 (หน้า 106)วิธีทำ D = 1,200 หน่วยC = 10 บาทK = 20 บาท H = 1.2 บาท / หน่วย (0.12*10)

  15. สูตร Q* = = = 200 ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด = 200 ชิ้น

  16. TC = DK + QH + CD Q 2 = 1,200 (20) + 200(1.2) + 10(1,200) 200 2 = 120 + 120 + 12,000 = 12,240 บาท

  17. 2. ตัวแบบพื้นฐานที่มีการลดราคาทรัพยากร ในตัวแบบที่จะพิจารณาต่อไปนี้ จะกำหนดให้ราคาทรัพยากรมีการลดลง หากมีการซื้อในปริมาณที่มากขึ้น ดังนั้น สัญลักษณ์ C ที่เคยคงที่ในตัวแบบนี้จะกำหนดให้เป็น Cj ซึ่งจะมีมากกว่า 1 ค่า

  18. ส่วนค่าใช้จ่ายในการขาดมือทรัพยากร ไม่มีเพราะไม่อนุญาตให้มีการขาดมือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพยากรต่อหน่วย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือh^ = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาต่อหน่วยที่ไม่ผันแปรตาม มูลค่าทรัพยากร เช่น ค่าเช่าสถานที่ i = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาต่อหน่วยที่ผันแปร ตามมูลค่า ทรัพยากร เช่น ค่าดอกเบี้ย ค่าเบี้ยประกันดังนั้น H = h^ + iCj

  19. สูตรในการคำนวณ ในกรณีมีการลดราคาสินค้า Q* = TC = + (h^+iCj)+CjD

  20. ตัวอย่างที่ 5.11 (หน้า 126) ร้านกีฬาไทยสั่งทำไม้เทนนิสจำหน่าย โดยร้านที่จำหน่ายไม้เทนนิสให้ร้านกีฬาไทย คิดราคาไม้เทนนิสตามปริมาณการสั่งซื้อ ดังนี้ หากสั่งซื้อครั้งละไม่เกิน 9 อัน คิดราคาอันละ 250 บาท หากสั่งซื้อเกิน 9 อัน แต่ไม่เกิน 40 อัน คิดราคาอันละ 237.50 บาท หากซื้อเกิน 40 อัน คิดราคาอันละ 225 บาท ในการสั่งซื้อไม้เทนนิสจากร้านจำหน่ายนั้น ร้านกีฬาไทยประมาณว่าเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 100 บาทและไม้เทนนิสที่ ร้านกีฬาไทยเก็บไว้ในสต๊อก จะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาอันละ 12.50 บาท ต่อเดือน ร้านกีฬาไทยจะต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินทุน 12 เปอร์เซนต์ต่อปี ร้านกีฬาไทยควรสั่งซื้อไม้เทนนิสมาจำหน่ายครั้งละเท่าใดจึงจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

  21. วิธีทำ K = 100บาท/ครั้ง h = 12.50 บาท/อัน/เดือน i = 12% ต่ออัน/ปี หรือ 1% ต่ออัน/เดือน C1 = 250 บาท เมื่อ Q 9 C2 = 237.50 บาท เมื่อ 9 < Q2 40 C3 = 225 บาท เมื่อ Q3 > 40 D = 9 อัน/เดือน

  22. Q*1 == 10.95 (เป็นจำนวนที่เป็นไปไม่ได้)

  23. Q*3 = = 11.047 (เป็นจำนวนที่เป็นไปไม่ได้)

  24. Q*2 == 11 (เป็นจำนวนที่เป็นไปได้)

  25. หาค่า TC เมื่อ Q = 11 TC = DK + Q (h^ + iCj) + CjD Q 2 = 9(100) + 11 (12.50 + 0.01*237.5)+ 237.5 (9) 11 2 = 81.8 + 81.8 + 2,137.5 = 2,301.1 บาท

  26. ปรับค่า Q* Q1 = 9 (เป็นปริมาณที่ใกล้กับที่เป็นไปได้ตามเงื่อนไขราคา) TC = DK + Q (h^ + iCj) + CjD Q 2 = 9 (100) + 9 (12.50+0.01*250) + 250 (9) 9 2 = 100 + 67.5 + 2,250 = 2,417.5 บาท

  27. Q3 = 41 ( เป็นปริมาณที่ใกล้กับที่เป็นไปได้ตามเงื่อนไขราคา) TC = DK + Q (h^ + iCj) + CjD Q 2 = 9 (100) + 41 (12.50 + 0.01 * 225) + 225 (9) 41 2 = 21.95 +302.37 + 2025 = 2,349.32

  28. เปรียบเทียบค่า TC แล้วเลือกทางเลือกที่ให้ค่า TCต่ำสุด TC ( Q1 = 9 ) = 2,417.5 TC ( Q2 = 11) = 2,301.1 TC ( Q3 = 41) = 2,349.3 ควรสั่งไม้เทนนิส 11 อัน เพราะ มีค่า TC ต่ำที่สุด เท่ากับ 2,301.1 บาท / เดือน

More Related