1 / 20

บทที่ 6 ดิ นแดน (Territory)

บทที่ 6 ดิ นแดน (Territory). กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประเภทของดินแดน. Res Nullius หรือ Terra Nullius ดินแดนหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีเจ้าของ และรัฐสามารถเข้าครอบครองเป็นเจ้าของได้ Res Communis หรือ Common Property

Ava
Télécharger la présentation

บทที่ 6 ดิ นแดน (Territory)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6ดินแดน(Territory) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. ประเภทของดินแดน • Res NulliusหรือTerra Nullius ดินแดนหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีเจ้าของ และรัฐสามารถเข้าครอบครองเป็นเจ้าของได้ • Res Communisหรือ Common Property ดินแดนหรือพื้นที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวม รัฐไม่อาจเข้าถือครองและอ้างความเป็นเจ้าของได้ • Common Heritage of Mankind มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ มีกลไกระหว่างประเทศควบคุมการแสวงประโยชน์

  3. Western Sahara Caseค.ศ. 1975 ประเด็นที่ขอความเห็นจาก ICJ • ดินแดน Western Sahara เป็น terra nulliusใช่หรือไม่ ณ เวลาที่ตกเป็นอาณานิคมของสเปน เมื่อ ค.ศ. 1884 • อะไรคือความสัมพันธ์ตามกฎหมาย (legal ties) ระหว่างดินแดนนี้กับอาณาจักรโมร็อกโกและ มอริเตเนีย

  4. ความเห็นของศาลWestern Sahara Case (1) Western Sahara ไม่ใช่ terra nulliusณ เวลาที่ ตกเป็นอาณานิคมของสเปน เพราะเป็นดินแดนที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่ มีหัวหน้าเผ่า และมีการจัดองค์กรทางการเมืองและทางสังคมในระดับหนึ่ง (2) แม้ชนบางเผ่าจะมีความภักดีต่อสุลต่านแห่งโมร็อกโกเป็นการส่วนตัว แต่ก็ไม่มีการใช้อำนาจมากถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าโมร็อกโก หรือมอริเตเนียมีอำนาจอธิปไตยเหนือ Western Sahara

  5. Res Communis • พื้นที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่มีรัฐใดเข้าถือครองหรืออ้างสิทธิได้ • ทุกรัฐมีสิทธิแสวงประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้เท่าเทียมกัน • ประเทศที่มีความสามารถมากกว่าจะได้เปรียบ • ตัวอย่างเช่น ทะเลหลวง อวกาศชั้นนอก (outer space)

  6. มรดกร่วมกันของมนุษยชาติCommon Heritage of Mankind • พื้นที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่มีรัฐใดเข้าถือครอบครองหรืออ้างสิทธิเป็นเจ้าของได้ • ต้องมีกลไกระหว่างประเทศควบคุมการแสวงประโยชน์ • ทรัพยากรหรือผลประโยชน์ที่ได้ต้องเอามาแบ่งให้รัฐอื่นๆอย่างยุติธรรม

  7. มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ (2) • เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในกฎหมายทะเลก่อน เพื่อคุ้มครองให้ทรัพยากรในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทรเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ • ดวงจันทร์ และวัตถุบนท้องฟ้า เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติตาม TheMoon Treaty ค.ศ. 1979 • บริเวณแอนตาร์กติกากำลังพัฒนาไปสู่การเป็นcommon heritage of mankind

  8. การได้ดินแดน • เกิดจากปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ที่งอกตามธรรมชาติ (accretion) เช่น แม่น้ำเปลียนเส้นทางไหล เกาะเกิดขึ้นตรงปากแม่น้ำ • การยกดินแดนให้แก่รัฐอื่น (Cession) • การทำความตกลงระหว่างรัฐเพื่อยกดินแดนให้ เช่น สนธิสัญญาสันติภาพหลังสงคราม • ค.ศ. 1866 ออสเตรียยก Venice ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยกต่อให้อิตาลี • ค.ศ. 1867 U.S. ซื้อ Alaska จากรัสเซีย • ค.ศ. 1916 เดนมาร์กขายหมู่เกาะ West Indies ให้แก่ U.S.

  9. การได้ดินแดน 3. การครอบครองดินแดนที่เป็น terra nullius (occupation) • เป็นการครอบครองโดยรัฐหรือเอกชนที่กระทำในนามของรัฐ • ครอบครองโดยมีเจตนาอ้างอำนาจอธิปไตย • ต้องเป็น terra nullius(ไม่ใช่ดินแดนที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่) • การค้นพบดินแดน (discovery) เป็นเพียงการอ้างสิทธิเบื้องต้น ซึ่งจะสมบูรณ์ได้ ก็แต่เมื่อมีการครอบครองและใช้อำนาจรัฐอย่างแท้จริง (Island of Palmas case)

  10. การได้ดินแดน 4. การได้ดินแดนโดยครอบครองดินแดนที่รัฐอื่นเป็นเจ้าของ หรืออ้างสิทธิอยู่ (prescription) • การครอบครองในตอนแรกอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่อาจอ้างเหตุผลโดยชอบ • แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป และมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ เช่น การไม่คัดค้าน การเห็นตาม (acquiescence) และการรับรองโดยรัฐอื่น ก็อาจทำให้เป็นการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และรัฐได้สิทธิสมบูรณ์ในที่สุด

  11. การได้ดินแดน 5. การได้ดินแดนโดยใช้กำลัง (conquest or use of force) • ใช้กันในอดีตก่อนต้นศตวรรษที่ 20 • ในปัจจุบันถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย • Kellog-Briand Pact ค.ศ. 1928 ห้ามใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐ • UN Charter, Art. 2 (4) ห้ามรัฐสมาชิกคุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณาภาพแห่งอาณาเขตและเอกราชทางการเมืองของรัฐอื่น เว้นแต่เป็นการป้องกันตนเอง • อาจกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายเมื่อเวลาผ่านพ้นไปและรัฐอื่นรับรอง

  12. องค์ประกอบอื่นๆของการได้ดินแดนองค์ประกอบอื่นๆของการได้ดินแดน • กิจกรรมและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผลของรัฐเหนือดินแดน (exercise of effective authority) • การรับรอง (recognition) การเห็นตามหรือไม่คัดค้าน (acquiescence) • หลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)

  13. กิจกรรม การใช้อำนาจและการบริหารของรัฐเหนือดินแดน • เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่สุด • การใช้อำนาจรัฐต้องมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละกรณี • การแสดงออกมีหลายรูปแบบ • ในพื้นที่ซึ่งไม่มีคนอยู่อาศัยหรืออยู่อาศัยน้อย การใช้อำนาจรัฐอาจมีน้อยกว่าในกรณีอื่นๆ

  14. Island of Palmas Case (1928)(U.S. v. Netherlands) • สหรัฐอ้างสนธิสัญญา ค.ศ. 1898 ยกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ให้ U.S. • อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้เกาะ Palmas เป็นของเนเธอร์แลนด์ เนื่องจาก “มีการใช้อำนาจรัฐและแสดงออกอย่างแท้จริงถึงกิจกรรมของรัฐอย่างต่อเนื่องและโดยสันติ” • การค้นพบ (Discovery) ก่อให้เกิดสิทธิเบื้องต้น ซึ่งจะนำไปสู่สิทธิโดยสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการครอบครองอย่างแท้จริง

  15. คดี Clipperton Island ค.ศ. 1931(France v. Mexico) • นายทหารเรือฝรั่งเศสค้นพบเกาะนี้เมื่อ 17 พ.ย. ค.ศ. 1858 และประกาศอำนาจอธิปไตยในนามของฝรั่งเศส ต่อมาไปประกาศในวารสารที่ Honolulu ในวันที่ 8 ธ.ค. ปีเดียวกัน • มิได้ดำเนินการอื่นใดจนถึง ค.ศ. 1897 เมื่อเกิดข้อพิพาทกับเม็กซิโก ซึ่งอ้างว่าสเปนค้นพบเกาะนี้ก่อน • อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้เกาะเป็นของฝรั่งเศส เพราะคำกล่าวอ้างไม่มีน้ำหนัก และเกาะนี้เป็น terra nullius ณ เวลาที่ฝรั่งเศสค้นพบ การใช้หรือการแสดงออกถึงอำนาจรัฐอาจไม่จำเป็นหากเป็นดินแดนที่ไม่มีคนอยู่อาศัย การที่ฝรั่งเศสไม่ใช้อำนาจเหนือเกาะไม่ทำให้สิทธิของฝรั่งเศสสิ้นไป

  16. คดี Legal Status of Eastern Greenland ค.ศ. 1933(Denmark v. Norway) • ข้อพิพาทระหว่างเดนมาร์กและนอร์เวย์เกี่ยวกับสิทธิเหนือฝั่งตะวันออกของเกาะกรีนแลนด์ • สนธิสัญญาที่เดนมาร์กทำกับรัฐอื่นๆในช่วง ค.ศ. 1814 – 1915 อ้างถึงเกาะกรีนแลนด์ทั้งเกาะ เดนมาร์กให้สัมปทานแก่เอกชนในการค้าขาย ทำเหมืองแร่ ติดตั้งระบบโทรเลข ใช้อำนาจบริหารและออกกฎหมาย ประกาศทะเลอาณาเขต และเขตประมงของเกาะ • นอร์เวย์ส่งทีมสำรวจไปที่เกาะเป็นครั้งคราว ก่อสร้างสถานีวิทยุและอาคาร ในขณะที่เดนมาร์กประท้วงการสร้างสถานีวิทยุ • PCIJ วินิจฉัยให้เกาะเป็นของเดนมาร์ก

  17. Sovereignty over Pulau Ligitan and Pulau Sipadan ค.ศ. 2002(Malaysia v. Indonesia) • พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเหนือเกาะเล็กสองเกาะนอกฝั่งเกาะบอร์เนียว ซึ่งไม่มีคนอาศัย • อังกฤษซึ่งปกครองมาเลเซียใช้อำนาจเหนือเกาะทั้งสอง เช่น กำหนดเขตห้ามล่านก เก็บภาษีไข่เต่า และสร้างประภาคารบนเกาะ • เนเธอร์แลนด์อ้างแผนที่ที่เนเธอร์แลนด์ซึ่งเคยปกครองอินโดนีเซียทำขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1891ซึ่งแสดงว่าสองเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะ East Indies (อินโดนีเซียปัจจุบัน) • เนเธอร์แลนด์และอินโดนีเซียไม่เคยประท้วง • ICJ วินิจฉัยให้เกาะเป็นของมาเลเซีย

  18. 2. การรับรอง การไม่คัดค้าน และการเห็นตาม • เป็นการแสดงออกถึงการยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐ • การรับรอง คือ การยอมรับ • การไม่คัดค้าน หรือเห็นตาม หมายถึง รัฐนิ่งเฉยไม่คัดค้านในสถานการณ์ที่ตนเองน่าจะได้กระทำเช่นนั้น จะกลายเป็นหลักฐานสนับสนุนการอ้างสิทธิของรัฐเหนือดินแดน • มีความสำคัญมากเมื่อรัฐสองรัฐ หรือมากกว่าอ้างสิทธิเหนือพื้นที่เดียวกัน

  19. 3. หลักกฎหมายปิดปาก (estoppel) • ห้ามมิให้รัฐที่มีถ้อยแถลงหรือมีพฤติกรรมยอมรับสิทธิของอีกรัฐหนึ่งเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตนเองในภายหลัง และปฏิเสธสิทธิของรัฐอื่นที่ตนเองเคยยอมรับ • คดี Temple of Preah Vihearค.ศ. 1962 • ICJ ตัดสินโดยโดยอาศัยข้อเท็จจริงและหลักฐานว่าไทยยอมรับแผนที่ และอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศส • การอ้าง estoppel ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การแสดงออกของรัฐมีความชัดเจนเพียงใด ระยะเวลาที่นิ่งเฉยไม่คัดค้าน การไม่คัดค้านชอบด้วยเหตุผลหรือไม่

  20. ความสำคัญของการคัดค้านความสำคัญของการคัดค้าน • การครอบครองและใช้อำนาจรัฐอย่างต่อเนื่องต้องเป็นไปโดยสงบ ปราศจากการรบกวน • Chamizal Arbitrationค.ศ. 1911 (U.S. v. Mexico) • คณะกรรมาธิการพรมแดนระหว่างประเทศไม่เห็นด้วยกับการอ้างสิทธิของ U.S. เนื่องจากเม็กซิโกได้ประท้วงมาโดยตลอด รวมทั้งมีสนธิสัญญาซึ่งระบุชัดเจนว่ามีปัญหาเส้นเขตแดนที่รอการแก้ไข

More Related