1 / 207

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการบริหารสำนักงาน และส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 18 พฤศจิกายน 2551

การบริหารการเงินของสำนักงาน. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการบริหารสำนักงาน และส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 18 พฤศจิกายน 2551 โดย ปราณี อ้นเกษม. กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการเงินของสำนักงาน(ภาครัฐ). 1. การงบประมาณ 2. การเบิกจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลัง

Télécharger la présentation

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการบริหารสำนักงาน และส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 18 พฤศจิกายน 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารการเงินของสำนักงานการบริหารการเงินของสำนักงาน โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการบริหารสำนักงาน และส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 18 พฤศจิกายน 2551 โดย ปราณี อ้นเกษม

  2. กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการเงินของสำนักงาน(ภาครัฐ)กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการเงินของสำนักงาน(ภาครัฐ) 1. การงบประมาณ 2. การเบิกจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลัง 3. สิทธิประโยชน์ของข้าราชการและลูกจ้าง 4. การยกเว้นไม่ต้องนำส่งรายได้แผ่นดิน 5. การพัสดุ 6. การตรวจสอบ 7. อื่น ๆ

  3. 1. การงบประมาณ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1. พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 2. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 3. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ 4. คู่มือรหัสงบประมาณปี พ.ศ. 2552 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 5. คำสั่ง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ 686/2548 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด

  4. 1. พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 ก่อหนี้ผูกพันได้ต่อเมื่อได้รับงบประมาณและเงินประจำงวดแล้ว หากฝ่าฝืน - มีความผิดทางอาญา - ชดใช้

  5. 2. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ 2548 • ลักษณะ 1 บททั่วไป • ลักษณะ 2 การบริหารงบประมาณรายจ่ายสำหรับส่วน ราชการและรัฐวิสาหกิจ • ลักษณะ 3 การบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง • ลักษณะ 4 การรายงานผล

  6. ลักษณะ 1 บททั่วไป ข้อ 6ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจรับผิดชอบในการจัดเตรียมความพร้อมของกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามแผนงบประมาณ เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดทำผลผลิต โครงการหรือรายการได้ทันทีที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ข้อ 7 รายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายรายการใด จะกำหนดให้เบิกจ่ายในประเภทงบรายจ่ายใด ให้เป็นไปตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณที่สำนักงบประมาณกำหนด

  7. ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้ารัฐวิสาหกิจคำนวณค่าใช้จ่ายรายจ่ายในวรรคหนึ่งของแต่ละผลผลิตหรือโครงการ เพื่อใช้ในการจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตหรือโครงการสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป ข้อ 9 การให้ความเห็นชอบ อนุญาต หรือการรายงานและแต่กรณี ในการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่าย การโอนการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย การโอนงบประมาณรายจ่าย การเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย

  8. การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง การใช้รายจ่ายงบกลาง และการรายงานผล หรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงบประมาณ ให้จัดทำและรับส่งข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดพิมพ์ข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำและรับส่งข้อมูลโดยถูกต้องแล้วเป็นสำเนาเอกสารเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

  9. ลักษณะ 2 การบริหารงบประมาณรายจ่ายสำหรับส่วนราชกาและรัฐวิสาหกิจ

  10. หมวด1การจัดทำและการปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหมวด1การจัดทำและการปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

  11. ข้อ 11 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณกำหนด

  12. หมวด 2การจัดสรรงบประมาณ

  13. ข้อ 20 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผนงบประมาณ แผนงบประมาณเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทของงบรายจ่าย และรายงานในงบรายจ่าย ที่ต้องดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นงบบุคลากร ประเภทเงินเดือน และค่าจ้างประจำ ไปยังสำนักงานเบิกภูมิภาคนั้น ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

  14. หมวด 3การใช้รายจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย

  15. ข้อ 21 การใช้รายจ่ายที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายในแต่ละงบรายจ่ายของแต่ละผลผลิตหรือโครงการภายใต้แผนงบประมาณ หรือแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการเดียวกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  16. (1) งบบุคลากร ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใด ๆ ที่สำนักงบประมาณกำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้ถัวจ่ายกันได้ (2) งบดำเนินงาน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้ถัวจ่ายกันได้ เว้นแต่รายจ่ายประเภทค่าสาธารณูปโภคให้นำไปใช้จ่ายในประเภทอื่นภายในงบรายจ่ายนี้ได้ หากไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ

  17. (3) งบลงทุน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ ตามรายการและวงเงินที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณด้วย

  18. (4) งบเงินอุดหนุน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ ดังนี้ ก. ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป ให้ใช้จ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ข. ประเภทเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ให้ใช้จ่ายตามรายการ จำนวนเงินและรายละเอียดอื่นใดที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณ

  19. (5) งบรายจ่ายอื่น ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้เบิกจ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายฯ

  20. หมวด 4การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย

  21. ข้อ 24 หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในงบรายจ่ายใดๆ ภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน เพื่อจัดทำผลผลิตหรือโครงการตามเป้าหมายที่ระบุในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือเพื่อเพิ่มเติมเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการเดิมดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการกระทรวง หรือเป้าหมายตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ฯลฯ

  22. ข้อ 25 หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่เหลือจ่ายในแผนงบประมาณเดียวกันจากการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการ ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือจากการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ไปใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ยกเว้นเป็นรายการค่าที่ดิน หรือรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ และหากมีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามข้อผูกพันสัญญาค้างชำระ ให้โอนไปชำระเป็นลำดับแรกก่อนตามลำดับ ฯ

  23. 3. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ รายจ่ายตามงบประมาณจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. รายจ่ายของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ 2. รายจ่ายงบกลาง

  24. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) 1. รายจ่ายของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หมายถึง รายจ่ายซึ่ง กำหนดไว้สำหรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำแนกเป็น 5 ประเภท 1. งบบุคลากร 2. งบดำเนินงาน 3. งบลงทุน 4. งบเงินอุดหนุน 5. งบรายจ่ายอื่น

  25. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหาร งบบุคคล ภาครัฐ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว และค่าตอบแทนของพนักงานราชการ รวมถึงรายจ่าย ที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นได้ในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

  26. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหาร งานปกติ ได้แก่ รายจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่าย อื่นใดในลักษณะดังกล่าว

  27. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะ รายจ่ายดังกล่าว

  28. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) งบเงินอุดหนุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุง เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอิสระตาม รัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่ราชการส่วนกลางตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หน่วยงานในกำกับ ของรัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาตำบล องค์กรระหว่างประเทศ นิติบุคคล เอกชนหรือกิจการ เป็นสาธารณะประโยชน์ รวมถึง เงินอุดหนุน งบพระมหากษัตริย์ เงินอุดหนุนการศาสนา และรายจ่ายที่สำนักงานประมาณกำหนดให้ ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้

  29. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่ง หรือรายจ่าย ที่สำนักงบประมาณ กำหนดให้ใช้จ่ายในรายจ่ายนี้

  30. หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ (ต่อ) 2. รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปใช้จ่าย เช่น เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ฯลฯ

  31. 4. คู่มือรหัสงบประมาณปี พ.ศ. 2552 รหัสงบประมาณ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์จะมี 16 ตัว จะขึ้นต้นด้วย 07012 ต่อท้ายอีก 11 ตัวจะแตกต่างกันตามแผนงานและผลผลิต เช่น แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร จะต่อท้ายด้วย 0701279701000000 (คู่มือหน้า 1 )

  32. คู่มือรหัสงบประมาณปี พ.ศ. 2552 (ต่อ) ตัวอย่างเช่น แผนงาน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ผลผลิต 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งและส่งเสริม รหัส 07012797015 (คู่มือหน้า 4) กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรและเกษตรกร รหัสกิจกรรมหลัก 07012+รหัสพื้นที่+D1489 (คู่มือหน้า 7) รหัสแหล่งของเงิน ปีงบประมาณ 2552 (คู่มือหน้า 8) งบบุคลากร แหล่งของเงิน 5211100 งบดำเนินงาน แหล่งของเงิน 5211200 งบลงทุนครุภัณฑ์ แหล่งของเงิน 5211310 งบลงทุนที่ดินและสิ่งก่อสร้าง แหล่งของเงิน 5211320 งบเงินอุดหนุนทั่วไป แหล่งของเงิน 5211410 งบรายจ่ายอื่น แหล่งของเงิน 5211500

  33. คู่มือรหัสงบประมาณปี พ.ศ. 2552 (ต่อ) นอกจากจะต้องรู้รหัสงบประมาณของกรม ฯแล้วควรต้องรู้รหัสที่เรารับผิดชอบเช่น จังหวัดตากรหัสพื้นที่ 6300 และรหัสศูนย์ต้นทุน 0701200083 (คู่มือหน้า 18 )

  34. ผู้บริหารสำนักงานฯ * ควรศึกษาแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่สำนักงานได้รับ ว่ามีแผนงาน โครงการใดบ้าง จำนวนเงินที่ได้รับเท่าใด โดยตรวจสอบจากเอกสารการโอนเงินงบประมาณของกรมฯ * ควรตรวจสอบว่าสำนักงานมีการขอการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและหรือขอขยายเวลาเบิกจ่ายไว้หรือไม่ ถ้ามีการขอกันเงินไว้จะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. ติดตามการอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง โดยทางกองคลังจะมีหนังสือแจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์ ทางอีเมล์ ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดและทางเว็บไซด์ของกองคลัง

  35. 2. เมื่อได้รับผลการอนุมัติแล้วให้เร่งเบิกจ่ายเงินให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน (มีนาคม ของปีถัดไป) ถ้าเบิกไม่ทันให้แจ้งกรมฯ ทราบก่อนวันที่ 31 มีนาคม เพื่อขอขยายต่อไปอีก 6 เดือน (30 กันยายน) ถ้าเบิกจ่ายไม่ทันก่อน 30 กันยายน ต้องแจ้งกรมฯ ก่อนวันที่ 30 กันยายน (ขยายได้ไม่เกิน สองปีงบประมาณ) 3. งบประมาณที่ได้รับในปีปัจจุบัน ถ้าไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายใน 30 กันยายน ของปีงบประมาณ ถ้าต้องการใช้ต่อต้องทำเรื่องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี โดยแจ้งกรมฯ ก่อน 30 กันยายน จำนวนเงินที่ขอกันจะต้องเกิน 50,000.- บาท

  36. 5. คำสั่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ 686/2548 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติ ราชการแทนในการบริหารงบประมาณ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหาร งบประมาณ พ.ศ.2548 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 18 , 24 , 25 , 26 และข้อ 33 เช่นข้อ 18 ในกรณีที่มีความจำเป็น ต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการ ในการจัดหาครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างในงบลงทุน งบอุดหนุน หรือ งบรายจ่ายอื่น แล้วแต่กรณี ที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว โดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่าย ให้กระทำได้โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับกรมส่งเสริมสหกรณ์

  37. 2. การเบิกจ่ายเงินและการนำเงินส่งคลัง ในระบบ GFMIS

  38. 2. การเบิกจ่ายเงินและการนำเงินส่งคลังในระบบ GFMIS กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1. พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. ระเบียบการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551 4. หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.3/ว115 ลงวันที่ 30 กันยายน 2547 เรื่อง หลังเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการเบิกจ่ายเงินและการนำส่งคลังตามระบบการบริหารการเงินภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS

  39. พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มาตรา 6การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ให้กระทำได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี มาตรา11 การสั่งจ่ายเงินจากคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย

  40. พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 21 ให้รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณ และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (2) กำหนดระเบียนหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (3) จัดให้มีการตรวจเอกสารการขอเบิกเงิน การจ่ายเงินและการก่อหนี้ผูกพันตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง (4) กำหนดและควบคุมระบบบัญชีแบบรายงานและเอกสารเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินและหนี้

  41. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 • สาระสำคัญ • 1. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการเบิกจ่ายเงิน โดยให้ส่งราชการ ส่งคำขอเบิกเงินผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ แทนการวางฎีกาด้วยเอกสาร • 2. กำหนดสิทธิในการใช้งาน SMART CARD GFMIS ในการเบิกเงิน • 3. กำหนดวิธีการรับเงินการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังในระบบ GFMIS แทนการนำส่ง ธปท. หรือนำส่งที่สำนักงานคลัง

  42. การควบคุมการใช้ GFMIS TOKENKEY ในการนำส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย INTERNET - ให้หัวหน้าส่วนราชการจัดทำคำสั่งหรือการมอบหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อกำหนดบุคคลผู้มีสิทธิใช้ GFMIS TOKENKEY และรหัสผ่าน (PASSWORD) หน้าที่ความรับผิดชอบมาตรการในการควบคุมตรวจสอบ วิธีปฏิบัติในการเก็บรักษา GFMIS TOKENKEY และรหัสผ่าน (PASSWORD) พร้อมด้วยการดำเนินการเปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๆ 3 เดือน - ถ้าสูญหาย ผู้มีสิทธิใช้ต้องดำเนินการร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน โทรศัพท์ แจ้งการสูญหายให้กรมบัญชีกลางทราบทันที

  43. หลักเกณฑ์การขอเบิกเงินจากคลังหลักเกณฑ์การขอเบิกเงินจากคลัง • การจ่ายตรงเจ้าหนี้ • - มีใบสั่งซื้อ/จ้าง หรือสัญญา วงเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป หรือ • - ไม่มีใบสั่งซื้อ/จ้าง/สัญญา หรือมีใบสั่งซื้อ/จ้าง หรือสัญญา แต่วงเงิน • ไม่ถึง 5,000 บาท • - ค่าสาธารณูปโภค • การจ่ายผ่านส่วนราชการ • - ไม่มีใบสั่งซื้อ/จ้าง/สัญญา หรือมีใบสั่งซื้อ/จ้าง หรือสัญญา แต่วงเงิน • ไม่ถึง 5,000 บาท • - ค่าตอบแทน เงินสวัสดิการ การจ่ายตามคำสั่งหน่วยงานภาครัฐ • ตามกฎหมาย

  44. วิธีการขอเบิกเงิน • สร้าง PO เฉพาะกรณี มีใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือสัญญาที่มีวงเงินตั้งแต่ • 5,000 บาทขึ้นไป • จัดทำข้อมูลหลักผู้ขาย กรณีจ่ายตรงเจ้าหนี้ • ส่งคำขอเบิกเงินที่ตรวจสอบถูกต้องแล้วผ่านระบบมายัง • กรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลัง • เรียกรายงานการจ่ายเงินในระบบและติดตามใบเสร็จรับเงิน • กรณีจ่ายตรงหรือจ่ายเงินและบันทึกรายการจ่ายเงินเข้าระบบ • กรณีที่ส่วนราชการจ่ายเอง

  45. วิธีการนำเงินส่งคลัง • ฝากเงินเข้าบัญชีกรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังที่สาขา • ธนาคารกรุงไทย • บันทึกข้อมูลเข้าระบบ พร้อมระบบเลขอ้างอิงที่ได้จากธนาคาร • ตรวจความถูกต้องก่อนส่งข้อมูลผ่านระบบมายังกรมบัญชีกลาง/ • สำนักงานคลัง

  46. การขอถอนคืนเงินรายรับการขอถอนคืนเงินรายรับ กรณีส่งเงินคืนคลังผิด ต้องการขอถอนคืนให้รีบดำเนินการ ขอถอนคืนให้ได้ภายในปีงบประมาณ ถ้าถอนคืนเงินรายรับ เมื่อพ้นปีงบประมาณที่ได้นำเงินส่งคลังไว้ ส่วนราชการจะต้องใช้เงินงบประมาณรายจ่ายของปีที่อนุมัติเบิกคืนของส่วนราชการเอง (ข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักรายรับ จ่ายขาดและ การถอนคืนรายรับ พ.ศ.2550)

  47. 3. สิทธิประโยชน์ของข้าราชการและลูกจ้าง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับพระราชบัญญัติ 1. บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2434 2. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 3. เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 4. เงินเดือนของข้าราชการผู้สั่งพักราชการ พ.ศ. 2502 5. สงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วย เจ็บ เพราะเหตุปฏิบัติราชการตาม พ.ศ. 2546

  48. สิทธิประโยชน์ของข้าราชการและลูกจ้าง (ต่อ) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับพระราชกฤษฎีกา 1. การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญและเงินอื่นใน ลักษณะเดี่ยวกัน พ.ศ.2535 2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 3. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 4. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ.2523 5. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2523 6. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 7. เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงาน ในพื้นที่พิเศษ พ.ศ.2540

  49. สิทธิประโยชน์ของข้าราชการและลูกจ้าง (ต่อ) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับระเบียบกระทรวงการคลัง 1. บำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 2. การจ่ายค่าสอนพิเศษในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2533 3. การจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 4. การเบิกจ่ายเงินตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2547

  50. 4. การยกเว้นไม่ต้องนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน • กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง • พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • กฎหมายเฉพาะ เช่น • - พรบ. จัดตั้งมหาวิทยาลัย • - พรบ. การศึกษาแห่งชาติ

More Related