1 / 58

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ ( Discovery Method )

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ ( Discovery Method ). ความหมาย

torn
Télécharger la présentation

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ ( Discovery Method )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ( Discovery Method )

  2. ความหมาย การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหาซึ่งในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่น ผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา ดังนั้นจึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิชาอื่นๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะต้องนำข้อมูล มาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น

  3. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบอาจแบ่งได้ 2รูปแบบ คือ • การค้นพบที่มีแนวทาง (Guide Discovery Method) เป็นวิธีการที่ผู้สอนนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาโดยการใช้คำถามที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสม และอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความคิดรวบยอดหรือหลักการ • การค้นพบด้วยตนเอง (Pure Discovery Method) เป็นวิธีการที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะนำไปสู่ความคิดรวบยอดและหลักการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับคำแนะนำจากผู้สอน

  4. วัตถุประสงค์ • เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การคิดวิเคราะห์ ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถสรุปหรือค้นพบหลักการ กฎเกณฑ์ ประเด็นสำคัญหรือความจริงได้ด้วยตนเอง • เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้

  5. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ • ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน • ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย 1ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้ แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป 2 ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ ในข้อ 1ไปใช้ เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง โดยอาศัย เทคนิค การซักถามโต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ 3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่ • ขั้นนำไปใช้ ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา อาจจะใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมิน ผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่

  6. ข้อดี • ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล • ช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง • ผู้เรียนมีความมั่นใจ เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง • ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด • ปลูกฝังนิสัยรักการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง • ก่อให้เกิดแรงจูงใจ ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง • ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น การหาข้อมูล การวิเคราะห์ และสรุปข้อความรู้ • ทักษะที่เรียนการการค้นพบจะถ่ายทอดไปยังการเรียนเรื่องใหม่ได้โดยง่าย • เหมาะกับผู้เรียนที่ฉลาดมีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง

  7. ข้อจำกัด • ต้องใช้เวลาในการสอนมากพอสมควร • ไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมาก เพราะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าจะเกิดความท้อแท้ใจเมื่อเห็นเพื่อนในห้องทำได้ • วิธีการสอนแบบค้นพบเหมาะสำหรับเนื้อหาบางตอน และเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเท่านั้น • วิธีการสอนแบบค้นพบที่ต้องคิดเหตุผลและตั้งสมมุติฐาน เหมาะกับผู้เรียนในวัยที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับนามทธรรมได้ • ผู้เรียนที่มีความสามารถไม่มากนัก จะมีความยุ่งยากใจมากในการเรียนโดยวิธีนี้ โดยเฉพาะที่ต้องสรุปบทเรียนด้วยตนเอง

  8. การจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี ( Knowledge Veediagramming )

  9. ความหมาย การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เขียนแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ทฤษฎี หลักการ มโนทัศน์ กับวิธีการ การทดลองหรือการจัดกระทำข้อมูล ข้อความรู้ที่เกิดจากกระบวนการสืบเสาะ เป็นแผนผังรู้ตัววี (Vee diagram)จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวิธีการศึกษาธรรมชาติของความรู้ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการการแสวงหาความรู้และขอบเขตของความรู้และผลผลิตของความรู้

  10. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการสังเกต จำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและ หลักการมโนทัศน์กับวิธีการจัดกระทำข้อมูล ข้อความรู้ โดยการนำเสนอเป็นแผนผังความรู้แบบวีได้ 2. เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความเข้าใจลึกเข้าใจลึกเข้าไปถึงโครงสร้างของความรู้และกระบวนการการของการผลิตความรู้

  11. องค์ประกอบของผังความรู้แบบวีองค์ประกอบของผังความรู้แบบวี

  12. องค์ประกอบของผังความรู้แบบวีองค์ประกอบของผังความรู้แบบวี 1. คำถามสำคัญ(Focus Question)การตั้งคำถามสำคัญนั้นจะต้องคำนึงถึง มดนมติหรือหลักการเดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสืบเสาะให้ได้ความรู้ใหม่ คำถามสำคัญที่จะต้องบ่งชี้ให้ทราบถึงวิธีการที่จะศึกษาเหตุการณ์และหรือวัตถุสิ่งของลักษณะของการบันทึกข้อมูล นอกจากนี้คำถามสำคัญจะบ่งบอกให้ทราบถึงความแตกต่างของความรู้ที่ได้มากล่าวโดยสรุปแล้วลักษณะคำถามสำคัญที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะ ดังนี้คือ (1) เป็นตัวกำหนดหรือชี้แนะมดนมติ หลักการ ทฤษฎี เหตุการณ์ และหรือวัตถุ สิ่งของที่จะใช้ในกระบวนการสืบเสาะเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ (2) ชนิดของคำถามสำคัญที่แตกต่างกัน ได้แก่ คำถามสำคัญที่ใช้คำว่า อะไร(What) อย่างไร(How)หรือทำไม (Why) จะทำให้เกิดข้อความรู้ที่แตกต่างกัน

  13. 2. วัตถุของสิ่งของ(Objects)วัตถุสิ่งของเป็นสิ่งที่เราต้องการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งจะเกี่ยวของกับเหตุการณ์ที่เกิดตามมา วัตถุสิ่งของจะแตกต่างจากมโนมติ คือวัตถุสิ่งของเป็นสิ่งที่ต้องการจะตรวจสอบ 3. เหตุการณ์(Events) คือ สิ่งที่ต้องการศึกษาในกระบวนการสืบเสาะ เหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุการณ์ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องทำการบันทึกซึ่งเหตุการณ์ที่ทำการศึกษานี้จะต้องสามารถตรวจสอบได้ในครั้งต่อๆไป

  14. 4. มโนมติ(Concept)หมายถึง ความคิดความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งใดหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันอาจเกิดจากการสังเกตหรือได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นหลายๆแบบแล้วใช้คุณลักษณะของสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้นมาประมวลเข้าด้วยกันให้เป็นข้อสรุปในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง การสรุปรวม (Generralization)หรือหลักการเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาก่อน และยังจะต้องสามารถระลึกได้ว่าสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นมีลักษณะเฉพาะอะไรบ้างคือสามารถแยกแยะลักษณะเฉพาะของสิ่งของนั้นออกมาจากสิ่งอื่นได้อย่างชัดเจน มโนมติ ประกอบด้วย มโนมติใหม่ที่ผู้เรียนรู้มาก่อนและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือเรื่องที่กำลังเรียนรู้และมโนมติที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากเนื้อหาดังกล่าว

  15. 5. หลักการ(Principle)เป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมโนมติใช้เป็นความรู้หลักทั่วไป หลักการจะต้องเป็นความจริงที่ใช้อ้างอิงได้สามารถนำมาทดลองซ้ำโดยได้ผลเหมือนเดิม หลักการประกอบด้วย หลักการในด้านวิธีการจะเป็นสิ่งชี้แนะถึงแนวทางที่จะทำการสืบเสาะและหลักการที่เกิดจากข้อความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้า 6. ทฤษฎี(Theory)คือ ข้อความที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการอธิบายหรือคาดคะเนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมโนมติ เหตุการณ์ และข้อความรู้ ทฤษฎีใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ แต่ไม่สามารถอธิบายถึงตัวทฤษฎีเองได้ ทฤษฎีประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและมโนมติของทฤษฎีนั้น

  16. 7. การบันทึกข้อมูล(Records)เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์และหรือวัตถุสิ่งของที่ได้จากการรับรู้ของประสาทสัมผัส การบันทึกอาจอยู่ในรูปแบบของการเขียนเป็นหลักฐานภาพถ่ายหรือเทปบันทึก 8. การจัดกระทำข้อมูล(Transformations) เป็นการนำเสนอผลที่ได้จากการบันทึกข้อมูลมาจัดกระทำใหม่เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ลักษณะของการจัดกระทำข้อมูลจะบ่งบอกประเภทของข้อความรู้ที่ได้ การจัดกระทำข้อมูลแตกต่างจากการบันทึกข้อมูลในลักษณะที่ว่าการบันทึกข้อมูลนั้นได้มาจากการรับรู้ของประสาทสัมผัส แต่การจัดกระทำข้อมูลนั้นต้องอาศัยการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับรู้หลายๆ อย่างที่เหมาะสม เช่นการคำนวณ เป็นต้น

  17. 9. ข้อความรู้(Knowledge Claims)ข้อความรู้เกิดจากกระบวนการสืบเสาะ ซึ่งกระบวนการสืบเสาะนี่จะต้องอาศัยส่วนประกอบต่างๆ คือ การตั้งคำถามสำคัญ มโนมติ หลักการเหตุการณ์และหรือวัตถุสิ่งของ การบันทึกข้อมูล และการกระทำข้อมูล ซึ่งจะทำให้ได้มาซึ่งความรู้ดังกล่าวลักษณะสำคัญของความรู้มี 2 ประการ คือ (1) เป็นการตอบคำถามที่ถามไว้ก่อนดำเนินการทดลอง ซึ่งก็คือข้อความรู้ที่ได้นั่นเอง (2) เป็นเครื่องชี้แนะคำถามใหม่ สำหรับการเริ่มต้นกระบวนการสืบเสาะใหม่ต่อไป

  18. การใช้ผังความรู้แบบวีการใช้ผังความรู้แบบวี หรือมโนมติรูปตัววีในการจัดการเรียนรู้ โนแวค(Novak)กล่าวถึงการนำมโนมติรูปตัววีไปใช้ในการเรียนการสอนได้ว่า มโนมติรูปตัววีสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทั้งก่อนการสอน ระหว่างการสอนและใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ดังนี้

  19. (1) การใช้มโนมติรูปตัววีเป็นเครื่องมือเตรียมการสอน โดยผู้สอนสามารถใช้ มโนมติรูปตัววีในการวีเคราะห์การปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะนำเสนอแก่นักเรียน และใช้มโนมติรูปตัววีในการกำหนดวิธีการทดลองที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายได้ โดยมโนมติรูปตัววีจะเป็นเครื่องประเมินมโนมติที่ผู้เรียนจะต้องมีมาก่อนที่จะดำเนินการทดลอง นอกจากนี้มโนมติรูปตัววียังใช้เป็นกลไกในการออกแบบการทดลองของแต่ละบุคคลได้ด้วย

  20. (2) การใช้มโนมติรูปตัววีเป็นเครื่องมือในการสอน มโนมติรูปตัววีเป็นเครื่องมือที่ใช้อภิปรายถึงการทดลองโดยการสรุปย่อ ผู้สอนสามารถนำมโนมติรูปตัววีมาใช้ก่อนการปฏิบัติการทดลอง โดยให้ผู้เรียนระบุสิ่งที่เรียนรู้มาก่อนทางด้านซ้ายมือ เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงวิธีการ และลักษณะของของมูลที่จะต้องบันทึกพร้อมทั้งการจัดกระทำข้อมูลเพื่อช่วยให้การเรียนในบทเรียนนั้นๆ ง่ายขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว (3) การใช้มโนมติรูปตัววีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนสร้างมโนมติรูปตัววีและประเมินการสร้างมโนมติรูปตัววีจากส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของมโนมติรูปตัววีแล้วให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถใช้มดนมติรูปตัววีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้นั่นเอง

  21. (4) การสอนวิธีการสร้างมโนมติรูปตัววี โนแวคและ โคเวน (Novak and Cowen)ได้กล่าวไว้ว่า ในการสอนให้ผู้เรียนสามารถสร้างมโนมติรูปตัววีนั้น ผู้สอนควรดำเนินการดังนี้ • เริ่มต้นโดยให้ผุ้เรียนทำความเข้าใจกับความหมายและลักษณะของมโนมติเหตุการณ์และหรือวัตถุสิ่งของ • แนะนำการบันทึกข้อมูลและการตั้งคำถามนำ โดยชี้ให้เห็นว่าลักษณะของการบันทึกข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของคำถาม • อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับการจักกระทำข้อมูล ซึ่งสามารถจักกระทำได้หลายๆ รูปแบบวิธีการ ซึ่งลักษณะการจัดการกระทำข้อมูลนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงข้อความรู้ที่ได้ • อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของหลักการและทฤษฎี

  22. นอกจากนี้ โนแวค(Novak)ได้ให้ข้อเสนอแนะถึงการนำมโนมติรูปตัววีไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้ • ควรใช้ในกรณีที่เนื้อหาของบทเรียนเป็นการปฏิบัติการทดลอง ไม่ควรนำไปใช้ในบทเรียนที่มีเนื้อหาเป็นนามธรรม • ผู้สอนไม่ควรวิตกกังวลว่า ผู้เรียนจะต้องเข้าใจโครงสร้างมโนมติรูปตัววีทั้งหมดทันที ควรจะให้ผู้เรียนได้เข้าใจในแต่ละส่วนของโครงสร้างมโนมติรูปตัววี

  23. เมื่อผู้เรียนเข้าใจความหมายของศัพท์ ที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ เป็นอย่างดีแล้ว ผู้สอนควรจะแนะนำให้ผู้เรียนสร้างมโนมติรูปตัววี ซึ่งอาจจะให้สร้างเฉพาะบางส่วน หรืออาจจะให้ผู้สร้างมโนมติรูปตัววีที่สมบูรณ์ของทั้งหมดหลังจากปฏิบัติการทดลองแล้ว • เมื่อผู้เรียนคุ้นเคยกับมโนมติรูปตัววีมากขึ้น อาจจะให้ผู้เรียนเขียนด้านซ้ายมือของมโนมติรูปตัววีมาก่อนดำเนินการทดลอง หรือให้เป็นการบ้านสำหรับผู้เรียน • ผู้สอนอาจจะนำมโนมติรูปตัววีที่สมบูรณ์แล้ว ติดบอร์ดไว้ให้ผู้เรียนดูโดยเฉพาะทฤษฎีและหลักการสำคัญๆ รวมทั้งมโนมติรูปตัววีก็จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

  24. ข้อดี • ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความเข้าใจลึกเข้าไปถึงโครงสร้างของความรู้และกระบวนการของการผลิตความรู้ • ช่วยฝึกทักษะการสังเกต การจำแนกแยกแยะ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของทฤษฏีกับวิธีการ • ช่วยฝึกให้ผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ข้อจำกัด • ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา • เป็นวิธีการที่ค่อนข้างใหม่ในวงการศึกษาไทย ผู้สอนและผู้เรียนอาจจะยังไม่คุ้นเคย

  25. การจัดการเรียนรู้แบบพยากรณ์การจัดการเรียนรู้แบบพยากรณ์ ( ForecastorPrediction Method)

  26. ความหมาย การจัดการเรียนรู้แบบการพยากรณ์ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและมีเหตุมีผล โดยอาศัยข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อช่วยให้มองเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำหรือหลีกเลี่ยงการกระทำ เพราะการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้แบบพยากรณ์จึงเป็นการทักษะการพยากรณ์มากกว่าความรู้

  27. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการจัดการเรื่องอนาคต • เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นแนวทางว่าความคิดหรือการกระทำต่างๆ จากอดีตกำลังจะก้าวไปสู่อนาคตอย่างไร • เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและสามารถคาดคะเนหรือพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ • เพื่อฝึกให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำหรือหลีกเลี่ยงการกระทำ

  28. องค์ประกอบสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบการพยากรณ์มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ • เนื้อหาสาระ หรือปัญหา หรือเหตุการณ์สำหรับการเรียนรู้ • กระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน • ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

  29. ลักษณะของการพยากรณ์ การพยากรณ์ไม่ใช่การพิสูจน์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่แต่บอกว่าโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้นลักษณะการพยากรณ์มี 3 ลักษณะ คือ • การพยากรณ์ปฐมภูมิ ( Primary Forecast ) เป็นการพยากรณ์ในลักษณะที่สิ่งนั้นหรือเหตุการณ์นั้นมิเคยเกิดก่อน ไม่มีสิ่งใดที่เป็นมูลเหตุให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป การพยากรณ์ลักษณะนี้ไม่ค่อยมีทางเลือก แต่มีความเชื่อมั่นสูง ส่วนมากใช้สำหรับการพยากรณ์ช่วงระยะปานกลาง

  30. การพยากรณ์ทุติยภูมิ ( Secondary Forecast ) เป็นการพยากรณ์ในลักษณะที่สิ่งนั้นเคยเกิดขึ้นและสิ่งนั้นมีตัวแปรทำให้เปลี่ยนแปลงไป ได้ น่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใดบ้าง หากมีผลกระทบจากตัวแปรแต่ละตัวหรือหลายตัวรวมกันจะมีผลทำให้เหตุการณ์ที่เป็นอยู่มีโอกาสเปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนมากใช้ในการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาไกล • การพยากรณ์ตติยภูมิ ( Tertiary Forecast ) เป็นการพยากรณ์ในลักษณะที่เหตุการณ์นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมาก คือ เป็นช่วงเวลาใกล้ๆ ซึ่งจะบอกว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง และโอกาสของความเป็นไปได้มากที่สุด

  31. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ • ขั้นนำ เป็นขั้นที่ผู้สอนสร้างความสนใจหรือเร้าใจแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ได้แก่ • ผู้สอนสนทนาซึกถามผู้เรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสภาพปัญหาที่น่าสนใจที่กำลังเกิดขึ้น หรือเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เรียนได้เรียนไปแล้ว • ทบทวนความรู้เดิม เพื่อให้ผู้เรียนก่อนที่จะให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาใหม่ต่อไป • แจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ • เสนอปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษาหรือเรียนรู้ โดยใช้วีดีทัศน์ ข่าวจากหนังสือพิมพ์ กรณีตัวอย่าง เกม หรือสถานการณ์จำลอง ฯลฯ

  32. ขั้นเรียนรู้ เป็นขั้นของการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า คิด วิเคราะห์ อาจทำได้ดังนี้ 2.1 แบ่งกลุ่มผู้เรียนศึกษาค้นคว้า 2.2 ผู้เรียนเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและปัจจุบัน 2.3 แนะนำหรือแจกเอกสาร หรือสื่อประกอบการเรียนให้แก่ผู้เรียน เพื่อศึกษาเพิ่มเติม 2.4 ระดมสมองเพื่อศึกษาปัญหา โดยอาศัยข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน 2.5 เขียนแนวความคิดที่ได้จากการระดมสมอง เป็นลักษณะการจัดอบรมมโนทัศน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถจะเลือกใช้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล

  33. ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปแนวทางเลือกที่ควรเป็นไปได้อาจทำได้ดังนี้ • แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้า • ผู้เรียนทุกคนร่วมกันอภิปรายซักถาม • ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป หรือพยากรณ์เหตุการณ์ แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต • ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้อาจทำได้ดังนี้ • สังเกตจากการอภิปราย ซักถาม หรือการตอบคำถามของผู้เรียน • ตรวจผลงานการศึกษา ค้นคว้า หรือรายงาน • ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

  34. ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี • เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะได้อย่างเสรี • ฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำไปสู่ทักษะการพยากรณ์ • เป็นวิธีการที่ประหยัดเพราะลงทุนน้อย • เป็นการฝึกการตัดสินใจเลือกที่จะปฏิบัติหรือเสี่ยงการปฏิบัติและทำให้ผู้เรียนเกิดความตระหนัก ข้อจำกัด • เป็นวิธีการที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก • ผู้สอนต้องดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลือผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

  35. การจัดการเรียนรู้แบบวรรณีการจัดการเรียนรู้แบบวรรณี ( WanneeThaching Model )

  36. ความเป็นมา รองศาสตราจารย์วรรณี โสมประยูร แห่งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจ เป็นผู้คิดสร้างวิธีสอนหรือรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักที่สำคัญเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กไทยในระดับประถมศึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งได้ทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงเริ่ม แพร่หลายอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ การศึกษาของชาติไทยที่ได้มีครูไทยสร้างสรรค์รูปแบบการสอนขึ้นใช้สอนเด็กไทยเป็นผลสำเร็จ ถือว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาที่เป็นของคนไทย โดยครูไทยและเพื่อเด็กไทยโดยเฉพาะ สมควรได้รับการยกย่องจากวงการศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง

  37. ความหมายและคุณลักษณะ • เป็นรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยกระบวนการสอน 8 ขั้นตอน ซึ่งสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ แต่ผู้สอนก็สามารถจะยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ ขั้นตอนเหล่านี้เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก และสามารถใช้วิธีสอนหรือกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบก็ยังหาง่ายอีกด้วย • ในรูปแบบการสอนมีขั้นนำและขั้นทบทวนแยกออกจากกัน เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ขั้นสอนสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และยังมีขั้นสร้างเจตคติอีกต่างหาก เพื่อช่วยโน้มน้าวจิตใจให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาและมองเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์และรักวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

  38. ทุกขั้นตอนในรูปแบบการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและมีอิสระในการคิดการแสดงออกและการปฏิบัติ เพื่อสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆและสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มที่ • ช่วยเพิ่มบรรยากาศสนทรีย์การเรียนกรสอนคณิตศาสตร์ให้มีชีวิตชีวา น่าสนใจและสนุกสนาน ซึ่งทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะถือว่าความน่าเบื่อหน่ายและความเคร่งเครียดนั้นเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเรียนรู้ • เน้นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมทุกๆ ด้านในลักษณะขององค์รวม ผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการนำรูปแบบการสอนไปใช้จึงอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างน่าพอใจเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพบจากผลการวิจัยแบบสังเคราะห์งานวิจัยหลายครั้งว่า ได้ผลสูงกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ ที่ผู้สอนทั่วไปใช้กันอยู่ภายในประเทศ • มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ทุกด้านในลักษณะผสมผสานหรือบูรณาการเป็นหลัก

  39. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดค้นคว้าและค้นพบองค์ความรู้และสร้างมโนมติได้จากประสบการณ์ของตนเอง และสามารถนำสิ่งที่ค้นพบไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง • เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและให้แสดงพฤติกรรมหรือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองมากที่สุด พร้อมทั้งเน้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำประกอบสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ

  40. วัตถุประสงค์ (ต่อ) • เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเรียนและทำงานอย่างมีระเบียนและเป็นระบบ อันจะส่งผลช่วยให้ยกระดับศักยภาพในการเรียนรู้หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างสมบูรณ์ทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งให้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยความสุขและรักวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น • เพื่อช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ซึ่งกำลังเป็นปัญหาของผู้เรียนตามโรงเรียนทั่วไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมทั้งเพื่อช่วยยกระดับความคงทนในการเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย

  41. องค์ประกอบสำคัญ 1. บทเรียนหรือเนื้อหาใหม่ 2. กิจกรรมประกอบด้วย 2.1 กิจกรรมเร้าความสนใจ 2.2 กิจกรรมสร้างความเข้าใจ 2.3 กิจกรรมเสริมความเข้าใจ 2.4 กิจกรรมสรุปความเข้าใจ 3.แบบฝึกหัดทักษะ 4. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

  42. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ • ขั้นนำ เป็นขั้นเร้าความสนใจของนักเรียนเพื่อให้ตื่นเต้น กระตือรือร้น และอยากเรียนรู้ในบทเรียน เพราะความสนใจของเด็กเป็นรากฐานของความตั้งใจเรียนอย่างแท้จริง ดังนั้น ขั้นแรกนี้ ผู้สอนต้องพยายามใช้กิจกรรมปลุกเร้าความสนใจให้ผู้เรียนด้วยความสนุกสนาน ร่าเริง เรียนด้วยความสนุกและมีสมาธิไปด้วยพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะเรียน • ขั้นทบทวน เป็นขั้นทบทวนความรู้ หรือทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่มีอยู่เดิมและที่สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่ที่จำเป็น เพื่อนนำไปสู่เนื้อหาใหม่และเป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ให้มีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยครูอาจจะใช้เกม นิทาน ปัญหา สถานการณ์ การคิดในใจ และกิจกรรมอื่นๆ พร้อมทั้งใช้สื่อการสอนหรือวัสดุอุปกรณ์แสดงประกอบ

  43. ขั้นสอน เป็นขั้นที่ครูนำเสนอบทเรียนใหม่หรือเนื้อหาใหม่ ซึ่งควรแบ่งออกเป็นตอนๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายโดยเฉพาะเด็กเล็กควรแบ่งเป็นตอนสั้นๆ จะสะดวกยิ่งขึ้น เมื่อผู้เรียนเข้าใจดีแล้วก็จำเป็นจะต้องให้ฝึกปฏิบัติตามบทเรียนทุกๆตอนเหล่านั้นด้วย ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากและมักจะต้องใช้เวลามากกว่าขั้นอื่นๆ เพื่อเป็นขั้นที่ทำให้เกิดแนวคิดมโนมติ โดยครูควรใช้ของจริงหรือของจำลอง รูปภาพ และสัญลักษณ์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างกิจกรรมประกอบเนื้อหานั้นๆ เพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การคาดคะเน การแก้ปัญหา และการคิดคำนวณได้ดีในที่สุด

  44. ขั้นสรุป ขั้นสรุปนี้มีทั้งสรุปความเข้าใจ สรุปวิธีทำ และสรุปวิธีแก้ปัญหา เพื่อต้องการให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปมโนมติ หลักการ วิธีแก้ปัญหาและประโยคสัญลักษณ์ การคิดคำนวณ วิธีลัด ข้อควรสังเกต สูตรและกฎ โดยครูอาจใช้คำถามเพื่อถามนำทั้งตัวคำตอบและวิธีการที่จะได้คำตอบนั้นๆ มาด้วยการใช้เทคนิคการถามหลายๆแบบ และให้ทุกๆคนได้มีส่วนร่วมรวมทั้งควรจะยกย่องชมเชยหรือให้แรงเสริมและกำลังใจไปด้วยพร้อมๆกัน

  45. ขั้นสร้างเจตคติ การสร้างเจตคติในที่นี้ควรเริ่มด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพด้วยมิตรไมตรีและความเป็นกันเอง การสร้างบรรยากาศที่มีสุนทรียภาพและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งบุคลิกภาพและสุขภาพทางอารมณ์ของครู และพฤติกรรมการสอนหรือการควบคุมชั้นเรียนก็มีส่วนร่วมด้วยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนมิใช่เรียนโดยการใช้สมองหรือสติปัญญาเท่านั้น แต่เขาต้องเรียนด้วยร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมไปด้วยพร้อมๆกัน

  46. ขั้นนำไปใช้ ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้น นอกจากควรจะสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นแล้ว ครูยังควรจะต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริงด้วยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความรู้ที่รับไปใช้ได้ทันทีจะเกิดความประทับในและเป็นการเรียนรู้ที่มีความคงทนได้นานมาก กิจกรรมในขั้นนี้เป็นขั้นทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนจึงมุ่งที่จะลองฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำปัญหาตามธรรมชาติที่หลากหลายและท้าทายความคิดในชีวิตประจำวันทั้งของส่วนตัวและส่วนรวมไปฝึกแก้ไขในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อจะได้นำวิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาถ่ายโยงไปใช้ในชีวิตจริงได้ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง การพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเอง

  47. ขั้นฝึกทักษะ เป็นขั้นฝึกความรู้และความเข้าใจให้เกิดประเป็นทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการแก้ปัญหาและเกิดความคงทนในการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆด้วย โดยให้ผู้เรียนฝึกทำแบบฝึกหัดจาก แผนภูม บัตรงาน หนังสือเรียนและแบบฝึกหัดเสริมทักษะ ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นควรจะมีทั้งกิจกรรมรายบุคคลและแบบที่ทำร่วมกัน

  48. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจตรวจสอบผลการเรียนรู้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนหรือไม่อย่างไร โดยครูจะทำการประเมินตามสภาพความเป็นจริงที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดเวลา ครูอาจใช้วิธีวัดผลต่างๆเช่น สังเกตการตอบคำถามหรือการถามคำถามทุกขั้นตอนการสอนที่ผ่านมาก สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนและการมีส่วนร่วม รวมทั้งการตรวจผลงาน การทดสอบย่อยและทดสอบรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้คำถามของครูเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน แน่นอน และถูกต้องจากเด็กนั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีเทคนิคหรือศิลปะที่ดีในการถาม

  49. การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี สามารถนำเสนอเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

More Related