1 / 10

หน่วยที่ 2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ อินเตอร์เน็ต

หน่วยที่ 2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ อินเตอร์เน็ต. คุณธรรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาและจำแนกได้ว่าการกระทำอย่างใดถูกและอย่างใดผิด ตามเจตนาและแรงจูงใจในการใช้อินเตอร์เน็ต ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ หมายถึง การประกบอาชีพด้วยความสุจริต รักในอาชีพที่ทำอยู่ ไม่นำสิ่งปลอมปนมาใช้ในการประกอบอาชีพ

shiro
Télécharger la présentation

หน่วยที่ 2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ อินเตอร์เน็ต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 2 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

  2. คุณธรรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาและจำแนกได้ว่าการกระทำอย่างใดถูกและอย่างใดผิด ตามเจตนาและแรงจูงใจในการใช้อินเตอร์เน็ต • ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ หมายถึง การประกบอาชีพด้วยความสุจริต รักในอาชีพที่ทำอยู่ ไม่นำสิ่งปลอมปนมาใช้ในการประกอบอาชีพ • ซื่อสัตย์ต่อตนเอง หมายถึง การรู้จักยับยั้งชั่งใจไม่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง รู้จักควบคุมอารมณ์และจิตใจตนเอง

  3. จริยธรรม จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือ ควบคุมการใช่ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ • ความถูกต้องของสารสนเทศ • สิทธิครอบครองสารสนเทศ • สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต

  4. 1. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ • สิทธิในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าไปอ่าน e-mail ของตน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารในบริการต่างๆของเว็บไซต์ • สิทธิในข้อมูลส่วนตัว • สิทธิในการถูกเฝ้าดูหรือติดตามพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน

  5. 2. ความถูกต้องของสารสนเทศ • สารสนเทศต้องมีความถูกต้อง • น่าเชื่อถือ • มีการตรวจสอบ • ให้สิทธิผู้เป็นเจ้าของเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้

  6. 3. สิทธิครอบครองสารสนเทศ • ทรัพย์สิน มีทั้ง จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ • จับต้องได้ เช่น เครื่องคอมและอุปกรณ์ • จับต้องไม่ได้ เช่น ซอฟท์แวร์ • ต้องยอมรับข้อตกลงในลิขสิทธิ์ตามเงื่อนไข

  7. 4. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต • การบริหารระบบต้องมีการกำหนดระดับความสำคัญของบุคคลที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ในระดับใด • อาจกำหนดเป็นรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูล • การลักลอบเข้าไปในสิทธิของผู้อื่น เป็นการละเมิดข้อมูลและจริยธรรมอย่างมาก

  8. ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ตข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต • ไม่ควรบอกข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลที่ติดต่อมาในอินเตอร์เน็ต • ใช้ภาษาสุภาพในการติดต่อสื่อสารกัน • ไม่ควรนัดพบกับผู้ที่รู้จักกันอินเตอร์เน็ตเป็นการส่วนตัว • ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตในการโจรกรรมข้อมูลและข่าวสารของผู้อื่น • การ Log in ควรใช้ชื่อบัญชีของตนเองเท่านั้น • ไม่คัดลอกโปรแกรมหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์มาเป็นของตนเอง • การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ควรสืบค้นจากหลายๆที่ แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นชิ้นงานของตนเอง • ไม่ส่งไวรัสไปทำความเสียหายให้กับเครื่องอื่นๆ • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐาน • เคารพกฏระเบียบในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างเคร่งครัด

  9. 5. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฉบับย่อ เข้าใจง่าย     พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งได้ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้ 1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอ คุก 6 เดือน 2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คน อื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี 3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของ เขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี 4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเรา ทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี 5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะ งั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี

  10. 5. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojanหรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ย ง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี 7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท 8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น 9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึง เหมือนกัน 10.โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี • ที่มา http://it.nkc.kku.ac.th/ict_law.aspx

More Related