1 / 63

บทที่ 2

บทที่ 2. ประเภท และองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ. หัวข้อ. 1. ตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะ 2 . ประเภทของนโยบายสาธารณะ 3. องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ 5. ข้อควรคำนึงในการกำหนดนโยบายสาธารณะ. ตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะ.

Télécharger la présentation

บทที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 ประเภท และองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ • 1. ตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะ • 2. ประเภทของนโยบายสาธารณะ • 3. องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ • 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ • 5. ข้อควรคำนึงในการกำหนดนโยบายสาธารณะ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  3. ตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  4. ตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะตัวแบบในการศึกษานโยบายสาธารณะ • 1. ตัวแบบทฤษฎีระบบ ( System Theory Model ) • 2. ตัวแบบทฤษฎีผู้นำหรือชนชั้นสูง (Elite Theory Model) • 3. ตัวแบบทฤษฎีกลุ่ม ( Group Theory Model ) • 4. ตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผล (Rational Comprehensive Decision – Making Model) • 5. ตัวแบบทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากของเดิม(Incrementalism Model) • 6. ตัวแบบอื่นๆ ก.ตัวแบบที่อาศัยแนวความคิดที่เรียกว่า มิกซ์สแกนนิ่ง (Mixed Scanning) ข. ตัวแบบเชิงสถาบัน(Institutional Model) อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  5. 1. ตัวแบบทฤษฎีระบบ ( System Theory Model ) - • อีสตัน ( David Easton ) , Sharkansky, Dye และคนอื่นๆ • อธิบายกระบวนการกำหนดนโยบายในลักษณะความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ระหว่าง ปัจจัยทางการเมือง การบริหารภายในระบบการกำหนดนโยบาย กับปัจจัยสภาวะแวดล้อมภายนอกระบบ • ตัวแปรในตัวแบบเชิงระบบได้มีการแยกออกเป็น 4 ประเภทคือ 1) ปัจจัยนำเข้า ( Input Factors ) 2) กระบวนการตัดสินใจ ( Conversion Process ) 3) ผลการตัดสินใจซึ่งก็คือนโยบายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ( Output ) 4) ผลย้อนกลับ ( Feedback ) อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  6. - • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายออกเป็น 4 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยความต้องการ ( Policy Demand ) >>(ปัจจัยนำเข้า) เป็นปัจจัยความต้องการให้มีการกำหนดนโยบายเพื่อผลักดันเข้าสู่ กระบวนการกำหนดนโยบาย(ปัญหา แรงกดดัน และความต้องการต่างๆ) 2) ปัจจัยการตัดสินใจ ( Policy Decision ) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ ในการกำหนดนโยบาย และบทบาทของผู้ กำหนดนโยบายในการแปรความต้องการของสังคมไปเป็นนโยบายเพื่อให้เกิดผลการ เปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม 3) ปัจจัยผลลัพธ์ ( Policy Output ) >>(ผลของการตัดสินใจ=นโยบาย) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการผลิตของกระบวนการกำหนดนโยบายเมื่อ กระบวนการนโยบายสำเร็จเสร็จสิ้นลงตัวผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ นโยบายนั่นเอง รวมถึง ผลที่ได้จากนโยบายนั้นด้วย 4) ปัจจัยผลกระทบ ( Policy Outcomes ) >>(ผลย้อนกลับ) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากนโยบาย ทั้งผลที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  7. ลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการศึกษาวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีระบบลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการศึกษาวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีระบบ • 1) กระบวนการกำหนดนโยบายเป็นเสมือนหนึ่งระบบที่มีปัจจัยนำเข้าและผลผลิต ซึ่งระบบดังกล่าวอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่อาจมีอิทธิพลได้ • 2) ความต้องการและแรงกดดันต่างๆในสังคมจะเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ระบบ • 3) กลไกทางการเมืองจะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจกำหนดนโยบายเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติต่อสังคม • 4) นโยบายเป็นเสมือนหนึ่งผลผลิตของระบบ • 5) ผลผลิตของระบบอาจเป็นแรงผลักดันย้อนกลับทำให้เกิดนโยบายใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายเดิม • 6) สิ่งแวดล้อมอาจมีอิทธิพลในการกำหนดเงื่อนไขแห่งการสร้างนโยบาย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  8. แสดงตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีระบบ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า ระบบการเมือง ผลลัพธ์ ผลกระทบ -ความต้องการ -การสนับสนุน -ทรัพยากร -ข้อคัดค้าน กระบวนการตัดสินใจ นโยบาย เศรษฐกิจการเมืองสังคม ฯลฯ ปฏิกิริยาย้อนกลับ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  9. ตัวแบบกระบวนการนโยบายที่ขยายตัวแบบระบบ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า ระบบการเมือง ผลลัพธ์ ผลกระทบ -ความต้องการ -การสนับสนุน -ทรัพยากร -ข้อคัดค้าน ตัวกลาง -กลุ่ม -พรรค -องค์กร ระบบการตัดสินใจ -การเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม นโยบาย เครือข่ายองค์กร ปฏิกิริยาย้อนกลับ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  10. 2. ตัวแบบทฤษฎีผู้นำหรือชนชั้นสูง (Elite Theory Model) - • นโยบายสาธารณะ คือ แนวทางที่สะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วและความชอบของกลุ่มผู้นำหรือชนชั้นสูง ของกลุ่มผู้นำหรือชนชั้นสูง นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน • ตัวแบบนี้เชื่อว่าประชาชนโดยทั่วไปไม่สนใจใยดีกับความเป็นไปของบ้านเมืองมากนัก ไม่ใส่ใจกับกิจกรรมต่างๆของรัฐบาลอย่างลึกซึ้งจริงจังนัก นอกจากนี้ยังมักจะได้รับข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมของรัฐบาล และความเป็นไปของการเมืองไม่ทั่วถึงและละเอียดถี่ถ้วนเพียงพอ • กลุ่มผู้นำหรือชนชั้นสูงซึ่งมีไม่มากนักมักเป็นผู้ที่มีข้อมูลข่าวสารอย่างลึกซึ้งทั่วถึง และเป็นผู้ที่กำหนดความคิดเห็นของประชาชนในแทบทุกเรื่อง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  11. ลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฏีผู้นำหรือชนชั้นสูงลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฏีผู้นำหรือชนชั้นสูง • 1) สังคมมักถูกแบ่งแยกโดยให้คนส่วนน้อยมีอำนาจ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจ และคนส่วนน้อยเป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมรวมทั้งค่านิยม คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอำนาจในการตัดสินใจกำหนดนโยบายรัฐ • 2) คนส่วนน้อยที่ควบคุมกลไกการบริหารประเทศมักใช้มวลชนที่เป็นคนส่วนใหญ่และคนส่วนน้อยพวกนี้มักเป็นชนชั้นสูงที่ถูกยกย่องให้มีฐานะสูงสุดในสังคม • 3) การที่จะเปลี่ยนแปลงสถานะจากมวลชนไปเป็นชนชั้นสูง จะต้องอาศัยระยะเวลานาน และมวลชนที่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะได้นั้นก็จะต้องยอมรับโครงสร้างสังคมที่ชนชั้นสูงเป็นผู้กำหนดขึ้น • 4) นโยบายสาธารณะโดยส่วนใหญ่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของมวลชน แต่มักเป็นไปตามความต้องการและสอดคล้องกับความต้องการของชนชั้นสูง การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นสูงมักจะเป็นไปอย่างเชื่องช้ามากกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบทันที • 5) ชนชั้นสูงมีอำนาจและอิทธิพลเหนือมวลชน โอกาสที่มวลชนจะมีอำนาจเหนือมีน้อย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  12. กลุ่มผู้นำ การกำหนดนโยบาย ข้าราชการ/พ่อค้า/ ชนชั้นกลาง การนำนโยบายไปปฏิบัติ ประชาชน (มวลชน) แสดงตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฏีผู้นำ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  13. ความเชื่อตามตัวแบบผู้นำหรือชนชั้นสูงนี้ นำไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในหลายประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ • ประเด็นแรก คือ การที่นโยบายสาธารณะเป็นเพียงภาพสะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วของผู้นำกลุ่มหรือชนชั้นสูง การจะเปลี่ยนแปลงใดๆในเนื้อหาและรูปแบบของนโยบายจะต้องเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในความคิดและค่านิยมของกลุ่มผู้นำหรือชนชั้นสูงเป็นสำคัญ ค่านิยมดังกล่าวอาจจะสวนทางกับความต้องการของประชาชนหรืออาจสะท้อนความต้องการจริงของประชาชน • ประเด็นที่สอง คือ การที่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจความเป็นไปของบ้านเมือง เฉื่อยชา และมักถูกครอบงำโดยกลุ่มผู้นำหรือชนชั้นสูงนั้นส่งผลไปสู่ข้อสรุปที่ว่า การเลือกตั้ง การแสดงประชามติต่างๆนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ช่วยผูกพันประชาชนกับผู้นำหรือชนชั้นสูงไว้ • ประเด็นสุดท้าย คือ การที่เชื่อว่ากลุ่มผู้นำหรือชนชั้นสูงมีความเห็นคล้ายคลึงกันในกุล่มเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินกิจกรรมของรัฐนั้น นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความเห็นพ้องต้องกันของกลุ่มผู้นำหรือกลุ่มชนชั้นสูง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  14. 3. ตัวแบบทฤษฎีกลุ่ม ( Group Theory Model ) - • เบนท์เลย์ (Arthur Bentley)และ ทรูแมน ( DavidTrueman ) • กระบวนการกำหนดนโยบายในรูปของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “กลุ่มผลประโยชน์” หรือกลุ่มคนในการบริหารการเมืองในระบบการเมืองนั้นๆ • ตัวแบบนี้มีความเชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่สะท้อนดุลยภาพของการต่อสู้ดิ้นรนแข่งขันระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม ตัวแบบนี้เชื่อว่าหัวใจของการเมืองก็คือการต่อสู้แข่งขันระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม เพื่อที่จะมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายสาธารณะ หน้าที่ของระบบการเมืองที่สำคัญที่สุดคือ การประสานความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  15. ลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีกลุ่มลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีกลุ่ม • 1) ทฤษฎีนี้เชื่อว่ากลุ่มต่างๆของสังคมจะพยายามยื่นข้อเสนอของตนและผลักดันความต้องการของตนเองต่อรัฐบาล • 2) ระบบการเมืองมีหน้าที่ตั้งกฎเกณฑ์การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มและกระจายผลประโยชน์ให้สมดุล • 3) นโยบายในขณะใดขณะหนึ่งคือความสมดุลของการต่อสู้ระหว่างกลุ่ม • 4) กลุ่มที่มีอิทธิพลมากนโยบายจะเอนเอียงเข้าหาผลประโยชน์ของกลุ่มนั้น • 5) สมาชิกของกลุ่มขณะใดขณะหนึ่งจะเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นด้วยและมักจะมีการเคลื่อนย้ายสมาชิกบ่อยๆ • 6) การเคลื่อนย้ายสมาชิกจะก่อให้เกิดความสมดุลในระบบ • 7)พรรคการเมืองคือตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ หากพรรคการเมืองใดได้รับการสนับสนุนมาก จะมีการสนองผลประโยชนให้กับกลุ่มที่สนับสนุน อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  16. อิทธิพลของ ก. อิทธิพลของ ข. จุดดุลยภาพ (นโยบายสาธารณะ) แสดงตัวแบบการวิเคราะห์ตัวแบบนโยบายสาธารณะตามทฤษฎีกลุ่ม อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  17. แสดงการเปลี่ยนแปลงของของจุดดุลยภาพในตัวแบบวิเคราะห์ตัวแบบนโยบายสาธารณะตามทฤษฎีกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงของอิทธิพลสัมพัทธ์ อิทธิพลที่เพิ่มขึ้น อิทธิพลของ ก. อิทธิพลของ ข. นโยบายใหม่ นโยบาย จุดดุลยภาพ ที่เปลี่ยนไป จุดดุลยภาพ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  18. 4. ตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผล (Rational Comprehensive Decision – Making Model) - • ถือว่านโยบายสาธารณะที่ใช้หลักเหตุผลจะเป็นนโยบายที่ทำให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ • ก่อนที่จะตัดสินใจเพื่อกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ ต้องมีการศึกษาแนวทางเลือกหลายแนวทางโดยวิเคราะห์ผลดี ผลเสียของแต่ละแนวทาง ศึกษาเปรียบเทียบในต้นทุน ( Input ) กับประโยชน์ที่ได้รับ ( Output ) หรือการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลกำไร ( Cost-Benefit Analysis ) ในการนี้ผู้กำหนดนโยบายจะต้องกำหนดเป้าหมายโดยจัดลำดับความสำคัญตามความต้องการและคุณค่าต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆดังกล่าวแล้วจึงตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่ได้ผลมากที่สุดแต่ลงทุนน้อยที่สุด อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  19. ขั้นตอนการกำหนดนโยบายตามทฤษฎีตัดสินใจตามหลักเหตุผลขั้นตอนการกำหนดนโยบายตามทฤษฎีตัดสินใจตามหลักเหตุผล - • 1) ต้องตั้งเป้าหมายให้ได้ว่า นโยบายต้องการอะไร มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างไร • 2) เป็นการรวบรวมค่านิยมและทรัพยากรของแต่ละเป้าหมาย • 3) เป็นการกำหนดนโยบายทางเลือกว่า ในเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของสัญญานั้น มีทางเลือกที่เป็นไปได้ ที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุวัตถุประสงค์มีกี่ทาง อะไรบ้าง • 4) คาดคะเน ผลประโยชน์ที่จะได้รับ หรือที่คาดว่าจะได้รับกับต้นทุนของแต่ละทางเลือกที่กำหนดในขั้นตอนที่สาม • 5) คำนวณค่าคาดหวังสุทธิของแต่ละทางเลือก • 6) การตัดสินใจ ใช้เกณฑ์การเลือกทางเลือกที่มีค่าคาดหวังทางเลือกสูงที่สุด เป็นการเปรียบเทียบผลประโยชน์หรือค่าคาดหวังสุทธิที่คำนวณได้ของแต่ละทางเลือกในขั้นตอนที่ห้า อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  20. ลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผลลักษณะสำคัญของความเชื่อตามตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผล • 1)ทฤษฏีนี้เชื่อว่าผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ต้องการกำหนดนโยบายที่ดีที่สุดหลักเหตุผลในการกำหนดนโยบายมากที่สุด • 2)หน่วยงานที่ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบายเพื่อเสนอรัฐบาล จะใช้หลักการประเมินทางเลือกที่ให้ประโยชน์มากที่สุด โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ และค่านิยม ความต้อง การของสังคมในขณะนั้น • 3)การคาดคะเนผลประโยชน์ตอบแทน และต้นทุนค่าจ่ายของทางเลือกในการวิเคราะห์นโยบาย ใช้ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคมประกอบ จึงทำให้การคาดหมายใกล้เคียงกับความเป็นจริง • 4)การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อกำหนดนโยบายของรัฐบาล ยากที่จะมีผู้โต้แย้ง เพราะสาธารณชนย่อมมีเหตุผล สามารถเข้าใจความสำคัญและความจำเป็น รวมทั้งเหตุผลในการตัดสินใจของรัฐบาลได้ เพราะใช้ข้อมูลที่เป็นจริงในการตัดสินใจ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  21. ตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีการตัดสินใจตามหลักเหตุและผล ปัจจัยนำเข้า ตั้งเป้าหมายโดยกำหนดน้ำหนักของแต่ละเป้าหมาย 1 ทรัพยากรที่ต้องการ รวบรวมค่านิยมของทรัพยากรของแต่ละเป้าหมายโดยกำหนดน้ำหนักตามสิ่งที่เป็นอยู่จริง 2 4 ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น 5 3 คาดคะเนประโยชน์ที่จะได้รับกับต้นทุนของแต่ละทางเลือก คำนวณค่าคาดหวังสุทธิของแต่ละทางเลือก กำหนดนโยบายทางเลือก 6 ปัจจัยส่งออก เปรียบเทียบผลประโยชน์แต่ละทางเลือกแล้วเลือกทางเลือกที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด นโยบาย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  22. 5. ตัวแบบทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากของเดิม(Incrementalism Model) - • ชาลส์ อีลินด์บลอม (Charles E. Lindblom) • การกำหนดนโยบายจะเป็นเพียงการแก้ไขดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่เดิมในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป นั่นคือ นักบริหารจะถือว่านโยบายที่มีอยู่ถูกต้องแล้วไม่ต้องล้มเลิกหรือกำหนดขึ้นใหม่ทั้งหมด เพียงแต่พิจารณานโยบายในส่วนที่เพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มีอยู่ • การพิจารณาในส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่านั้น ซึ่งง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงใหม่ และเป็นแบบที่ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนั้นการเสนอนโยบาย ที่แต่ปรับปรุงแก้ไขจากของเดิม ซึ่งเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วนั้นย่อมทำให้เกิดข้อโต้แย้งน้อยกว่าการเริ่มต้นสิ่งใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นการทำให้ระบบการเมืองลดความขัดแย้ง และช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองอีกด้วย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  23. ลักษณะสำคัญของความเชื่อของตัวแบบ การวิเคราะห์นโยบายตามทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากของเดิม • 1) การกำหนดนโยบายมักจะกำหนดนโยบายต่อเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในอดีต • 2) ผู้กำหนดนโยบายมักจะไม่เลือกที่จะกำหนดนโยบายใหม่ทั้งหมดเพราะสิ้นเปลืองเวลาในการที่จะมาวิเคราะห์ผลประโยชน์ ค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนอันมหาศาล • 3) ตัวแบบนี้นิยมอนุรักษ์นโยบายเก่า จะมีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงบ้างก็เป็นส่วนน้อย • 4) ผู้กำหนดนโยบายมักเลือกที่จะเดินตามนโยบายเก่าเพราะปลอดภัยกว่าการเลือกนโยบายใหม่ที่ไม่สามารถคาดการณ์และยังอาจจะเกิดความขัดแย้งได้ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  24. ส่วนที่เปลี่ยนแปลง สาระสำคัญของนโยบายในอดีต อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  25. 6. ตัวแบบอื่นๆ ก.ตัวแบบที่อาศัยแนวความคิดที่เรียกว่า มิกซ์สแกนนิ่ง (Mixed Scanning) ข. ตัวแบบเชิงสถาบัน(Institutional Model) อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  26. ตัวแบบอื่นๆ • ตัวแบบ มิกซ์สแกนนิ่ง >> เป็นการรวมตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผล และ ตัวแบบการตัดสินใจตามทฤษฎีแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากของเดิม โดยการพิจารณาเรื่องต่างๆอย่างกว้างๆ และเมื่อสนใจเรื่องใดก็จะพิจารณาเป็นจุดๆไป • ตัวแบบเชิงสถาบัน >> การกำหนดนโยบาย การพัฒนานโยบาย รวมทั้งการนำนโยบายไปปฏิบัติ ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของสถาบันทางการเมืองการบริหารของประเทศนั้นๆ รวมทั้งขึ้นอยู่กับค่านิยม กฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติงาน ประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองการบริหารด้วย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  27. ประเภทของนโยบายสาธารณะประเภทของนโยบายสาธารณะ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  28. 1. ประเภทของนโยบาย (ตามงานเขียนของสุรนาท ขมะณะรงค์) - • มีการจำแนก 3 วิธี 1. การจำแนกนโยบายตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย-นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรใหม่ และนโยบายเกี่ยวกับการจัดระบบงานและโครงสร้างการบริหารงาน 2. การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย-นโยบายที่มีแหล่งที่มาจากภายในวงการที่เกี่ยวข้อง และนโยบายที่มีแหล่งที่มาจากภายนอกวงการที่เกี่ยวข้อง 3. จำแนกนโยบายตามลักษณะกิจกรรมของนโยบาย -นโยบายทางเศรษฐกิจ นโยบายทางสังคม และนโยบายทางการเมือง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  29. 1.1 การจำแนกนโยบายตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย - • มีการจำแนก 4 ประเภท 1.) นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ -กำหนดโดยรัฐบาลในรูปกฎหมาย ระเบียบ เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ 2.) นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร -การกำหนดการจัดสรรและการกระจายทรัพยากรของประเทศในระหว่างบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ทั้ง งบประมาณ คน วัสดุ ความรู้ เทคโนโลยี ข่าวสาร ข้อมูล เช่น นโยบายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายการจัดสรรบริการสาธารณะ นโยบายการให้สิทธิพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุน อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  30. 1.1 การจำแนกนโยบายตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย(ต่อ) - 3.) นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรใหม่ -การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ให้เหมาะสม เช่น นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการยกเลิกรัฐวิสาหกิจ นโยบายการปฏิรูปที่ดิน นโยบายการปฏิรูประบบบริหารราชการ 4.) นโยบายเกี่ยวกับการจัดระบบงานและโครงสร้างการบริหารงาน -เป็นนโยบายหลักที่แสดงถึงวัตถุประสงค์หลักและระบบการปฏิบัติงานในระดับมหภาค ซึ่งถือเป็น นโยบายต้นแบบ(Metapolicy) ที่ชี้นำการกำหนดนโยบายเฉพาะด้านในระบบต่างๆ เช่น การปรับปรุงระบบการบริหารงานและการปฏิบัติงานประจำ (เช่น การปฏิรูประบบราชการโดยการยกเลิก ยุบรวม และจัดตั้งกระทรวงในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร) กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  31. 1.2การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย1.2การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย - • มีการจำแนก 2 กลุ่ม 1.) นโยบายที่มีแหล่งที่มาจากภายในวงการที่เกี่ยวข้อง-นโยบายริเริ่ม -นโยบายร้องเรียน 2.) นโยบายที่มีแหล่งที่มาจากภายนอกวงการที่เกี่ยวข้อง -นโยบายเรียกร้อง -นโยบายโดยปริยายหรือโดยนัย (หมายเหตุวงการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย คือ ระบบราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หรือกอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย) อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  32. 1.2การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย(ต่อ)1.2การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย(ต่อ) - 1.) นโยบายที่มีแหล่งที่มาจากภายในวงการที่เกี่ยวข้องเป็นนโยบายที่มาจากภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือกอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย -นโยบายริเริ่ม นโยบายที่ริเริ่มโดยผู้กำหนดนโยบายหรือเจ้ากระทรวง(รัฐมนตรี) ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เช่น นโยบายโคล้านตัว นโยบายการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อโดยไม่มีแป๊ะเจี๊ย -นโยบายร้องเรียน นโยบายที่เสนอโดยผู้บริหารระดับกลางหรือระดับล่าง มักเป็นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงาน เช่น นโยบายการปรับปรุงระบบการคลังของสำนักงานคลังจังหวัด นโยบายการประเมินเพื่อพัฒนาการทำงานของบุคลากรในองค์กร อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  33. 1.2การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย(ต่อ)1.2การจำแนกนโยบายตามแหล่งที่มาของนโยบาย(ต่อ) - 2.) นโยบายที่มีแหล่งที่มาจากภายนอกวงการที่เกี่ยวข้อง เป็นนโยบายที่มาจากภายนอกกระทรวง ทบวง กรม หรือกอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย -นโยบายเรียกร้อง เกิดจากแรงกดดันจากภายนอกและทำให้ต้องกำหนดเป็นนโยบาย เช่น ข้อเรียกร้องการกำหนดระยะเวลาเป็นสมาชิกพรรคก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งของกลุ่มพรรคการเมือง ข้อเรียกร้องเพิ่มค่าจ้างของกลุ่มแรงงาน ข้อเรียกร้องช่วยพยุงค่าเงินบาทของกลุ่มผู้ส่งออก -นโยบายโดยปริยายหรือโดยนัย เป็นนโยบายที่ใช้ข้อมูลเก่าๆตามความต้องการของผู้บริหารระดับสูงโดยไม่ต้องการเหตุผลหรือข้อพิสูจน์เสียก่อน เกิดจากความเชื่อหรือค่านิยมของคนในสังคมส่วนใหญ่ที่เคยใช้อย่างมีผลสามารถที่จะใช้ต่อไปได้ เช่น นโยบายส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  34. 1.3จำแนกนโยบายตามลักษณะกิจกรรมของนโยบาย1.3จำแนกนโยบายตามลักษณะกิจกรรมของนโยบาย - • มีการจำแนก 3 ประเภท 1. ทางเศรษฐกิจ 2. นโยบายทางสังคม 3. นโยบายทางการเมือง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  35. 1.3 จำแนกนโยบายตามลักษณะกิจกรรมของนโยบาย(ต่อ) - 1. นโยบายทางเศรษฐกิจ -นโยบายเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการเงินแบบเข้มงวด นโยบายการคลังการคลังแบบผ่อนคลาย นโยบายส่งเสริมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า-เพื่อการส่งออก นโยบายการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ 2. นโยบายทางสังคม -นโยบายเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม โดยการสนองตอบความต้องการของประชาชน พัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ รักษาความสงบเรียบร้อย ให้มีความเป็นธรรมในสังคม พัฒนาการศึกษา การสาธารณสุข และคุณภาพชีวิตของประชาชน อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  36. 1.3 จำแนกนโยบายตามลักษณะกิจกรรมของนโยบาย(ต่อ) - เช่น นโยบายรักษาพยาบาลฟรีแก่ประชาชน นโยบายจัดการศึกษาฟรีแก่ประชาชน นโยบายการจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร นโยบายการเพิ่มสวนสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ ฯลฯ 3. นโยบายทางการเมือง -นโยบายเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการพัฒนาทางการเมือง การพัฒนาระบบการปกครองประเทศ การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน การพัฒนาพรรคการเมือง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น นโยบายการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายการรวมกลุ่มประเทศอาเซียน อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  37. 1. ประเภทของนโยบาย (ตามงานเขียนของศ.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์) - • จำแนกเป็น 1. นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้านและนโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย 2. นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ และนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ 3. นโยบายเน้นการควบคุมกำกับโดยรัฐ และนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง 4. นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม 5. นโยบายเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายเน้นเชิงสัญลักษณ์ 6. นโยบายเน้นลักษณะเสรีนิยม และนโยบายมุ่งเน้นอนุรักษ์นิยม 7. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  38. 1. ประเภทของนโยบาย (ต่อ) - 1. นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้านและนโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย -นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน เช่น นโยบายของรัฐบาลที่แบ่งเป็น นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม นโยบายด้านการเมือง นโยบายต่างประเทศ นโยบายด้านความมั่นคง -นโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย เป็นนโยบายที่แบ่งตามผู้ออกนโยบาย ได้แก่ นโยบายที่ออกโดยสถาบันนิติบัญญัติ (กฎหมายต่างๆ) นโยบายที่ออกโดยสถาบันบริหารหรือ ครม. (กฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาล มติ ครม. พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด นโยบายพรรคการเมือง) นโยบายที่ออกโดยสถาบันตุลาการ(คำพิพากษาต่างๆ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  39. 1. ประเภทของนโยบาย (ต่อ) - 2. นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ และนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ - นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ ว่าจะทำอะไร และก่อให้เกิดผลกระทบต่อใครอย่างไร เช่น นโยบายการเวนคืนที่ดินเพื่อขยายเส้นทาง - นโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ว่าใครจะทำ และอย่างไร เช่น นโยบายการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชน 3. นโยบายเน้นการควบคุมกำกับโดยรัฐ และนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง - นโยบายเน้นการควบคุมกำกับโดยรัฐ เช่น นโยบายควบคุมอาวุธปืน - นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเองเช่น พ.ร.บ.ทนายความ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  40. 1. ประเภทของนโยบาย (ต่อ) - 4. นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม - นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ เช่น นโยบายการส่งเสริม OTOP, SME - นโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม เช่น นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี , ประกันสุขภาพถ้วนหน้า(30 บาทรักษาทุกโรค) 5. นโยบายเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายเน้นเชิงสัญลักษณ์ - นโยบายเน้นเชิงวัตถุ เช่น นโยบายการจัดหาปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร - นโยบายเน้นเชิงสัญลักษณ์ เช่น นโยบายการส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรม อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  41. 1. ประเภทของนโยบาย (ต่อ) - 6. นโยบายเน้นลักษณะเสรีนิยม และนโยบายมุ่งเน้นอนุรักษ์นิยม - นโยบายเน้นลักษณะเสรีนิยม เช่น นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบายการกระจายอำนาจการปกครอง นโยบายการค้าเสรี - นโยบายมุ่งเน้นอนุรักษ์นิยม เช่น นโยบายความมั่นคงของรัฐ นโยบายการเกณฑ์ทหาร นโยบายการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ 7. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน - นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ เช่น นโยบายการรักษาความความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และการรักษาความมั่นคงของประเทศ - นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน เช่น นโยบายการส่งเสริมการประกอบกิจการของภาคเอกชน นโยบายการส่งเสริมตลาดเสรี อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  42. องค์ประกอบของนโยบาย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  43. องค์ประกอบของนโยบาย มี 4 ประการ • 1) เหตุผลของการกำหนดนโยบาย (Rationale) • 2) เป้าหมายของนโยบายหรือผลที่คาดว่าจะได้รับจากนโยบาย (Target or ended result) • 3) วิธีการหรือกลวิธีที่จะทำให้นโยบายบรรลุเป้าหมาย (Means or strategies) • 4) ทรัพยากรหรือปัจจัยที่สนับสนุนการดำเนินนโยบาย (Resources) อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  44. 1.เหตุผลของการกำหนดนโยบาย (Rationale) • ต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนว่า เหตุใดจึงมีการกำหนดนโยบายในลักษณะนั้นลักษณะนี้ขึ้น หากนโยบายที่กำหนดขึ้นมีเหตุผลเพียงพอ สาธารณชนก็จะยอมรับโดยง่าย • ยกตัวอย่างนโยบาย พร้อมบอกเหตุผลของนโยบาย • 2. เป้าหมายของนโยบายหรือผลที่คาดว่าจะได้รับจากนโยบาย (Target or ended result) • การกำหนดเป้าหมายของนโยบายถือเป็นจุดหมายปลายทางที่รัฐบาลมุ่งมั่นจะไปให้ถึง หรือเป็นวัตถุประสงค์หลัก เกี่ยวข้องอาจแตกเป็นวัตถุประสงค์ย่อยในระดับรองๆลงไปก็ได้ • ยกตัวอย่างนโยบายที่มีวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รอง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  45. 3) วิธีการหรือกลวิธีที่จะทำให้นโยบายบรรลุเป้าหมาย (Means or strategies) • ประกอบด้วยกลวิธีหลายกลวิธีที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเลือกเอากลวิธีที่ดีที่เหมาะสมไปใช้ • นโยบายที่มีวิธีการปฏิบัติเป็นองค์ประกอบจะเป็นนโยบายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และจะมีโอกาสอย่างมากที่นโยบายนั้นจะประสบความสำเร็จ • ผู้กำหนดนโยบายจึงควรกำหนดวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย (Means) หรือกลวิธีที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายในแนวทางหลัก (Strategies) ไว้ด้วย • ดูยุทธศาสตร์รัฐบาลบางยุทธศาสตร์ แล้วพิจารณาว่าสามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  46. 4) ทรัพยากรหรือปัจจัยที่สนับสนุนการดำเนินนโยบาย (Resources) • หมายถึง คน เงิน วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นต้น • หากไม่มีความเป็นไปได้ในการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุน นโยบายนั้นจะเป็นนโยบายลอย ไม่สามารถแปรเปลี่ยนไปเป็นแผนปฏิบัติการได้ • ทรัพยากรที่จำเป็นต้องกำหนดเป็นองค์ประกอบของนโยบายในที่นี้หมายถึงทรัพยากรที่มีอยู่หรือที่สามารถหามาได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ในการดำเนินการ • ทรัพยากรที่กำหนดในขั้นนี้ไม่จำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดตายตัวทุกเรื่อง แต่หมายถึง วงเงินงบประมาณที่จะต้องใช้ แหล่งทรัพยากรในภาพรวม • พิจารณาตามยุทธศาสตร์ข้างต้นว่ามีการจัดสรรงบประมาณสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  47. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  48. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย - • มี 3ประการ 1. ผู้มีอำนาจทางการเมือง (อธิบายเพิ่มด้วย เพราะไม่มีคำอธิบาย) 2. ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Factors) -1) ปัจจัยที่มีผลประโยชน์ต่อชาติ -2)ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบาย วิธีการ หรือ กระบวนการในการกำหนด และดำเนินนโยบาย -3)ปัจจัยข้อมูลข่าวสาร 3. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) -1)ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในระบบ เช่น วัฒนธรรมหรือประเพณีทางการเมือง ความต้องการของมหาชน ผู้นำ พรรค กลุ่มผลประโยชน์ -2)ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกระบบ เช่น ภูมิศาสตร์และภูมิหลังของพื้นที่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  49. - ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Factors) • หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงตลอดเวลา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลหลักในการกำหนดนโยบาย • ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ • 1) ปัจจัยที่มีผลประโยชน์ต่อชาติต้องกำหนดให้ประเทศชาติได้ประโยชน์มากที่สุด หรือสูญเสียประโยชน์ที่จะได้รับให้น้อยที่สุด มีความผูกพันของผลประโยชน์หรือความต้องการของประชาชนและของชาติ เช่น การกินดีอยู่ดี ความสุขของประชาชน นโยบายของรัฐที่ดีที่สุดคือนโยบายที่มีลักษณะเป็นการตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวม แบ่งเป็น ผลประโยชน์ของชาติที่มีความสำคัญยิ่งยวด และผลประโยชน์ของชาติที่มีความสำคัญรองลงมา ลักษณะสำคัญของประโยชน์ต่อชาติ คือ เป็นเรื่องของนามธรรม คงทนถาวรไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ หรือบ่อยครั้ง เป็นเรื่องของความปรารถนาของชาติในอนาคต สามารถยืนยัดอย่างแข็งแกร่ง ตราบที่ประเทศนั้นเป็นเอกราช ต้องมีการประกาศให้เห็นเด่นชัด อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  50. - • 2)ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบาย วิธีการหรือ กระบวนการในการกำหนดและดำเนินนโยบายตัวผู้กำหนดนโยบาย เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเข้าใจในปัญหาอย่างดี เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เข้าใจในปัญหาอย่างแท้จริง วิธีการหรือกระบวนการในการกำหนดและดำเนินนโยบาย จะต้องสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของผู้กำหนดนโยบายด้วย มีระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมาย เอื้ออำนวย ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย • 3) ปัจจัยข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลที่ดีจะช่วยให้นโยบายมีความชัดเจนและกำหนดขึ้นในทิศทางที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของประชาชน และความต้องการของประเทศ เช่น นโยบายเกี่ยวกับอาชีพ ต้องการข้อมูลข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ รายได้ของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ วัตถุดิบในการประกอบอาชีพของประชาชน ทักษะในการประกอบอาชีพ แหล่งซื้อขายและการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ผลิตขึ้น ข้อมูลอาจทำให้นโยบายเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกไป หรือทำให้นโยบายกำหนดล่าช้าไป อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

More Related