1 / 115

ฮอร์โมนสัตว์

ฮอร์โมนสัตว์. Animal Hormones. ผู้สอน พิณทิพย์ กรรณสูตร. ฮอร์โมนสัตว์ (Animal Hormones). 1. ต่อมไร้ท่อของมนุษย์ (Human Endocrine Gland) 2. กลไกการทำงานแบบสนองกลับของฮอร์โมน (Feedback Mechanism of Hormones) 3. สมบัติทางเคมีของฮอร์โมน (The Chemical Properties of Hormones)

Patman
Télécharger la présentation

ฮอร์โมนสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฮอร์โมนสัตว์ Animal Hormones ผู้สอน พิณทิพย์ กรรณสูตร

  2. ฮอร์โมนสัตว์ (Animal Hormones) 1. ต่อมไร้ท่อของมนุษย์ (Human Endocrine Gland) 2. กลไกการทำงานแบบสนองกลับของฮอร์โมน (Feedback Mechanism of Hormones) 3. สมบัติทางเคมีของฮอร์โมน (The Chemical Properties of Hormones) 3.1 พวกที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ฮอร์โมน (The nonsteroid hormones) 3.2 สเตอรอยด์ฮอร์โมน (The steroid hormones) 4. เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) 4.1 เซลล์พาเรนไคมา (Parenchyma cell) 4.2 เซลล์เยื่อบุผิว (Epithelial cell) 4.3 นิวโรซีคริตอรีเซลล์ (Neurosecretory cell)

  3. 5. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormones Secretion from Endocrine cells) 5.1 เซลล์ของต่อมไร้ท่อทั่ว ๆ ไป (Hormones secretory cell) 5.2 เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เป็นเอนโดรไดรน์เซลล์ (Neuro secretory cell) 5.3 เซลล์ประสาท (Nerve cell) 5.4 เซลล์ของเนื้อเยื่อเฉพาะแห่งที่สร้างฮอร์โมน (Regulartor cell) 6. ไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง (The Hypothalamus and the Pituitary Gland)

  4. 7. กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน (Mechanism of Hormones Action) 7.1 กลไกการออกฤทธิ์ของสเตอรอยด์ฮอร์โมน (Mechanism of steroid hormone action) 7.2 กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนพวกที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (Mechanism of nonsteroid hormones action) 8. ฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ (Human Reproductive Hormones) 8.1 ฮอร์โมนเพศชาย (Male reproductive hormones) 8.2 ฮอร์โมนเพศหญิง (Female reproductive hormones) 8.3 วงจรสืบพันธุ์ในเพศหญิง (Reproductive cycles in female) 8.4 ฮอร์โมนจากรก (Placental hormones)

  5. 9. การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน (Contrl of Hormone Secretion) 9.1 ฮอร์โมนควบคุมการหลั่งของโกนาโดโทรฟิน (Hormonal control of gonadotropin secretion) 9.2 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรของร่างกายควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน (The physiological change control of hormone secretion) 9.3 สารเคมีควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน (The chemical substancr control of hormone secretion) 10. การทำงานของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Regulation of Adrenal Hormones) 10.1 กลไกการออกฤทธิ์และเมแทบอลิซึมของฮอร์โมนเอปิเนฟริน (Mechanism and metabolism of epinephrine)

  6. 10.2 การทำงานของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน (Action of adrenal medula hormones) 10.3 การทำงานของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน (Action of adrenal cortex hormones) 11. ฮอร์ดมนของแมลง (Insert Hormones) 11.1 ฮอร์โมนจากสมอง (Brain hormones ,BH) 11.2 เอกไดโซนหรือโมลติงฮอร์โมน (Ecdysone or molting hormone, MH) 11.3 จูวีไนล์ฮอร์โมน (Juvenile hormone, JH) 12. ฟีโรโมน (Pheromone)

  7. ฮอร์โมนสัตว์ (Animal Hormones) • ในสัตว์ชั้นสูงเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การทำงานของส่วนต่างๆของร่างกายถูกควบคุมโดยระบบประสาท(nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ ( endocrine system) • ระบบประสาทควบคุมและสั่งงานอวัยวะต่างๆผ่านทางเส้นประสาท • ระบบต่อมไร้ท่อต้องหลั่งสารเคมีที่เรียกว่าฮอร์โมน (hormones) เข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดเพื่อนำไปยังอวัยวะต่างๆที่เป็นเป้าหมาย (target organ)

  8. ฮอร์โมนสัตว์(Animal Hormones) • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกที่ต่ำกว่า primates มีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสง และ อุณหภูมิมาควบคุมการทำงานของระบบประสาทที่มากระตุ้นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ทำให้พวกนี้มีฤดูสืบพันธุ์ ควบคุมการสร้างเซลล์สืบพันธ์ การตกไข่และการหลั่งอสุจิออกมา ทำให้สัตว์พวกนี้แสดงพฤติกรรมในการสืบพันธ์ • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวก primates ขึ้นมาจนถึงมนุษย์ไม่มีฤดูสืบพันธ์

  9. ต่อมไร้ท่อของมนุษย์ ( Human Endocrine Gland) • ต่อมไร้ท่อของมนุษย์จะสร้างฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อต่างๆเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดเพื่อไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย • เส้นทางของฮอร์โมนจะเป็นดังนี้ Endocrine gland hormones capillary venule artery aorta heart vena cava vein hormones arteriole capillary Target tissue

  10. กลไกการทำงานแบบตอบสนองกลับของฮอร์โมน(Feedback Mechanism of the Hormones) • การทำงานของฮอร์โมนในกลุ่มเดียวกันจะควบคุมซึ่งกันและกันนอกจากนี้ฮอร์โมนแต่ละตัวจะมี feedback mechanism • ถ้ามีฮอร์โมนในเลือดน้อยเกินไปก็จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมสร้างและหลั่งฮอร์โมนออกมามากขึ้น เรียกว่ามี positive feedback • ถ้ามีฮอร์โมนในเลือดมากเกินไปก็จะทำหน้าที่ยับยั้งการ สร้าง และหลั่งฮอร์โมนของต่อมทำให้ระดับฮอร์โมนลดลงเรียกว่ามี negative feedback • การเกิด feedback นั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม (direct andindirect feedback)

  11. กลไกการทำงานแบบตอบสนองกลับของฮอร์โมน(Feedback Mechanism of the Hormones) • Direct feedbackของฮอร์โมนพวก steroids จากรังไข่ มี feedback โดยตรงต่อ hypothalamus • Indirect feedbackของฮอร์โมน thyroxin ที่สร้างจากต่อม thyroid มี feedback ทางอ้อมต่อ hypothalamus

  12. ผลของการทำงานของต่อมไร้ท่อผลของการทำงานของต่อมไร้ท่อ 1.การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายดำเนินไปตามปกติ ทำให้เกิดสภาวะที่สมดุลย์แห่งชีวิต homeostasis ถ้าฮอร์โมนตัวหนึ่งตัวใดมากไปหรือน้อยไปจะเกิดสภาวะที่เป็นโรค การทำงานของระบบใดระบบหนึ่งผิดปกติไป หรือเรียกว่าเกิด functional diseases 2.ควบคุมการเติบโตของร่างกาย 3.กระตุ้นการเจริญพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และการเกิดพฤติกรรมทางเพศ ฮอร์โมนแต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกัน และไปมีผลต่อเนื้อเยื่อเป้าหมายแบบจำเพาะต่อตัวมัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มาควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อเหล่านี้แตกต่างกันด้วย

  13. สมบัติทางเคมีของฮอร์โมน ( The Chemical Properties of Hormones) ฮอร์โมนแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ 1. steroid hormonesสร้างมาจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อที่มีจุดกำเนิดมาจาก mesoderm ของเอมบริโอ 2. nonsteroid hormonesสร้างมาจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อที่มีจุดกำเนิดมาจาก ectoderm และ endodermของเอมบริโอ

  14. The nonsteroid hormones 1.เปปไทด์ฮอร์โมน( The peptide hormones) เป็นพวกสายสั้นๆของ amino acid เช่น oxytocinที่สร้างมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ( posterior pituitary gland) 2.เอมีนฮอร์โมน( The amine hormones) เป็น single amino acid เช่น epinephrine ( หรือ adrenalin ) ที่สร้างจากต่อมหมวกไตชั้นใน ( adrenal medulla) 3.โปรตีนฮอร์โมน (The protein hormones) เป็นพวก polypeptides

  15. The nonsteroid hormones • โปรตีนฮอร์โมน (The protein hormones) เป็นพวก polypeptides ประกอบด้วย amino acid จำนวนมากจนถึง 200 ตัว เรียงตัวกันเป็นสายยาว ได้แก่ฮอร์โมนจำนวนมากในร่างกาย รวมทั้ง gonadotropic hormones ( FSH,LH) • โปรตีนฮอร์โมน ที่สร้างขึ้นมาแล้วจะเก็บไว้ชั่วคราวในต่อมจนกระทั่งต้องการใช้จึงหลั่งออกมาเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือด เพื่อนำไปสู่เนื้อเยื่อเป้าหมาย

  16. สเตอรอยด์ฮอร์โมน (The steroid hormones) • steroid hormones เป็น lipids ที่สร้างมาจาก cholesterol พบอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ เซลล์ของสัตว์ใช้ cholesterol เป็นตัวตั้งต้นในการสร้าง steroids ตัวอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ (sex hormones) ที่สร้างมาจากรังไข่ในเพศหญิง เช่น estradiol และที่สร้างมาจากอัณฑะในเพศชาย เช่น testosterone และฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex ) ถ้ามี cholesterol มากเกินไปในเลือดทำให้มันไปเกาะสะสมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดพวก artery ทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด (atherosclerosis)

  17. สเตอรอยด์ฮอร์โมน (The steroid hormones) • สเตอรอยด์ฮอร์โมนเมื่อต่อมสร้างขึ้นแล้วไม่ได้เก็บไว้ภายในต่อมเหมือนโปรตีนฮอร์โมน แต่จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดและจับกับโปรตีนในพลาสมา(plasma) ซึ่งเป็นตัวพาไปยังเนื้อเยื่อที่เป็นเป้าหมาย เช่น estradiol และ testosterone จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือด และจับกับ globulin ในพลาสมา ทำให้สเตอรอยด์ฮอร์โมนละลายอยู่ในเลือดได้และป้องกันให้พ้นจากการ metabolized โดยเซลล์ตับ ฮอร์โมนแต่ละตัวมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์ที่เป็นเป้าหมายที่มีโปรตีนตัวรับที่มีความจำเพาะกับฮอร์โมนแต่ละตัว ผลของฮอร์โมนอาจไปยับยั้งหรือกระตุ้นการทำงานหรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของเซลล์เป้าหมายก็ได้

  18. เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) เนื้อเยื่อที่สร้างฮอร์โมนประกอบด้วยเซลล์ที่ต่างกันอยู่ 3 ชนิด 1. เซลล์พาเรนไคมา (Parenchyma cell) เนื้อเยื่อประกอบด้วยเซลล์มีลักษณะเป็นเซลล์พาเรนไคมา (parenchyma cell) มีเส้นเลือดฝอยแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อตัดผ่านเนื้อเยื่อเส้นเลือดฝอยถูกตัดออกเห็นเป็นช่องเลือดเล็กๆ เรียก blood sinusoid พบเนื้อเยื่อแบบนี้ในต่อมไร้ท่อทั่วๆ ไป ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อกลับเข้าสู่หัวใจ

  19. เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) 2. เซลล์เยื่อบุผิว (Epithelial cell) เนื้อเยื่อประกอบด้วยเซลล์มีลักษณะเป็นเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial cell) เช่น เนื้อเยื่อของต่อม thyroid ประกอบด้วยเซลล์ชั้นเดียวจัดเรียงตัวมีลักษณะเป็นถุง (follicle) มีช่องกลวงอยู่ตรงกลางที่พบในต่อม thyroid ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเรียก thyroid follicle เมื่อตัดผ่านต่อมจะเห็น thyroid follicle เป็นวงๆ และมี blood sinusoid แทรกอยู่เป็นจำนวนมาก ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อกลับเข้าสู่หัวใจ

  20. เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) 3. นิวโรซีครีตอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) เนื้อเยื่อประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเรียกเซลล์พวกนี้ว่า neurosecretory cell เมื่อเซลล์สร้างฮอร์โมนแล้วจะหลั่งออกมาทาง axon เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ตัวอย่างเช่น neurosecretory cells ที่พบที่พื้นสมองส่วน hypothalamus สร้างฮอร์โมน oxytocin และ antidiuretic hormone (ADH) ส่งผ่าน axon ไปยังต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland)

  21. เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) • neurosecretory cell ที่สร้าง releasing hormones (RH)ส่งผ่าน axon เข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่อยู่ใน median eminenceและผ่านออกมากับเส้นเลือด (blood vessel) ที่เข้าสู่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า เรียกเส้นเลือดนี้ว่า pituitary portal vein (หรือ hypophyseal portalvein)ไปกระตุ้นเซลล์ของต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างพวก trophic hormones (TSH, ACTH, FSH, LH) และ GH, PRL และ endorphins

  22. เนื้อเยื่อของต่อมไร้ท่อ (The Endocrine Tissues) เนื้อเยื่อบางชนิดทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนแต่ไม่มีโครงสร้างเป็นต่อมไร้ท่อ เช่นเนื้อเยื่อชั้น mucosaบริเวณเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร สร้าง gastrin และเยื่อบุผิวของลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) สร้าง secretin เป็นต้น ทั้ง gastrinและ secretinเป็นฮอร์โมนในกลุ่มที่เรียกว่า gastrointestinal hormone

  23. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormone Secretion from Endocrine Cells) เมื่อเซลล์สร้างฮอร์โมนขึ้นมาแล้วก็จะหลั่งออกมานอกเซลล์เพื่อไปสู่ยังเซลล์เป้าหมาย เซลล์ที่หลั่งฮอร์โมนมี 4 ชนิด 1. เอนโดไครน์เซลล์ (Endocrine cell) ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (endocrine cell) เข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดเพื่อนำไปยัง target cells โดยเซลล์เหล่านี้จะสร้างและเก็บสะสมฮอร์โมนไว้ภายใน secretory vesiclesก่อนที่เซลล์จะหลั่งออกมา พบการหลั่งแบบนี้ในต่อมไร้ท่อทั่วๆ ไป

  24. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormone Secretion from Endocrine Cells) 2. เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เป็นเอนโดไครน์เซลล์ (Neurosecretory cell) ฮอร์โมนหลั่งออกมาจาก neurosecretory cell ที่อยู่ในต่อมไร้ท่อ (hypothalamus) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดเพื่อนำไปยัง target cells เซลล์ประสาทพวกนี้จะสร้างฮอร์โมนแล้วส่งออกมาทาง axon เข้าสู่เส้นเลือด พบการหลั่งแบบนี้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland)และที่ hypothalamus ส่วนที่เรียกว่า median eminenceซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่จำนวนมาก

  25. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormone Secretion from Endocrine Cells) 3.เซลล์ประสาท (Nerve cell) อณูของสารเคมีที่เรียกว่าneurotransmitter moleculesสร้างมาจากเซลล์ประสาทและหลั่งออกมาจากปลายประสาท (axon) เข้าสู่เซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่ง เป็น chemical messenger ที่จัดไว้ว่าเป็นฮอร์โมนพวกหนึ่งที่เรียกว่า neurohormone หรือ neurohumorทำหน้าที่ให้กระแสประสาทผ่านจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งสู่เซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่งหรือจากเซลล์ประสาทหลั่ง neurohumor ออกทาง axon เข้าสู่เซลล์ของเนื้อเยื่อ neurotransmitter substarce(หรือ neurohumor) ที่พบที่ปลายประสาททั่วๆ ไป คือ acetylcholine

  26. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormone Secretion from Endocrine Cells) ที่ปลายประสาทอัตโนมัติของ sympathetic nerveที่ไปสั่งงานที่เนื้อเยื่อเป้าหมาย (เรียกปลายประสาทนี้ว่า postganglionic nerve fiber) จะหลั่ง neurohumor พวก epinephrine (หรือnor-epinephrine) ออกมาที่เนื้อเยื่อเป้าหมาย ดังนั้นการหลั่งสารเคมี neurotransmitter จะไม่หลั่งเข้าสู่เส้นเลือดเหมือนพวกฮอร์โมนทั่วๆ ไป แต่จะหลั่งจากเซลล์หนึ่งสู่อีกเซลล์หนึ่งเช่นพบที่ synaptic cleft ระหว่างเซลล์ประสาท 2 เซลล์ และพบที่ปลายประสาท (axon) กับเซลล์ของเนื้อเยื่อเป้าหมาย

  27. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormone Secretion from Endocrine Cells) 4. เซลล์ของเนื้อเยื่อเฉพาะแห่งที่สร้างฮอร์โมน (Regulator cell) ที่ผนังด้านในของลำไส้ (intestine) จะมี regulator cells อยู่ เมื่ออาหารที่กินเข้าไปถูกย่อยและได้โมเลกุลของโปรตีนอยู่ในลำไส้ พวก regulator cellsจะหลั่งสารเคมีที่เป็น chemical messenger ทำหน้าที่เป็น local regulator ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของparacrine hormoneออกมาเข้าสู่ intercellular fluid และฮอร์โมนพวกนี้จะไปกระตุ้นเซลล์เป้าหมาย (target cell) ที่อยู่ติดกับ regulator cell ให้สร้างและหลั่ง protein-digesting enzyme ออกมา

  28. การหลั่งฮอร์โมนจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อ (Hormone Secretion from Endocrine Cells) chemical messenger อีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็น local regulatorได้แก่ prostaglandins(P.G.)โดยเซลล์จะสร้างและหลั่งออกมาสู่ intercellular fluid แล้วแพร่เข้าสู่เซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น ทำให้เซลล์บริเวณนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ prostaglandins มีสมบัติทางเคมีเป็นกรดไขมัน (fatty acid) ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาได้ หน้าที่มีหลายอย่างขึ้นอยู่ว่ามันถูกสร้างขึ้นมาจากเนื้อเยื่อบริเวณไหนของร่างกาย ตัวอย่างเช่น prostaglandins ที่สร้างและหลั่งออกมาจากเซลล์ของรก (placenta) ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว (contract) เพื่อช่วยให้ทารกคลอดออกมาเมื่อถึงกำหนดคลอด

  29. ไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง(The Hypothalamus and the Pituitary Gland) ต่อมใต้สมอง (pituitary gland or hypophyseal gland)ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ - ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland) - ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) ต่อมใต้สมองส่วนหลังเจริญมาจากพื้นสมองส่วน hypothalamus ที่งอกยื่นลงมาเป็น infundibulumและผลสุดท้ายเจริญไปเป็นต่อมใต้สมองส่วนหลัง ฉะนั้นต่อมใต้สมองส่วนหลังเป็นเนื้อเยื่อประสาท จึงเรียกต่อมใต้สมองส่วนหลังว่า neurohypophysis

  30. ไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง(The Hypothalamus and the Pituitary Gland) ต่อมใต้สมองส่วนหน้าเจริญมาจากเนื้อเยื่อเอมบริโอพวก ectoderm ตรงบริเวณที่บุ๋มลงไปเป็นแอ่งเพื่อเกิดช่องปาก แอ่งนี้เรียกว่า stomodeaum ส่วนหนึ่งของ stomodeaum งอกเป็นถุงที่เรียกว่า Rathke’s pouchเจริญยื่นขึ้นไปหา infundibulumผลสุดท้ายขาดหลุดออกจากจุดกำเนิดไปเป็นต่อมใต้สมองส่วนหน้าติดอยู่กับต่อมใต้สมองส่วนหลัง

  31. ไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง(The Hypothalamus and the Pituitary Gland) ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังได้แก่ oxytocin และ vasopressin (antidiuretic hormone, ADH) ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้สร้างมาจาก neurosecretory cells ที่อยู่ใน hypothalamus และออกจากตัวเซลล์ทาง axon เข้าสู่เส้นเลือดในต่อมใต้สมองส่วนหลัง และออกจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง เข้าสู่หัวใจก่อนที่จะไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย (uterine muscles, mammarygland และ kidney tubules)

  32. ไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง(The Hypothalamus and the Pituitary Gland) ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามีหลายชนิด เช่น TSH, ACTH, FSH, LH, GH, PRL และ Endorphins ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะสร้างฮอร์โมนเหล่านี้และหลั่งออกมาได้จะต้องมี releasing hormonesที่สร้างจาก neurosecretory cellsที่อยู่ใน hypothalamusส่งออกจากตัวเซลล์ทาง axon เข้าสู่เส้นเลือด (blood vessel) ที่เรียกว่า hypophyseal portal vein (pituitaryportal vein)เส้นเลือดนี้จะเข้าสู่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและปล่อย releasing hormones

  33. ไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง(The Hypothalamus and the Pituitary Gland) Releasing hormones จะกระตุ้นเซลล์ของต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้สร้างฮอร์โมนเหล่านั้น แล้วหลั่งเข้าสู่เส้นเลือดฝอยในต่อมแล้วจึงออกจากต่อมทางเส้นเลือด (vein) เพื่อกลับสู่หัวใจก่อนที่จะไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย (thyroid, adrenal cortex, testes or ovaries, entire body, mammary glands และ pain receptors in brain)

  34. กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน (Mechanism of Hormone Action) กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน (mechanism of hormone action) แตกต่างกันตามสมบัติทางเคมีของฮอร์โมนซึ่งเป็น 2 แบบ แบบแรกเป็น steroid hormones ออกฤทธิ์ ภายในเซลล์ที่นิวเคลียส แบบที่สองเป็นnonsteroid hormones ออกฤทธิ์ ที่เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane)

  35. กลไกการออกฤทธิ์ของสเตอรอยด์ฮอร์โมน (Mechanism of steroid hormone action) • พวก steroid hormonesรวมทั้ง sex hormones เป็นฮอร์โมนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และไปจับกับโปรตีนตัวรับที่อยู่ในไซโตปลาสซึมหรือจับกับโปรตีนตัวรับที่อยู่ในนิวเคลียสก็ได้ เพื่อนำฮอร์โมนไปออกฤทธิ์โดยตรงต่อยีนบนโครโมโซม ทำให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนชนิดใหม่ขึ้น เช่น oestrogen เซลล์เป้าหมายคือ neurosecretory cellsใน hypothalamus ดังนั้นโปรตีนชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นคือ FSH-RH

  36. กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนพวกที่ไม่ใช่สเตอรอยด์(Mechanism of nonsteroid hormone action) • พวก nonsteroid hormones เป็นฮอร์โมนที่มีโมเลกุลใหญ่ ไม่สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปได้ ดังนั้นฮอร์โมนพวกนี้ออกฤทธิ์ที่เยื่อหุ้มเซลล์ โดยจับกับโปรตีนตัวรับที่มีความจำเพาะที่เยื่อหุ้มเซลล์ และไปกระตุ้น enzyme ที่เยื่อหุ้มเซลล์ enzyme ที่ถูกกระตุ้นแล้วไปเปลี่ยน ATP ให้เป็น cAMP (cyclic adenosinemono phosphate)ซึ่งทำหน้าที่เป็น second messengerไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาชีวเคมีขึ้นในเซลล์

  37. กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนพวกที่ไม่ใช่สเตอรอยด์(Mechanism of nonsteroid hormone action) กลไกการออกฤทธิ์ของ nonsteroid hormones เริ่มจาก nonsteroid hormoneซึ่งเป็น first messengerตัวอย่างเช่น epinephrine จะไปจับกับโปรตีนตัวรับที่มีความจำเพาะกับตัวมันที่เยื่อหุ้มเซลล์ที่เป็นเซลล์เป้าหมายซึ่งได้แก่เซลล์ของตับ (liver cell) enzyme ที่เยื่อหุ้มเซลล์ (adenylcyclase)จะถูกกระตุ้น enzyme ที่ถูกกระตุ้นแล้วจะไปเปลี่ยน ATP ให้เป็น cAMPcAMP ที่เพิ่มขึ้นในเซลล์ตับจะทำหน้าที่เป็น second messengerที่จะไปทำให้เกิดการสลายตัวของ glycogen ได้ glucose ซึ่งออกไปกับระบบหมุนเวียนของเลือดเพื่อเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย และพร้อมที่จะเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกาย

More Related