1 / 109

ปัญหาการให้รหัส ICD นพ.วิทยา ศรีดามา 28 พ.ย. 2556

ปัญหาการให้รหัส ICD นพ.วิทยา ศรีดามา 28 พ.ย. 2556. Severe acute respiratory syndrome (SARS) – U04 เกณฑ์การวินิจฉัย

kesia
Télécharger la présentation

ปัญหาการให้รหัส ICD นพ.วิทยา ศรีดามา 28 พ.ย. 2556

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปัญหาการให้รหัส ICD นพ.วิทยา ศรีดามา 28 พ.ย. 2556

  2. Severe acute respiratory syndrome (SARS) – U04 เกณฑ์การวินิจฉัย Severe acute respiratory syndrome วินิจฉัยจากผู้ป่วยมีอาการ ไข้ ปวดท้อง ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ไอ และ เหนื่อยหอบ ท้องเดิน ตรวจทางรังสีทรวงอกพบมี infiltration ซึ่งดำเนินโรคเป็น adult respiratory distress syndrome ในสัปดาห์ที่ 2 ร่วมกับ mutliorgan failure ยืนยันการวินิจฉัย โดยตรวจทางห้องปฏิบัติการ reverse transcription PCR จากสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ในระยะแรก จากปัสสาวะ อุจจาระ ในระยะหลัง พบเชื้อ SAR-associated coronavirus เกณฑ์การให้รหัส ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่า Severe acute respiratory syndrome (SARS) ให้รหัส U04.9 Severe acute respiratory syndrome, unspecified

  3. Agent resistant to penicillin and related antibiotics U80 เกณฑ์การวินิจฉัย Penicillin resistant agent การติดเชื้อจากกรัมบวก เช่น Streptococcus ตามปกติ ตอบสนองต่อ penicillin ถ้าพบว่ามีการดื้อยา penicillin หรือ ampicillinโดยตรวจจาก sensitivity และ MIC (minimal inhibiotory concentration) มีค่าสูง นอกจากนั้นเชื้อ E.coliที่มี resistant ต่อ penicillin related antibiotic ที่เรียกว่า ESBL แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Penicillin resistant agent Methicillin resistant agent การติดเชื้อ Staphyllococcusส่วนใหญ่ตอบสนองต่อ methicillinแต่ปัจจุบันพบว่ามีการดื้อยา methicillin, cloxacillin, oxacillin, nafcillinโดยเฉพาะการติดเชื้อในโรงพยาบาล catheter related infection แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Methicillin resistant agent Agent resistant to other penicillin related antibiotic เช่น piperacillin, ticarcillin แพทย์วินิจฉัยว่า Agent resistant to piperacillin, ticarcillin (Antipseudomonas antibiotic) เกณฑ์การให้รหัส ผู้ให้รหัสให้รหัส U80.- เป็นรหัสเสริมในกรณีที่การติดเชื้อนั้นดื้อต่อมา penicillin ตามชนิดของ peniciilinที่แพทย์ระบุ

  4. ตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย ขณะนี้รักษาด้วยการทำ hemodialysisผ่านทาง vascular dialysis catheter มาด้วยไข้ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น infected vascular dialysis catherterจากเชื้อ Staphylococcus aureusซึ่งดื้อต่อยา methicillin

  5. แพทย์สรุปใน discharge summary coder ให้รหัส การวินิจฉัยหลักDialysis vascular T82.7 Infection and inflammatory reaction due to other catheter related infection cardiac and vascular devices, implants and graft การวินิจฉัยร่วมEnd stage renal disease N18.5 End stage renal disease Methicillinresistant B95.6 Staphylococcus aureus as the cause of Staphylococcus aureus disease classified to other chapter As the causes of disease U80.1 Methicllin resistant agent ปัจจัยภายนอกY71.1 Cardiovascular devices (therapeutic) associated with adverse incidents

  6. Agent resistant to vancomycinand related antibiotics -U81 เกณฑ์การวินิจฉัย Vancomycin resistant agent การติดเชื้อ Staphyloccousปัจจุบันบางเชื้อพบว่าดื้อต่อยา vancomycinโดยเฉพาะการติดเชื้อในโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Vancomycin resistant agent ร่วมกับโรคที่เกิดจากการติดเชื้อนั้น เช่น Catheter related infection บางครั้งพบการดื้อยา vancomycin-related antibiotic เช่น Teicloplanin เกณฑ์การให้รหัส ผู้ให้รหัสให้รหัส U81.0 Vancomycin resistant agent เป็นรหัสเสริม ในกรณีที่การติดเชื้อนั้นดื้อต่อยา vancomycinตามที่แพทย์ระบุ ให้รหัส U81.8 Agent resistant to other Vancomycin-related antibiotic เป็นรหัสเสริม ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยการติดเชื้อที่ดื้อยา teicloplanin

  7. Agent resistant to multiple antibiotic -U88 เกณฑ์การวินิจฉัย เชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากกว่า หรือเท่ากับ 2 ชนิด แพทย์วินิจฉัยว่าโรคติดเชื้อนั้น ร่วมกับระดับว่าเป็น Agent resistant to multiple antibiotic เช่นกรณีที่ดื้อยาต้านวัณโรค ตามผล sensitivity หรือการดื้อยา antiretroviral ในผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น เกณฑ์การให้รหัส ผู้ให้รหัสให้รหัส U88 เป็นรหัสเสริม รหัสการติดเชื้อ ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น multi drugs resistant antibiotic

  8. ตัวอย่าง ผู้ป่วยวัณโรคปอด ตรวจเสมหะพบ AFB ได้ผลบวก ให้ยาต้านวัณโรคแล้วนาน 2 เดือน ไม่ตอบสนองต่อ การรักษาเพาะเชื้อพบว่าเชื้อต่อยาต้านวัณโรค INH และ Ethambutal แพทย์สรุปใน discharge summary Coder ให้รหัส การวินิจฉัยหลักpulmonary tuberculosis A15.0 Tuberculosis of lung, confirned by sputum AFB positive microscopy with or without culture การวินิจฉัยร่วมmultidrug resistant U88 Agent resistant to multiple antibiotics agent as the cause of disease

  9. Agent resistant to other and unspecified antibiotic -U89 เกณฑ์การวินิจฉัย เชื้อที่ดื้อต่ออายุปฏิชีวนะ ได้แก่ gentamin, fluconazole, sulfonamide, cepharosporin แพทย์วินิจฉัยการติดเชื้อร่วมกับ ระบุว่าเกิดจากเชื้อดื้อยาดังกล่าว เกณฑ์การให้รหัส ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อร่วมกับระบุว่าเกิดจากเชื้อดื้อยา 1 ชนิดที่ไม่ใช่กลุ่ม penicillin vancomycinให้รหัสการติดเชื้อร่วมกับรหัสเสริมเป็น U89.8 Agent resistant other single specified antibiotic

  10. Complication following infusion, transfusion and therapeutic injection T80 เกณฑ์การวินิจฉัย การอักเสบโดยมีอาการปวดบวมแดงร้อน บริเวณหลอดเลือดดำ และบริเวณผิวหนังรอบหลอดเลือดดำ ที่ให้ของเหลวทางหลอดเลือด การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเพื่อรักษา ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นระหว่างการให้สารทางหลอดเลือด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น phlebitis หรือ thrombophlebitis following infusion, transfusion and therapeutic injection ในบางกรณีอาจเกิดจากการ leakage ของยาที่มีฤทธิ์กรัดกร่อนเนื่องจากเป็นกรดหรือด่างหรือมีความเข้มข้นสูง แพทย์ควรวินิจฉัยว่าเป็น phlebitis from antibiotic หรือ antineoplasticหรือ concentrate glucose solution เป็นต้น

  11. การติดเชื้อในกระแสเลือดจากการให้ของเหลวทางหลอดเลือด การถ่ายเลือด หรือฉีดยาเพื่อรักษา ปัจจุบันไม่ค่อยพบแล้ว ถ้าพบแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น sepsis following infusion, transfusion and therapeutic injection Air embolism จากการให้ของเหลวทางหลอดเลือดการถ่ายเลือด หรือฉีดยาเพื่อรักษา ปัจจุบันไม่ค่อยพบแล้ว พบได้ในกรณีที่ให้สารน้ำ โดยใช้ infusion pump แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่นการ pump ลมเข้าไปในหลอดเลือดทำให้เกิดอาการเหมือนกับ pulmonary embolism อื่น ได้แก่ หายใจหอบเหนื่อยทันทีทันใด oxygen saturation ลดลงอย่างรวดเร็ว มี cyanosis ไอ pleuritic pain ไอออกเลือดเป็นต้น แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Air embolism following infusion, transfusion and therapeutic injection

  12. ผลข้างเคียงจากการให้ blood transfusion ได้แก่ 1. Acute hemolytic transfusion reaction เป็นภาวะ hemolysisจาก immune-mediated โดยผู้รับเลือดมี antibody ต่อ donor erythrocyte พบใน ABO in compatability reaction Rhincompatability reaction ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว ไข้หนาวสั่น ปัสสาวะเป็น hemoglobin (สีดำแบบโคล่า) เจ็บหน้าอก และหลัง เกิดภาวะไตวาย เกิดจากการให้เลือดผิดกลุ่ม จากการติดฉลากผิด หรือชื่อผู้ป่วยผิด หรือให้ผิดคน แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น ABO in compatabilityหรือ Rhincompatability reaction

  13. 2. Anaphylactic shockผู้ป่วยอาการหายใจไม่สะดวก ไอ คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำbronchospasmช็อก หมดสติ เกิดจากการแพ้ blood component โดยเฉพาะ serum ที่ให้ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Anaphylactic shock due to serum 3. ปฏิกริยาอื่นต่อซีรั่ม การให้เลือดหรือสารประกอบเลือด ทำให้เกิด serum reaction ต่างๆ ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ หรือเกิดภาวะ serum sickness โดยมีอาการไข้หนาวสั่น ปวดตามตัว ปวดข้อ อาการทางไต และระบบประสาท จากการให้ส่วนประกอบเลือดรวมทั้ง antivenomแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น serum reaction หรือ serum sickness 4. ปฏิกิริยาที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้ หนาวสั่น แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Febrile nonhemolytic transfusion reaction หรือวินิจฉัยว่าเป็น Transfusion reaction

  14. เกณฑ์การให้รหัส ผู้ให้รหัสควรให้รหัส โรคแทรกซ้อนจากการให้ของเหลวทางหลอดเลือด การถ่ายเลือดและการฉีดยาเพื่อรักษา โดยใช้รหัส T80.- ตามที่แพทย์วินิจฉัย พร้อมทั้งให้รหัสปัจจัยภายนอกที่เหมาะสม เช่น ถ้าแพทย์วินิจฉัย Thrombophlebitis following intravenous fluid infusion ให้รหัส T80.1 Vascular complication following infusion, transfusion and therapeutic injection ตามด้วย รหัส Y62.1 Failure of sterile precaution during infusion or transfusion

  15. ถ้าแพทย์วินิจฉัย Thrombophlebitis following antineoplastic administration ให้รหัส T80.1 Vascular complication following infusion, transfusion and therapeutic injection ตามด้วยรหัส Y43.3 Other antineoplastic drugs causing adverse effect in therapeutic use เป็นต้น ถ้าแพทย์วินิจฉัย ABO in compatability reaction ให้รหัส T80.3 ABO in compatability reaction ตามด้วยรหัส Y44.1 Natural blood and blood products causing adverse effect in therapeutic use

  16. ตัวอย่าง ผู้ป่วยรับไว้ในโรงพยาบาลด้วยไข้ ปวดหลัง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น acute pyelonephritisรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ วันที่ 3 ในโรงพยาบาลพบว่ายังมีไข้สูง ตรวจร่างกาย พบบวมแดงร้อนบริเวณหลอดเลือดดำ และผิวหนังรอบหลอดเลือดดำที่ใช้เข็มแทงหลอดเลือด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น thrombophlebitisfolowing intravenous fluid infusion

  17. แพทย์วินิจฉัย coder ให้รหัส การวินิจฉัยหลัก Acute pylonephritis N10 Acute tubulointerstitial nephritis การวินิจฉัยโรคแทรก Thromboplebitis T80.1 Vascular following trasnfusion complications following infusion, transplantation and therapeutic injection สาเหตุภายนอก Y62.1 Failure of sterile precaution during infusion or transfusion

  18. ส่วนใหญ่ความผิดพลาดเกิดจาก coder ให้รหัสไม่ถูกต้อง โดยใช้รหัส I80.- Phebitis and thrombophlebitisซึ่งเป็นรหัสที่หมายถึง deep vein thrombosis

  19. Complication of prodedures T81 เกณฑ์การวินิจฉัย ภาวะเลือดออกหรือเกิดก้อนเลือดที่แทรกซ้อนจากการทำหัตถการ ได้แก่ ทำการผ่าตัดแล้วมีปริมาณเลือดออกมากผิดปกติ ตามดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัดทำการสวนหัวใจแล้วเกิด hematoma หลังทำหัตถการ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Hemorrhage complicating surgical operation, Hematoma complicating cardiac catheterization เป็นต้น ในภาวะที่ระบุว่ามีภาวะเลือดออกแล้วไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยภาวะซีด จากภาวะเลือดออกอีก เนื่องจากเป็นอาการของโรค

  20. ภาวะช็อกระหว่างหรือเกิดจากการทำหัตถการได้แก่ hypovolaemic shock, septic shock แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น shock during or resulting from surgical operation, shock resulting from endoscopic retrograde cholangiographyเป็นต้น โดยระบุสาเหตุเช่น hypovolaemicหรือ septic shock ถ้าทราบ การเจาะและฉีกขาดโดยอุบัติเหตุระหว่างการทำหัตถการ ได้แก่ การเกิด pneumothoraxระหว่างการทำ pleural biopsy, การทำ central venous catheterization เป็นต้น แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Accidental laceration (pneumothorax) following pleural biopsy

  21. แผลผ่าตัดแยกหลังจากการผ่าตัดแพทย์วินิจฉัย Disruption of operation wound การติดเชื้อหลังทำหัตถการ ได้แก่ ติดเชื้อแผลผ่าตัด ติดเชื้อในช่องท้อง เช่น peritonitis, intraabdominal abscess ภาวะ septicaemiaหลังผ่าตัด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น surgical wound infection, peritonitis following (complicating) surgical operation, intraabdomial abscess following (complicating) surgical operation, septicaemia following surgical operation

  22. สิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างโดยอุบัติเหตุ ในช่องของร่างกาย หรือแผลผ่าตัดหลังการทำหัตถการ ได้แก่ อุปกรณ์ผ่าตัด ทำให้เกิดภาวะอุดกั้น หรือทะลุ หรือยึดติด หรือเกิดปฏิกิริยาเฉียบพลัน แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Foreign body accidentally left in body cavity or operation wound following a procedure โดยระบุชนิดของ foreign body ถ้าทราบ และระบุว่าเกิดโรคแทรกซ้อนเช่น obstruction, adhesion, perforation หรือ acute reaction ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหลังทำหัตถการ ได้แก่ การเกิด embolism หรือ thromboembolismหลังทำหัตถการ เช่น เกิด cerebral embolism จากการทำ vascular surgery แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น vascular complication following a procedure

  23. เกณฑ์การให้รหัส ถ้าแพทย์วินิจฉัย Hemorrhage หรือ Hematoma complicating cardiac catheterization ให้รหัส T81.0 Hemorrhage and haematoma complicating a procedure, not elswherse classified พร้อมทั้งให้รหัสปัจจัยภายนอก Y60.5 during heart catheterization

  24. ถ้าแพทย์วินิจฉัย Hemorrhage complicating surgical operation ให้รหัส T81.0 Haemorrhage and haematoma complicating a procedure, not elsewhere classified ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y60.0 Unintentional cut, puncture, perforation or haemorrhage during surgical operation โดยไม่ต้องให้รหัส D62 Acute post hemorrhagic anemia เนื่องจากเป็นอาการของโรค

  25. ถ้าแพทย์วินิจฉัย Accidental laceration (pneumothorax) following pleural biopsy หรือการทำ central line catheterization ให้รหัส T81.2 Accidental puncture and laceration during a procedure, not elsewhere classified ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y60.6 Unintentional cut, puncture, perforation or haemorrhage during aspiration, puncture and other catheterization

  26. Complication of cardiac and vascular prosthetic devices, im plants and grafts T82 เกณฑ์การวินิจฉัย ในผู้ป่วยที่ใส่ prosthetic heart valve เพื่อรักษาโรคลิ้นหัวใจ เมื่อเกิด prosthetic valve dysfunction ทำให้เกิดอาการของหัวใจล้มเหลว ตรวจร่างกายพบเสียง murmur เสียง heart sound จาก valve click ลดลง ยืนยันโดยการตรวจ echocardiogram แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Mechanical complication of heart valve prosthesis ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อรักษา heart block เมื่อเครื่องไม่ทำงาน อาจเกิดจากแบตเตอรี่หมด ความผิดปกติของ lead ทำให้เรื่องกระตุ้นหัวใจไม่ทำงาน เป็นเหตุให้เกิดอาการของโรคเดิมเช่น complete heart block, sick sinus syndrome แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Mechanical complication of cardiac electronic device

  27. ในผู้ป่วยที่ทำ coronary artery bypass graft หรือ vascular graft อื่นๆ มีการอุดตันของ bypass graft ทำให้เกิดอาการของกล้ามเนื้อขาดเลือด เช่น มี unstable angina, claudicationหรือ gangrene ยืนยันการวินิจฉัยโดยการทำ arteriographyของหลอดเลือดนั้น พบว่า graft มีการอุดตัน แพทย์วินิจฉัยว่า Mechenical complication of coronary artery bypass graft หรือ femoral graft หรือ vascular graft อื่นๆ ในผู้ป่วยโรคไตวายที่ได้รับการแทงสาย catheter เพื่อล้างไตโดยฟอกเลือด เมื่อมีการอุดตันของสายสวนทำให้ไม่สามารถล้างไตโดยฟอกเลือดได้ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Mechanical complication of vascular dialysis catheter

  28. นอกจากนั้นในผู้ป่วยล้างไตโดยฟอกเลือดผ่านทาง arteriovenous shunt ผู้ป่วยช็อกจากโรคหัวใจใส่ counter pulsation balloon ผู้ป่วยโรคหัวใจ atrialseptal defect ใส่ umbrella กั้น ช่องต่อระหว่างห้องหัวใจเมื่อมีการอุดตันของ arterivenous shunt เครื่อง counter pulsation balloon ไม่ทำงาน umbrella ที่ใส่ไว้ช่องต่อระหว่างช่องหัวใจหลุด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Mechanical complication of arteriovenous shunt หรือ counter pulsation balloon หรือ umbrella device ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ มีไข้สูง ตรวจเพาะเชื้อในกระแสเลือดขึ้นเชื้อ อาจตรวจพบ conjunctivalhaemorrhage, Janeway lesion, Osler’s nodes, Roth’s spots ตรวจ echocardiogram พบ oscillating intracardiac mass ที่ valve แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Infection and inflammatory reaction due to cardiac valve prosthesis

  29. ในผู้ป่วยที่มี cardiac และ vascular device อื่นๆ ได้แก่ pacemaker, aortic graft, dialysis catheter arteriovenous shunt สำหรับ dialysis, counter pulsation balloon และ vascular catheter สำหรับให้สารน้ำหรือวัด central venous pressure เมื่อพบว่ามีไข้สูง ตรวจไม่พบแหล่งติดเชื้อที่อื่น อาจสงสัยว่าเกิดการติดเชื้อจาก vascular catheter ได้

  30. การติดเชื้อ vascular catheter เป็นได้ทั้งที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด วินิจฉัยโดย พบเชื้อจากการเจาะ hemocultureจาก peripheral blood และจาก vascular catheter tip เป็นเชื้อเดียวกัน Differential faster time to positivity (>2 ชั่วโมง) จากเลือดที่ดูดจาก vascular access device เปรียบเทียบกับ peripheral vein Quantitative cultures (มากกว่า 3 เท่า) จากเลือดที่ได้จาก catheter (vascular access device) เทียบกับ peripheral vein

  31. นอกจากนั้นเป็นการติดเชื้อบริเวณ exit site โดยมีบวมแดง บริเวณผิวหนัง บริเวณที่ catheter ออกมาบริเวณผิวหนัง ในกรณีติดเชื้อจาก vascular catheter ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด แพทย์วินิจฉัยว่า Vascular catheter related infection ตามด้วยการวินิจฉัย septicemia จากเชื้อ ที่เพาะขึ้น ในกรณีติดเชื้อจาก vascular catheter บริเวณ exit sites แพทย์วินิจฉัยว่า Vascular catheter exit site infection ตามด้วยวินิจฉัยว่าเป็น cullulitisหรือ abscess

  32. เกณฑ์การให้รหัส ถ้าแพทย์วินิจฉัย Mechanical complication of heart valve prosthesis ให้รหัส T82.0 Mechanical complication of heart valve prosthesis ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y71.2 Cardiovascular prosthetic devices associated with adverse incident

  33. ถ้าแพทย์วินิจฉัย Mechanical complication of vascular dialysis catheter ให้รหัส T82.4 Mechanical complication of vascular dialysis catheter ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y71.1 Cardiovascular therapeutic devices associated with adverse incidents

  34. ถ้าแพทย์วินิจฉัย Mechanical complication of arteriovenous shunt (for hemodialysis) ให้รหัส T82.5 Mechanical complication of other cardiac and vascular devices and implants ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y71.2 Cardiovascular prosthetic devices associated with adverse incident ถ้าแพทย์วินิจฉัย vascular catheter related infection (staphylococcus septicemia) ให้รหัส T82.7 Infection and inflammatory reaction due to other cardiac and vascular devices, implants and grafts โดยมีรหัสโรคร่วมเป็น A41.0 Septicemia due to Staphylococcus aureusตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y71.1 Cardiovascular thereapeutic devices associated with adverse incident

  35. ถ้าแพทย์วินิจฉัย vascular catheter exit site infection ให้รหัส T82.7 Infection and inflammatory reaction due to other cardiac and vascular device, implants and graft โดยมีรหัสโรคร่วมเป็น L03.1 Cellulitis of other parts of limb หรือ L03.3 Cellulits of trunk ตามตำแหน่ง exit site ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y71.1 Cardiovascular therapeutic devices associated with adverse incident

  36. Failure and rejection of transplanted organs and tissues T86 เกณฑ์การวินิจฉัย หลังจากทำ bone marrow transplantation อาจเกิด graft failure ซึ่งอาจเกิดจาก immunological rejection, การติดเชื้อไวรัสเช่น cytomegalovirus, herpes virus type 2, จากได้รับ myelotoxic agents หรือจาก stem cell ที่ให้ไม่เพียงพอ การวินิจฉัยจากเม็ดเลือดที่ลดลง ยืนยันจากการตรวจไขกระดูก แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Bone marrow transplant rejection

  37. Graft versus host disease เกิดจากเซลล์จากภายนอก (allogenic T cells) ทำปฏิกิริยากับ antigen ของ host cells แสดงอาการโดยมีผื่นแดงชนิด maculopapularเบื่ออาหาร ท้องเดิน หน้าที่ของตับผิดปกติ ยืนยันการวินิจฉัยโดยตรวจชิ้นเนื้อที่ผิวหนัง ตับ หรือทางเดินอาหาร โดยพบมี endothelial damage และ lymphocytic infiltration แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Graft versus host disease

  38. หลังจากปลูกถ่ายไตอาจมีหน้าที่ของไตเสื่อมลงโดยมี serum creatinineสูงขึ้น ซึ่งต้องแยกภาวะผิดปกติของการอุดตันทางเดินปัสสาวะ หรือการลดเลือดที่ไปเลี้ยงไต โดยการทำอุลตราซาวน์ นอกจากนั้นอาจเกิดจาก immunosuppressive drugs หรือยาอื่น ยืนยันการวินิจฉัย Kidney transplant rejection โดยทำ Kidney biopsy ในกรณีที่เกิดจาก Kidney immunological rejection แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Kidney transplant rejection ถ้าพบสาเหตุอื่น วินิจฉัยตามสาเหตุ เช่น Nephrotoxicityจาก immunosuppressive agent แต่ถ้ายังไม่ทราบระหว่างรอการตรวจวินิจฉัยอาจวินิจฉัย Kidney transplantation failure

  39. หลังจากปลูกถ่ายหัวใจ พบว่าหน้าที่ของหัวใจเสื่อมลง ยืนยันการวินิจฉัยโดยทำ echocardiogram และ heart biopsy แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Heart transplant failure and rejection หลังจากปลูกถ่ายหัวใจและปอด พบว่าหน้าที่ของปอดลดลง ยืนยันการวินิจฉัยโดยทำ bronchoscopic biopsy และหน้าที่ของหัวใจเสื่อมลง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Heart-lung transplant failure and rejection

  40. หลังจากปลูกถ่ายตับ ผู้ป่วยมีไข้ ปวดท้องบริเวณ right upper quadrant หน้าที่ของตับเสื่อมลง ซึ่งอาจเกิดจาก immunological rejection, อุดตันท่อน้ำดี, ติดเชื้อพิษจากยา และจากโรคเดิม ยืนยันการวินิจฉัยโดยอุลตราซาวน์ และ liver biopsy แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น liver transplant failure and rejection ถ้าพบสาเหตุอื่นวินิจฉัยตามสาเหตุ

  41. เกณฑ์การให้รหัส ถ้าแพทย์วินิจฉัย Bone marrow transplant rejection หรือ graft-versus heart disease ให้รหัส T86.0 Bone marrow transplant rejection ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y83.0 Surgical operation with transplant of whole organ

  42. ถ้าแพทย์วินิจฉัย Kidney transplant failure and rejection ให้รหัส T86.1 Kidney transplant failure and rejection ตามด้วยรหัสปัจจัยภายนอก Y83.0 Surgical operation with transplant of whole organ

  43. Other external causes of accidental injury Fall (W00-W19) เกณฑ์การวินิจฉัย Fall (การตกหกล้ม) เป็นปัจจัยภายนอกทำให้เกิดการบาดเจ็บ แพทย์วินิจฉัยปัจจัยภายนอกร่วมกับการวินิจฉัยหลักบาดเจ็บที่เกิดจากการตกหกล้ม เช่น Fracture of femur, Open wound of scalp, Contustion of shoulder เป็นต้น โดยแพทย์ระบุการตกหกล้มตามลักษณะการหกล้มได้แก่

  44. 1. ล้มระดับเดียวกัน ได้แก่ ล้มระดับเดียวกันเพราะลื่นสะดุด ก้าวพลาด (Fall on same level from slipping, tripping and stumbling) ล้มที่เกี่ยวกับสเก็ตน้ำแข็ง สเก็ตล้อ หรือกระดานสเก็ต(Fall involving ice-skates, skis, roller-skates or skateboards) การล้มอื่นบนระดับเดียวกัน เพราะถูกผู้อื่นชนหรือดัน (Other fall on same level due to collision with, or pushing by, another person) การล้มที่เกี่ยวกับเก้าอี้ล้อเข็น (Fall involving wheel chair) การล้มที่เกี่ยวกับเตียง (Fall involving bed)

  45. 2. ล้มต่างระดับ ได้แก่ การตกหรือล้มบนและจากบันได และชั้นบันได (Fall on and from stairs or steps) การตกจากต้นไม้ (Fall from tree) แพทย์ควรระบุสถานที่เกิดเหตุ และกิจกรรมขณะที่เกิดการตกหกล้มด้วย

  46. เกณฑ์การให้รหัส ผู้ให้รหัสให้รหัสปัจจัยภายนอก W00-W19 ตามที่แพทย์วินิจฉัย ได้แก่ W01 Fall on same level from slipping, tripping and stumbling ตามด้วยรหัสตำแหน่งที่ 4 ที่ระบุสถานที่เกิดเหตุ

  47. ตัวอย่าง ผู้ป่วยหญิงอายุ 70 ปี ลื่นหกล้มในขณะที่ทำงานถูบ้านในบ้าน ลื่นหกล้มสะโพกกระแทก ทำให้ปวด จนเดินไม่ได้ จากการตรวจภาพรังสี พบว่าเป็น closed fracture of neck of femur, undisplacedintracapsular fracture

  48. แพทย์สรุปใน discharge summary coder ให้รหัส การวินิจฉัยหลักClosed fracture of neck of femur, S72.000 Closed fracture of neck of undisplacedintracapsular fracture femur, undisplacedintracapsular fracture ปัจจัยภายนอกFall on same level from slipping, W0103 Fall on same level from at home while doing home work slipping, triping and stumbling at home while engaged in other type of work

  49. Exposure to animate mechanical forces (W50-W64) เกณฑ์การวินิจฉัย ในกรณีที่ได้รับการบาดเจ็บจากคนกัดหรือทำร้าย สัตว์กัด อุบัติเหตุจากการชนกับคนอื่น หรือถูกทำร้าย รวมทั้งโดนหนาม หรือใบไม้กรีด แพทย์ระบุปัจจัยภายนอกเป็น การถูกกัด ทำร้าย บาดเจ็บ โดยคนสัตว์ หรือพืช ร่วมกับการวินิจฉัยหลักเป็นการบาดเจ็บที่เกิดจาก animate mechanical forces ตามอวัยวะต่างๆ โดยแพทย์ระบุ animate mechanical forces นั้น ได้แก่ ถูกคนอื่นตีทุบ เตะหยิกกัดหรือข่วน ถูกบุคคลอื่นกระแทกหรือชน ถูกฝูงชนเบียดผลักหรือเหยียบ ถูกหนู, สุนัข, สัตว์ทะเล, แมลงไม่มีพิษ, จระเข้, จิ้งจก, งูไม่มีพิษ กัด ถูกหนามเกี่ยว แพทย์ควรระบุสถานที่เกิดเหตุ และกิจกรรมที่ทำขณะที่เกิดอุบัติเหตุ จาก animate mechanical forces ดังกล่าว

  50. เกณฑ์การให้รหัส ผู้ให้รหัสให้รหัสปัจจัยภายนอก W50-W64 Exposure to animate mechanical forces ตามที่แพทย์วินิจฉัย ตามด้วยรหัสตำแหน่งที่ 4 ที่ระบุสถานที่เกิดเหตุ และตำแหน่งที่ 5 ระบุกิจกรรม ได้แก่ W50 Hit, struch, kicked, twisted, bitten or scratched by another person W53 Bitten by rat W59 Bitten or crushed by other reptiles โดยให้รหัสการวินิจฉัยหลักเป็นรหัสการบาดเจ็บในกลุ่ม S หรือ T ที่แพทย์วินิจฉัย

More Related