1 / 40

Computer Hardware

Computer Hardware. อ.วันชนะ ประสมศรี 083-9893149 wanchana_stech@hotmail.com. ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์. 1. CRT Monitor (Cathode Ray Tube Monitor) 2. LCD Monitor (Liquid Crystal Display Monitor).

sema
Télécharger la présentation

Computer Hardware

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Computer Hardware อ.วันชนะ ประสมศรี 083-9893149wanchana_stech@hotmail.com Sriwattana Institute of International Business and Technology

  2. ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์ 1. CRT Monitor(Cathode Ray Tube Monitor) 2. LCD Monitor (Liquid Crystal Display Monitor) จอภาพคอมพิวเตอร์(Monitor) :เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการแสดงผล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  3. 1. CRT Monitor (Cathode Ray Tube Monitor) เป็นจอภาพที่ใช้หลอดแก้วในการแสดงภาพ ภายในฉาบสารเรืองแสง โดยจอภาพจะมีปืนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการยิงลำแสง เมื่อมีการตกกระทบ จะมีแสงเรืองตามสี ปรากฏให้เห็นตามที่ต้องการ

  4. 2. LCD Monitor (Liquid Crystal Display Monitor) เป็นจอภาพแบบใช้ผลึกเหลวของหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะกำหนดแสงสว่างอยู่บริเวณที่ด้านหลังของจอภาพ แสงสว่างจะผ่านไปยังตัวกรองโพลาไรซ์มีผลทำให้เกิดการแสดงผลที่เฉดสีต่าง ๆ

  5. ยูพีเอส (UPS : Uninterruptible Power Supply) เป็นเครื่องสำรองกระแสไฟฟ้า ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร

  6. หลักการทำงานพื้นฐานของยูพีเอสหลักการทำงานพื้นฐานของยูพีเอส • Line In : เป็นจุดรับกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า • Control : ทำหน้าที่ตรวจสอบระดับแรงดันของกระแสไฟฟ้าที่จุดขาเข้า – ออก • Stabilizer : จะควบคุบการเปลี่ยนแปลงของระดับกระแสไฟฟ้า • Inverter : ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสำรอง • Battery : ทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้กับภาค Inverter • Charger : ทำหน้าที่ชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับ Battery

  7. เมาส์ (Mouse) :ทำหน้าที่ ใช้ในการป้อนคำสั่งหรือข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการชี้ตำแหน่งบนหน้าจอ แบ่งจากลักษณะการทำงานมี 2 แบบ

  8. เมาส์แบบใช้กลไก (Mechanical) เป็นเมาส์ที่มีราคาถูก การทำงานจะใช้ลูกบอลสัมผัสกับแกน โดยล้อกลไกจะหมุนตัดลำแสงเมื่อมีการเคลื่อนที่ • เมาส์แบบใช้ลำแสง (Optical)ใช้วิธีการฉายลำแสงไปที่พื้นผิว ซึ่งแสงที่เกิดการสะท้อนจากพื้นผิวขึ้นมาก็จะใช้ CMOS เพื่อวิเคราะห์ความเร็วและทิศทางของลูกศรชี้ตำแหน่ง

  9. คีย์บอร์ด (Keyboard): ทำหน้าที่ใช้ในการป้อนคำสั่งหรือข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการกดปุ่มที่คีย์บอร์ด

  10. Printer อุปกรณ์เครื่องพิมพ์ที่รับสัญญาณตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์งานออกมาเป็น ข้อความ ภาพ ลงบนกระดาษ หรือวัตถุอื่นในประเภทเดียวกัน

  11. สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ

  12. ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพวเตอร์ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพวเตอร์ • เพาเวอร์ซับพลาย (Power Supply) : เป็นอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยจะแปลงสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสไฟฟ้าตรง

  13. ชนิดของ Power Supply • แบบ AT Power Supply • แบบ ATX Power Supply เป็นภาคจ่ายไฟฟ้าในปัจจุบันและสนับสนุนคำสั่ง Shot Down หรือ Turn Off Computer

  14. ขั่วจ่ายไฟฟ้าเลี้ยงแผงวงจรหลักของ ATX Power Supply • ขั่วจ่ายไฟฟ้า ATX Power Supply Connector 20 pin • ขั่วจ่ายไฟฟ้า ATX Power Supply Connector 24 pin มาตรฐานของภาคจ่ายไฟฟ้าแบบ ATX Power Supply เป็นขั่วจ่ายไฟฟ้าแผงวงจรแบบ 20 Pin

  15. ขั่วจ่ายไฟฟ้าลี้ยงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Device) • ขั่วจ่ายไฟฟ้าเลี้ยง FDD : เป็น ขั่วจ่ายไฟฟ้าเลี้ยง Floppy Drive • ขั่วจ่ายไฟฟ้าเลี้ยง HDD (จ่ายไฟฟ้าเลี้ยง Hard Disk) , CD/DVD Drive

  16. ซีพียู (CPU : Central Processing Unit) : เป็นหน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่คำนวนเลข โดยชิปไมโครโปรเซสเซอร์หรือซีพียูเปรียบคล้าย ๆ กับหัวสมองของคอมพิวเตอร์

  17. คุณสมบัติของซีพียู • Frequency Clock คือความถี่ของระดับสัญญาณนาฬีกา มีหน่วยวัดความถี่คือ Hz (เฮิรตซ์ : Hertz) ค่าของหน่วยวัดความเร็วในการประมวลผลดังนี้ 1 Hz (Hertz) = 1 ครั้งต่อ 1 วินาที 1 MHz (Mega Hertz) = 1 ล้านครั้งต่อ 1 วินาที 1 GHz (Giga Hertz) = 1 พันล้านครั้งต่อ 1 วินาที

  18. คุณสมบัติของซีพียู • FSB (Front – Side Bus) คือความเร็วของการเชื่อมต่อระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำหลัก • Retio/Multiplier คือค่าของตัวคูณความเร็ว • Overclock คือการเปลี่ยนค่าของระดับความถี่ของสัญญาณนาฬิกาซีพียู • Volt คือค่าระดับของแรงไฟฟ้าที่ใช้กับตัวซีพียู • Cache Memory (L1/L2/L3) คือหน่วยความจำที่ใช้พักข้อมูล หรือเรียกว่าหน่วยความจำแคช

  19. การทำงานของหน่วยความจำแคช (Cache Memory) :เป็นหน่วยความจำที่สำคัญมาก เป็นหน่วยความจำความเร็วสูงเพื่อทำสำเนาเก็บข้อมูล มาเก็บไว้ในหน่วยความจำแคช เวลาที่ซีพียูต้องการข้อมูลก็จะสามารถเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้ประมวลได้เร็วขึ้น

  20. หน่วยความจำแคชแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ 1. หน่วยความจำแคชแบบติดตั้งภายนอกตัวซีพียู (External Cache Memory) จะมีความเร็วในการรับ – ส่ง ข้อมูลที่ช้ากว่าแบบหน่วยความจำแคชที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวซีพียู

  21. 2.หน่วยความจำแคชแบบที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวซีพียู (Internal Cache Memory) แบ่งได้ 3 แบบ - L1 (Level 1) Cache Memory หน่วยความจำแคชระดับที่ 1 มีขนาดความจุ 20, 32, 128 KB- L2 (Level 1) Cache Memory หน่วยความจำแคชระดับที่ 2 มีขนาดความจุ 64, 256, 512 KB 1, 2, 4, 8, 12 MB- L3 (Level 1) Cache Memory หน่วยความจำแคชระดับที่ 3 มีขนาดความจุ 1024, 2048 KB

  22. CPU Cooler (CPU Heatsink & Fan) อุปกรณ์ช่วยระบายความร้อนของซีพียู จะใช้แผ่นระบายความร้อนที่เป็นแผ่น ๆ ลักษณะเป็นครีบระบายความร้อน แต่การออกแบบแผ่นระบายความร้อนในลักษณะต่าง ๆ ก็ยังคงช่วยเรื่องอุณหภูมิได้มามากนัก จึงได้มีการพัฒนาโดยการนำพัดลมมาใช้งานร่วมกันกับตัวแผ่นระบายความร้อน

  23. สารเคมีระบายความร้อน (Thermal Grease) เป็นสารเคมีช่วยระบายความร้อนที่จะช่วยในการถ่ายเทความร้อน ระหว่างแกนซีพียูกับแผ่นระบายความร้อน

  24. CPU Die Size เป็นขนาดพื้นที่ผิวของซีพียู จะวัดขนาดเป็นตารางมิลลิเมตร (mm2) มีส่วนประกอบคือ - CPU Die คือชิปที่มีขนาดเล็ก ๆ จะเรียกกันว่า แกน (Core) - IHS (Integrated Heat Spreader) คือฝาครอบ CPU Die เป็นตัวกระจาย ความร้อนและช่วยป้องกันตัวชิป

  25. บริษัทที่ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ชิปหรือซีพียูบริษัทที่ผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ชิปหรือซีพียู • ไมโครโปรเซสเซอร์ชิปหรือซีพียูของบริษัท Intel Pentinmเป็นชิปซีพียูแบบ 32 บิต การทำงานใช้ระบบบัส 64 บิต มีหน่วยความจำแคช 16 KB  Celeron เป็นชิปซีพยู Pentium II เป็นหน่วยความจำแคชระดับที่ 2 มีขนาด 128 KB การทำงานระบบบัสมีความเร็ว 66 MHz Intel Core 2 Quad Processor เป็นชิปซีพียูที่มีความเร็ว 2.13 GHz ความเร็วของระบบบัส 1.06 GHz

  26. ไมโครโปรเซสเซอร์ชิปหรือซีพียูของบริษัท ABD Athlon Thunderbird Core เป็นซีพียูที่ใช้เทคโนโลยีแบบ 0.18 ไมครอน ระบบบัสทำงานทั้งขาขึ้นและขาลง ของความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ความถี่ระบบบัส 100 MHz ความเร็วระบบบัสทำงานที่ความเร็ว 200 MHz Athlon 64 เป็นซีพียูที่มีการประมวลผลแบบ 64 บิต สามารถรองรับการประมวลผลแบบ 32 บิตได้ ตัวชิปซีพีพยูมีหน่วยความจำแคชระดับ L2 มีขนาด 512 – 1024 KB

  27. แผงวงจรหลัก (Motherboard/Mainboard): เป็นแผงวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นแผงวงจรหลัก ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเป็นศูนย์กลางในการติดต่อหรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ

  28. ประเภทของ Mainboard แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของแผงวงจร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.แผงวงจรหลักแบบ AT form Factor(AT : Advance Technology) เป็นแผงวงจรแบบเก่าระบบการระบายความร้อนที่ยังไม่ดี มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส

  29. 2. แผงวงจรหลักแบบ ATX form Factor(ATX : Advance Technology Extended) เป็นแผงวงจรที่มีการออกแบบตำแหน่งและอุปกรณ์บนแผงวงจรหลักใหม่ เพื่อให้มีการระบายความร้อนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และรองรับคำสั่งของระบบปฏิบัติการ เช่น คำสั่ง Shut Down

  30. ส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลักส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลัก • ช่องสำหรับติดตั้งซีพียู (CPU Socket)ช่องใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับแผงวงจรหลัก แต่ละแบบจะกำหนดว่าสามารถติดตั้งซีพียูรุ่นใด • ชิปเซต (Chipset)จะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของแผงวงจรหลัก ชิปเซตของแผงวงจรหลักแบ่งออกเป็น 2 แบบ

  31. ชนิดของชิปเซตของแผงวงจรหลักชนิดของชิปเซตของแผงวงจรหลัก 1. แบบใช้ชิปเซตตัวเดียว (All in one Chipset) 2. แบบใช้ชิปเซต 2 ตัว แบ่งออกเป็น “North Bridge Chipset” และ “South Bridge Chipset” ส่วนใหญ่แผงวงจรหลักจะใช้ชิปเซตจำนวน 2 ตัวในการทำงาน

  32. North Bridge Chipsetทำหน้าที่ควาบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูง อุปกรณ์ที่ทำงานผ่านระบบบัสโดยตรง เช่น ซีพียู หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล • South Bridge Chipsetทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เป็นอุปกรณ์ Input/Output เช่น อุปกรณ์เก็บข้อมูล HDD (ฮาร์ดดิสไดรฟ์ : Hard Disk Drive) , CD/DVD Drive

  33. ส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลักส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลัก • Memory Module Socket คือช่องเสียบที่ใช้สำหรับติดตั้งหน่วยความจำเข้ากับแผงวงจรหลัก • Expansion Slot ทำหน้าที่เป็นช่องเสียบอุปกรณ์การ์ดเสริม ใช้สำหรับติดตั้งการ์ดต่าง ๆ เช่น การ์ดจอภาพ , การ์ดเสียง

  34. ประเภทช่องเสียบการ์ดเสริมประเภทช่องเสียบการ์ดเสริม • ISA Slot (Industrial Standard Architecture Slot) • PCI Slot (Peripheral Component Interface Slot) • AGP Slot (Accelerate Graphic Port Slot) เป็นช่องสำหรับเสียบการ์ดแสดงผลภาพหรือการ์ดจอภาพ • PCI Express Slot เป็นช่องเสียบที่เป็นเทคโนโลยีระบบใหม่จะแทนที่ AGP Slot

  35. ตัวอย่างรูปภาพประเภทช่องเสียบการ์ดเสริมตัวอย่างรูปภาพประเภทช่องเสียบการ์ดเสริม • ISA Slot • PCI Slot • AGP Slot • PCI Express Slot

  36. ส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลักส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลัก • FDC (Floppy Disk Drive) เป็นจุดต่อสายสัญญาณระหว่างอุปกรณืจัดเก็บข้อมูลแบบใช้แผ่นดิสเกตต์ขนาด 3.5” ขนาดความจุต่อแผ่น 1.44 MB

  37. IDE (Integrated Drive Electronics) เป็นจุดต่อสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ CD/DVD Drive ช่อง IDE สามารถต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้ช่องละ 2 ตัว

  38. ส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลักส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลัก • SATA Connector จุดต่อใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบแผ่นโลหะแข็ง หรือเรียกกันว่า HDD มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการรับ – ส่งข้อมูลที่เร็วมากขึ้นมีอัตราการรับ – ส่งข้อมูล 150/300/600 MB/s

  39. ส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลักส่วนประกอบที่สำคัญของแผงวงจรหลัก • จั้มเปอร์ (Jumper) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสะพาน เชื่อมวงจรไฟฟ้าให้ทำงาน (ON)หรือ ไม่ทำงาน (OFF)

  40. System Panel Connectorเป็นจุดต่อสายสวิตช์ควบคุมการทำงานที่บริเวณแผงควบคุมด้านหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น สวิตช์เปิด – ปิด (Power Switch) หรือ เริ่มต้นการทำงานของเครื่องใหม่ (Reset Switch)

More Related