1 / 13

การบริหารจัดการงบค่าเสื่อม ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2557

การบริหารจัดการงบค่าเสื่อม ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2557. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ .พิษณุโลก 29 มกราคม 2557. งบ ค่าเสื่อม. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

raleigh
Télécharger la présentation

การบริหารจัดการงบค่าเสื่อม ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2557

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารจัดการงบค่าเสื่อม ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2557 กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.พิษณุโลก 29 มกราคม 2557

  2. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน งบค่าเสื่อม • พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

  3. งบค่าเสื่อม • เอกสารแนบท้ายประกาศ สปสช. เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 (น 232) ข้อ 40 กำหนดให้มีการจ่ายชดเชยค่าเสื่อมของสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ ที่หน่วยบริการใช้ในการบริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยใน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อการทดแทนส่วนขาดและซ่อมบำรุงครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง ที่เสื่อมสภาพ หรือถดถอย หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิม จากการให้บริการสาธารณสุข แก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ทดแทนเชิง function ของครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง)

  4. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน งบค่าเสื่อม • คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 เล่ม 1 การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ( หน้า 189 ) ข้อ 7.6.5 กำหนดให้หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการจัดทำแผนการบริหารเงินค่าเสื่อมระดับหน่วยบริการ ( ร้อยละ 80 ) ตามหลักเกณฑ์เพื่อทดแทนส่วนขาดและซ่อมบำรุง ฯ และเสนอให้คณะกรรมการประสานงานระดับอำเภอ (คปสอ.) พิจารณาอนุมัติแผน พร้อมจัดส่งรายละเอียดแผนที่ได้รับอนุมัติให้สสจ.รวบรวมเป็นภาพรวมระดับจังหวัด และสสจ.สำเนาแผนภาพรวมแจ้งสปสช.เขต โดยสปสช.จะเป็นผู้โอนเงินตรงให้หน่วยบริการ

  5. งบค่าเสื่อม • ดังนั้น คปสอ. จะต้องพิจารณาอนุมัติแผนการบริหารเงินค่าเสื่อม ระดับหน่วยบริการ ( ร้อยละ 80 ) ของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ ที่มีวัตถุประสงค์ในการนำเงินค่าเสื่อมไปจัดหาเพื่อการทดแทน ส่วนขาด หรือซ่อมบำรุง ครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างที่เสื่อมสภาพ หรือ ถดถอยหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิมจากการให้บริการ สาธารณสุขตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ สปสช. เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ข้อ 40

  6. งบค่าเสื่อม • ตัวอย่างแผนการบริหารเงินค่าเสื่อมระดับจังหวัด ที่ อปสจ. พิจารณาอนุมัติ โดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเงินกองทุน 1. ปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักผู้อำนวยการโรงพยาบาล 2. ก่อสร้างบ้านพักแพทย์และพยาบาล 3. ก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล 4. ปรับปรุงซ่อมแซมรั้วโรงพยาบาล 5. ปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณโรงพยาบาล 6. จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในสำนักงาน 7. จัดซื้อรถจักรยานยนต์

  7. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการจัดทำหรือการอนุมัติ แผนงานหรือโครงการ โดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ • ผู้จัดทำหรือผู้พิจารณาอนุมัติ แผนงานหรือโครงการ มิได้ศึกษา ทำความเข้าใจรายละเอียดและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และคู่มือที่เกี่ยวข้อง อย่างเพียงพอ • ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามภารกิจของ สปสช. ยังขาดความชัดเจน เป็นอุปสรรคในการพิจารณาจัดทำโครงการ • ความคล้ายคลึงกันในอำนาจหน้าที่ของ สสจ. กับอำนาจหน้าที่ในฐานะ สปสช.สาขาจังหวัด

  8. ผลกระทบที่เกิดขึ้น • ประชาชนขาดโอกาสที่จะได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ หรือ ตามนโยบายสำคัญ หรือ บริการที่ต้องมีการบริหารจัดการในภาพรวมระดับเขต/จังหวัด • ประชาชนขาดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน • ประชาชนขาดโอกาสที่จะได้รับบริการสาธารณสุขด้วยครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ • เกิดความเสียหายด้านงบประมาณที่ได้มีการเบิกจ่ายไปโดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ • เมื่อตรวจสอบพบความเสียหาย จะต้องมีผู้รับผิดชอบต่อความเสียหาย ทำให้เกิดเป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

  9. ข้อเสนอแนะ • ผู้จัดทำหรือผู้พิจารณาอนุมัติ แผนงานหรือโครงการ จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจรายละเอียดและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และคู่มือที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง • สปสช. โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำเป็นที่จะต้องกำหนดประเภทและขอบเขตของบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เกิดความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ • สสจ. จำเป็นต้องตระหนักว่าตนมีภารกิจสองด้านที่จะต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งภารกิจในหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข และภารกิจในฐานะ สปสช.สาขาจังหวัด

  10. งบค่าเสื่อม ปีงบประมาณ 2557 การดำเนินงานงบค่าเสื่อมหน่วยบริการในสังกัด ปีงบประมาณ 2557 (80%) • ขอให้หน่วยบริการเร่งรัดดำเนินการดังนี้ 1. จัดทำแผนการบริหารงบค่าเสื่อมตามหลักเกณฑ์ 2. เพื่อทดแทนส่วนขาด และซ่อมบำรุงสิ่งก่อสร้างที่เสื่อมสภาพ หรือ เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ จากการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ 3. เสนอ คปสอ. พิจารณาอนุมัติ 4. ดำเนินการจัดทำแผนอย่างละเอียดให้แล้วเสร็จ ส่ง สปสช. สาขา จังหวัด

  11. ข้อเสนอ • บันทึกข้อมูลรายงานผ่านทางโปรแกรมบันทึกผลใช้จ่ายงบค่าเสื่อม สปสช. ขณะนี้ สปสช.ได้แก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้องตรงกับที่ key ข้อมูลเข้าระบบแล้ว • เร่งรัดการเบิกจ่ายงบค่าเสื่อมให้เป็นไปตามเป้าหมาย - งบค่าเสื่อม ปี 2555 ทำสัญญาตรวจรับแล้ว เพียง ร้อยละ 41.21 • งบค่าเสื่อม ปี 2556 ทำสัญญาตรวจรับแล้ว เพียง ร้อยละ 23.54 • รายงานผลการดำเนินงานงบค่าเสื่อม ให้ สสจ.ทราบ ทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน • งบค่าเสื่อมที่สามารถเปลี่ยนแปลงรายการได้คือ ปีงบประมาณ 2555 – 2556

  12. ข้อเสนอ งบค่าเสื่อมที่เหลือในแต่ละปีให้ดำเนินการดังนี้ • ให้นำมาจัดทำแผนคำขอในปีงบประมาณ 2557 โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเงินคงเหลือจากปีงบประมาณใด ระดับใด และขออนุมัติจากผู้มีอำนาจแต่ละระดับของงบประมาณ (หากในบางระดับยอดเงินเหลือน้อยอาจนำมารวมกับงบในระดับที่มียอดเงินเหลือจำนวนมากได้ เพื่อความสะดวกในการอนุมัติ) • แจ้งให้ สปสช. สาขาจังหวัดทราบเพื่อรายงานให้ สปสช. เขต 2 ทราบต่อไป • หากงบค่าเสื่อมที่คงเหลือแล้วไม่มีการดำเนินการใดๆ สปสช. อาจจะพิจารณาเรียกคืน

  13. Thank you...

More Related