1 / 52

เรื่อง คลื่นเสียง

เรื่อง คลื่นเสียง. รหัสวิชา ว 32101. ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553. โรงเรียน ปัญญาวร คุณ. คลื่นเสียง. ผลการเรียนรู้. 1. อธิบายความหมายและการเกิดคลื่นเสียงได้ 2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นการกระจัดและคลื่นความดันได้ 3. คำนวณหาอัตราเร็วของคลื่นเสียงในตัวกลางต่าง ๆ ได้

Télécharger la présentation

เรื่อง คลื่นเสียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง คลื่นเสียง รหัสวิชา ว32101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนปัญญาวรคุณ

  2. คลื่นเสียง

  3. ผลการเรียนรู้ • 1. อธิบายความหมายและการเกิดคลื่นเสียงได้ • 2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นการกระจัดและคลื่นความดันได้ • 3. คำนวณหาอัตราเร็วของคลื่นเสียงในตัวกลางต่าง ๆ ได้ • 4. อธิบายสมบัติของคลื่นเสียงได้ • 5. บอกเงื่อนไขของการได้ยินคลื่นเสียงได้ • 6. คำนวณหาพลังงาน กำลัง ความเข้ม และระดับความเข้มของคลื่นเสียงได้ • 7. อธิบายมลภาวะของคลื่นเสียงได้ • 8. อธิบายการเกิดบีตส์ ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์และคลื่นกระแทกได้

  4. 1. คลื่นเสียง (Sound waves) • คลื่นเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน เช่น • เคาะส้อมเสียง • ตีกลอง • ตีระฆัง http://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l4c.html

  5. คลื่นเสียง เสียง เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้

  6. คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นของวัตถุ ความถี่ของเสียงจะมีค่าเท่ากับความถี่ของแหล่งกำเนิด และในขณะที่มี การสั่น โมเลกุลของตัวกลางจะมีการถ่ายทอดพลังงานทำให้เกิดความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่ง

  7. http://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l1c.htmlhttp://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l1c.html

  8. http://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l1c.htmlhttp://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l1c.html

  9. คุณลักษณะของเสียง คุณลักษณะเฉพาะของเสียง ได้แก่ ความถี่ความยาวช่วงคลื่นแอมปลิจูด และความเร็ว

  10. ความถี่ ระดับเสียง (pitch) หมายถึง เสียงสูงเสียงต่ำ สิ่งที่ทำให้เสียงแต่ละเสียงสูงต่ำแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ วัตถุที่สั่นเร็วเสียงจะสูงกว่าวัตถุที่สั่นช้า โดยจะมีหน่วยวัดความถี่ของ การสั่นสะเทือนต่อวินาที เช่น 60 รอบต่อวินาที, 2,000 รอบต่อวินาที เป็นต้น และนอกจาก วัตถุที่มีความถี่ในการสั่นสะเทือนมากกว่า จะมีเสียงที่สูงกว่าแล้ว หากความถี่มากขึ้นเท่าตัว ก็จะมีระดับเสียงสูงขึ้นเท่ากับ 1 ออกเตฟ (octave) ภาษาไทยเรียกว่า 1 ช่วงคู่แปด

  11. ความยาวช่วงคลื่น ความยาวช่วงคลื่น (wavelength) หมายถึง ระยะทางระหว่างยอดคลื่นสองยอดที่ติดกันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการอัดตัวของคลื่นเสียง (คล้ายคลึงกับยอดคลื่นในทะเล) ยิ่งความยาวช่วงคลื่นมีมาก ความถึ่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งต่ำลง

  12. แอมปลิจูด แอมปลิจูด(amplitude) หมายถึง ความสูงระหว่างยอดคลื่นและท้องคลื่นของคลื่นเสียง ที่แสดงถึงความเข้มของเสียง(Intensity)หรือความดังของเสียง(Loudness) ยิ่งแอมปลิจูดมีค่ามาก ความเข้มหรือความดังของเสียงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

  13. 3. อัตราเร็วเสียง • อัตราเร็วเสียงในตัวกลางไม่เท่ากัน • สมการคำนวณหาอัตราเร็วเสียงในอากาศได้ V = 331 + 0.6t = fλ • เมื่อ V คือ อัตราเร็วเสียงในอากาศที่อุณหภูมิ t 0C มีหน่วยเป็น m/s • t คือ อัตราอุณหภูมิของอากาศ มีหน่วยเป็น 0C • f คือ ความถี่เสียง มีหน่วยเป็น Hz • λ คือ ความยาวคลื่นเสียง มีหน่วยเป็น m

  14. อัตราเร็วเสียงในตัวกลางอัตราเร็วเสียงในตัวกลาง • v solids > v liquids > v gases • v = 331 m/s + (0.6 m/s/C)*T

  15. สมบัติของคลื่นเสียง การสะท้อนของคลื่นเสียง เมื่อเสียงเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง เสียงจะเกิดการสะท้อนและเป็นไปตามกฎการสะท้อนของเสียง มุมตกกระทบ =มุมสะท้อน เสียงสะท้อนกลับหรือเสียงก้อง เป็นเสียงที่เกิดจากการสะท้อนของคลื่นเสียงที่สะท้อนมาจากพื้นวัตถุมาเข้าหูผู้ฟัง เมื่อเสียงทั้งสองเข้าหูผู้ฟัง ในเวลาที่ต่างกันไม่น้อยกว่า 0.1วินาทีหรือ1/10วินาที

  16. Sonar (sound navigation and ranging) มีความถี่ในช่วง 20,000 - 50,000 Hz เช่น เสียงค้างคาว สุนัข ปลาโลมา เป็นต้น http://www.mod.uk/dpa/projects/sonarenvir/sonar_types.htm

  17. Ultrasound http://blue.utb.edu/sonography/home.html http://www.washington.edu/newsroom/news/images/ultrasound/

  18. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 4. ในอุณหภูมิ 200 เราต้องยืนห่างจากกำแพงใหญ่อย่างน้อยเท่าไร จึงจะได้ยินเสียงสะท้อนกลับ • (v = 343 m/s) • (L = 17.15 m)

  19. การหักเหของคลื่นเสียงการหักเหของคลื่นเสียง • การหักเหของคลื่นเสียงการหักเหของคลื่นเสียง เกิดจากคลื่นเสียงเดินทางในตัวกลางที่ต่างสภาวะกัน เช่น เห็นฟ้าแลบแต่ไม่ได้ยินฟ้าร้อง เพราะในบริเวณที่เกิดฟ้าแลบจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า บริเวณอื่น คลื่นเสียงจึงเดินทางจากบริเวณอุณหภูมิต่ำ เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณที่อุณหภูมิสูงแล้ว จะเกิดการหักเหในมุมที่สามารถเกิดการสะท้อนกลับหมดคลื่นเสียงจึงไม่ เดินทางมาถึงหูเรา

  20. 4.2 การหักเหของคลื่นเสียง คลื่นเสียงหักเหได้ เป็นไปตามกฎการหักเห เช่นเดียวกับคลื่นอื่น ๆ ดังนี้ กฎข้อที่ 1 รังสีตกกระทบ รังสีหักเห และเส้นปกติอยู่บนระนาบเดียวกัน กฎข้อที่ 2 เป็นไปตามกฎของสเนลล์ดังนี้

  21. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 5. เสียงเคลื่อนที่จากอากาศที่อุณหภูมิ 15 C0 ไปสู่อากาศที่อุณหภูมิ 90 C0 ด้วยมุมตกกระทบ 30 0 จงหามุมหักเห (sin-1 (0.566)) • 6. เสียงเคลื่อนที่จากอากาศด้วยความเร็ว 750 m/s ไปสู่น้ำ ถ้าเสียงเคลื่อนที่ในน้ำได้เร็ว 1,500 m/s จงหามุมวิกฤติ (300)

  22. 4.3 การแทรกสอดของคลื่นเสียง • เสียงเป็นคลื่นตามยาว เกิดการแทรกสอดเช่นเดียวกับคลื่นอื่น ๆ ถ้ามีคลื่นอาพันธ์ 2 ขบวนรวมกัน • ได้คลื่นเสียงลัพธ์เป็นคลื่นนิ่ง โดยที่ • จุดปฏิบัพ (antinode) จะมีเสียงดังที่สุด • จุดบัพ (node) จะมีเสียงเบาที่สุด

  23. การแทรกสอดของคลื่นเสียงการแทรกสอดของคลื่นเสียง การแทรกสอดของคลื่นเสียง เกิดจากคลื่นเสียง 2 ลูก ที่เหมือนกันทุกประการ เดินทางมาชนกัน ทำให้เกิดเสียงที่ดัง เมื่อสันคลื่นของคลื่นทั้ง 2 ลูกชนกัน ทำให้สันคลื่นสูงขึ้น และเกิดเสียงค่อย เมื่อสันคลื่นของคลื่นลูกหนึ่ง และท้องคลื่นของคลื่นอีกลูกหนึ่งพบกัน ทำให้สันคลื่นและท้องคลื่นหายไป จึงเกิดเสียงดังและค่อยสลับกันไปมา

  24. การเลี้ยวเบนของคลื่น เสียง การเลี้ยวเบนของคลื่นเสียง เกิดจากคลื่นเสียงเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางทำให้คลื่นเสียง สามารถเข้าถึงได้ทุกที เช่น เราอยู่หลังกำแพงแต่ยังได้ยินเสียงเพลงทีดังมาจากห้องข้าง

  25. บีตส์(BEAT) คือปรากฏการณ์ที่คลื่นเสียงสองขบวนที่มีความถี่ใกล้เคียงกัน(ห่างกันไม่เกิน 7Hz ) เคลื่อนที่มาในตัวกลางเดียวกันเกิดรวมคลื่นกันขึ้น ทำให้เกิดเสียงดัง-ค่อยเมื่อเวลาผ่านไป การเกิดบีตส์เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียง 2 แหล่งที่มีความถี่ใกล้เคียงกัน เช่น เคาะส้อมเสียง 2 อันที่มีความถี่ใกล้เคียงกันพร้อมกัน จะได้ยินเสียงดัง - ค่อย

  26. ความถี่บีตส์ ความถี่บีตส์ คือ เสียงดังเสียงค่อยที่เกิดขึ้นสลับกันใน 1วินาที เช่น ความถี่ ของบีตส์เท่ากับ7รอบ/วินาทีหมายความว่าใน1วินาทีจะมีเสียงดัง  7  ครั้งและเสียงค่อย7 ครั้ง

  27. การเกิดบีตส์

  28. 6. การเกิดบีตส์ • บีตส์ (beats) เกิดจากการแทรกสอดของคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกันไม่เกิน 7 Hertz • ความถี่บีตส์ คือ จำนวนครั้งของเสียงดังที่ได้ยินใน 1 วินาที • fb = f1 - f2 ; fb = ความถี่บีตส์ • ความถี่บีตส์ หาได้จากผลต่างของความถี่ของคลื่นเสียงทั้งสอง • ความถี่ที่หูได้ยิน • f1 , f2 = ความถี่ของคลื่นทั้งสอง

  29. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 17) เสียงความถี่ 1,000 Hz และ 1,004 Hz เข้ามารวมกัน ถามว่าเราจะได้ยินเสียงที่มีความถี่เท่าไร (1,002 Hz)

  30. http://www.kr.ac.th/ebook2/jonkol/05.html

  31. ปฏิบัพและบัพของคลื่นนิ่งของเสียงปฏิบัพและบัพของคลื่นนิ่งของเสียง ปฏิบัพเป็นตำแหน่งที่ความดันอากาศมีค่าเปลี่ยนแปลงด้วยแอมพลิจูดสูงสุด เรียกตำแหน่งนี้ว่า ปฏิบัพของความดัน ( pressure antinode ) บัพเป็นตำแหน่งที่ ความดันอากาศมีการเปลี่ยนแปลงด้วยแอมพลิจูดเป็นศูนย์พอดี เรียกตำแหน่งนี้ว่า บัพของความดัน ( pressure node )

  32. คุณภาพของเสียง คุณภาพของเสียง(quality) หมายถึงคุณลักษณ์ของเสียงที่เราได้ยินเมื่อเราฟังเพลง จากวงดนตรีวงหนึ่งนั้นเครื่องดนตรีทุกชนิดจะเล่นเพลงเดียวกันแต่เราสามารถแยกได้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นมาจากดนตรีประเภทใดเช่นมาจากไวโอลินหรือเปียโนเป็นต้นการที่เราสามารถแยกลักษณะของเสียงได้นั้นเพราะว่าคลื่นเสียงทั้งสองมีคุณภาพของเสียงต่างกัน คุณภาพของเสียงนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนโอเวอร์โทนที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงนั้นๆและแสดงออกมาเด่นจึงไพเราะต่างกันนอกจากนี้คุณภาพของเสียงยังขึ้นกับความเข้มของเสียงอีกด้วย

  33. 5. คลื่นเสียงกับการได้ยิน • 5.1 หูคนและกลไกลการได้ยิน • 5.2 ความเข้มและความดังของเสียง ความถี่ของเสียงที่คนปกติได้ยิน f = 20 – 20,000 Hz ความเข้มเสียงที่คนปกติได้ยิน I = 10-12 W/m2 ถึง 1 W/m2

  34. 5.1 หูและการได้ยิน • หูคนเรามี 3 ส่วน คือ • 1. หูส่วนนอก • 2. หูส่วนกลาง • 3. หูส่วนใน • หูมีกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ • 1. กระดูกค้อน • 2. กระดูกทั่ง • 3. กระดูกโกลน

  35. Anatomy of the human ear. http://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l2d.html

  36. Anatomy of the human ear. http://en.wikipedia.org/wiki/Eustachian_tube

  37. เสียงที่คนปกติได้ยิน • คนปกติได้ยินเสียงอยู่ในช่วงความถี่ 20-20,000 Hz • ถ้าใช้ความถี่เป็นเกณฑ์จะแบ่งระดับเสียง (pitch) ได้ 2 ระดับ คือ • 1. เสียงสูง หรือเสียงแหลม (trebel) • 2. เสียงต่ำ หรือเสียงทุ้ม (bass)

  38. เสียงคู่แปด (octave) http://www.christian-music-contest.com/recording-studio-design-1.html

  39. 5.2 ความเข้มและความดังของเสียง • คนปกติจะได้ยินเสียงที่มีความเข้ม 10-12 – 1 W/m2 • ความเข้มเสียงมีหน่วยเป็น เดซิเบล (decible : dB) • ตั้งเป็นเกียรติกับ Alexander Graham Bell ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์เป็นคนแรก

  40. AlexanderGrahamBell

  41. ความเข้มของเสียง • ความเข้มของเสียง คือ กำลังเสียงที่ตกกระทบในแนวตั้งฉากกับพื้นที่ ของหน้าคลื่นของทรงกลม 1 ตารางหน่วย ความเข้มสูงสุดที่มนุษย์ ทนได้ คือ 1 W/m2 • I = ความเข้มเสียง มีหน่วยเป็น วัตต์/ตารางเมตร (W/m2) • P = กำลัง มีหน่วยเป็น วัตต์ (W) • R = ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง (m) • ระดับความเข้มของเสียง • I = ความเข้มของเสียง หน่วยเป็น W/m2 • I0 = ความเข้มของเสียงต่ำสุดที่คนเราจะได้ยิน 10-12 W/m2 • β = ระดับความเข้มเสียง หน่วยเป็น เดซิเบล (dB)

  42. ระดับความเข้มของเสียงระดับความเข้มของเสียง http://www.homepowersystems.net/store.asp?pid=2572&catid=19580

  43. 7. ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ • ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ คือ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของผู้ฟังหรือ ต้นกำเนิดเสียง หรือทั้งสองอย่างเคลื่อนที่ทำให้ความถี่ที่ผู้ฟังได้รับเปลี่ยนไป

  44. fL = ความถี่เสียงที่ผู้ฟังได้รับ fS = ความถี่เสียงจากต้นกำเนิด v = ความเร็วของเสียง(ในอากาศ) vL = ความเร็วของผู้ฟัง vS = ความเร็วของต้นกำเนิดเสียง ค่า v เป็นบวกเสมอ (+) ค่า vL , vS เป็นบวก(+) ถ้าไปทิศทางเดียวกับ v เป็นลบ (-) ถ้าไปทิศทางตรงข้ามกับ v เป็น 0 ถ้าอยู่นิ่ง

  45. christian Johann Doppler

  46. The Doppler Effect http://www.glafreniere.com/doppler.htm

  47. The Doppler Effect http://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l3b.html

  48. The Doppler Effect http://www.glenbrook.k12.il.us/gbssci/phys/Class/sound/u11l3b.html

  49. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ด้านการแพทย์ก็ได้มีการนำเสียงมาใช้ในการตรวจอวัยวะภายในของคนเพื่อวินิจฉัยสาเหตุของความผิดปกติเช่น ตรวจการทำงานของลิ้นหัวใจมดลูกครรภ์เนื้องอกตับม้ามและสมองเพราะเสียงสามารถสะท้อนที่บริเวณรอยต่อระหว่างชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆได้ ในการออกแบเพื่อลดระดับความเข้มของเสียงของเครื่องยนต์เครื่องจักรในโรงงานเสียงจากยานพาหนะบนทางด่วนก็อาศัยความรู้เรื่องการดูดกลืนเสียง นอกจากนั้นมนุษย์ยังนำความรู้ด้านเสียงมาสร้างและพัฒนาเครื่องดนตรีด้วยจึงทำให้มีเครื่องดนตรีประเภทต่างๆมากมายอาทิเช่นเครื่องสายได้แก่ไวโอลินซอสามสายซออู้ซอด้วงกีตาร์พิณนอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีประเภทต่างๆอีกมากมาย รวมทั้งเครื่องดนตรีที่สร้างจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  50. คำถาม หลังการนำเสนอ 1. เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร เฉลย เสียงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นสะเทือน 2. บีตส์คืออะไร เฉลย บีตส์คือปรากฏการณ์ที่คลื่นเสียงสองขบวนที่มีความถี่ใกล้เคียงกัน เคลื่อนที่มาในตัวกลางเดียวกันเกิดรวมคลื่นกันขึ้น 3.เสียงที่คนปกติได้ยินมีความถี่อยู่ในช่วงเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ เฉลย คนปกติได้ยินเสียงอยู่ในช่วงความถี่ 20-20,000 Hz 4.ความถี่บีตส์คือเท่าไหร่ เฉลย จำนวนครั้งที่เสียงดังค่อยใน 1 วินาที 5.ถ้าจะแบ่งระดับเสียงโดยใช้ความถี่เป็นเกณฑ์จะแบ่งได้กี่ระดับมีอะไรบ้าง เฉลย2 ระดับ1. เสียงสูงหรือเสียงแหลม 2. เสียงทุ้มหรือเสียงต่ำ

More Related