2.61k likes | 5.03k Vues
หน่วยที่ 11 ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ.
E N D
หน่วยที่ 11 ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ • กฎกระทรวง เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของที่อับอากาศ ไว้ว่า เป็นที่ ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่พียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
อันตรายในที่อับอากาศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม • อันตรายจากระดับออกซิเจนไม่เพียงพอ ในบรรยากาศปกติมีค่าประมาณ 21% โดยปริมาตร น้อยกว่า 19.5% หรือ มากกว่า 23.5% จะเป็นอันตราย • อันตรายจากอากาศที่ลุกติดไฟได้ มีก๊าซหรือสารไวไฟ ออกซิเจนในอากาศปริมาณมากเกิน 22% เมื่อเกิดประกายไฟ อาจทำให้ลุกติดไฟได้ • อันตรายจากอากาศพิษ เช่น การเก็บของวัสดุ ในสถานที่อับอากาศ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ของบ่อกำจัดของเสีย งานเชื่อม ตัด บัดกรี จะก่อให้เกิดสารพิษในบรรยากาศ • อันตรายทางกายภาพ เช่น จากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า สภาพพื้นที่ ลื่น เปียก น้ำท่วมขัง สภาพแวดล้อม ร้อนหรือเย็นเกินไป
การปฏิบัติงานในที่อับอากาศนั้นต้องมีการปฏิบัติงานเป็นทีมการปฏิบัติงานในที่อับอากาศนั้นต้องมีการปฏิบัติงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วย • ผู้อนุญาต • ผู้ควบคุมงาน • ผู้ช่วยเหลือ • และผู้ปฏิบัติตาม
หนังสืออนุญาตทำงานในที่อับอากาศหนังสืออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ • หนังสืออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ ต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ที่อับอากาศที่อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน(๒) วัน เวลา ในการทำงาน(๓) งานที่ให้ลูกจ้างเข้าไปทำ(๔) ชื่อลูกจ้างที่อนุญาตให้เข้าไปทำงาน(๕) ชื่อผู้ควบคุมงานตามข้อ ๗(๖) ชื่อผู้ช่วยเหลือตามข้อ ๘
(๗) มาตรการความปลอดภัยที่เตรียมไว้ก่อนการให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน(๘) ผลการตรวจสภาพอากาศและสภาวะที่อาจเกิดอันตราย(๙) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต(๑๐) อันตรายที่ลูกจ้างอาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย(๑๑) ชื่อและลายมือชื่อผู้ขออนุญาต และชื่อและลายมือชื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต
การประเมินสภาพการทำงานการประเมินสภาพการทำงาน คือ วิธีการที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบว่าในการทำงานนั้นๆ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถประเมินได้จากลักษณะของการทำงานในที่อับอากาศนั้นๆ และจากลักษณะของพื้นที่ภายในที่อับอากาศ ขั้นตอนในการประเมินสภาพการทำงานจากลักษณะของการทำงานในที่อับอากาศ • กำหนดงานที่จะทำการประเมิน • แยกลำกับการปฏิบัติงาน • ชี้ความเป็นอันตราย • อธิบายลักษณะและสาเหตุของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น • กำหนดมาตรการในการควบคุมและป้องกันการเกิดอันตราย
วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศอย่างถูกต้องและปลอดภัยวิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศอย่างถูกต้องและปลอดภัย จุดมุ่งหมายของการทำงานในที่อับอากาศ คือ • การทำงานในกรณีที่มีเหตุจำเป็น • การทำงานในกรณีมีการก่อสร้างระหว่างทำงาน • การทำงานในกรณีเข้าช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานอยู่
วิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศวิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ • ติดป้าย ที่อับอากาศห้ามเข้า บริเวณที่อับอากาศที่จะเข้าปฏิบัติงาน พร้อมทั้งปิดกั้นพื้นที่ • ประเมินสภาพอากาศที่พื้นที่ปฏิบัติ ได้แก่ ตรวจสอบปริมาณออกซิเจน ก๊าซไวไฟ ตรวจเปอร์เซ็นการระเบิด ตรวจก๊าซพิษ ไอระเหยที่เป็นพิษ • ประเมินสภาพปฏิบัติงาน โดยประเมินจากลักษณะการทำงาน และลักษณะพื้นที่ภายในที่อับอากาศ • ทำแผนการปฏิบัติงานและแผนฉุกเฉินสำหรับการเกิดเหตุอันตราย โดยแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบ และปฏิบัติตาม แผนที่กำหนดไว้ • จัดทำระบบใบอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ • ตัดแยกแหล่งพลังงานที่เกี่ยวข้อง • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน • ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน • นำสำเนาเอกสารใบอนุญาตทำงานติดบริเวณทางเข้า-ออก
การตรวจสอบเพื่อประเมินอันตรายที่อาจแอบแฝงอยู่การตรวจสอบเพื่อประเมินอันตรายที่อาจแอบแฝงอยู่ • การตรวจสอบปริมาณออกซิเจน • การตรวจสอบเปอร์เซนต์การระเบิด หรือการไวไฟของก๊าซ/ไอระเหยไวไฟ • การตรวจสอบก๊าซ/ ไอระเหยที่เป็นพิษ
เหตุการณ์ฉุกเฉินในที่อับอากาศเหตุการณ์ฉุกเฉินในที่อับอากาศ • จัดระดับความรุนแรงได้เป็น 5 ระดับ 1 สถานการณ์ที่ต้องการอพยพผู้ปฏิบัติงานออกจากบริเวณพื้นที่อับอากาศ 2. สถานการณ์ที่เกิดการบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงาน 3. สถานการณ์ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้น 4. สถานการณ์ที่ต้องทำการช่วยชีวิตจากภายนอก 5. สถานการณ์ที่ต้องช่วยชีวิตจากภายใน
หน่วยที่ 12 การควบคุมป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรม • นิยามที่สำคัญเกี่ยวกับไฟ • จุดวาบไฟ (Flash Point) หมายถึง จุดหรืออุณหภูมิต่ำสุดที่ของเหลวจะสามารถระเหยเป็นไอและมีปริมาณมากพอที่จะเกิดการติดไฟในบรรยากาศที่พอดีชั่วขณะหนึ่ง เมื่อมีเปลวไฟไหลผ่านในภาวะมาตรฐาน • จุดติดไฟ (Fire Point) หมายถึง จุดหรืออุณหภูมิต่ำสุดที่ไอระเหยของของเหลวผสมกับอากาศจะสามารถเกิดการลุกไหม้หลังจากมีการติดไฟ (Ignite) ปกติอุณหภูมินี้จะสูงกว่าจุดวาบไฟเล็กน้อย • ช่วงการติดไฟ หรือช่วงการระเบิด(Flammable or Explosive Range) หมายถึง ช่วงปริมาณที่ไอของของเหลวติดไฟมีปริมาณมากพอในบรรยากาศที่จะเกิดการลุกไหม้หรือระเบิดขึ้นได้เมื่อถึงอุณหภูมิติดไฟ
องค์ประกอบหลักของการติดไฟ (Fire Triangle) • ความร้อน (Heat) • เชื้อเพลิงหรือสารติดไฟ (Fuel) • อากาศหรือออกซิเจน (Oxygen) เมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ มีปริมาณมากเกินพอ (Excess) จะเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่อง(Chain Reaction) จนเกิดการลุกลามของไฟได้
ชนิดของไฟ พิจารณาพื้นฐานของการติดไฟ แบ่งออกได้ 4 ชนิดคือ • ไฟชนิด เอ (Class A) เชื่อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ เศษขยะต่างๆ • ไฟชนิด บี (Class B) เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง • ไฟชนิด ซี (Class C) สาเหตุจากไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นหลัก • ไฟชนิด ดี (Class D) โลหะบางอย่าง ที่ตัวมันเองติดไฟ ได้อย่างดี เช่น แมกนีเซียม
การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรมการออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรม • การออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Preventive Design) • การออกแบบเพื่อปกป้องโรงงานไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Protective Design)
การออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Preventive Design) แนวทางในการควบคุมป้องกัน • ศึกษากลไกการเกิดอัคคีภัย การระเบิด เพื่อตัดวงจรไม่ให้เกิด • ศึกษาอันตรายของสารเคมีที่เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน • ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดระหว่างการเกิดเพลิงไหม้ ให้สามารถดับไฟได้อย่างรวดเร็ว • เลือกเครื่องมือ อุปกรณ์การดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของโรงงาน เพียงพอ • ควบคุมป้องกันแหล่งกำเนินของอัคคีภัย เช่น ต่อสายดิน ถังปฏิกิริยาที่เกิดประจุ
การออกแบบเพื่อปกป้องโรงงานไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Protective Design) หมายถึงการวางแนวคิดในการออกแบบ เตรียมการ และเตรียมมาตรการต่างๆ ไม่ให้เกิดอัคคีภัย หรือให้มีโอกาสเกิดได้น้อยที่สุด เช่น • การจัดวางผังโรงงานให้เหมาะสม ผังเครื่องจักร • การออกแบบอาคารโรงงานและเลือกวัสดุที่นำมาใช้ • ออกแบบให้มีทางออก ทางหนีไฟ ประตูฉุกเฉิน เพียงพอสามารถระบายคนได้ทันกับเหตุการณ์ • การออกแบบระบบน้ำดับเพลิงให้เหมาะสม กับขนาดและชนิดของโรงงาน • การจัดเตรียมระบบพรมน้ำดับเพลิง (Spray System) หรือรับฉีดน้ำอัตโนมัติ • การจัดเตรียมระบบฉีดโฟม หรือก๊าซดับไฟ • การติดตั้งระบบเตือนภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) หรือระบบตรวจสอบไฟชนิดต่างๆ • การเตรียมติดตั้งระบบดับเพลิงขนาดเล็ก เพื่อดับไฟเริ่มเกิดก่อนที่จะลุกลามเป็นไฟขนาดใหญ่ • การจัดเตรียมให้มีระบบการตรวจสอบที่ดี • การจัดเตรียมพนักงานให้เหมาะสม เช่น การฝึกอบรมดับเพลิง รองรับแผนฉุกเฉิน
อุปกรณ์ดับเพลิงโดยทั่วไปจะใช้หลักการดับไฟที่แตกต่างกันอุปกรณ์ดับเพลิงโดยทั่วไปจะใช้หลักการดับไฟที่แตกต่างกัน • ลดความร้อนของเปลวไฟทำให้ไฟดับลง • ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ติดไฟ เช่น เจือจางปริมาณความเข้มข้นของไอเชื้อเพลิง ลดความร้อนที่เกิดขึ้น หรือปิดปกคลุมผิวเชื้อเพลิงไม้ให้รวมกับอากาศได้ • ลดปริมาณอากาศหรือออกซิเจนลง ทำให้ไฟดับเมื่อไม่มีอากาศ • รบกวนปฏิกิริยาสันดาป หรือปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นระหว่างการติดไฟ
การจัดเตรียมระบบดับเพลิงตามกฎหมายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง พ.ศ. 2534 • จัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดอุปกรณ์ดับเพลิง การเก็บรักษาวัตถุไวไฟและวัตถุระบิด รวมถึงการก่อสร้างอาคารที่มีระบบป้องกันอัคคีภัย • จัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย เกี่ยวกับการตรวจ อบรม รณรงค์ การดับเพลิง อพยพ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟู • มาตรการทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ • เตรียมน้ำสำรองไว้ดับเพลิง • จัดให้มีเครื่องดับเพลิงมือถือตามประเภทของเพลิง • การเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดเหลว
อันตรายจากฝุ่นระเบิด • ฝุ่นระเบิดในงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปเกิดเนื่องจากในบรรยากาศมีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร ที่มีความเข้มในระดับที่ระเบิดได้ เป็นเชื้อเพลิง มีระดับความร้อนเหมาะสมและมีออกซิเจนเพียงพอ
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญในการระเบิดของฝุ่นขนาดเล็ก มีดังนี้ • ชนิดของฝุ่นละออง • ขนาดของฝุ่นละออง • แหล่งกำเนิดประกายไฟ • อากาศหรือออกซิเจน • ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเกิดระเบิด แนวทางการควบคุมป้องกันฝุ่นระเบิด • เปลี่ยนมาใช้สารที่ไม่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก • ควบคุมกระบวนการผลิตที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดของฝุ่น • ลดความเข้มข้นของฝุ่นในบรรยากาศ • ลดแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดความร้อนและแหล่งกำเนิดประกายไฟ
หน่วยที่ 13 การวางแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน เหตุฉุกเฉิน หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิตและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรืออาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกสถานประกอบการ โดย ที่สถานการณ์นั้นเกินกำลังความสามารถของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุม สถานการณ์ได้ในทันทีทันใด
ประเภทของเหตุฉุกเฉิน • การเกิดเหตุเพลิงไหม้ • การระเบิด • สารเคมีรั่วไหล
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและ ระงับเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ • พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2536 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 เรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุฉุกเฉินหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุฉุกเฉิน • นิคมอุตสาหกรรม • กรมควบคุมมลพิษ แนวคิดในการวางแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 1 ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 2 ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 3
ประเภทของแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน แบ่งเป็น 3 ประเภท • แผนป้องกันเหตุฉุกเฉิน (ระยะก่อนเกิดเหตุ) • แผนระงับ ควบคุม ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (ระยะเกิดเหตุ) • แผนฟื้นฟู (ระยะหลังเกิดเหตุ)
แนวทางการดำเนินงานในการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินแนวทางการดำเนินงานในการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน • จัดให้มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นแก่พนักงาน อย่างน้อย 40% ตามกฎหมาย • จัดให้มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นสูงแก่พนักงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษให้ทำหน้าที่พนักงานดับเพลิงให้ได้จำนวนตามความเหมาะสมของความเสี่ยง • จัดให้พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับแผนการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง • จัดให้มีการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและฝึกการอพยพออกจากอาคารไปตามทางหนีไฟอย่างปลอดภัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม้มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ • 1 เมื่อพบว่ามีเพลิงไหม้ให้กดสัญญาณเตือนภัย เพื่อแจ้งเหตุทันที • 2 ให้หยุดการทำงานทันที หากเป็นเชื้อเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ต้องโทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิง • 3. ให้ดำเนินการดับเพลิงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ • 4. ถ้ามีไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าลุกไหม้ ห้ามใช้น้ำฉีด • 5. แยกเชื้อเพลิงออกจากแหล่งที่เกิดเพลิงไหม้ออกไปให้ไกล หรือฉีดน้ำคลุมกันไฟ • 6. ถ้าเป็น ภาชนะบรรจุก๊าซ ท่อบรรจุก๊าซ ให้ใช้น้ำฉีดคลุมไว้เพื่อป้องกันการระเบิด
มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินในกรณีสารเคมีรั่วไหลมาตรการระงับเหตุฉุกเฉินในกรณีสารเคมีรั่วไหล • ต้องประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าไประงับเหตุ ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ชุดหน้ากากป้องกันสารเคมี • เข้าไปที่เกิดเหตุทางด้านเหนือลม ดูให้แน่ชัดว่าเป็นสารเคมีประเภทอะไร ตัวเลข 4 ตัว บนแผ่นป้ายสีส้ม • มองหาตัวเลขสามตัว ที่ บอกหรือแนะนำ ตัวเลขดัชนี ประเภทเคมีภัณฑ์ ชื่อสารเคมี ชื่อทางการค้า วิธีปิดวาล์ว ระยะห่างที่ปลอดภัย • พิจารณาการช่วยเหลือคนที่ประสบภัยถ้าทำได้ • พื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุต้องกันไม่ให้คนเข้าไป เพื่อป้องกันการได้รับสารพิษ
มาตรการรองรับภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉินมาตรการรองรับภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน • 1. การชำระล้างเสื้อผ้าและผิวหนังผู้ปฏิบัติงานระงับเหตุฉุกเฉิน • 2. การกำจัดขยะอันตราย • 3. การล้างเครื่องมืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อน • 4. การช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัย • 5. การให้ข่าวต่อสื่อมวลชน
หน่วยที่ 14 ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุ • การเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุ (Material Handling and Storage) หมายถึงศาสตร์และศิลป์ในการจัดเตรียมสถานที่ การจัดวางตำแหน่งของวัสดุรวมถึงวิธีทำให้วัสดุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไป ยังอีกที่หนึ่งในตำแหน่ง เวลา และปริมาณที่ต้องการ เคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุมีอยู่ 4 องค์ประกอบ • 1. การเคลื่อนที่ (Motion) 2.เวลา (Time) 3.ปริมาณ (Quantity) • 4.เนื้อที่ (Space)
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ • สาเหตุที่เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน เช่น ไม่มีความรู้ความเข้าใจ • สาเหตุที่เกิดจากเครื่องจักร อุปกรณ์ เช่น ชำรุด • เกิดจากภาชนะบรรจุที่ต้องการเคลื่อนย้าย เช่น มีน้ำหนักมาก แหลมคม หรือ แตกหักง่าย • เกิดจากบริเวณที่วัสดุเคลื่อนย้ายผ่าน เช่น พื้นลื่น มีสิ่งกีดขวาง หรือทางลาด
หลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัยหลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัย • ผู้ปฏิบัติงานต้องใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสม • การใช้แรงยกต้องยกด้วยท่าที่ถูกวิธี • ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการยกให้เหมาะสม ประเมินอันตราย และปฏิบัติตามกฎข้อปฏิบัติ • ไม่เคลื่อนย้ายวัสดุเกินความสามารถของอุปกรณ์ • เคลื่อนย้ายในช่องทางที่กำหนดไว้ • ช่องทางเคลื่อนย้ายวัสดุต้องมีความปลอดภัย
การเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมืออย่างปลอดภัยการเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมืออย่างปลอดภัย • มีข้อพิจารณา 3 ประการคือ ผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะหรือสภาพของวัสดุ และบริเวณเส้นทางที่ต้องทำการเคลื่อนย้าย พรบ . พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก ไม่เกิน • 20 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างที่เป็นเด็กหญิง อายุ 15ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี • 25 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชาย อายุ 15 แต่ยังไม่ถึง 18 ปี • 25 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็น หญิง • 55 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นชาย
ข้อปฎิบัติในการใช้รถเข็นเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยความปลอดภัยข้อปฎิบัติในการใช้รถเข็นเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยความปลอดภัย • เลือกรูปแบบ ของรถเข็นให้เหมาะสมกับวัสดุที่จะทำการเคลื่อนย้าย • ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมและสวนใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลที่เหมาะสม • ก่อนการใช้งานต้องตรวจสภาพรถเข็นว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ • การใช้งานรถเข็นไม่ควรนำไปใช้งานผิดวัตถุประสงค์ • การยกวัสดุขึ้นรถเข็น ผู้ปฏิบัติต้องระมัดระวังวัสดุตกทับเท้าและระวังอย่าบรรทุกวัสดุหนักเกินรถเข็นและแรงของผู้ปฏิบัติจะรับได้ • การจัดวางวัสดุบนรถเข็นต้องจัดวางให้สมดุล มั่นคงและไม่มากเกินไป วัสดุต้องไม่บดบังสายตาและการมองเห็นเส้นทางของผู้ปฏิบัติงาน
คำนึงว่ารถเข็นรับน้ำหนักวัสดุ ผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ออกแรงในการเข็น • การเคลื่อนที่ให้ใช้วิธีดันหรือผลัก ไปด้านหน้าอยู่เสมอ ยกเว้นเข็นขึ้นทางชันใช้วิธีดึงรถเข็น • ควรใช้รถเข็นด้วยความเร็วที่ปลอดภัย • การเข็นรถเข็นผ่านพื้นที่ที่เป็นหลุม ขรุขระ หรือเปียกลื่น ทางลาด ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ • เข็นรถเข็น ผ่านที่เป็นทางแคบ ประตู หรือสิ่งกีดขวางต้องระวังมือที่จับ ถูกหนีบ • เข็นรถถึงทางแยกหรือบริเวณมุมต้องหยุดรถดูเส้นทางก่อน • กรณีจอดรถเข็น (มากกว่า 2 ล้อ) ควร ล็อกล้อ • เมื่อเลิกงานควรจอดรถเข็นไว้บริเวณที่จัดเตรียมไว้อย่างเป็นระเบียบ
ความปลอดภัยในการใช้บันไดพาดความปลอดภัยในการใช้บันไดพาด • บันไดบาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ บันไดพาดแบบรางเดียว และบันไดพาดแบบพับได้ ข้อแนะนำในการพิจารณาความเหมาะสมของการใช้บันไดพาดเพื่อปฏิบัติงานต่างๆ • การใช้งานบันไดพาด ทำงานในจุดใดจุดหนึ่งไม่ควรเกิน 30 นาที • งานที่ทำควรเป็นงานเบา โดยวัสดุหรือเครื่องมือต่างๆไ ที่ต้องถือไว้ไม่ควรเกิน 10 กิโลกรัม • ลักษณะของงานจะต้องมีมือข้างหนึ่งว่างสามารถใช้จับยึดกับบันไดได้ โดยหลักการทั่วไปการใช้บันไดพาดต้องพยายามรักษาจัดสัมผัสกับบันไดพาดให้ไว้ได้ 3 จุด (Three Points of Contact) คือเท้าเหยียบบันได 2 จุด มือจับบันได 1 จุดเสมอ • ระยะพาดที่ปลอดภัย 1 ส่วน 4 เช่นความสูง 4 เมตร ความห่างของบันได คือ 1 เมตร
ความปลอดภัยในการใช้เชือกความปลอดภัยในการใช้เชือก • แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เชือกที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ และเชือกที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ • การใช้งานและบำรุงรักษาเชือกในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัย • ก่อนใช้งาน ต้องมีการตรวจสอบเชือกเพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของเชือก • ห้ามใช้เชือกในการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าพิกัดน้ำหนักที่กำหนดไว้ของเชือก • ไม่ควรลากเชือกบนพื้นโรงงาน หรือบริเวณที่ผิวขรุขระหรือสกปรก เพราะจะทำให้ผิวเชือกถลอก หรือมีสิ่งสกปรก เช่นเศษหิน เศษทราบ ทำให้เสื่อมสภาพเร็ว • ใช้งานกับรอกหรือลูกล้อ ควรพิจารณาให้มีความเหมาะสม เพื่อที่เชือกจะไม่ถูกบีบหรือหักมุมมากเกินไปขณะใช้งาน • ควรใช้เชือกในสภาพที่แห้ง อุณหภูมิ ระหว่าง 20 องศา F ถึง 180องศาF
ไม่ควรใช้เชือกในบริเวณที่เป็นกรดด่าง หรือน้ำยาเคมี • ไม่ควรใช้เชือกเปียกใกล้สายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า อาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้ • หลังจากเลิกใช้ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ผึ่งแห้ง และม้วนเป็น ขดวง กว้างๆ เพื่อป้องกันการเสียรูป • เก็บวางแขวนในที่สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีกรด ด่าง( สารเคมี )หรือมีความชื้น หรือถูกแสงแดด ระมัดระวังสัตว์กัดแทะ
ความปลอดภัยในการใช้ลวดสลิงความปลอดภัยในการใช้ลวดสลิง • ลวดสลิง (Wire Rope Slings) ทำจากเส้นลวดเหล็กกล้าขนาดเล็กๆ มาถักหรือมัดเป็นเกลียว ปัจจุบันใช้กันมามีความแข็งแรงมากกว่าเชือก
การใช้งานและบำรุงรักษาลวดสลิงที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อ ความปลอดภัย • ก่อนใช้งานลวดสลิงต้องมีการตรวจสอบเพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของลวดสลิง • ห้ามใช้ลวดสลิงเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าค่าพิกัดน้ำหนักที่กำหนดไว้ของลวดสลิง • ไม่ควรลาก สลิงผ่านพื้นโรงงาน บริเวณสกปรกหรือบริเวณที่มีผิวขรุขระจะทำให้ชำรุดได้ง่าย • หลีกเลี่ยงการใช้ลวดสลิงยกวัสดุในขณะที่วัสดุนั้นขัดตัว หรือทำให้ลวดสลิงนั้นขบกันหรือเสียดสีกัน หรืออาจก่อให้เกิดการกระแทกขณะยก • ลวดสลิงที่แกนกลางทำด้วยเชือก ไม่ควรใช้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์ แกนกลางทำด้วยลวดไม่ควรใช้เกิน 400 องศาฟาเรนไฮต์
การใช้งานและบำรุงรักษาลวดสลิงที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อ ความปลอดภัย • เลือกใช้ลวดสลิงที่อาบสังกะสี หรือทำด้วยเหล็กไม่เป็นสนิม เมื่อบริเวณการทำงานมีการกัดกร่อน • ไม่ควรวางวัสดุที่จะยกทับลวดสลิง เพราะจะทำให้ลวดสลิงชำรุดได้ง่าย • เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดลวดสลิงด้วยน้ำมันใส และใช้จารบีหล่อลื่นเพื่อป้องกันการเกิดสนิม • การจัดเก็บไม่ควรขดม้วนให้มีขนาดเล็กเกินไป เพราะลวดสลิงจะบิดงอทำให้เกลียวลวดหักงอได้ • สถานที่เก็บลวดสลิงควรแห้ง สะอาด และไม่มีสารเคมี
ความปลอดภัยในการใช้โซ่ สลิงแผ่นแบบตาข่ายโลหะ และสลิงแผ่นแบบใยสังเคระห์ • โซ่ (Chain Sling) เป็นอุปกรณ์ในการโยงแขวนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน สมารถปรับให้เข้ากับรูปร่างของวัสดุที่จะทำการเคลื่อนย้ายได้ง่าย ทั้งการใช้งานในอุณหภูมิสูง ทำ จากเหล็กหล่อ และเหล็กผสม • สลิงแบบแผ่นใยสังเคราะห์ (Synthetic Web Slings) เป็นสลิงที่มีลักษณะเป็นแผ่น ทำจากใยสังเคราะห์ชนิดต่างๆ เช่น ไนลอน โพลีเอสเตอร์ และแดครอน นิยมใช้แบบไนลอน และโพลีเอสเตอร์
ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุด้วยเครื่องจักรความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุด้วยเครื่องจักร • ปั้นจั่น หมายถึง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ยกสิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายวัสดุแบบใช้พื้นที่จำกัด เคลื่อนย้ายวัสดุไปใด้ในแนวทางเดินของปั้นจั่นเท่านั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ และปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ • เครื่องชักรอก (Hoists) เป็นอุปกรณ์ยกวัสดุขึ้นลงในแนวดิ่ง ลักษณะทั่วไปประกอบด้วยรอกและดรัม และวัสดุที่ใช้ในการ ยกเช่น โซ่ หรือลวดสลิง แบ่งได้เป็นแบบโซ่ และแบบลวดสลิง