160 likes | 319 Vues
Chapter 3. Set a Server by Linux. การสร้างไดเร็กทอรี่ : mkdir command. เราสามารถสร้าง directory เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการเก็บงานสำหรับการทำงานของเรา ในการสร้าง directory จะต้องคำนึงถึงชื่อและตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ ห้ามใช้ชื่อสงวนของระบบ รูปแบบการใช้คำสั่ง
E N D
Chapter 3 Set a Server by Linux
การสร้างไดเร็กทอรี่:mkdir command • เราสามารถสร้าง directory เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการเก็บงานสำหรับการทำงานของเรา • ในการสร้าง directory จะต้องคำนึงถึงชื่อและตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ • ห้ามใช้ชื่อสงวนของระบบ • รูปแบบการใช้คำสั่ง • mkdir [options] directories
mkdir command mkdir member เป็นการสร้างไดเร็กทอรี่ที่ชื่อ member mkdir exchange เป็นการสร้างไดเร็กทอรี่ที่ชื่อ exchange แต่ถ้าชื่อที่ใช้สร้าง directory ไปซ้ำกับ directory เก่าที่มีอยู่แล้ว จะแสดงข้อความเตือน mkdir : cannot create directory ‘exchange’: File exists
mkdir command • เราสามารถสร้าง sub-directory ได้โดยใช้คำสั่ง mkdir /home/thira/exchange/currency ในที่นี้เป็นการสร้าง ไดเร็กทอรี่ย่อย (sub-directory)currency ภายใต้ directory exchange. • หากเราสร้างไดเร็กทอรี่ย่อยบนไดเร็กทอรี่ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น สร้าง sub-directorymap บน directory nature แต่ directorynature ไม่มีอยู่บนระบบ ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนดังนี้
mkdir command #mkdir /home/thira/nature/map #mkdir : cannot create directory ‘/home/thira/nature/map’ : No such file or directory
mkdir command • นอกจากนี้เรายังสามารถสร้าง directory หลาย ๆ ตัวเพียงคำสั่งเดียวได้ เช่น จะสร้าง directory ที่ชื่อ myname และ yourname ให้พิมพ์คำสั่งดังนี้ mkdir myname yourname • option ที่น่าสนใจคือ - option p (-p) เอาไว้สร้าง sub-sub-directory ที่อยู่ภายใต้ sub-directory เพียงครั้งเดียว เช่น
mkdir command เราต้องการสร้าง directoryapp ให้อยู่ภายใต้ sub-directorysoftware โดยที่ในระบบยังไม่มี directorysoftware มาก่อน แต่ตอนนี้เราทำงานอยู่ที่ directory thira คำสั่งที่ใช้มีดังนี้ #mkdir –p /thira/software/app
การลบไดเร็กทอรี่ : rmdir command • เราสามารถจะสั่งลบ directory ได้โดยที่ไม่ต้องการออกไปจากระบบได้ โดยใช้คำสั่ง rmdir(remove directory) • สามารถลบได้ทั้งไดเร็กทอรี่เปล่าหรือไดเร็กทอรี่ที่มีไฟล์ข้อมูลอยู่ก็ได้ • รูปแบบคำสั่ง rmdir [options] directories เช่น หากเราต้องการลบ directory nature เราก็จะใช้คำสั่ง # rmdir nature
rmdir command • ภายใต้ directorynature ไม่มีไฟล์เก็บอยู่ ก็จะสามารถลบได้เลยทันที • แต่หากเราต้องการลบ directory ที่มีข้อมูลอยู่ด้วย เราจะต้องลบไฟล์ที่มีอยู่ใน directory ทั้งหมดก่อน แล้วจึงค่อยลบ directory
การจัดการไฟล์ (File Management) ในการจัดการไฟล์ มีหลาย command ที่น่าสนใจ แต่จะเน้นในเรื่องของ การคัดลอกไฟล์ (copy file) การลบไฟล์ (remove file) การย้าย-เปลี่ยนชื่อไฟล์ (move/rename file)
การคัดลอกไฟล์ • คำสั่งที่ใช้ในการ copy file คือ คำสั่ง cp (cp command) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล ซึ่งเราสามารถจะ copy ทีละไฟล์ หลาย ๆ ไฟล์ในคราวเดียวกัน หรือแม้กระทั่งการก๊อปปี้ไฟล์ไปไว้ยังไดเร็กทอรี่ที่เราต้องการ • รูปแบบการใช้คำสั่ง cp [options] filename1 filename2 cp [options] filename1 directory
การคัดลอกไฟล์ • option ที่น่าสนใจคือ • Option i (-i) เป็นการสั่งให้แสดงข้อความถาม กรณีที่ต้องมีการเขียนทับไฟล์เดิม โดยตอบ y หากต้องการเขียนทับ • Option p (-p) ใช้ในการแก้ไขไฟล์และสิทธิ์การใช้งาน ข้อมูลเหมือนกับไฟล์เดิมที่ copy มา • Option r (-r) เป็นการสั่ง copy ทั้งไดเร็กทอรี่ (รวมทั้งไฟล์และไดเร็กทอรี่ย่อยที่อยู่ภายในด้วย)
การคัดลอกไฟล์ เช่น cp thira.txt meaw.txt - เป็นการ copyfilethira.txt ไปยังไฟล์ meaw.txt ที่อยู่ใน directory เดียวกัน แต่เวลาในการแก้ไขไฟล์จะเป็นเวลาปัจจุบัน ไม่ใช่เวลาของไฟล์เดิม cp thira.txt /home/thira/meaw.txt - เป็นการ copyfile thira.txt ไปยังไฟล์ meaw.txt ใน directoryhome, sub-directory thira
การคัดลอกไฟล์ cp –p thira.txt /home/thira/meaw.txt • เป็นการ copy file thira.txt ไปยังไฟล์ meaw.txt ที่อยู่ใน directory home, sub-directory thira แต่เวลาในการแก้ไขไฟล์ จะเป็นเวลาของไฟล์เดิม ไม่ใช่เวลาปัจจุบัน นอกจากนี้ยังถามย้ำว่า จะให้เขียนทับไฟล์เดิมไหม cp –r /var/named/* /home/thira/computer - เป็นการ copyfile ทั้งหมดใน directory name รวมทั้ง directory ย่อยภายใน ไปไว้ยังไดเร็กทอรี่ computer ซึ่งอยู่ภายใต้ directory /home/thira
Permission • จะเห็นได้ว่า โหมดจะถูกกำหนดโดยตัวอักษร 10 ตัว d – r w – r w – r - 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 • ตัวที่ 1 บอกถึงความเป็นไดเร็กทอรี่หรือไฟล์ • ตัวที่ 2-10 จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ตัว ซึ่งจะใช้ในการบอกถึง Permission หรือสิทธิในการใช้งาน • Read (อ่านได้), write (เขียนหรือแก้ไขได้), execute (เรียกให้ทำงานได้)โดยจะใช้ตัวอักษร r,w,x แทน ถ้าไม่ได้รับสิทธิอันไหน จะใช้เครื่องหมาย “ – “ในช่องนั้น
Permission • ตัวที่ 2,3,4 บอกถึง permission ของ user (เจ้าของ) • ตัวที่ 5,6,7 บอกถึง permission ของ group (กลุ่ม) • ตัวที่ 8,9,10 บอกถึง permission ของ other (บุคคลนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้) • เราจะใช้ตัวอักษร u, g และ o ในการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้