1 / 20

การจำลองมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง DC Motor Simulation

การจำลองมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง DC Motor Simulation. อ . มนตรี สุขเลื่อง. การจำลองมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง DC Motor Simulation. อุปกรณ์ แม่เหล็กถาวร สายไฟ ลวดเบอร์ PEW No. 1 รางถ่าย มีดคัทเตอร์ ถ่านไฟฉายเบอร์ 2 A แผ่น โฟม หนา 1 นิ้ว ขนาด 15 cm x 15 cm. สาระการเรียนรู้

Télécharger la présentation

การจำลองมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง DC Motor Simulation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจำลองมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงDC Motor Simulation อ.มนตรี สุขเลื่อง

  2. การจำลองมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงDC Motor Simulation • อุปกรณ์ • แม่เหล็กถาวร • สายไฟ • ลวดเบอร์ PEW No. 1 • รางถ่าย • มีดคัทเตอร์ • ถ่านไฟฉายเบอร์ 2A • แผ่นโฟม หนา 1 นิ้ว ขนาด 15 cmx 15 cm

  3. สาระการเรียนรู้ • 1. เส้นแรงแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก 2. แม่เหล็กไฟฟ้า 3. มอเตอร์ไฟฟ้าเบื้องต้น 4. การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า 5. ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้าการะแสตรง

  4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • 1.บอกคุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กได้2. แสดงวิธีหาเส้นแรงแม่เหล็กรอบเส้นลวดตัวนำโดยใช้กฏมือซ้ายได้3. บอกสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กได้4. อธิบายหลักการทำงานเบื้องต้นของมอเตอร์ไฟฟ้าได้5. อธิบายหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้6. บอกส่วนประกอบที่สำคัญของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้

  5. เส้นแรงแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กเส้นแรงแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก • แม่เหล็ก(Magnet) ได้ชื่อว่าเป็นหินนำทาง (Leading Stone) มีความสามารถดูดเหล็กได้เมื่อนำมาห้อยแขวนด้วยเชือกแท่งแม่เหล็กสามารถหมุน ได้อย่างอิสระแต่จะชี้ไปในทิศทางเดินตลอดเวลา โดยชี้ไปในแนวสนามแม่เหล็กโลกตามขั้วสนามแม่เหล็กที่มี 2 ขั้วคือขั้วเหนือ (North Pole) หรือขั้ว N และขั้วใต้(South Pole)หรือขั้ว S เกิดขึ้นที่ปลายแต่ละด้านของแท่งแม่เหล็กลักษณะแท่งแม่เหล็กชี้ไปในทิศสนามแม่เหล็กโลกดังในรูป

  6. ขั้วแม่เหล็กแต่ละขั้วมีสนามแม่เหล็ก (Magnetic Field) เกิดขึ้นความเข้มของสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นมาที่ปลายขั้วทั้งสองสนามแม่เหล็กแผ่ออกรอบขั้วแม่เหล็ก วิ่งเคลื่อนที่ประสานกันระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสองการเคลื่อนที่ของสนามแม่เหล็กจะเคลื่อนที่จากขั้วเหนือ (N) ไปหาขั้วใต้ (S) เสมอ การเคลื่อนที่ดังกล่าวทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็ก (Magnetic Line of Force) ขึ้นมารอบแท่งแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก แสดงดังรูป

  7. แม่เหล็กไฟฟ้า • นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อ ฮันซ์คริสเตียนเออร์สเตด  (Hans Christian Oersted) ได้ค้นพบความสัมพันธ์อย่างหนึ่ง โดยบังเอิญขณะที่เขาทำการทดลองปล่อยกระแสผ่านเข้าไปใน เส้นลวด ตัวนำเส้นหนึ่ง และมีเข็มทิศวางอยู่ใกล้ๆกับเส้นลวดที่มีกระแสไหลผ่าน เข็มทิศเกิดการบ่ายเบนไปจากแนวเดิมเออร์สเตดทดลองกลับทิศทางการ ไหลของกระแสเข็มทิศก็เกิดการบ่ายเบนไปอีกเช่นกันโดยมีทิศทางตรงกันข้ามกับครั้งแรก

  8. เออร์สเตดสรุปผลการทดลองครั้งนี้ว่า “เมื่อมีกระแสไหลผ่านเส้นลวดตัวนำจะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นมารอบๆ เส้นลวดตัวนำนั้น” ลักษณะเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบ เส้น ลวดตัวนำเกิดขึ้นเป็นลักษณะวงกลมล้อมรอบเส้นลวดตัวนำลักษณะการเกิดเส้นแรงแม่เหล็กรอบ เส้นลวดลวดตัวนำ แสดงดังรูป

  9. มอเตอร์คือเครื่องกลไฟฟ้า (Electormechanical Energy) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า (Electric Energy) ให้เป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) ในรูปของการหมุนเคลื่อนที่ มีประโยชน์ในการนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ถูกนำไปร่วมใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าถึงประมาณ 80-90% ลักษณมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) แสดงดังรูป

  10. การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า • มอเตอร์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้งานแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor) เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC Source) เป็นมอเตอร์แบบเบื้องต้นที่ถูกผลิตมาใช้งานและมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Motor) เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Source) มอเตอร์ชนิดนี้ถูกพัฒนามาจากมอเตอร์กระแสตรง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

  11. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงประกอบด้วย แม่เหล็กถาวร 2 ขั้ววางอยู่ระหว่างขดลวดตัวนำ ขดลวดตำนำจะได้รับแรงดันไฟตรงป้อนให้ในการทำงาน ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก 2 ชุด มีขั้วแม่เหล็กเหมือนกันวางใกล้กัน เกิดแรงผลักดันทำให้ขดลวดตัวนำหมุนเคลื่อนที่ได้ การทำงานเบื้องต้นของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง แสดงดังรูป

  12. จากสมการ F= ILB • F(N) = แรงผลักของขดลวด • I (A) = กระแสที่ไหลในขดลวด • B (T) = ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก • L (m) = ความยาวของขดลวด

  13. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (D.C. Motor) • เมื่อมีกระแสไหลผ่านเข้าไปในมอเตอร์กระแสจะแบ่งออกไป 2 ทาง คือ ส่วนที่หนึ่งจะผ่านเข้าไปที่ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นและอีกส่วนหนึ่งจะผ่านแปลงถ่านคาร์บอนและผ่านคอมมิวเตเตอร์ เข้าไปในขดลวดอาร์เมเจอร์ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสนามจะเกิดขึ้นขณะเดียวกัน ตามคุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็กแล้วจะไม่มีการตัดกัน จะมีแต่การหักล้างและการเสริมกัน ซึ่งทำให้เกิดแรงบิดในอาร์เมเจอร์ ทำให้อาร์เมเจอร์หมุนซึ่งในการหมุนนั้นจะเป็นไปตามกฎมือซ้ายของเฟลมมิ่ง (Fleming’sleft hand rule)

  14. ขั้นตอนการทดลอง • 1.นำขดลวดเบอร์ PEW No.1 ม้วนเป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 cm ใช้คัทเตอร์ขูดสารเคลือบตอนปลายของขดลวด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ง่าย

  15. 2. นำคลิปกระดาษดัดแปลงเป็นตัววางขดลวด ดังรูป

  16. 3. นำคลิปกระดาษวางบนโฟม ที่เตรียมเอาไว้ ความขนาดพอดีกับ วงกลมของขดลวด ให้รอยขูดสัมผัสกับคลิป

  17. 4.วางแม่เหล็กถาวรทางด้านลางของขดลวดระหว่างคลิปกระดาษ

  18. 5. ประกอบถ่านไฟฉายเข้ากับรางถ่าน และต่อสายไฟฟ้ากับคลิปกระดาษ A และ B

More Related