1 / 1

sepo.go.th

www.sepo.go.th. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.). ข้อมูลทั่วไป. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สังกัด : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ : นายศุภชัย โพธิ์สุ กรรมการผู้แทน กค. : นางกรศิริ พิณรัตน์

yannis
Télécharger la présentation

sepo.go.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. www.sepo.go.th สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ : นายศุภชัย โพธิ์สุ กรรมการผู้แทน กค. : นางกรศิริ พิณรัตน์ Website : www.rubber.co.th โทร.02434 0180-91 ต่อ 251 • สกย. ไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจาก เป็นองค์การของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การที่มิใช่ธุรกิจ จึงมิใช่ “รัฐวิสาหกิจ” ตามบทนิยามใน ม.4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 195/2530) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 • ผู้อำนวยการ (CEO) : นายวิทย์ ประทักษ์ใจ • สัญญาจ้างลงวันที่ : 5 ต.ค. 52 • ระยะเวลาจ้าง : 29 ก.ย. 52 – 28 ก.ย. 56 •  วาระที่ 1 วาระที่ 2 • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO •  Board รอง CEO  บุคคลภายนอก • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFOพนักงาน  สัญญาจ้าง วัตถุประสงค์ (ม. 4) เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกระทำการใดๆ ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ รวมทั้ง การทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้องเป็นการสาธิตและส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์ กับให้รวมตลอดถึงการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตามที่รัฐบาลมอบหมาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธาน • เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการ • สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 6 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าของสวนยาง 4 คน และบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยาง 2 คน • ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ (ม.9) • · วาระการดำรงตำแหน่ง : กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี • แต่กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ (ม.10) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือน • ของผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.15) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 1,793 คน(31พ.ค. 54) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 52 เห็นชอบในหลักการร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ การรวม 3 หน่วยงานเข้าด้วยกัน คือ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยาง และ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นองค์กรกลางที่รับผิดชอบดูแล การบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร • ปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการแห่งร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง · กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้ (ม.24) 1) เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องเพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด 2) มีหนังสือเรียกบุคคล ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใดๆ เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์ แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาให้ถ้อยคำ 3) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใน 2) ส่งหรือแสดงเอกสารใดๆ อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร  www.krisdika.go.th  มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่า สกย. ได้รับสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นางสาวนัทธ์หทัย ขำดี โทร. 022985880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 8/2540 เรื่อง การสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 (กรณีการยกโรงงานผลิต ยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์กองทุนสวนยาง) สกย. ไม่สามารถยกโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันซึ่งสร้างขึ้นจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์กองทุนสวนยางได้ เนื่องจาก การยกโรงงานดังกล่าวให้สหกรณ์ไม่ถือว่าเป็นวิธีการสงเคราะห์ ตามที่กำหนดไว้ใน ม.8 ว.2 แห่ง พรบ. กองทุนสงเคราะห์ฯ อีกทั้ง สหกรณ์กองทุนสวนยางก็ไม่เป็นเจ้าของสวนยาง ตามบทนิยามคำว่า “เจ้าของสวนยาง” ตาม ม. 3 แต่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของสวนยางซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางตาม ม.18 ว.1 (3) แห่งพรบ. กองทุนสงเคราะห์ฯ

More Related