210 likes | 578 Vues
การประเมินค่างาน ตามแนวทางของระบบจำแนกตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551. มาตรา 47. กระจาย อำนาจ การ กำหนด ตำแหน่ง.
E N D
การประเมินค่างานตามแนวทางของระบบจำแนกตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 47 กระจายอำนาจการกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใดสายงานใด ระดับใดให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดโดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลักทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดและต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 48
เนื้อหา • ความหมายของการประเมินค่างาน • หลักการและแนวคิดของการประเมินค่างาน • เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินค่างาน
การประเมินค่างาน JOB EVALUATION
ความหมายของการประเมินค่างานความหมายของการประเมินค่างาน “ การประเมินค่างาน เป็นวิธีการดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อตีค่างาน โดยเป็นกระบวนการวัดความสัมพันธ์หรือคุณค่างานของตำแหน่ง ที่ไม่ใช่วัดปริมาณงาน ซึ่งเป็นการนำงานทั้งหมดมาเปรียบเทียบกันภายใต้ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เป็นตัววัดหลักเพื่อตีค่างานออกมา ”
ทำไมต้องมีการประเมินค่างานทำไมต้องมีการประเมินค่างาน ในบริบทของภาคราชการพลเรือนไทย เพื่อให้การกำหนดระดับตำแหน่งในภาคราชการพลเรือนมีมาตรฐาน เป็นธรรมและไม่เหลื่อมล้ำกันระหว่างส่วนราชการ
เมื่อไหร่ต้องมีการประเมินค่างานเมื่อไหร่ต้องมีการประเมินค่างาน 1 มีการกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่ในหน่วยงาน 2 หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่งเปลี่ยนไป
กระบวนการประเมินค่างานกระบวนการประเมินค่างาน วิเคราะห์งานJA ข้อมูลเกี่ยวกับงานJD วิธีการJE วินิจฉัยตีค่างาน(คณะกรรมการ) กำหนดระดับตำแหน่ง ยอมรับได้ Acceptableมีความยุติธรรม Felt-Fair
หลักการประเมินค่างาน 1 ต้องเข้าใจงาน - ต้องมีการวิเคราะห์งาน 2 ประเมินที่งาน - มิใช่ตัวบุคคลที่ครองตำแหน่ง 3 มีมาตรฐาน - ต้องสะท้อนกับงานปัจจุบันและสอดคล้องกับระดับตำแหน่ง 4 ไม่มีอคติ– เก็บข้อมูล วิเคราะห์และตีค่างานอย่างเป็นธรรม 5 ตรวจสอบให้แน่ใจ - ตรวจสอบความสัมพันธ์ทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง
ขั้นตอนการประเมินค่างานขั้นตอนการประเมินค่างาน โปรแกรมประเมินค่างาน ขั้นศึกษา ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นนำเสนอ
แนวคิดเรื่องการประเมินค่างาน :องค์ประกอบพื้นฐานของงานทุกประเภท การประเมินค่างานของโปรแกรมประเมินค่างาน THROUGHPUT INPUT OUTPUT กระบวนงาน องค์ประกอบที่ใช้ในกระบวนงาน ความรู้KNOW - HOW ทักษะการแก้ไขปัญหาPROBLEMSOLVING ความรับผิดชอบACCOUNTABILITY องค์ความรู้ (Know How)ขอบเขตการบริหารจัดการ(Management Breadth)ระดับมนุษยสัมพันธ์ที่จำเป็น(Human Relations Skill) ขอบเขตการตัดสินใจในงาน(Thinking Environment)ระดับความยากในการตัดสินใจ(Thinking Challenge) อิสรภาพในการปฏิบัติหน้าที่(Freedom to Act)ลักษณะของผลกระทบ(Type of Impact) ขอบเขตของผลกระทบ(Magnitude) องค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินค่างาน
การกำหนดระดับตำแหน่ง ผลลัพธ์การประเมินค่างานจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่าคะแนน CSC Points ประจำแต่ละระดับของแต่ละกลุ่มประเภทตำแหน่ง เพื่อเปรียบเทียบว่าผลการประเมินควรจะตกอยู่ในระดับใดเช่น ในกลุ่มวิชาการ หากการประเมินตกอยู่ในคะแนน 342 ซึ่งเป็นคะแนนของระดับชำนาญการประเภทวิชาการ งานที่มีผลการประเมินเช่นนั้นก็ควรอยู่ระดับชำนาญการ เป็นต้น ค่าคะแนนของแต่ละกลุ่มตำแหน่งเป็นไปดังรูป ระดับทรงคุณวุฒิ901-1,240 ระดับทักษะพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ631-900 ระดับอาวุโส221-451 ผลของการประเมินค่างาน ชำนาญการพิเศษ452-630 ระดับชำนาญงาน155-220 ระดับสูง725-1,035 ระดับสูง ระดับชำนาญการ321-451 ระดับปฏิบัติงาน105-154 ระดับปฏิบัติการ221-320 ระดับต้น520-724 ระดับต้น ทั่วไป วิชาการ อำนวยการ บริหาร
รูปแบบของการใช้โปรแกรมประเมินค่างานรูปแบบของการใช้โปรแกรมประเมินค่างาน
กระบวนการประเมินค่างานผ่านโปรแกรมการประเมินค่างานกระบวนการประเมินค่างานผ่านโปรแกรมการประเมินค่างาน • การประเมินค่างานผ่านโปรแกรมประเมินค่างานนั้นจะเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ต้องการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งให้เป็นระดับสูงขึ้น โดยผู้ประเมินต้อง • - ดำเนินการวิเคราะห์งาน เพื่อแสดงว่าตำแหน่งงานที่ต้องการจะประเมินค่างานใหม่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ ภาระงานหรือคุณภาพงานของตำแหน่งไปจากเดิม • - ประเมินค่างาน โดยตอบคำถามทั้ง 20 คำถาม ซึ่งจะเป็นวิธีการประเมินตามมาตรฐานของกระบวนการประเมินค่างานที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด (CSC Points) โดยอิงมาตรฐานของเฮย์กรุ๊ปตามหลักแนวคิดและกระบวนวิธีการประเมินค่างานที่ใช้ Hey Guide ChartsProfile Method of Job Evaluation ซึ่งเป็นวิธีการประเมินค่างานอันเป็นลิขสิทธิ์ของเฮย์กรุ๊ปและเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกมากว่า 60 ปี โดยชุดคำถามจะสะท้อนปัจจัยการประเมินค่างานที่กำหนดเป็นชุดของคำสั่งที่สร้างไว้ตามลำดับขั้นตอน (algorithm) เพื่อใช้ประเมินค่าคะแนน โดยชุดคำสั่งดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบจนได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำ เพื่อผลการประเมินค่างานที่มีความเที่ยงตรง (Validity) และเชื่อถือได้ (Reliability)
กระบวนการวิเคราะห์งานกระบวนการวิเคราะห์งาน เขียนบรรยายความสำคัญของงานที่ต้องการปรับระดับให้สูงขึ้น และอธิบายเหตุผลที่ต้องปรับระดับตำแหน่งดังกล่าว เขียนบรรยายภาระของงานที่เพิ่มขึ้น หรือขอบเขตของงานที่ขยายมากขึ้น หรือยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น เขียนบรรยายหน้าที่ความรับผิดชอบหลักและผลสัมฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เขียนบรรยายประเภทหรือระดับของความรู้ที่ต้องการเพิ่มขึ้น เขียนบรรยายประเภทหรือระดับของทักษะที่ต้องการเพิ่มขึ้นตามระดับตำแหน่ง เขียนบรรยายประสบการณ์ที่ต้องการเพิ่มขึ้นตามระดับตำแหน่ง เขียนบรรยายประเภทหรือระดับของสมรรถนะที่ต้องการเพิ่มขึ้นตามระดับตำแหน่ง
กลไกการประเมินค่างานในโปรแกรมการประเมินค่างานกลไกการประเมินค่างานในโปรแกรมการประเมินค่างาน ในโปรแกรมการประเมินค่างานนั้นจะอ้างอิงจากแนวคิดเรื่องการประเมินค่างานของเฮย์กรุ๊ปซึ่งจะประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการดังต่อไปนี้ ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง Know-Howและ Problem Solvingตามค่ามาตรฐานของเฮย์กรุ๊ป ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน(Know-How) โดยในโปรแกรมจะมีการตรวจสอบความคงเส้นคงวาและความน่าเชื่อถือของคะแนนเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ถูกต้องที่สุด ด้านการคิดและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา(Problem-Solving) ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง Problem Solvingและ Accountability ตามการตรวจสอบ Profile Checkของเฮย์กรุ๊ป ด้านภาระความรับผิดชอบ(Accountability)
กลไกการประเมินค่างานในโปรแกรมฯกลไกการประเมินค่างานในโปรแกรมฯ ปัจจัยหลัก 3 ประการจะถูกแบ่งออกเป็น 20 คำถามดังนี้ Technical Know-How ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน(Know-How) การประยุกต์ความรู้ที่จำเป็นในงาน (AP-K-H) ความรู้และทักษะในเชิงเทคนิค(TH) การศึกษา(Req Ed) ประสบการณ์ (Req Ex)0 Management Breadth ลักษณะของการทำงานเป็นทีม(Coor) การวางแผน (Plan) การบริหารจัดการ (MB) Human Relationship Skill ระดับของมนุษย์สัมพันธ์ (IU) การติดต่อสื่อสาร (Contact) Freedom to Think กรอบแนวคิดสำหรับการแก้ปัญหา (PS) ความอิสระในการคิด(TH-L) ด้านการคิดและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา(Problem-Solving) Thinking Challenge การวิเคราะห์ข้อมูล (IA) ความท้าทายในงาน (Chal) Freedom to Act ด้านภาระความรับผิดชอบ(Accountability) อิสระในการทำงาน (FA) การได้รับอำนาจ (Emp) อำนาจในการตัดสินใจ (DM) Impact Type of Impact ผลกระทบ (Impact) ลักษณะของงาน (Purpose) Level Check Profile Check (Profile)
ขั้นตอนการตอบคำถามเพื่อการประเมินค่างานขั้นตอนการตอบคำถามเพื่อการประเมินค่างาน ขั้นตอนในโปรแกรมการประเมินค่างาน • ก่อนตอบคำถามทุกครั้ง โปรแกรมจะขึ้นหน้าเอกสารสรุปงาน เพื่อให้มีการปรับปรุงเอกสาร สรุปงาน (Role Profile) ของตำแหน่งที่ต้องการประเมิน ไม่เช่นนั้นโปรแกรมจะไม่ผ่าน ไปยังคำถามเพื่อประเมินค่างาน • การตอบคำถามจำเป็นต้องอธิบายเหตุผลประกอบว่าทำไมตำแหน่งงานที่กำลังประเมินจึงควรได้รับ คะแนนแบบนี้ ไม่เช่นนั้นโปรแกรมจะไม่ผ่านไปยังข้อถัดไป • คำถามทั้งหมด 20 คำถามจะถูกจัดเรียงให้สลับที่กันโดยอัตโนมัติ เพื่อพยายามให้ผู้ประเมินตอบ ตามความเป็นจริงที่สุด • คำตอบทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในโปรแกรมเพื่อส่งไปยังคณะกรรมการตรวจสอบผลการประเมิน ค่างานต่อไป
ข้อคำถามในการประเมินค่างานข้อคำถามในการประเมินค่างาน ด้านภาระความรับผิดชอบ (Accountability) • ประเภทและระดับตำแหน่ง ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน (Know-How) • ความรู้ที่จำเป็นในงาน • ความรู้ ความสามารถ และทักษะในเชิงเทคนิค • ระดับการศึกษา • ประสบการณ์ที่ต้องการในงาน • ลักษณะของการทำงานเป็นทีม • การวางแผน • การบริหารจัดการ • ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ที่จำเป็นในงาน • ลักษณะของการติดต่อสื่อสารที่จำเป็นในงาน
ข้อคำถามในการประเมินค่างาน (ต่อ) ด้านการคิดและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Problem-Solving) • กรอบแนวคิดสำหรับการแก้ไขปัญหา • อิสระในการคิด • การวิเคราะห์ข้อมูล • ความท้าทายในงาน ด้านภาระความรับผิดชอบ (Accountability) • อิสระในการทำงาน • การได้รับอำนาจในการทำงาน • อำนาจในการตัดสินใจ • ผลกระทบ • ลักษณะของงาน • วัตถุประสงค์หลักของงาน