1 / 106

วินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

วินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. วินัย หมายถึง

grant-henry
Télécharger la présentation

วินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา • วินัย หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ (กฎเกณฑ์ คำสั่ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่องค์กรกำหนดขึ้นเป็นปทัสถาน (NORM) เพื่อใช้ในการควบคุมและส่งเสริมความประพฤติของบุคคลในองค์กรให้เกิดความมีระเบียบและก่อให้ผลของการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ หากมีผู้กระทำผิดวินัยก็มีมาตรการในการลงโทษ

  2. จุดมุ่งหมายของ วินัย  ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  ความเจริญมั่นคงของประเทศ  ความผาสุกของประชาชน  รักษาภาพพจน์ชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ (ข้าราชการข้าของแผ่นดิน ต้องเป็น คนดี คนเก่ง)

  3. ลักษณะวินัยครู • ใช้เฉพาะข้าราชการครู ฯ ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครู ฯ ปี ๒๕๔๗ • ไม่มีอายุความ • ผู้ร้องเรียนกล่าวหาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย • ยอมความกันไม่ได้ • รับสารภาพไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษ • กรณีความผิดปรากฏชัดแจ้ง อาจไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ • ยกข้ออ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ขึ้นต่อสู้ไม่ได้ • ผู้บังคับบัญชาเพิกเฉย/ช่วยเหลือ/กลั่นแกล้ง ถือว่ากระทำผิดวินัย

  4. ลักษณะวินัยครู (ต่อ) • ลาออก หรือพ้นจากราชการไปแล้ว วินัยดำเนินการต่อไป • ตั้งคณะกรรมการแล้ว ถอนเรื่องไม่ได้ • ระหว่างถูกสอบสวนร้ายแรง ให้พักราชการหรือ ให้ออกจากราชการ ไว้ได้ • กระทำผิดวินัย อาจยังต้องรับโทษทางอาญา หรือต้องรับผิดทางแพ่ง • กระทำผิดโดยไม่เจตนา ก็ยังต้องรับผิดได้ • ตาย วินัยยุติลงโทษคนตายไม่ได้ (แต่ทายาทจะได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง) • สอบสวนแล้วไม่ปรากฏความผิด หากรับราชการต่อไปไม่สมเกียรติก็สั่งให้ออกจากราชการได้

  5. พฤติกรรมของข้าราชการไทยพฤติกรรมของข้าราชการไทย รักความสงบ ประจบเจ้านาย กรีดกรายการงาน ชำนาญ(การพิเศษ)นินทา หน้าใหญ่ใจกว้าง ชอบสร้างหนี้สิน ได้กินบันเทิง ชั้นเชิงเจ้าชู้ คราวสู้ทรหด เจ้าบทเจ้ากลอน ชอบสอนชาวบ้าน ไหว้วานกันได้ ใฝ่ใจการกุศล ความจนไม่รับรู้ รักหมู่น้องพี่ รักที่อาศัย ติดใจการพนัน ขบขันค่ำเช้า ของเมาไม่เบื่อ เชื่อโชคเชื่อดวง และ มักหวงน้องเมีย ที่มา: สภาวิจัยแห่งชาติ

  6. 1. เมาทั้งวัน 3. เมียเจ้านาย 5. หนีห้องสอน 7. พกตำรา 9. มั่วเด็กสาว 11. เฟื่องการพนัน 13. ขายหวยเบอร์ 15. คอยเวลา 17. ขาดความเกรง 19. พาลเพื่อนครู 21. คิดทำลาย 2. ผันดอกเบี้ย 4. สายตลอดปี 6. นอนหลับนก 8. บ้าแต่งตัว 10. ดาวการเมือง 12. ฟันเจ้านาย 14. เหม่อตาลอย 16. หาโอกาส 18. เก้งการงาน 20. ดูสิ่งผิด 22. ใช้คำหยาบ ครูไทย 22 ประเภท (ผิดวินัย)

  7. ข้าราชการจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย และระเบียบแบบแผนไม่ได้ มติ ค.ร.ม.วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2497

  8. วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาอื่น เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย (มาตรา ๘๒ – มาตรา ๙๗ หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๙๘ – มาตรา ๑๐๖ ประกอบกับ กฎ ก.ค.ศ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติ ฯลฯ

  9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ข้อ 4 บรรดา กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติ ครม. ที่กำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือเป็นข้อห้ามในเรื่องใด ให้ถือว่า พนักงานราชการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ...ด้วย

  10. การกำหนดให้การกระทำของพนักงานราชการเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรงการกำหนดให้การกระทำของพนักงานราชการเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง พนักงานราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานการศึกษาการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตาม ข้อ ๒๔(๙) และการกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ตามข้อ ๒๖ วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติ ที่บัญญัติให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและความผิดวินัยไม่ร้ายแรงตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับกับพนักงานราชการด้วย (ผิดวินัยร้ายแรง โทษให้ออก) หนังสือ สพฐ ที่ศธ ๐๔๐๐๙/๒๙๖๑ ลว. ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙

  11. โทษทางวินัยข้าราชการมี ๕ สถาน • โทษ 5 สถาน ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ • ภาคทัณฑ์ (ตำหนิติเตียน) • ตัดเงินเดือน (ตัดผลประโยชน์) ไม่ร้ายแรง • ลดขั้นเงินเดือน (ตัดผลประโยชน์) • ปลดออก (มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ) ร้ายแรง • ไล่ออก (ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ) ร้ายแรง • ** หมายเหตุ ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก • หลัง 14 กุมภาพันธ์ 2551 มีสิทธิรับบำนาญได้ • ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ คำสั่งลงโทษเป็นคำสั่งทางปกครอง

  12. กรณีการให้ออกจากราชการกรณีต่อไปนี้ ไม่ใช่โทษ • ขาดคุณสมบัติ : ล้มละลาย... กรณีทุจริตในการสอบ.. • หย่อนความสามารถ • ประพฤติตนไม่เหมาะสม • มีมลทินมัวหมอง • ไม่พ้นทดลองปฏิบัติราชการ • เจ็บป่วย ทุพพลภาพ • ให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือ สั่งพักราชการ • (ใช้สิทธิร้องทุกข์ได้)

  13. มาตรา ๘๒ ข้าราชการครู ฯ ต้องรักษาวินัย ที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด (ระวัง ดูแล ป้องกัน เยียวยา) มาตรา ๘๓ ข้าราชกาครู ฯ ต้องสนับสนุนการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบบการปกครองเช่นว่านั้น

  14. มาตรา ๘๔ • ข้าราชการครู ฯ ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของราชการและปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างเคร่งครัด • ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น • การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

  15. กรณีตัวอย่าง นายชาติ ไม่ได้ส่งคะแนนให้กับฝ่ายวัดผลตามกำหนดในวันที่ 8-11 มีนาคม 2536 แต่นายชาติมาส่งในวันที่ 12 มีนาคม 2536 เพียงบางส่วนและได้นำมาส่งจนครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2536 จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถประกาศผลสอบได้ตามกำหนด พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง กรณีไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี ตามมาตรา 8๔ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู ฯ พ.ศ.25๔๗ ตัดเงินเดือน ๕ % เป็น เวลา 2 เดือน

  16. กรณีตัวอย่าง นางบุญ ไม่รับนักเรียนที่ไม่เข้าเรียนพิเศษกับตนเข้าเรียนชุมนุมกระบวนการคิด ทำให้นักเรียนเสียสิทธิ์ในการเรียน และชวนนักเรียนไปเรียนพิเศษกับตนจะได้คะแนน เกรดดี พูดจากดดันให้นักเรียนไปเรียนพิเศษกับตน หากนักเรียนคนไหนไม่สนใจเรียนก็แสดงกิริยาไม่พอใจ นัดนักเรียนสอบแก้ตัวแต่นักเรียนหาตัว นางบุญไม่พบจนเลยเวลาสอบแก้ตัว ละทิ้งห้องเรียน ผิดมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ตัดเงินเดือน ๕ % เป็นเวลา ๑ เดือน

  17. มาตรา ๘๕ • ข้าราชการครู ฯ ต้องปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนราชการ หน่วยงานการศึกษา มติ ค.ร.ม.นโยบายของรัฐบาล โดยถือประโยชน์สูงสุดของ ผู้เรียนและไม่ให้เสียหายแก่ราชการ • จงใจไม่ปฏิบัติ ... เป็นเหตุให้เสียหาย อย่างร้ายแรง ผิดร้ายแรง

  18. กรณีตัวอย่าง กรณีที่ ๑ นางจันทร์ ตำแหน่งครู เป็นเจ้าหน้าที่การเงินเบิกจ่ายเงินอาหารกลางวันนักเรียนประจำพักนอน ๑๒๐ คน โดยไม่ตรวจสอบนักเรียนว่ามีจำนวนดังกล่าวจริงหรือไม่ (ผิดมาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง ลงโทษ ภาคทัณฑ์ กรณีที่ ๒ นายชัย ตำแหน่งครู เป็นเจ้าหน้าที่การเงินของโรงเรียนเบิกถอนเงินจำนวน ๑ หมื่นบาทมอบให้เจ้าหน้าที่อาหารกลางวัน นำมาจัดเลี้ยงอาหารให้นักเรียนทุน และซื้อวัสดุเครื่องครัว เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ ผิดมาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง ลงโทษตัดเงินเดือน ๕ % เป็นเวลา ๑ เดือน

  19. กรณีตัวอย่าง นายบุญมา ไม่ได้มาปฏิบัติราชการในวันที่ 13-15 มกราคม 2536 วันที่ 26-29 มกราคม 2536 เมื่อมาปฏิบัติราชการแล้ว ได้ลงเวลาปฏิบัติราชการย้อนหลังในวันดังกล่าว ต่อมาในวันที่ 8-11 กุมภาพันธ์ และ วันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2536 ก็ไม่มาปฏิบัติราชการอีก และได้ลงเวลาปฏิบัติราชการย้อนหลังเช่นเดิม นายบุญมาไม่ชี้แจงเหตุผล พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง กรณีรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา , ไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียนของทางราชการ และละทิ้งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 90 มาตรา 91 และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น

  20. กรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการกรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ • ต้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ • ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไป โดยมิชอบ หรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ • เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ • โดยมีเจตนาทุจริต เช่น การเงิน พัสดุ ค่าเช่าบ้าน ฯ

  21. การทุจริตในหน่วยราชการการทุจริตในหน่วยราชการ สำนักงาน ป.ป.ช. รวบรวมตั้งแต่ปี 2543 – 2548 10 อันดับ ที่มีการกล่าวหาร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทุจริตจำแนกตามกระทรวง 1. มหาดไทย 9,317 เรื่อง 2. ศึกษาธิการ 1,387 เรื่อง 3. เกษตรและสหกรณ์ 1,247 เรื่อง 4. คมนาคม 907 เรื่อง 5. คลัง 671 เรื่อง 6. สาธารณสุข 506 เรื่อง 7. กลาโหม 344 เรื่อง 8. สำนักนายกรัฐมนตรี 218 เรื่อง 9. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 142 เรื่อง 10. แรงงาน 130 เรื่อง

  22. สำนักงานป.ป.ช. ได้รวบรวมข้อมูลว่าตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๑๔ ม.ค.๒๕๕๒ พบว่า กระทรวงที่มีการกล่าวหาร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตแยกตามกระทรวง อันดับ ๑ กระทรวงมหาดไทย๓,๐๔๘ เรื่อง อันดับ ๒กระทรวงเกษตรและสหกรณ์๑,๙๒๘ เรื่อง อันดับ ๓ กระทรวงศึกษาธิการ๑,๓๘๘ เรื่อง • ขณะที่ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) พบการร้องเรียนทุจริตมากที่สุด๗,๔๕๒ เรื่องมีผู้ถูกกล่าวหา ๑๓,๖๘๓ เรื่อง

  23. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ การลงโทษผู้กระทำความผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งควรลงโทษเป็นไล่ออกจากราชการ การทำเงินที่ทุจริตมาคืนหรือมีเหตุอันควรปรานีอื่นใดไม่เป็นเหตุลดหย่อนลงโทษเป็นปลดออกจากราชการ

  24. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ ๑. ถูกดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง (ไล่ออกไม่ได้บำเหน็จบำนาญ) ๒. ถูกดำเนินคดีอาญา (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๔๗ , ๑๕๗ โทษจำคุกสูงสุดตลอดชีวิต) ๓. ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ราชการ (ถูกสอบละเมิด ยึดทรัพย์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ราชการ)

  25. กรณีตัวอย่าง นาย ส ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่องถอนเงินงบประมาณของโรงเรียนที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด เป็นค่าวัสดุรายหัวนักเรียน ออกมาทั้งหมด แต่นำไปซื้อวัสดุครุภัณฑ์เพียงเล็กน้อย โดยมีหลักฐานทางการเงินให้ตรวจสอบไม่ครบถ้วน อีกทั้งมีการปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คของโรงเรียน 4 ฉบับ และลายมือชื่อกรรมการตรวจรับวัสดุของโรงเรียน จำนวน 2 ชุด พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ตามมาตรา 84 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงโทษปลดออกจากราชการ ก.ค.ศ.เพิ่มโทษเป็นไล่ออกจากราชการ

  26. มาตรา ๘๖ • ข้าราชการครู ฯ ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ของ ผบ.ซึ่งสั่งในหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย / ระเบียบราชการ โดย ไม่ขัดขืน-หลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าจะเสียหาย / ไม่รักษาประโยชน์ราชการ จะยื่นหนังสือ ใน ๗ วัน ให้ทบทวนก็ได้ ถ้ายืนยัน ต้องปฏิบัติตาม • เสียหายร้ายแรง ผิดร้ายแรง

  27. หน้าที่ครู – อาจารย์ เวรกลางวัน วันหยุดราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ • ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.30 น. ดูแลความเรียบร้อย ความปลอดภัยของทรัพย์สิน • ประสานกับผู้มาติดต่อกับทางโรงเรียน รับข้อมูลเอกสาร รับโทรศัพท์ • ดูแลการปฏิบัติหน้าที่เวรของนักการและยามรักษาการณ์ให้เป็นไปตามหน้าที่ • บันทึกเหตุการณ์ การปฏิบัติงาน และถ้าพบปัญหาให้รายงานผู้บังคับบัญชาให้ทราบ หากเป็นเหตุการณ์ด่วน โทรแจ้ง 191 ทันที แล้วรับรายงานให้ผู้บังคับบัญชาด้วย • ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย • การลงโทษผู้ละทิ้งหน้าที่เวรรักษาสถานที่ราชการมติค.ร.ม. นร. 0203/ว 103 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2528“ถ้าปรากฏว่าเวรละทิ้งหน้าที่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดตามความร้ายแรงแห่งกรณี”

  28. หน้าที่ครู - อาจารย์ เวรกลางคืน • ปฏิบัติหน้าที่รับเวรตั้งแต่เวลา 18.00 - 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น • ดูแลรักษาทรัพย์สินและความปลอดภัยของทรัพย์ของโรงเรียน • ตรวจตรา สถานที่และห้องต่างๆ ที่มีวัสดุ ครุภัณฑ์ ของโรงเรียน • ตรวจตราคนแปลกหน้า ที่เข้ามาในยามวิกาล ให้สอบถามให้ได้ข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน • ให้ระวังเรื่องอัคคีภัย หากเกิดปัญหาต้องใช้เครื่องดับเพลิงแก้ปัญหาในเบื้องต้น และรีบโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยดับเพลิง และแจ้งผู้บังคับบัญชาด่วน • ดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของยามรักษาการณ์ ให้ปฏิบัติหน้าที่เวรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย • ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

  29. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๕ ข้อ ๑๘ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาป่วย เพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ ผบ. ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต ก่อน หรือ ในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะเสนอหรือส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้ กรณีลาไปต่างประเทศ ต้องขออนุญาตต่ออธิบดี

  30. กรณีเสพสุรา มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๓ กันยายน ๒๔๙๖ • ข้าราชการครูผู้ใดเสพสุรามึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ ซึ่งอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ให้พิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี • ข้าราชการผู้ใดเสพหรือมึนเมาสุราในกรณีต่อไปนี้ อาจถูกลงโทษสถานหนักถึงให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ เช่น 1. เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2. เมาสุราเสียราชการ 3. เมาสุราในที่ชุมชนจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ มติค.ร.ม. 14 กรกฎาคม 2496 เรื่อง ห้ามเสพสุราขับยานยนต์ • ห้ามมิให้ข้าราชการหรือพนักงานขับรถของหน่วยราชการ และองค์การต่าง ๆ เสพสุราในเวลาขับยานยนต์ ถ้าปรากฏว่าผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าเป็นความผิดต้องลงโทษหนัก

  31. ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยมิชอบ(กลั่นแกล้ง)ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยมิชอบ(กลั่นแกล้ง) - จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลการลงเวลาทำการของข้าราชการในสังกัด - 8.30 น. จำเลยจะขีดเส้นและลงชื่อกำกับไว้ - จำเลยสั่งให้ นาย ก. นำสมุดลงเวลาจากตำแหน่งที่วางไว้มาเสนอจำเลยก่อน 8.30 น. ทำให้โจทก์ และเพื่อน 5 คน ซึ่งมาปฏิบัติราชการ 8.20 น. ไม่สามารถลงเวลาทำงานได้

  32. ต่อมาโจทก์และเพื่อนได้ลงเวลาตามความเป็นจริง ทำให้จำเลยไม่พอใจ และสั่งให้โจทก์และเพื่อนแก้ไขเวลาเป็นเวลาหลัง 8.30 น. แต่โจทก์ไม่ยินยอม - การกระทำดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ว่าโจทก์มาปฏิบัติราชการสายทำให้ได้รับโทษทางวินัยทั้งที่มิได้กระทำผิด

  33. ต่อมาจำเลยลงโทษโจทก์โดยไม่มีอำนาจต่อมาจำเลยลงโทษโจทก์โดยไม่มีอำนาจ โจทก์ขอคัดรายงานการสอบสวน แต่จำเลยไม่อนุญาต จำเลยสั่งให้ จนท. บันทึกข้อมูลลงในทะเบียนประวัติของโจทก์ ว่าถูกลงโทษ ศาลจำคุก 2 ปี แต่ให้รอการลงโทษ

  34. มาตรา ๘๗ ตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้ราชการและ ผู้เรียน จะ ละทิ้ง หรือ ทอดทิ้ง หน้าที่..ไม่ได้ ละทิ้ง / ทอดทิ้ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุเสียหายราชการร้ายแรง หรือละทิ้งติดต่อกันเกิน สิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลสมควร... ผิดร้ายแรง

  35. กรณีละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการกรณีละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ  ละทิ้ง-จุดที่กำหนดให้ปฏิบัติงาน กลับละทิ้งหน้าที่ออกไป ที่อื่น หรือออกนอกจุดที่กำหนดให้อยู่ประจำ - ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเลย • ทอดทิ้ง- ตัวอยู่แต่ไม่ทำงาน ไม่เอาใจใส่ ไม่เอาเป็นธุระ หรือปล่อยให้งานคั่งค้าง • อุทิศเวลาของตน - การสละเวลาที่นอกเหนือต้องปฏิบัติ ตามปกติ เช่น วันหยุดราชการ นอกเวลา ปฏิบัติงานราชการ

  36. พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๑๖ ข้าราชการที่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันควรหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันทิ้งหน้าที่ราชการหรือหนีราชการดังกล่าว

  37. มาตรา ๒๗ ภายใต้บังคับ กม. ว่าด้วยการ (พรบ.) สงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ (พ.ศ.๒๕๔๖) ให้ข้าราชการลาป่วยได้รับเงินเดือนระหว่างลา ในปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันทำการ แต่ถ้า ผบ. ตั้งแต่อธิบดี เห็นสมควรจะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน ๖๐ วันทำการ

  38. มาตรา ๒๙ ให้ข้าราชการลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ

  39. กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๖ ข้าราชการครู...ซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๔) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการ (๗) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด (๘ ครั้ง)

  40. กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้น (ต่อ) (๘) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการหกเดือน โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงการลา ดังต่อไปนี้ (ก) ลาอุปสมบท,ประกอบพิธีฮัจย์ (ข) ลาคลอดบุตร ไม่เกินเก้าสิบวัน (ค) ลาป่วยรักษาตัวนานคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ (ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือในขณะเดินทางไป-กลับจากการปฏิบัติราชการ

  41. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของกระทรวงศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๕ ให้สถานศึกษาเริ่มทำงานตั้งแต่ ๐๘.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๓๐ น. หยุดกลางวันตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐ น. – ๑๓.๐๐ น. และโดยมีวันหยุดประจำสัปดาห์คือวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ข้อ ๖. วันปิดภาคเรียนให้ถือว่าเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน แต่สถานศึกษาอาจอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการตามปกติ ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ.2526 "วันหยุดประจำสัปดาห์" หมายความว่า วันอาทิตย์หรือวันอื่นใดที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นเพื่อ ความเหมาะสมตามลักษณะของงาน ส่วนราชการใดจะกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ก็ได้

  42. กรณีตัวอย่าง เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 นายฝุ่นได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ต่อมาเวลา 11.30 น. นายฝุ่นได้ออกไปจากโรงเรียนโดยไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา เมื่อกลับเข้ามาในโรงเรียนเวลาประมาณ 15.00 น. นายฝุ่นอ้างว่าพาบุตรไปหาหมอ แต่ครูใหญ่ไม่เชื่อเพราะเคยว่ากล่าวตักเตือนมาหลายครั้งแล้ว เกี่ยวกับการไม่มาปฏิบัติหน้าที่บ่อยครั้ง พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง กรณีทอดทิ้งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ภาคทัณฑ์

  43. การเสพหรือเมาสุราที่ผิดวินัยร้ายแรงการเสพหรือเมาสุราที่ผิดวินัยร้ายแรง ๑. เสพสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ ๒. เมาสุราเสียหายราชการ ๓. เมาสุราในที่ชุมชนจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือ เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ

  44. กรณีตัวอย่าง นายศักดิ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียน ล ในช่วงเช้าก่อนไปโรงเรียน นายศักดิ์จะแวะเข้าร้านค้าในหมู่บ้านนั่งดื่มสุราเป็นประจำ บางวันเสพสุรามึนเมาครองสติไม่ได้ก็นอนหลับที่ร้านค้าหรือจะขับรถกลับบ้านเลย บางวันพอที่จะครองสติได้ก็เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ และได้ลงเวลามาปฏิบัติราชการย้อนหลัง เสพสุราและเมาสุราทั้งในและนอกเวลาราชการ มีผลทำให้ปฏิบัติราชการไม่เต็มที่และไม่สามารถสอนนักเรียนได้ พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีบกพร่องในหน้าที่ราชการและประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ให้ออกจากราชการ

  45. กรณีชู้สาว • หมายถึง เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ในเชิงกามารมณ์ทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โสด กับ โสด โสด กับ ไม่โสด ไม่โสด กับ ไม่โสด จดทะเบียนสมรสซ้อน อนาจารนักเรียน (ไล่ออก) มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับศิษย์ (ไม่ว่ายอมหรือไม่ ไล่ออก) อื่น เช่น จิตวิปริตทางเพศ เกย์ เลสเบี้ยน

  46. ครูสตรีตกเป็นภรรยาน้อย (มิใช่ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย) อยู่ในฐานะนางบำเรอ ซึ่งไม่มีทางใดที่จะเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและชื่อสกุลในสมุดประวัติได้ กรณีเช่นนี้ย่อมเป็นการขัดกับความรู้สึกของประชาชน ศธ. ก็พิจารณาเฉพาะรายที่มีเรื่องเกิดขึ้น พฤติการณ์เช่นนี้ ศธ. รังเกียจ

  47. กรณีชู้สาว กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาชายหรือหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศฉันท์ชู้สาวถึงขั้นประพฤติผิดประเวณี โดยสมัครใจ ให้ถือว่าผิดร้ายแรง อย่างน้อยปลดออก หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว6 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2550

More Related