190 likes | 495 Vues
RAM (Random Access Memory). (หน่วยความจำหลัก) เป็น หน่วยความจำที่ต้องการไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายพลังงานเลี้ยงตลอดเวลาขณะทำงาน ขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (Power Off) ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในหน่วยความจำจะสูญหายไปทันที.
E N D
RAM (Random Access Memory) (หน่วยความจำหลัก) เป็นหน่วยความจำที่ต้องการไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายพลังงานเลี้ยงตลอดเวลาขณะทำงาน ขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์(Power Off) ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในหน่วยความจำจะสูญหายไปทันที
ประเภทของแรม RAM (Random Access Memory) • FPM DRAM (Fast Page Mode DRAM)หน่วยความจำที่เป็นแบบ SIMM (Single Inline Memory Module) มีจำนวนขา 30 ขา และ 70 ขา มีเส้นทางเดินข้อมูลขนาด 8 บิต ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า
ประเภทของแรม RAM (Random Access Memory) • EDO RAM (Extended Data Output RAM)หน่วยความจำที่มีจำนวนขา 72 ขา มีเส้นทางเดินข้อมูลขนาด 32 บิต ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เช่น รุ่น Pentium
ประเภทของแรม RAM (Random Access Memory) • SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ทำงานในช่วงสัญญาณนาฬิกาขาขึ้นเท่านั้น มีทางเดินข้อมูลขนาด 64 บิต ติดตั้งกับช่องแบบ DIMM Socket (Double Inline Memory) มี 168 ขา
การ์ดแสดงผลภาพ (Graphic Card) • เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (System Unit) กับจอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่ผลิตสัญญาณภาพเพื่อส่งไปแสดงผลบนจอภาพ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท
ประเภทของ Graphic Card 1. Onboardคือการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งมาบนแผงวงหลัก จะถูกออกแบบมาให้ใช้งานทั่วไป 2. Expansion Cardจะเป็นแผ่นการ์ด การติดตั้งนั้นต้องอาศัยช่องเสียบการ์ดเสริมของแผงวงจรหลัก สามารถอัปเกรดเป็นรุ่นอื่น ๆ ได้ตามต้องการ ในการทำงานจึงไม่ทำให้โปรแกรมบางโปรแกรมมีปัญหา
ความแตกต่างของการ์ดแสดงผลภาพทั้ง 2 แบบ • ส่วนเชื่อมต่อ (Interface) การเชื่อมต่อจะแบ่งเป็นแบบ AGP 8x กับ PCI Express x16 โดยในแต่ล่ะแบบจะไม่สามารถนำมาติดตั้งบนแผงวงจรแทนกันได้ • การส่งข้อมูล แบบ PCI Express จะเป็นการส่งข้อมูลแบบ 2 ทาง แต่ในแบบมาตรฐานการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว
การ์ดเสียง (Sound Card) • ทำหน้าที่ในการแสดงผลระบบเสียงจากคอมพิวเตอร์ไปยะงลำโพง ซึ่งจะมีการแปลงข้อมูลจากสัญญาณ Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog
ประเภทของการ์ดเสียง 1. Expansion Cardมี 2 ชนิด • ISA Card เป็นการ์ดรุ่นเก่าที่ใช้กับ ISA Slot บนแผงวงจร • PCI Card เป็นการืดที่ต้องเสียบลงในช่องติดตั้งการ์ดเสริมบนแผงวงจรหลัก 2. Sound Onboard เป็นแบบติดตั้งชิปแสดงผลเสียงมาพร้อมกับแผงวงจรหลัก ปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้งยังรองรับการแสดงผลระบบเสียงแบบลำโพงหลายตัว
ตัวอย่างช่องเสียบ Sound Onboard • Center/Subwoofer port (Orange) ใช้เชื่อมต่อกับลำโพงแบบ 6 Channel • Rear Speaker Out port (Black) ใช้เชื่อมต่อกับชุดลำโพงแบบ 4 Channel • Side Speaker Out port (Gray) ใช้เชื่อมต่อกับชุดลำโพงแบบ 8 Channel
ตัวอย่างช่องเสียบ Sound Onboard • Line in port (Light Blue) ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเพื่อรับสัญญาณเสียงเข้าสู่การ์ด • Line Out port (Lime) ใช้เชื่อมต่อกับลำโพงที่มีเครื่องขยายอยู่ในตัวหรือเครื่องขยายเสียงต่างๆ • Microphone port (Pink) ใช้ต่ออุปกรณ์จำพวกไมโครโฟน
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 2 ประเภท 1. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้หลักการสนามแม่เหล็กในการทำงาน (Magnetic Storage Device) - FDD (Floppy Disk Drive) - HDD (Hard Disk Drive)
2. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้หลักการของแสงในการทำงาน (Optical Storage Device) CD Drive แบ่งออกเป็น - CD - ROM Drive - CD - RW Drive DVD Drive แบ่งออกเป็น - DVD - ROM Drive - DVD - Rewritable Drive
ฮาร์ดดิสก์ไดฟ์ (HDD : Hard Disk Drive) • เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบใช้แผ่นโลหะแข็งในการจัดเก็บข้อมูล แผ่นโลหะแข็งจะถูกติดตั้งไว้ภายในตัวฮาร์ดดิสก์
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ • ตัวถัง (Case) จะเป็นวัสดุอะลูมิเนียม ช่วยในการถ่ายเทความร้อน จะมีการปิดฝาครอบไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละออง • แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Logic Board)ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของ Head / การหมุนของจานดิสก์ • แขนของหัวอ่าน/เขียน (Actuator Arm) จะทำงานร่วมกันกับ Voice Coil ซึ่งทำงานได้เร็วกว่า มีความแม่นยำสูงกว่า
หัวอ่าน/เขียนข้อมูล(Head)ทำหน้าที่ในการอ่าน/เขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ ภายในประกอบด้วยขดลวด เมื่อมีคำสั่งมาจะแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าเพื่อป้อนเข้าสู่ขดลวด ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเรียงตัวหใม่เพื่อใช้ในการอ่าน/เขียน • แผ่นจานดิสก์หรือแผ่นจานแม่เหล็ก (Platter)มีลักษณะเป็นแผ่นจานโลหะที่บริเวณผิวถูกเคลือบด้วยสารแม่เหล็กสารแม่เหล็กจะถูกเหนี่ยวนำโดยหัวอ่าน/เขียนข้อมูล เพื่อกำหนดสภาวะให้มีค่าเป็น 0 หรือ 1 เพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ในการจัดเก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นแทร็กและเซกเตอร์
มอเตอร์หมุนจานแผ่นดิสก์ (Spindle Motor)เป็นมอเตอร์ที่ใช้ในการหมุนแผ่นดิสก์โดยความเร็วในการหมุนแผ่นดิสก์จะมีผลในการอ่าน/เขียนข้อมูล • Interface Connectorคือส่วนเชื่อต่อฮาร์ดดิสก์เข้ากับแผงวงจรหลัก