1 / 71

บทที่ 7 สถาบันทางการเมือง (Political Institution)

บทที่ 7 สถาบันทางการเมือง (Political Institution). สถาบันทางการเมือง. หมายถึง แบบอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ในทางการเมืองที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นที่ยอมรับของสังคม องค์ประกอบของสถาบันทางการเมือง 1. ความสัมพันธ์ของสมาชิก (Members) 2. หน้าที่ / เป้าหมาย (Objective)

finian
Télécharger la présentation

บทที่ 7 สถาบันทางการเมือง (Political Institution)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 สถาบันทางการเมือง (Political Institution)

  2. สถาบันทางการเมือง หมายถึง แบบอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ในทางการเมืองที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นที่ยอมรับของสังคม องค์ประกอบของสถาบันทางการเมือง 1. ความสัมพันธ์ของสมาชิก (Members) 2. หน้าที่ / เป้าหมาย (Objective) 3. การกระทำ / กิจกรรม (Activities) 4. สัญลักษณ์ (Symbol)

  3. ความสำคัญของสถาบันทางการเมืองความสำคัญของสถาบันทางการเมือง 1. เป็นกลไกในการกำหนดความสัมพันธ์ในการบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรรมนูญ ศาล รัฐบาล นิติบัญญัติ 2. การดำเนินการจัดสรร แบ่งปัน สิ่งที่มีคุณค่าให้กับสังคม เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ สื่อมวลชน รัฐสภา

  4. ลักษณะของสถาบันทางการเมืองลักษณะของสถาบันทางการเมือง 1. มีแบบแผน (วัตถุประสงค์ และการยอมรับของสังคม) 2. มีโครงสร้าง (ระเบียบและวิธีการปฏิบัติ) 3. มีการกระทำ (กิจกรรมทางการเมือง)

  5. สถาบันนิติบัญญัติ (Parliament) ความหมาย : เป็นองค์กรหรือสถาบันที่เป็นผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ และมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการปกครองบริหารของ ฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนการทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทน ของประชาชน

  6. องค์ประกอบของสถาบันนิติบัญญัติองค์ประกอบของสถาบันนิติบัญญัติ 1. สภาเดียว (Unicameral) ข้อดี 1. รวดเร็ว 2. ประหยัด 3. ไม่มีความขัดแย้ง 4. มีความชัดเจนในความรับผิดชอบ ข้อเสีย 1. อาจเกิดความบกพร่อง (ไม่รอบคอบ) 2. อาจนำไปสู่ภาวะเผด็จการรัฐสภา

  7. 2. สองสภา (Bicameral) เป็นสภาที่ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา 2.1 สภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่พิจารณา / อนุมัติกฎหมายและ งบประมาณ 2.2 วุฒิสภา มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง ข้อดี 1. มีความรอบคอบ 2. เกิดการถ่วงดุลอำนาจ ระหว่างสภาทั้งสอง

  8. บทบาทของรัฐสภาในระบบรัฐสภาบทบาทของรัฐสภาในระบบรัฐสภา • วุฒิสภาทำหน้าที่เป็นสภาทำหน้าที่เป็นสภาพี่เลี้ยงของรัฐสภา • สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจมากกว่าวุฒิสภา • รัฐสภามีอำนาจในการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงด้วย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการด้านต่างๆ เพื่อทำการสืบสวนข้อเท็จจริงเรื่องที่รับผิดชอบ แล้วนำเสนอต่อสภาและคณะรับมนตรีเพื่อเข้าสู่กระบวนการขั้นต่อๆ ไป

  9. ผู้มีอำนาจในการเสนอกฎหมายผู้มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย • คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติเป็นส่วนใหญ่ • รัฐสภาสามารถร่างพระราชบัญญัติได้เช่นเดียวกัน

  10. การพิจารณาวาระกฎหมายต่างๆ มีดังนี้ วาระที่หนึ่ง อ่านชื่อพระราชบัญญัติให้สภารับทราบ วาระที่สอง เปิดโอกาสให้มีการอภิปราย แสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นรากฐานของการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หากผ่านวาระนี้จะนำเข้าสู่คณะกรรมาธิการ เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆ ให้รัดกุม โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการได้ ต่อจากนั้นคณะกรรมาธิการจะ รายงานสู่รัฐสภาซึ่งในขั้นตอนนี้สมาชิกสภามีสิทธิในการแก้ไขข้อความในร่างพระราชบัญญัติอีกครั้ง หากไม่มีการทักท้วงก็จะเข้าสู่วาระที่สาม

  11. วาระที่สาม เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในรัฐสภาเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถแก้ไขร่างฉบับนั้น หากสภาลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นก็จะนำเข้าสู่การลงนามโดยประมุขของประเทศ อ่านชื่อพระราชบัญญัติ วาระที่ 1 อภิปราย แก้ไขข้อความ วาระที่ 2 คณะกรรมาธิการ ไม่ผ่าน ก็ให้ตกไป หรือ กลับสู่วงจรวาระที่ 1ใหม่ วาระที่ 3 ลงนาม ผ่านร่าง

  12. บทบาทของรัฐสภาในระบบประธานาธิบดีบทบาทของรัฐสภาในระบบประธานาธิบดี • วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่าเทียมกันเพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนเหมือนกัน • การดำรงตำแหน่งของวุฒิสภา วุฒิสภาในสหรัฐอเมริกามี 100 คนประกอบด้วยตัวแทนจากรัฐต่างๆ รัฐละ 2 คน โดยไม่คำนึงถึงฐานะหรือจำนวนประชากรในแต่ละรัฐ

  13. หน้าที่ของรัฐสภา • ทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการออกกฎหมายและแก้ไขรัฐธรรมนูญ • วุฒิสภามีอำนาจในการให้การรับรองการแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี • วุฒิสภาให้ความยินยอมในการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาที่ทำกับประเทศอื่นๆ • สภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจกล่าวโทษ (impeach) ข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือตุลาการให้พ้นจากตำแหน่ง

  14. ขั้นตอนในการ impeach • ใช้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาในการกล่าวโทษประธานาธิบดี • วุฒิสภาเป็นผู้สืบสวนข้อเท็จจริงหรือเป็นลูกขุนในการพิจารณาคดี การปลด (removal) ต้องใช้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกวุฒิสภา ในกรณีของประธานาธิบดีจะต้องให้ประธานศาลสูง (supreme court) เป็นประธานของคณะลูกขุนพิจารณา

  15. สถาบันบริหาร (Executive) • คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในการบริหาร หรือปกครองประเทศ ตลอดจนถึงการนำเอากฎหมายไปบังคับใช้ • มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและรับผิดชอบในการปกครองทั่วไปทั้งหมด ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ที่ทำหน้าที่นำกฎหมายไปใช้นั้นเอง ในระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี ฝ่ายบริหารมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน

  16. อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร 1. กำหนดและแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน 2. ออกกฎหมายในยามเร่งด่วนฉุกเฉิน เช่น พ.ร.ก. 3. มีอำนาจในการยุบสภา 4. แต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการทั่วประเทศ 5. บริหารการใช้งบประมาณแผ่นดิน

  17. จำแนกความแตกต่างของฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี • อำนาจของประธานาธิบดีได้มีกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า ฝ่ายบริหารมีอำนาจประการใดบ้างและฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจประการใดบ้าง

  18. ในระบบรัฐสภา คณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตราบเท่าที่ยังได้รับความไว้วางใจจากสภาล่าง หากฝ่ายค้านในรัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางใจในนโยบายหรือกฎหมายสำคัญได้เป็นผลสำเร็จ(มีคะแนนเสียงมากกว่าฝ่ายรัฐบาล) คณะรัฐมนตรีต้องลาออกหรือมิฉะนั้นนายกรัฐมนตรีต้องแนะนำประมุขของรัฐให้ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ส่วนประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งในระยะเวลาที่แน่นอนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

  19. คณะรัฐมนตรีในรูปแบบการปกครองของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นเพียงบุคคลแรกในบรรดาบุคคลที่เท่ากันเท่านั้น (the first among equals) ฉะนั้นการบริหารงานของคณะรัฐมนตรีจึงมีลักษณะเป็นการรับผิดชอบร่วมกัน (collective responsibility) ของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ แต่ประธานาธิบดีในรูปแบบการปกครองระบอบประธานาธิบดีฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบ ในการบริหารคือประธานาธิบดีแต่ผู้เดียวอย่างแท้จริง

  20. ในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา ประมุขของรัฐจะเป็นแค่เพียงแต่ประมุขและสัญลักษณ์ของรัฐเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจในการบริหาร เพราะอำนาจดังกล่าวอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ส่วนประธานาธิบดีในระบอบการปกครองแบบประธานาธิบดีนั้น ประธานาธิบดีมีสองสถานภาพกล่าวคือสถานภาพแรกเป็นประมุขของรัฐและสถานภาพที่สองเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารพร้อมไปด้วย

  21. สถาบันตุลาการ (Court) • เป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามหลักกฎหมายของประชาชน คือเป็นองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจของรัฐในการชี้ขาด ตัดสิน กรณีพิพาท ตลอดจนคดีความทั้งหลายทั้งปวงให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อสังคมโดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายใดๆ เป็นการปกป้องและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้

  22. สถาบันตุลาการ หมายถึง ศาลและผู้พิพากษาทั้งหลายที่ปฏิบัติหน้าที่ในศาลต่างๆ ตามเขตอำนาจศาลในแต่ละระดับและแต่ละประเภท • ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจโดยตรงในการวางนโยบายของรัฐ แต่ด้วยอำนาจหน้าที่ของสถาบันตุลาการแล้ว ฝ่ายตุลาการมีส่วนเป็นอย่างมากในการวางนโยบายของประเทศ เพราะการตีความกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ

  23. การแต่งตั้งและการเลือกตั้งผู้พิพากษาการแต่งตั้งและการเลือกตั้งผู้พิพากษา • การแต่งตั้ง : บางระบบการเมืองมีระบบการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้พิพากษา เป็นแบบการแต่งตั้ง ในประเทศไทยมีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษา ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธ์คือ ประธานาธิบดี ทั้งนี้โดยผ่านการรับรองจากวุฒิสภา ทั้งนี้ทั้งคณะกรรมการตุลาการและวุฒิสภาคือผู้ที่มีความสำคัญในการกลั่นกรองผู้พิพากษา

  24. การเลือกตั้ง : สำหรับบางประเทศให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาเองในบางระดับ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาให้ประชาชนในมลรัฐเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลบางประเภทในมลรัฐ ซึ่งทำให้ผู้พิพากษาได้รับความภาคภูมิใจว่าเป็นตัวแทนของประชาชน

  25. โครงสร้างของตุลาการไทย โครงสร้างของตุลาการไทยในปัจจุบัน มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ • ศาล • ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

  26. ประเภทของศาล • ศาลธรรมดา หมายถึง ศาลทั่วไปที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีตามกฎหมาย โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร • ศาลพิเศษ คือศาลที่มิได้มีอำนาจวินิจฉัยคดีความทั่วไป แต่มีอำนาจวินิจฉัยคดีเป็นลักษณะทางการเมือง ซึ่งได้แก่ศาลรัฐธรรมนูญ

  27. โครงสร้างสถาบันตุลาการ (ศาล) ศาล รัฐธรรมนูญ ปกครอง ทหาร ยุติธรรม ชั้นต้น สูงสุด ชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา แขวง จังหวัด เยาวชนและ แพ่ง อาญา แรงงาน ภาษีอากร ล้มละลาย ครอบครัว

  28. พรรคการเมือง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ • กำหนดนโยบายของพรรค • การคัดสรรผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อไปเป็นตัวแทนของประชาชน • การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง • การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาบริหารประเทศ • การเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร • เผยแพร่อุดมการณ์และนโยบายของพรรค • สร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองให้แก่ประชาชน

  29. ลักษณะของพรรคการเมืองลักษณะของพรรคการเมือง • เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์กร • เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิดเห็นหรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน • มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

  30. กำเนิดพรรคการเมือง • โจเซฟ ลาพาลอมบารา (Joseph Lapalombara) และ ไมรอน ไวเนอร์ (Myron Weiner) ได้อธิบายกำเนิดของพรรคการเมืองโดยเสนอทฤษฎีไว้ดังนี้

  31. 1. ทฤษฎีสถาบัน (Institutional Theories) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า กำเนิดของพรรคการเมืองนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวในรูปของสโมสรและกลุ่ม ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง เช่น สโมสรจาโคแบง (Jacobin Club) ในประเทศฝรั่งเศส

  32. 2. ทฤษฎีประวัติศาสตร์และสถานการณ์ (Historical-Situational Theories) ทฤษฎีนี้ได้อธิบายกำเนิดพรรคการเมืองว่า เกิดจากวิกฤติทางประวัติศาสตร์และสถานการณ์บางประการ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ

  33. วิกฤตการณ์ความชอบธรรม (legitimacy crisis) • วิกฤตการณ์ความชอบธรรม (legitimacy crisis) เป็นวิกฤตการณ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประชาชนเกิดความสำนึกว่าโครงสร้างอำนาจการปกครองของรัฐที่เป็นอยู่มีลักษณะไม่ชอบธรรม ประชาชนจึงสำนึกที่จะรวมกลุ่มกันขึ้นเป็นพรรคการเมือง ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาวิธีการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอันไม่ชอบธรรมนั้น

  34. 2. วิกฤตการณ์ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (integration crisis) • กล่าวได้ว่าความสำนึกในวิกฤตการณ์ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเกิดขึ้นมาเพราะความสืบเนื่องอันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ความชอบธรรม กล่าวคือ เมื่อประชาชนเกิดความสำนึกว่ารัฐบาลปฏิบัติหน้าที่อันแสดงให้เห็นซึ่งความไม่ชอบธรรม ประชาชนเหล่านั้นก็จะรวมตัวเข้าเป็นพรรคการเมืองโดยแสวงหาโอกาสที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะนำนโยบายของพรรคตนทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เข้าไปอำนวยประโยชน์ในการบริหารประเทศ

  35. 3.วิกฤตการณ์มีส่วนร่วม(participation crisis) • วิกฤตการณ์ประเภทนี้มีสาเหตุมาจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมขึ้นในหลายประเทศของยุโรปตะวันตก วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มกรรมกร จึงได้ทีการจัดตั้งพรรคกรรมกรเสนอตัวเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของพวกตนไว้

  36. 3. ทฤษฎีพัฒนาการ (Development Theories) กำเนิดของพรรคการเมืองเป็นผลของการพัฒนาการ 2 ประการ 3.1 ผลของพัฒนาการทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชน กล่าวคือประชาชนรู้สึกตัวว่าตนนั้นมีสิทธิในการใช้อำนาจทางการเมือง จึงได้เกิดความคิดที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา

  37. 3.2 ชนชั้นนำทางการเมือง (political elite) มีความประสงค์ที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยชนชั้นนำทางการเมืองเหล่านั้นมีความต้องการที่จะรักษาสถานภาพและอำนาจของตนไว้ ทำให้เกิดการจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เช่น พวกพ่อค้าและนายธนาคาร เป็นต้น

  38. รูปแบบพรรคการเมือง • ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว(One-party system) : เป็นรูปแบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคเข้าแข่งขันทางการเมือง แต่จะมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ได้รับเสียงข้างมากในสภาส่วนพรรคการเมืองอื่นนั้นจะมีสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งไม่มากนัก การจัดตั้งรัฐบาลจึงเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ดังนั้นการบริหารประเทศจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเพียงพรรคเดียว

  39. ระบบสองพรรค(Two-party system) : คือการที่มีพรรคการเมืองใหญ่เพียงสองพรรคเท่านั้นที่มีโอกาสผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดตั้งรัฐบาล โดยเสียงสนับสนุนของสองพรรคนี้จะไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนพรรคอื่นๆ จะเป็นเพียงพรรคเล็กๆ เท่านั้น

  40. ระบบหลายพรรค(Multi-party system) : มีลักษณะสำคัญคือ มีพรรคการเมืองเกินกว่า 3 พรรคขึ้นไป โดยแต่ละพรรคจะมีคะแนนเสียงสนับสนุนใกล้เคียงกัน ไม่มีพรรคใดได้คะแนนเสียงมากเด็ดขาดพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลเพียงพรรคเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ รวมกันจัดตั้งรัฐบาลผสม การมีพรรคการเมืองหลายพรรคนี้ แต่ละพรรคย่อมมีอุดมการณ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน จึงทำให้รัฐบาลผสมมักจะล้มลุกคลุกคลาน หรือมีการเปลี่ยนรัฐบาลอยู่บ่อยๆ

  41. องค์ประกอบของพรรคการเมือง 1. คน ซึ่งก็คือสมาชิกพรรค กรรมการบริหารพรรค รวมถึงหัวหน้าพรรคและบุคลากรอันเป็นเจ้าหน้าที่ประจำพรรค 2. สถานที่และอุปกรณ์ หมายถึง ที่ทำงานทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น เครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน

  42. 3. การกำหนดและจัดแบ่งโครงสร้างที่สำคัญ เช่น ที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สำนักงานเลขาธิการ ฝ่ายและแผนกต่างๆ เช่น ฝ่ายการเงิน การคลังและการบัญชี ฝ่ายวิชาการและวิจัย ฝ่ายข้อมูลและสาระสนเทศ ฯลฯ มีหน่วยปฏิบัติการ มีสำนักงานและกรรมการสาขาต่างๆ เป็นต้น

  43. 4. ความคิดความเชื่อหรืออุดมการณ์ร่วมกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค ซึ่งโดยหลักการจะเป็นสิ่งเชื่อมประสานบุคลากรในพรรคเข้าด้วยกัน

  44. หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมือง 1. การให้การศึกษาทางด้านการเมืองแก่ประชาชน พรรคการเมืองจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและสนใจในปัญหาของบ้านเมืองมากขึ้น รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทของตนเองเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง การให้การศึกษาด้านการเมืองแก่ประชาชน สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ เช่น จัดอบรม จัดสัมมนา อภิปราย แจกจ่ายเอกสารหรือให้ความรู้ผ่านทางสื่อต่างๆ

  45. 2. การสร้างผู้นำทางการเมือง โดยการคัดเลือกหรือสรรหาบุคลากรทางการเมืองมาเป็นผู้นำในด้านต่างๆ เช่น การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อเข้าไปบริหารประเทศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบทอดภารกิจ อุดมการณ์ หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมืองในอนาคต พรรคการเมืองจึงควรให้ความสำคัญต่อการสร้างผู้นำทางการเมืองที่มีความเพียบพร้อมทั้งคุณธรรมและความรู้ความสามารถเพื่อรับใช้สังคมโดยส่วนรวม

  46. 3. กระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศด้วยการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเสียง และจัดตั้งสโมสรหรือชมรมต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจทางการเมือง

  47. 4. การเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานระหว่างประชาชน กลุ่มประชาชน หรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจและประสานการทำงานในสังคมร่วมกัน ตลอดจนการปลุกเร้าประชาชนให้เกิดความตื่นตัวทางการเมือง และเป็นช่องทางให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองต่อไป

  48. 5. เป็นช่องทางของประชาชนในการแสดงออก อันจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนได้ 6. การกำหนดนโยบายหลักที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ในการบริหารและปกครองประเทศ

  49. 7. ถ้ายังไม่มีโอกาสบริหารประเทศ พรรคการเมืองก็จะทำหน้าที่แทนประชาชนในการเรียกร้องหรือกดดันให้รัฐบาลสนองตอบในแนวทางที่เห็นว่าเหมาะสม 8. ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลเมื่อได้รับเสียงข้างมาก และทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านหรือผู้ควบคุมรัฐบาลเมื่อได้รับเสียงข้างน้อย

  50. กฎหมาย

More Related